สมัยเด็กๆเรามักสงสัยว่า ทำไมต้องมีคนจน ทำไมรัฐบาลไม่พิมพ์แบ๊งแจกคนยากจนทุกคนจะได้รวย หรือปัจจุบันมักมีคำถามว่าทำไมอเมริกาพิมพ์แบ๊งเองได้ (QE) ทำไมประเทศอื่นทำบ้างไม่ได้ อภิมหาตำนานวิกฤตเงินเฟ้อของประเทศซิมบับเว นั้นเป็นคำตอบได้อย่างดี
ไม่มีที่ไหนในโลก เหมือน “ซิมบับเว” (Zimbabwe) ไม่ใช่เพราะมีน้ำตก วิคตอเรีย อันสวยงาม ไม่ใช่เพราะมีเหมืองขุดเพชร ขนาดใหญ่ หรือเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่ที่นี่ชาวซิมบับเว ทุกคนคือ “เศรษฐีพันล้าน” (Billionaire) ย้อนกลับไป 5 ปีก่อน ประเทศนี้ก้ไม่ได้ต่างจากประเทศอื่นๆทั่วไป หากแต่การบริหารงานที่ผิดพลาดและขาดความเข้าใจ ของผู้นำรัฐบาล กลับสร้างหายนะอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนทุกคน ชนิดที่ โลกต้องจารึกไว้เป็นอีกบทนึงของประวัติศาสตร์การเงินโลกกันเลยทีเดียว ประชากรชาว ซิมบับเว มีทั้ง “คนผิวขาวและคนผิวดำ” อาศัยอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา คนผิวขาวที่ย้ายมาตั้งรกราก เป็นเจ้าของที่ดินและฟาร์มเกษตร ส่วนคนผิวดำ เป็นชนชั้นแรงงาน คนขาว รับหน้าที่ เป็นผู้บริหารชั้นดี ส่วนคนดำเป็นแรงงานมีฝีมือ ทุกอย่างลงตัว
จนกระทั่งช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ในยุคสมัยของนายกรัฐมนตรี โรเบิร์ต มูกาเบ้ (Robert Mugabe) รัฐบาลออกกฎหมาย ใหม่ปฎิวัติการจัดการที่ดินทำกิน (Land Reform) เนื้อหาสำคัญก็คือ ช่วยคนผิวดำซึ่งเป็นคนพื้นเมือง ให้มีที่ดินเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตกเป็นลูกจ้างของคนผิวขาวอีกต่อไป เกิดการยึดคืนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธ์ของคนผิวขาวแล้วเอาไปแจก ให้กับคนผิวดำ ......เท่านั้นเองปัญหาเกิด จากคนผิวดำ ซึ่งเคยเป็นกรรมกร บัดนี้ได้เลื่อนขั้นกลายเป็นเจ้าของที่ดิน จำเป็นต้องมาบริหาร จากคนผิวขาวที่เคยบริหารกลับสูญสิ้นทุกอย่างที่เคยเป็นของตัวเอง จำเป็นต้องรับสภาพ กรรมกร ! เหมือนใช้คนไม่ถูกกับประเภทงาน ด้วยความที่ด้อยการศึกษาและขาดทักษะบริหารจัดการ ไม่นานระบบเศรษฐกิจที่เคยรุ่งเรืองของ ซิมบับเว ก็ดิ่งลงเหว เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย สุดท้ายไม่วายเป็นหนี้ IMF ในปี 2006 ปัญหาหนี้สินของประเทศ เกินเยียวยา ผู้ว่าการธนาคารกลางในขณะนั้นเกิด ปิ๊งไอเดีย (ง่ายๆแต่ไม่ฉลาด) ในการใช้หนี้คืน นั่นก็คือ “การพิมพ์เงิน” (คุ้นๆมั๊ยครับ?) สกุลเงิน ซิมบับเวียนดอลล่าห์ (Zimbabwean Dollar : ZWD) มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 1.59 Zim-Dollar แลกได้ 1 US-Dollar ในเมื่อประเทศเราเป็นหนี้ IMF ในสกุลเงินดอลล่าห์ เราก็แค่ พิมพ์เงินประเทศเราเอาไปซื้อดอลล่าห์ เสร็จแล้วก็ เอาไปใช้หนี้คืน ง่ายๆ ไม่น่าจะมีอะไรยาก 16 กพ 2006 : ธนาคารกลางซิมบับเว จึงจัดพิมพ์เงินครั้งใหญ่ มูลค่า 21 Trillion (21,000,000,000,000 ZWD) เพื่อสะสางปัญหา ได้ผล ! หนี้หายวับไปกับตา แต่ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า “โหดร้ายมากกว่าเป็นหนี้หลายเท่าตัว” เงิน 21T ออกไปเที่ยว ตปท ได้ไม่นานก็หมุนเวียนกลับเข้ามาในระบบศก.