“ม.ล.กรกสิวัฒน์-อิฐบูรณ์” ชวนคนไทยสลายสีเสื้อบุก ปตท.ค้านขึ้นราคา LPG 23 ส.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2556 01:02 น.
วันที่ 21 ส.ค. ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา พร้อมด้วยนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมสนทนาในรายการ “คนเคาะข่าว” ทางเอเอสทีวี
ม.ล.กรกสิวัฒน์ได้กล่าวว่า ก๊าซหุงต้มเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา ไทยมายังเป็นประเทศส่งออก แต่วันนี้ขาดแคลนจนต้องนำเข้า แล้วพบความจริงว่าปัญหาไม่ได้เริ่มต้นจากการไม่มีวัตถุดิบผลิตแอลพีจี เรามีเพียงพอที่จะสามารถผลิตเพิ่มอีกหลายล้านตันเลย
วันนี้ก๊าซจากอ่าวไทยขึ้นมา 4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ปรากฏว่าเข้าโรงแยกก๊าซแค่ 2,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตเท่านั้น แค่ 60 เปอร์เซ็นต์ของก๊าซหุงต้มที่ขุดได้ ที่เหลือ 40 เปอร์เซ็นต์เข้าไม่ได้ จึงปนไปกับก๊าซมีเทนใช้เผาปั่นไฟ เหมือนกับว่าวัตถุดิบมีแต่ไม่ยอมสร้างโรงแยกก๊าซให้พอ พอมีน้อยก็นำเข้าแล้วขอขึ้นราคาเป็นราคาตลาดโลก รัฐวิสาหกิจบริหารจัดการอย่างนี้ได้อย่างไรทำคนเดือดร้อน
ก๊าซหุงต้มที่เหลือ 2,500 ล้านลูกบาศก์ฟุต ที่เข้าโรงแยกก๊าซไม่ได้ ตรงนี้สามารถทำก๊าซหุงต้มได้ 2 ล้านตัน ซึ่งทุกวันนี้นำเข้าแค่ล้านกว่าตัน ดังนั้นถ้าปตท.แยกก๊าซตรงนี้ได้ไม่ต้องนำเข้าเลย แล้วยังเหลือส่งออกด้วย แต่ที่ทำแบบนี้เพื่อให้ขาดตลาด จะได้ขึ้นราคาได้ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ (อดีต CEO ปตท.) พูดตลอดว่าไม่ขึ้นราคาก็จะไม่สร้างโรงแยกก๊าซ เพราะไม่คุ้ม ทั้งที่ธุรกิจก๊าซหุงต้ม ปตท.ไม่เคยขาดทุนเลย แต่ที่ไม่คุ้มคืออยากได้กำไรเยอะๆมากกว่านี้ จนยอมทิ้ง 2 ล้านตันไปเผารวมกับก๊าซมีเทนแล้วบอกว่าไม่พอ ฉะนั้นการนำเข้าก๊าซหุงต้ม ปตท.ต้องรับผิดชอบเพราะผูกขาดตั้งแต่ท่อก๊าซไปแล้ว ต้องดูดูแลเรื่องสร้างโรงแยกก๊าซให้พอ
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวอีกว่า โรงแยกก๊าซสามารถผลิตก๊าซหุงต้มได้ 3.5 ล้านตัน เพียงพอต่อการใช้กับภาคประชาชน คือ ภาคครัวเรือนและยานยนต์ ดังนั้น ถ้าก๊าซมาจากอ่าวไทยให้คนไทยใช้ก็ไม่ต้องนำเข้า แต่คนที่ทำให้ก๊าซไม่พอคือภาคปิโตรเคมี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.ทั้งนั้น ได้สิทธิพิเศษแย่งก๊าซจากโรงแยกก๊าซไปก่อน โดยออกเป็นมติครม.เลย พอขาดก็นำเข้า แล้วก็ตกเป็นภาระประชาชน
สถานการณ์ก๊าซวันนี้ถ้าบริหารจัดการดีๆ พอยิ่งกว่าพอ หากสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มได้จะไม่ต้องนำเข้าเลย แต่สถานการณ์วันนี้กระทรวงพลังงานรู้เห็น เอาสิทธิพิเศษอะไรไปให้ ปตท. ในเมื่อประชาชนคือเจ้าของทรัพยากร รัฐลำดับความสำคัญผิดแล้ว
