'นิวยอร์กไทมส์'ชี้ ประท้วงรอบใหม่สะท้อนสังคมไทยเปลี่ยน
นิวยอร์กไทมส์ วิเคราะห์ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทย โดยชี้ว่า การประท้วงต่อต้านรัฐบาลรอบใหม่ เผยให้เห็นสิ่งที่มากกว่าการต่อต้านระบอบทักษิณ แต่เป็นสภาพสังคมที่กำลังเปลี่ยนไป ส่งผลให้ดุลอำนาจทางการเมืองของไทยเปลี่ยนแปลง
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ของสหรัฐฯ ลงบทความวิเคราะห์ความวุ่นวายทางการเมืองล่าสุดในไทย โดยใช้ชื่อว่า"การประท้วงของไทยสะท้อนการแบ่งชนชั้นอันร่วงโรยของประเทศที่เปลี่ยนแปลง"
โดยบทความระบุว่า การชุมนุมที่กลายเป็นความรุนแรงตลอด 7 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการประท้วงล่าสุดของบรรดาอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่แค่ความขัดแย้งส่วนตัวระหว่างพรรคฝ่ายค้าน กับพันธมิตรของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่เป็นเพราะสภาพสังคมของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป
นิวยอร์กไทมส์ อ้างข้อมูลจากนักวิจัย และนักประวัติศาสตร์หลายคนที่ระบุว่า การประท้วงล่าสุดสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และชัดเจนยิ่งขึ้น เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ฝ่ายใดจะได้ครองอำนาจการเมือง และรับส่วนแบ่งผลประโยชน์จากรัฐบาล ซึ่งเป็นคำถามที่ยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเจอคำตอบ
นิวยอร์กไทมส์ อ้างคำพูดของศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์ชื่อดังของไทย ซึ่งระบุว่า ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจสังคมของไทย มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คล้ายสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของเอเชียที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
ด้วยเหตุนี้ บรรดาเกษตรกรผู้ยากไร้ในอดีตหลายล้านคน จึงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเลื่อนขึ้นเป็นชนชั้นกลางที่กำลังโหยหาความมีส่วนร่วม และมีสิทธิ์มีเสียงเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องที่บรรดาชนชั้นสูง และชนชั้นกลางรุ่นเก่าไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า สิ่งที่อาจารย์นิธิพูดถึงแสดงให้เห็นเด่นชัดในการประท้วงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นคำปราศรัยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์อันเก่าแก่ ที่เรียกร้องระบบเลือกตั้งซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย และอยากให้มีการจัดตั้งสภาประชาชนที่ไม่มีรายละเอียดชัดเจน
ส่วนเหตุผลที่ทำให้ผู้ประท้วงไม่เชื่อมั่นในระบบเลือกตั้งก็ดูเหมือนเด่นชัด นั่นคือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผู้สนับสนุนจำนวนมากเป็นชนชั้นสูง และชนชั้นกลางรุ่นเก่า ไม่เคยชนะการเลือกตั้งใหญ่มาตั้งแต่ปี 2535 โดยมีสาเหตุหลักจากความล้มเหลวในการได้เสียงสนับสนุนจากชนชั้นกลางรุ่นใหม่ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคอีสาน
ชาร์ลส์ คีย์ส นักวิชาการชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการผนวกรวมภาคอีสานสู่ความเป็นรัฐไทย เปิดเผยว่า การแย่งชิงอำนาจระหว่างเมืองกรุง กับจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะภาคอีสาน สามารถมองย้อนกลับไปได้นับร้อยปี ตั้งแต่ยุคกบฏผีบุญในปี 2445 ตลอดจนการสังหารนักการเมืองชื่อดังชาวอีสานจำนวนมากในยุคเผด็จการเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน
นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า ระบบเลือกตั้ง และการถือกำเนิดของพรรคการเมืองของพันตำรวจโททักษิณ ที่เน้นการพัฒนาชนบท ทำให้เศรษฐกิจในภาคอีสานเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีอัตราแซงหน้ากรุงเทพฯ ขณะที่นโยบายหลายอย่างของรัฐบาลปัจจุบันที่เอาใจชาวอีสาน อย่างนโยบายจำนำข้าวอันอื้อฉาว ยิ่งทำให้คนกรุงเทพฯ ทนไม่ได้กับเรื่องที่เกิดขึ้น
การประท้วงล่าสุดไม่สามารถปิดบังความรู้สึกที่เหนือกว่าของชนชั้นนำ และชนชั้นกลางรุ่นเก่า ทั้งยังสะท้อนผ่านคำปราศรัยของบรรดาแกนนำการชุมนุมซ้ำแล้วซ้ำเล่า กับวาทกรรมที่ว่า ผู้ร่วมการประท้วงเป็น"คนดี" ที่กำลังต่อสู้กับความชั่วช้า
นิวยอร์กไทมส์อ้างคำให้สัมภาษณ์ของผู้ชุมนุมคนหนึ่งจากภาคใต้ที่บอกว่า เธอเป็นชนชั้นกลางมีการศึกษา และรู้ผิดชอบชั่วดี ขณะที่คนจนเป็นพวกที่ไม่มีความรู้ และลงคะแนนเลือกตั้งให้ใครก็ตามที่แจกเงินให้พวกเขา
ทัศนคติดังกล่าว บวกกับความพยายามของบรรดาชนชั้นนำ ที่ร่วมมือกับกองทัพ และตุลาการ สกัดกั้นอำนาจทางการเมืองของพรรครัฐบาล ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างสถาบันสำคัญ รวมถึงผู้คนในจังหวัดต่างๆ และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดวงจรการเมืองบนท้องถนนมาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม อาจารย์นิธิ บอกกับนิวยอร์กไทมส์ทิ้งท้ายว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เกิดขึ้นล้วนต้องใช้เวลา เช่นเดียวกับกรณีของเมืองไทยที่ต้องเผชิญความวุ่นวายเช่นนี้ต่อไปอีกระยะ จนกว่าทุกอย่างจะกลับมาเข้ารูปเข้ารอยอีกครั้ง
'นิวยอร์กไทมส์'ชี้ ประท้วงรอบใหม่สะท้อนสังคมไทยเปลี่ยน
นิวยอร์กไทมส์ วิเคราะห์ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทย โดยชี้ว่า การประท้วงต่อต้านรัฐบาลรอบใหม่ เผยให้เห็นสิ่งที่มากกว่าการต่อต้านระบอบทักษิณ แต่เป็นสภาพสังคมที่กำลังเปลี่ยนไป ส่งผลให้ดุลอำนาจทางการเมืองของไทยเปลี่ยนแปลง
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ของสหรัฐฯ ลงบทความวิเคราะห์ความวุ่นวายทางการเมืองล่าสุดในไทย โดยใช้ชื่อว่า"การประท้วงของไทยสะท้อนการแบ่งชนชั้นอันร่วงโรยของประเทศที่เปลี่ยนแปลง"
โดยบทความระบุว่า การชุมนุมที่กลายเป็นความรุนแรงตลอด 7 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการประท้วงล่าสุดของบรรดาอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่แค่ความขัดแย้งส่วนตัวระหว่างพรรคฝ่ายค้าน กับพันธมิตรของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่เป็นเพราะสภาพสังคมของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป
นิวยอร์กไทมส์ อ้างข้อมูลจากนักวิจัย และนักประวัติศาสตร์หลายคนที่ระบุว่า การประท้วงล่าสุดสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และชัดเจนยิ่งขึ้น เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ฝ่ายใดจะได้ครองอำนาจการเมือง และรับส่วนแบ่งผลประโยชน์จากรัฐบาล ซึ่งเป็นคำถามที่ยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเจอคำตอบ
นิวยอร์กไทมส์ อ้างคำพูดของศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์ชื่อดังของไทย ซึ่งระบุว่า ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจสังคมของไทย มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คล้ายสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของเอเชียที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