ของซิมบับเวเอง สกุลเงิน ZWD เจือจางลงอย่างรวดเร็ว สินค้าทุกอย่างปรับขึ้นราคาตามในทันที เดือดร้อนถึง นายกโรเบิร์ต มูกาเบ้ ที่ต้องรีบสั่งการให้ ธนาคารกลางแก้ไข ปัญหาโดยด่วน ซึ่งแน่นอน อาวุธคู่กายธนาคารกลางทุกประเทศมีแค่ สองอย่าง แต่สำหรับ ซิมบับเว พิมพ์ พิมพ์ พิมพ์ และ ก็พิมพ์ คือ คำตอบสุดท้าย
ในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน ปริมาณเงินอีก 60T ! ถูกอัดฉีดเข้าระบบ วัตถุประสงค์ก็เพื่อจ่ายเพิ่มเป็นเงินเดือนให้กับบรรดา ทหาร ตำรวจและข้าราชการ เพราะข้าวของแพงเหลือเกิน แต่กลับยิ่งทำให้ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงเข้าไปอีก เพื่อเป็นการยับยั้งและจัดระเบียบกันใหม่ ให้เงินสกุล ZWD ยังคงดูน่าเชื่อถือต่อไป สิงหาคมในปีนั้น ธนาคารกลางตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบ ธนบัตรใหม่ทั้งหมด โดยขอร้องให้ประชาชนนำ ธนบัตรรุ่นเดิมมาแลก
แต่ภายใต้ข้อแม้ว่า 1000 ZWD เก่า แลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่ (ตัด 0 ออกสามตัว) หากคุณมีเงินฝากในธนาคาร 1 ล้าน วันรุ่งขึ้นยอดเงินฝากจะลดลงเหลือเพียง 1 พัน เท่านั้น !! ทำกันถึงขนาดนั้น แต่ปัญหาก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทา ......
ปี 2007 อัตราเงินเฟ้อยังคงพุ่งต่อเนื่อง ผลที่ตามมาคือสินค้าขึ้นราคาราวกับติดจรวด รัฐบาลของมูกาเบ้ ตัดสินใจใช้มุกใหม่ (แต่เป็นแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ) ออกกฎหมายควบคุมราคาสินค้าทุกอย่าง (Price control) ร้านค้าใดหากไม่ทำตามถือว่ามีความผิด ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า ในเมื่อขึ้นราคาสินค้าไม่ได้ก็ “ไม่ขาย” สินค้าใน ซุปเปอร์มาร์เก็ต เริ่มถูกเก็บลงจากชั้นวาง เหลือแต่ความว่างเปล่า การกำหนดราคาขายสินค้าอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า ยารักษาโรค เริ่มกำหนดกันเองในตลาดมืด พร้อมๆกับการกักตุนสินค้า เงิน ZWD กลายเป็น “เงินร้อน” ประชาชนรีบใช้มันทันทีเมื่อได้มันมา ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราเงินเฟ้อ จึงยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ
มกราคม 2008 รัฐบาลออกธนบัตรใหม่ชนิดราคา 200,000 ใช้เป็นครั้งแรก ! แต่ยังไม่ทันจะสิ้นเดือน ธนบัตรชนิดราคา 10,000,000 ก็ถูกผลิตขึ้นมา ถือเป็นแบงค์ที่มูลค่าแพงที่สุดในขณะนั้น แต่หากคิดเทียบเป็นเงินบาทไทย คงใช้ซื้อข้าวผัดกระเพราได้เพียงแค่ 4 จาน (120 บาท)
เมษายน 2008 รัฐบาลออกธนบัตร ชนิดราคา 50,000,000 ออกสู่สาธารณ
มิถุนายน 2008 ธนบัตร ชนิดราคา 100,000,000 และ 250,000,000 ก็ถูกผลิตออกมา แต่แค่เพียง สิบวันหลังจากนั้น ชนิดราคา 500,000,000 ก็ออกตามมาติดๆ
