ชมคลิปจากลิงค์
http://news.voicetv.co.th/global/79658.html
'นิวยอร์กไทมส์' แนะอียิปต์ศึกษาบทเรียนจากไทย
หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ของสหรัฐฯ ชูประเทศไทย เป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง พร้อมชื่นชมรัฐบาลไทยที่ใช้วิธีประนีประนอม จนลดความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศได้มากขึ้น
นายโจนาธาน เทปเพอร์แมน บรรณาธิการบริหารของนิตยสาร "Foreign Affairs" เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ของสหรัฐฯ เรียกร้องให้หลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอียิปต์ เวเนซุเอลา และซิมบับเว ซึ่งกำลังเผชิญปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง อันเนื่องมาจากความแตกแยกภายในประเทศ หันมาศึกษาบทเรียนจากประเทศไทย ที่สามารถพลิกฟื้นความขัดแย้ง ตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2549 จนกลับมามีความเงียบสงบมากขึ้น และสามารถดึงดูดชาวต่างชาติให้มาเยือนได้อย่างคึกคักในปัจจุบัน
บทความดังกล่าว ได้กล่าวชื่นชมรัฐบาลชุดปัจจุบัน ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สามารถรับมือกับความขัดแย้งได้เป็นอย่างดี โดยสูตรสำเร็จของการจัดการความขัดแย้งของไทย คือ การใช้การปกครองที่ใสสะอาด และถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนการประนีประนอมกับฝ่ายตรงข้าม และเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก
คอลัมนิสต์ของนิวยอร์กไทมส์ ยังระบุว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ตระหนักดีว่า เธอจะไม่สามารถทำตามเป้าหมายต่างๆ ที่วางไว้ รวมถึงช่วยให้คนยากจนมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ หากไม่สามารถทำให้ความวุ่นวายในประเทศสงบลง และอยู่บริหารประเทศจนครบวาระ 4 ปี
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยจึงผลักดันนโยบายปฏิรูป และกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมได้ เริ่มตั้งแต่การเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และอุดหนุนการซื้อรถยนต์ ผ่านโครงการรถคันแรก ซึ่งเป็นการเอาใจคนชั้นล่าง พร้อมทุ่มงบประมาณพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และลดภาษีเงินได้ ที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้มีฐานะดีด้วยเช่นกัน
ส่วนในด้านการเมืองนั้น นายเทปเพอร์แมนระบุว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ พยายามยุติความขัดแย้ง ด้วยการประนีประนอมกับฝ่ายตรงข้าม รวมถึงให้ความเคารพกับสถาบันที่ทรงอิทธิพล และประชาชนให้ความนิยม หรือแม้แต่บรรดานายทหาร ซึ่งเคยอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารโค่นล้มอำนาจของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นพี่ชายของเธอ
บทความดังกล่าว อ้างอิงคำพูดของนายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งระบุว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ สามารถปกครองร่วมกับชนชั้นนำของไทยได้ ด้วยการต่อรองอย่างมีนัยยะ นั่นคือ การปล่อยให้บรรดาชนชั้นนำได้อภิสิทธิ์ต่างๆ ต่อไป ขณะที่คนพวกนั้นก็ไม่เข้าไปขัดขวางการกุมอำนาจบริหารประเทศของเธอ
อย่างไรก็ตาม แม้หลายคนมองว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้อาจดูน่ารังเกียจ และเปราะบาง เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองรอบใหม่อาจเกิดขึ้นอีกครั้งได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะหากเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เช่น การตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเกิดของพันตำรวจโททักษิณ และการเปลี่ยนผ่านราชบัลลังก์ แต่คอลัมนิสต์ของนิวยอร์กไทมส์ มองว่า จุดด้อยนี้คือส่วนหนึ่งของนโยบายอันชาญฉลาดของนางสาวยิ่งลักษณ์
โดยนิวยอร์กไทมส์ให้เหตุผลว่า ยิ่งประเทศไทยมีสันติภาพยาวนานเท่าใด เศรษฐกิจ และการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยก็จะยิ่งเติบโตมากขึ้น ดังนั้น เมื่อความขัดแย้งในอนาคตมาถึง คนไทยอาจเลือกใช้วิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นั่นคือ การหันไปหาการเลือกตั้ง แทนการปะทะกันบนท้องถนน
นอกจากนี้ การที่หลายฝ่ายรู้สึกไม่สบายใจกับการเจรจาสงบศึกของนางสาวยิ่งลักษณ์ ยิ่งถือเป็นเรื่องดี เนื่องจากเป็นการแสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครได้ทุกอย่างตามที่ตนเองต้องการ และนั่นคือหลักการที่แท้จริงของการประนีประนอม ซึ่งนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า หลายประเทศควรศึกษาไว้เป็นบทเรียนเพื่อนำไปปรับใช้แก้ไขความขัดแย้งของตนด้วยเช่นกัน
by Phanuwat
23 สิงหาคม 2556 เวลา 18:15 น.