ด้วยเหตุนี้ บรรดาเกษตรกรผู้ยากไร้ในอดีตหลายล้านคน จึงมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเลื่อนขึ้นเป็นชนชั้นกลางที่กำลังโหยหาความมีส่วนร่วม และมีสิทธิ์มีเสียงเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องที่บรรดาชนชั้นสูง และชนชั้นกลางรุ่นเก่าไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า สิ่งที่อาจารย์นิธิพูดถึงแสดงให้เห็นเด่นชัดในการประท้วงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นคำปราศรัยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์อันเก่าแก่ ที่เรียกร้องระบบเลือกตั้งซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย และอยากให้มีการจัดตั้งสภาประชาชนที่ไม่มีรายละเอียดชัดเจน
ส่วนเหตุผลที่ทำให้ผู้ประท้วงไม่เชื่อมั่นในระบบเลือกตั้งก็ดูเหมือนเด่นชัด นั่นคือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผู้สนับสนุนจำนวนมากเป็นชนชั้นสูง และชนชั้นกลางรุ่นเก่า ไม่เคยชนะการเลือกตั้งใหญ่มาตั้งแต่ปี 2535 โดยมีสาเหตุหลักจากความล้มเหลวในการได้เสียงสนับสนุนจากชนชั้นกลางรุ่นใหม่ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคอีสาน
ชาร์ลส์ คีย์ส นักวิชาการชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการผนวกรวมภาคอีสานสู่ความเป็นรัฐไทย เปิดเผยว่า การแย่งชิงอำนาจระหว่างเมืองกรุง กับจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะภาคอีสาน สามารถมองย้อนกลับไปได้นับร้อยปี ตั้งแต่ยุคกบฏผีบุญในปี 2445 ตลอดจนการสังหารนักการเมืองชื่อดังชาวอีสานจำนวนมากในยุคเผด็จการเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน
นิวยอร์กไทมส์ระบุว่า ระบบเลือกตั้ง และการถือกำเนิดของพรรคการเมืองของพันตำรวจโททักษิณ ที่เน้นการพัฒนาชนบท ทำให้เศรษฐกิจในภาคอีสานเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีอัตราแซงหน้ากรุงเทพฯ ขณะที่นโยบายหลายอย่างของรัฐบาลปัจจุบันที่เอาใจชาวอีสาน อย่างนโยบายจำนำข้าวอันอื้อฉาว ยิ่งทำให้คนกรุงเทพฯ ทนไม่ได้กับเรื่องที่เกิดขึ้น
การประท้วงล่าสุดไม่สามารถปิดบังความรู้สึกที่เหนือกว่าของชนชั้นนำ และชนชั้นกลางรุ่นเก่า ทั้งยังสะท้อนผ่านคำปราศรัยของบรรดาแกนนำการชุมนุมซ้ำแล้วซ้ำเล่า กับวาทกรรมที่ว่า ผู้ร่วมการประท้วงเป็น"คนดี" ที่กำลังต่อสู้กับความชั่วช้า
นิวยอร์กไทมส์อ้างคำให้สัมภาษณ์ของผู้ชุมนุมคนหนึ่งจากภาคใต้ที่บอกว่า เธอเป็นชนชั้นกลางมีการศึกษา และรู้ผิดชอบชั่วดี ขณะที่คนจนเป็นพวกที่ไม่มีความรู้ และลงคะแนนเลือกตั้งให้ใครก็ตามที่แจกเงินให้พวกเขา
ทัศนคติดังกล่าว บวกกับความพยายามของบรรดาชนชั้นนำ ที่ร่วมมือกับกองทัพ และตุลาการ สกัดกั้นอำนาจทางการเมืองของพรรครัฐบาล ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างสถาบันสำคัญ รวมถึงผู้คนในจังหวัดต่างๆ และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดวงจรการเมืองบนท้องถนนมาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม อาจารย์นิธิ บอกกับนิวยอร์กไทมส์ทิ้งท้ายว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เกิดขึ้นล้วนต้องใช้เวลา เช่นเดียวกับกรณีของเมืองไทยที่ต้องเผชิญความวุ่นวายเช่นนี้ต่อไปอีกระยะ จนกว่าทุกอย่างจะกลับมาเข้ารูปเข้ารอยอีกครั้ง