กรกฎาคม 2008 ธนาคารกลางวางแผน จะออกธนบัตรชนิดราคา 100,000,000,000 ออกสู่ตลาด แต่พอถึงปลายเดือน ประธานธนาคารกลางเลือกที่จะขอปรับค่าเงินกันใหม่ (Redenominated) โดยคราวนี้ ตัด 0 ข้างหลังออก 10 ตัว !!!!!! (10,000,000,000 ZWD เก่าแลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่) อัตราเงินเฟ้อในขณะนั้นคือ 11,250,000 % ! ราคาของเบียร์ 1 ขวดในขณะนั้น 100,000,000,000 แต่เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงถัดมา ราคาก็ปรับขึ้นเป็น 150,000,000,000
ความคิดของรัฐบาลและธนาคารกลางที่ จะแก้ปัญหาโดยการพิมพ์เงินอัดฉีดเข้าระบบ ไม่สัมฤทธิ์ผล สาเหตุก็เพราะ ความเชื่อถือในระบบธนบัตรของประชาชนชาวซิมบับเว ลดลงเร็วกว่า ความสามารถในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ไม่ว่าจะเร่งสปีดพิมพ์เพิ่มออกมามากขนาดไหน ไม่สำคัญว่าจะใส่ 0 ไปอีกซักกี่ตัว เมื่อ กระดาษก็คือกระดาษ ความน่าเชื่อถือหากหมดไปจากกระดาษ ก็คือ จบ... มูกาเบ้ ไม่เข้าใจความจริงในข้อนี้ เค้าเลือกที่จะสู้หลังพิงฝากับเงินเฟ้อ
มกราคม ปี 2009 ในเมื่อไม่มีอะไรจะเสีย ประชาชนชาวซิมบับเว จึงได้เห็น ธนบัตร ชนิดราคา 50,000,000,000 ออกใช้
16 มกราคม 2009
วันที่โลกต้องจดจำ รัฐบาลของมูกาเบ้ ประกาศจะพิมพ์ ธนบัตร ชนิดราคา
10,000,000,000,000 - อ่านว่า สิบ ล้านล้าน
20,000,000,000,000 - อ่านว่า ยี่สิบ ล้านล้าน
50,000,000,000,000 - อ่านว่า ห้าสิบ ล้านล้าน
100,000,000,000,000 - อ่านว่า หนึ่งร้อย ล้านล้าน
ออกใช้.....
แต่ไม่มีความหมายอีกต่อไป ประชาชนเลิกพกเงินเป็นกระสอบๆ เพื่อไปจ่ายตลาด เงินสกุล ซิมบับเว ไม่มีใครเชื่อถือและอยากใช้ การซื้อขายทั่วไป ถูกกำหนดราคากันใหม่ด้วย เงินสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น US.Dollar หรือไม่เช่นนั้นก็ทำการซื้อขายกันด้วย
“ทองคำ” ประชาชนชาว ซิมบับเว บางส่วน (ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ย้อนกลับไปสู่ยุคโบราญ เอากะทะไปร่อนหาเศษทองในแม่น้ำ เพื่อเอามาแลกกับ ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช หรือ ขนมปัง ประทังชีวิตไปวันๆ ใคร ที่ยังเก็บทองคำติดตัวเอาไว้ ยังสามารถซื้อของได้เท่าเดิม แต่ผู้ที่เก็บเงินออมไว้ในรูปแบบของ “ธนบัตร” ซิมบับเวเผื่อไว้ใช้ยามแก่ กลับพบว่าเงินทั้งหมดแทบไม่พอที่จะจ่ายแม้แค่ “อาหารเช้าเพียง 1 มื้อ”
เมษายน ปี 2009 สกุลเงิน ZWD ตายสนิท รัฐบาล ปล่อยให้ตลาดเป็นคนกำหนด ราคาและสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกันเอง เงิน ZWD ประกาศหยุดพิมพ์เพิ่ม อย่างน้อย 1 ปีหลังจากนั้น เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาด้วยตัวของมันเอง
ระบบเศรษฐกิจนั้นเมื่อเกิดปัญหา กลไกของตลาดจะมีวิธีจัดการแก้ไขได้ด้วยตัวของมัน ภาษาทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (Invisible Hand) หน้าที่ของรัฐบาล เพียงแค่สนับสนุนให้ มือที่มองไม่เห็นนี้ ทำงานไปอย่างเป็นธรรมชาติ แต่รัฐบาลในหลายๆประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เจริญแล้วหรือกำลังพัฒนา กลับพยายามที่จะทำตัวเป็นมือที่มองไม่เห็นนี้ซะเอง ใช้อำนาจ เข้าจุ้นจ้าน-เข้าแก้ไข สุดท้ายก็พัง ไม่มีอะไรมาขัดขวาง