http://news.voicetv.co.th/global/79658.html
"นิวยอร์กไทมส์"ของสหรัฐฯ ชูไทย เป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง พร้อมชื่นชมรัฐบาลไทยที่ใช้วิธีประนีประนอม
ชมคลิปจากลิงค์ http://news.voicetv.co.th/global/79658.html
'นิวยอร์กไทมส์' แนะอียิปต์ศึกษาบทเรียนจากไทย
หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ของสหรัฐฯ ชูประเทศไทย เป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง พร้อมชื่นชมรัฐบาลไทยที่ใช้วิธีประนีประนอม จนลดความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศได้มากขึ้น
นายโจนาธาน เทปเพอร์แมน บรรณาธิการบริหารของนิตยสาร "Foreign Affairs" เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ของสหรัฐฯ เรียกร้องให้หลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอียิปต์ เวเนซุเอลา และซิมบับเว ซึ่งกำลังเผชิญปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง อันเนื่องมาจากความแตกแยกภายในประเทศ หันมาศึกษาบทเรียนจากประเทศไทย ที่สามารถพลิกฟื้นความขัดแย้ง ตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2549 จนกลับมามีความเงียบสงบมากขึ้น และสามารถดึงดูดชาวต่างชาติให้มาเยือนได้อย่างคึกคักในปัจจุบัน
บทความดังกล่าว ได้กล่าวชื่นชมรัฐบาลชุดปัจจุบัน ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สามารถรับมือกับความขัดแย้งได้เป็นอย่างดี โดยสูตรสำเร็จของการจัดการความขัดแย้งของไทย คือ การใช้การปกครองที่ใสสะอาด และถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนการประนีประนอมกับฝ่ายตรงข้าม และเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก
คอลัมนิสต์ของนิวยอร์กไทมส์ ยังระบุว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ตระหนักดีว่า เธอจะไม่สามารถทำตามเป้าหมายต่างๆ ที่วางไว้ รวมถึงช่วยให้คนยากจนมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ หากไม่สามารถทำให้ความวุ่นวายในประเทศสงบลง และอยู่บริหารประเทศจนครบวาระ 4 ปี
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยจึงผลักดันนโยบายปฏิรูป และกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมได้ เริ่มตั้งแต่การเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และอุดหนุนการซื้อรถยนต์ ผ่านโครงการรถคันแรก ซึ่งเป็นการเอาใจคนชั้นล่าง พร้อมทุ่มงบประมาณพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และลดภาษีเงินได้ ที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้มีฐานะดีด้วยเช่นกัน
ส่วนในด้านการเมืองนั้น นายเทปเพอร์แมนระบุว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ พยายามยุติความขัดแย้ง ด้วยการประนีประนอมกับฝ่ายตรงข้าม รวมถึงให้ความเคารพกับสถาบันที่ทรงอิทธิพล และประชาชนให้ความนิยม หรือแม้แต่บรรดานายทหาร ซึ่งเคยอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารโค่นล้มอำนาจของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นพี่ชายของเธอ
บทความดังกล่าว อ้างอิงคำพูดของนายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งระบุว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ สามารถปกครองร่วมกับชนชั้นนำของไทยได้ ด้วยการต่อรองอย่างมีนัยยะ นั่นคือ การปล่อยให้บรรดาชนชั้นนำได้อภิสิทธิ์ต่างๆ ต่อไป ขณะที่คนพวกนั้นก็ไม่เข้าไปขัดขวางการกุมอำนาจบริหารประเทศของเธอ
อย่างไรก็ตาม แม้หลายคนมองว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้อาจดูน่ารังเกียจ และเปราะบาง เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองรอบใหม่อาจเกิดขึ้นอีกครั้งได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะหากเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เช่น การตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเกิดของพันตำรวจโททักษิณ และการเปลี่ยนผ่านราชบัลลังก์ แต่คอลัมนิสต์ของนิวยอร์กไทมส์ มองว่า จุดด้อยนี้คือส่วนหนึ่งของนโยบายอันชาญฉลาดของนางสาวยิ่งลักษณ์
โดยนิวยอร์กไทมส์ให้เหตุผลว่า ยิ่งประเทศไทยมีสันติภาพยาวนานเท่าใด เศรษฐกิจ และการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยก็จะยิ่งเติบโตมากขึ้น ดังนั้น เมื่อความขัดแย้งในอนาคตมาถึง คนไทยอาจเลือกใช้วิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นั่นคือ การหันไปหาการเลือกตั้ง แทนการปะทะกันบนท้องถนน
นอกจากนี้ การที่หลายฝ่ายรู้สึกไม่สบายใจกับการเจรจาสงบศึกของนางสาวยิ่งลักษณ์ ยิ่งถือเป็นเรื่องดี เนื่องจากเป็นการแสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครได้ทุกอย่างตามที่ตนเองต้องการ และนั่นคือหลักการที่แท้จริงของการประนีประนอม ซึ่งนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า หลายประเทศควรศึกษาไว้เป็นบทเรียนเพื่อนำไปปรับใช้แก้ไขความขัดแย้งของตนด้วยเช่นกัน
by Phanuwat
23 สิงหาคม 2556 เวลา 18:15 น.
http://news.voicetv.co.th/global/79658.html