อภิมหาตำนานวิกฤตเงินเฟ้อของประเทศซิมบับเว
ไม่มีที่ไหนในโลก เหมือน “ซิมบับเว” (Zimbabwe) ไม่ใช่เพราะมีน้ำตก วิคตอเรีย อันสวยงาม ไม่ใช่เพราะมีเหมืองขุดเพชร ขนาดใหญ่ หรือเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่ที่นี่ชาวซิมบับเว ทุกคนคือ “เศรษฐีพันล้าน” (Billionaire) ย้อนกลับไป 5 ปีก่อน ประเทศนี้ก้ไม่ได้ต่างจากประเทศอื่นๆทั่วไป หากแต่การบริหารงานที่ผิดพลาดและขาดความเข้าใจ ของผู้นำรัฐบาล กลับสร้างหายนะอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนทุกคน ชนิดที่ โลกต้องจารึกไว้เป็นอีกบทนึงของประวัติศาสตร์การเงินโลกกันเลยทีเดียว ประชากรชาว ซิมบับเว มีทั้ง “คนผิวขาวและคนผิวดำ” อาศัยอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา คนผิวขาวที่ย้ายมาตั้งรกราก เป็นเจ้าของที่ดินและฟาร์มเกษตร ส่วนคนผิวดำ เป็นชนชั้นแรงงาน คนขาว รับหน้าที่ เป็นผู้บริหารชั้นดี ส่วนคนดำเป็นแรงงานมีฝีมือ ทุกอย่างลงตัว
จนกระทั่งช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ในยุคสมัยของนายกรัฐมนตรี โรเบิร์ต มูกาเบ้ (Robert Mugabe) รัฐบาลออกกฎหมาย ใหม่ปฎิวัติการจัดการที่ดินทำกิน (Land Reform) เนื้อหาสำคัญก็คือ ช่วยคนผิวดำซึ่งเป็นคนพื้นเมือง ให้มีที่ดินเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตกเป็นลูกจ้างของคนผิวขาวอีกต่อไป เกิดการยึดคืนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธ์ของคนผิวขาวแล้วเอาไปแจก ให้กับคนผิวดำ ......เท่านั้นเองปัญหาเกิด จากคนผิวดำ ซึ่งเคยเป็นกรรมกร บัดนี้ได้เลื่อนขั้นกลายเป็นเจ้าของที่ดิน จำเป็นต้องมาบริหาร จากคนผิวขาวที่เคยบริหารกลับสูญสิ้นทุกอย่างที่เคยเป็นของตัวเอง จำเป็นต้องรับสภาพ กรรมกร ! เหมือนใช้คนไม่ถูกกับประเภทงาน ด้วยความที่ด้อยการศึกษาและขาดทักษะบริหารจัดการ ไม่นานระบบเศรษฐกิจที่เคยรุ่งเรืองของ ซิมบับเว ก็ดิ่งลงเหว เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย สุดท้ายไม่วายเป็นหนี้ IMF ในปี 2006 ปัญหาหนี้สินของประเทศ เกินเยียวยา ผู้ว่าการธนาคารกลางในขณะนั้นเกิด ปิ๊งไอเดีย (ง่ายๆแต่ไม่ฉลาด) ในการใช้หนี้คืน นั่นก็คือ “การพิมพ์เงิน” (คุ้นๆมั๊ยครับ?) สกุลเงิน ซิมบับเวียนดอลล่าห์ (Zimbabwean Dollar : ZWD) มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 1.59 Zim-Dollar แลกได้ 1 US-Dollar ในเมื่อประเทศเราเป็นหนี้ IMF ในสกุลเงินดอลล่าห์ เราก็แค่ พิมพ์เงินประเทศเราเอาไปซื้อดอลล่าห์ เสร็จแล้วก็ เอาไปใช้หนี้คืน ง่ายๆ ไม่น่าจะมีอะไรยาก 16 กพ 2006 : ธนาคารกลางซิมบับเว จึงจัดพิมพ์เงินครั้งใหญ่ มูลค่า 21 Trillion (21,000,000,000,000 ZWD) เพื่อสะสางปัญหา ได้ผล ! หนี้หายวับไปกับตา แต่ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า “โหดร้ายมากกว่าเป็นหนี้หลายเท่าตัว” เงิน 21T ออกไปเที่ยว ตปท ได้ไม่นานก็หมุนเวียนกลับเข้ามาในระบบศก.ของซิมบับเวเอง สกุลเงิน ZWD เจือจางลงอย่างรวดเร็ว สินค้าทุกอย่างปรับขึ้นราคาตามในทันที เดือดร้อนถึง นายกโรเบิร์ต มูกาเบ้ ที่ต้องรีบสั่งการให้ ธนาคารกลางแก้ไข ปัญหาโดยด่วน ซึ่งแน่นอน อาวุธคู่กายธนาคารกลางทุกประเทศมีแค่ สองอย่าง แต่สำหรับ ซิมบับเว พิมพ์ พิมพ์ พิมพ์ และ ก็พิมพ์ คือ คำตอบสุดท้าย
ในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน ปริมาณเงินอีก 60T ! ถูกอัดฉีดเข้าระบบ วัตถุประสงค์ก็เพื่อจ่ายเพิ่มเป็นเงินเดือนให้กับบรรดา ทหาร ตำรวจและข้าราชการ เพราะข้าวของแพงเหลือเกิน แต่กลับยิ่งทำให้ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงเข้าไปอีก เพื่อเป็นการยับยั้งและจัดระเบียบกันใหม่ ให้เงินสกุล ZWD ยังคงดูน่าเชื่อถือต่อไป สิงหาคมในปีนั้น ธนาคารกลางตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบ ธนบัตรใหม่ทั้งหมด โดยขอร้องให้ประชาชนนำ ธนบัตรรุ่นเดิมมาแลก
แต่ภายใต้ข้อแม้ว่า 1000 ZWD เก่า แลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่ (ตัด 0 ออกสามตัว) หากคุณมีเงินฝากในธนาคาร 1 ล้าน วันรุ่งขึ้นยอดเงินฝากจะลดลงเหลือเพียง 1 พัน เท่านั้น !! ทำกันถึงขนาดนั้น แต่ปัญหาก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทา ......
ปี 2007 อัตราเงินเฟ้อยังคงพุ่งต่อเนื่อง ผลที่ตามมาคือสินค้าขึ้นราคาราวกับติดจรวด รัฐบาลของมูกาเบ้ ตัดสินใจใช้มุกใหม่ (แต่เป็นแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ) ออกกฎหมายควบคุมราคาสินค้าทุกอย่าง (Price control) ร้านค้าใดหากไม่ทำตามถือว่ามีความผิด ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า ในเมื่อขึ้นราคาสินค้าไม่ได้ก็ “ไม่ขาย” สินค้าใน ซุปเปอร์มาร์เก็ต เริ่มถูกเก็บลงจากชั้นวาง เหลือแต่ความว่างเปล่า การกำหนดราคาขายสินค้าอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า ยารักษาโรค เริ่มกำหนดกันเองในตลาดมืด พร้อมๆกับการกักตุนสินค้า เงิน ZWD กลายเป็น “เงินร้อน” ประชาชนรีบใช้มันทันทีเมื่อได้มันมา ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราเงินเฟ้อ จึงยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ
มกราคม 2008 รัฐบาลออกธนบัตรใหม่ชนิดราคา 200,000 ใช้เป็นครั้งแรก ! แต่ยังไม่ทันจะสิ้นเดือน ธนบัตรชนิดราคา 10,000,000 ก็ถูกผลิตขึ้นมา ถือเป็นแบงค์ที่มูลค่าแพงที่สุดในขณะนั้น แต่หากคิดเทียบเป็นเงินบาทไทย คงใช้ซื้อข้าวผัดกระเพราได้เพียงแค่ 4 จาน (120 บาท)
เมษายน 2008 รัฐบาลออกธนบัตร ชนิดราคา 50,000,000 ออกสู่สาธารณ
มิถุนายน 2008 ธนบัตร ชนิดราคา 100,000,000 และ 250,000,000 ก็ถูกผลิตออกมา แต่แค่เพียง สิบวันหลังจากนั้น ชนิดราคา 500,000,000 ก็ออกตามมาติดๆ
กรกฎาคม 2008 ธนาคารกลางวางแผน จะออกธนบัตรชนิดราคา 100,000,000,000 ออกสู่ตลาด แต่พอถึงปลายเดือน ประธานธนาคารกลางเลือกที่จะขอปรับค่าเงินกันใหม่ (Redenominated) โดยคราวนี้ ตัด 0 ข้างหลังออก 10 ตัว !!!!!! (10,000,000,000 ZWD เก่าแลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่) อัตราเงินเฟ้อในขณะนั้นคือ 11,250,000 % ! ราคาของเบียร์ 1 ขวดในขณะนั้น 100,000,000,000 แต่เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงถัดมา ราคาก็ปรับขึ้นเป็น 150,000,000,000
ความคิดของรัฐบาลและธนาคารกลางที่ จะแก้ปัญหาโดยการพิมพ์เงินอัดฉีดเข้าระบบ ไม่สัมฤทธิ์ผล สาเหตุก็เพราะ ความเชื่อถือในระบบธนบัตรของประชาชนชาวซิมบับเว ลดลงเร็วกว่า ความสามารถในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ไม่ว่าจะเร่งสปีดพิมพ์เพิ่มออกมามากขนาดไหน ไม่สำคัญว่าจะใส่ 0 ไปอีกซักกี่ตัว เมื่อ กระดาษก็คือกระดาษ ความน่าเชื่อถือหากหมดไปจากกระดาษ ก็คือ จบ... มูกาเบ้ ไม่เข้าใจความจริงในข้อนี้ เค้าเลือกที่จะสู้หลังพิงฝากับเงินเฟ้อ
มกราคม ปี 2009 ในเมื่อไม่มีอะไรจะเสีย ประชาชนชาวซิมบับเว จึงได้เห็น ธนบัตร ชนิดราคา 50,000,000,000 ออกใช้
16 มกราคม 2009
วันที่โลกต้องจดจำ รัฐบาลของมูกาเบ้ ประกาศจะพิมพ์ ธนบัตร ชนิดราคา
10,000,000,000,000 - อ่านว่า สิบ ล้านล้าน
20,000,000,000,000 - อ่านว่า ยี่สิบ ล้านล้าน
50,000,000,000,000 - อ่านว่า ห้าสิบ ล้านล้าน
100,000,000,000,000 - อ่านว่า หนึ่งร้อย ล้านล้าน
ออกใช้.....
แต่ไม่มีความหมายอีกต่อไป ประชาชนเลิกพกเงินเป็นกระสอบๆ เพื่อไปจ่ายตลาด เงินสกุล ซิมบับเว ไม่มีใครเชื่อถือและอยากใช้ การซื้อขายทั่วไป ถูกกำหนดราคากันใหม่ด้วย เงินสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น US.Dollar หรือไม่เช่นนั้นก็ทำการซื้อขายกันด้วย
“ทองคำ” ประชาชนชาว ซิมบับเว บางส่วน (ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ย้อนกลับไปสู่ยุคโบราญ เอากะทะไปร่อนหาเศษทองในแม่น้ำ เพื่อเอามาแลกกับ ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช หรือ ขนมปัง ประทังชีวิตไปวันๆ ใคร ที่ยังเก็บทองคำติดตัวเอาไว้ ยังสามารถซื้อของได้เท่าเดิม แต่ผู้ที่เก็บเงินออมไว้ในรูปแบบของ “ธนบัตร” ซิมบับเวเผื่อไว้ใช้ยามแก่ กลับพบว่าเงินทั้งหมดแทบไม่พอที่จะจ่ายแม้แค่ “อาหารเช้าเพียง 1 มื้อ”
เมษายน ปี 2009 สกุลเงิน ZWD ตายสนิท รัฐบาล ปล่อยให้ตลาดเป็นคนกำหนด ราคาและสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกันเอง เงิน ZWD ประกาศหยุดพิมพ์เพิ่ม อย่างน้อย 1 ปีหลังจากนั้น เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาด้วยตัวของมันเอง
ระบบเศรษฐกิจนั้นเมื่อเกิดปัญหา กลไกของตลาดจะมีวิธีจัดการแก้ไขได้ด้วยตัวของมัน ภาษาทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (Invisible Hand) หน้าที่ของรัฐบาล เพียงแค่สนับสนุนให้ มือที่มองไม่เห็นนี้ ทำงานไปอย่างเป็นธรรมชาติ แต่รัฐบาลในหลายๆประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เจริญแล้วหรือกำลังพัฒนา กลับพยายามที่จะทำตัวเป็นมือที่มองไม่เห็นนี้ซะเอง ใช้อำนาจ เข้าจุ้นจ้าน-เข้าแก้ไข สุดท้ายก็พัง ไม่มีอะไรมาขัดขวาง