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวต่อว่า วันนี้จะขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม จากเดิมอยู่ที่กิโลกรัมละ 18.13 บาท ส่งถึงบ้านตกที่ 20 บาท/กก. ต่อไปจะขึ้นเป็น 24.82 บาท/กก. แต่ภาคปิโตรเคมีใช้แค่ 16.20 บาท/กก. วิธีการอธิบายแบบ ปตท.บอกว่าประชาชนซื้อก๊าซที่ 10 บาท/กก. ส่วนภาคปิโตรเคมีซื้อ 22.30/กก. แล้วบอกภาคประชาชนใช้ถูกจนเคยตัว เลยต้องขึ้นราคา ตนขอถามว่ามีบ้านไหนซื้อก๊าซหุงต้มได้ 10 บาทบ้าง แล้วเอาราคานี้ไปเสนอนายกฯเพื่อใช้ตัดสินใจให้ขึ้นราคา ให้เห็นว่าประชาชนใช้ในราคาต่ำ
ที่สำคัญตอนแปรรูปเข้าตลาด โรงแยกก๊าซทั้ง 4 โรงรวมกันตีราคาให้เราประมาณ 3,200 ล้านบาท แต่วันนี้จะสร้างสักโรงบอกแพงมากมายมหาศาล แสดงว่าตอนแปรรูปตีราคาให้เราต่ำไปแล้ว คือ ตอนเอาของประชาชนไปตีราคาซะต่ำ พอจะสร้างใหม่บอกมันแพง แล้วโรงแยกก๊าซ 4 โรงก็ทำกำไรให้ปตท.จนร่ำรวยแล้ว เหมือนลืมบุญคุณประชาชน
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาเวลา ปตท.สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่ม ก็ขึ้นราคามาตลอด ทั้งที่ต้นทุนต่อหน่วยไม่ควรเพิ่ม หรือต้องลดลงด้วยซ้ำ เพราะผลิตได้มากขึ้น ขายได้มากขึ้น เป็นการทำขัดหลักเศรษฐศาสตร์
ม.ล.กรกสิวัฒน์ยังกล่าวอีกว่า เมื่อปี 55 ปตท.ได้กำไรจากก๊าซธรรมชาติ 3.8 หมื่นล้านบาท แต่ยังจะขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม ไม่พอยังได้กำไรจากการได้สัมปทานเป็นแสนล้าน ทำไมกระทรวงพลังงานไม่พิจารณาตรงนี้บ้างว่าเขาได้กำไร ขาดทุนตรงไหน และอย่าลืมว่าทรัพยากรมาจากแผ่นดินไทย
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานยังใช้เงินภาษีประชาชนตีพิมพ์เอกสารเพื่อชี้แจงเรื่องก๊าซ โดยบอกอีกว่าภาคครัวเรือนใช้ก๊าซหุงต้ม 10 บาท/กก. ส่วนภาคปิโตรเคมี 22.30 บาท/กก. ซึ่งมันไม่จริง ตนมีเอกสารยืนยันจาก ปตท.ล่าสุดเลยว่าภาคปิโตรเคมีใช้แค่ 17 บาท/กก.เท่านั้น แล้วในอีก 2 ปีข้างหน้า ราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ยานยนต์ และ อุตสาหกรรม จะต้องใช้เท่ากันที่ 30.13 บาท/กก. ส่วนภาคปิโตรเคมียังอยู่ที่ 17 บาท/กก. คือภาคปิโตรเคมีได้ใช้ก๊าซต่ำกว่าราคาตลาดโลก 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ให้คนไทยทั้งประเทศใช้ในราคาตลาดโลก ใจร้ายมาก เคยเชิญข้าราชการกระทรวงพลังงานมาถามว่าจริงหรือที่ภาคปิโตรเคมีใช้ก๊าซ 22.30 บาท/กก. รองอธิบดีตอบว่าไม่รู้ที่มาที่ไป แค่พิมพ์ตามที่ ปตท.บอก
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวทิ้งท้ายว่า ทรัพย์ของแผ่นดินคือสมบัติของประชาชน 23 ส.ค.นี้ ไปทวงสิทธิว่าคนไทยทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรใต้แผ่นดินไทย และข้าราชการกระทรวงพลังงานระดับสูงต้องไม่นั่ง 2 บทบาท เพราะได้ค่าจ้างจากเงินเดือนข้าราชการไปแล้ว อย่ารับเงินซ้อนอีก ถ้าจะเป็นนักธุรกิจให้ออกไปเป็น ต้องเลือกบทบาทใดบทบาทหนึ่ง
วันนี้มุกของคนฉ้อฉลพลังงานกำลังปล่อยข่าวว่าพวกตนจะล้มรัฐบาล ไม่มีทางที่จะทำแบบนั้น ปัญหาเรื่องพลังงาน หมักหมมมาหลายรัฐบาลแล้ว ไม่ใช่แค่รัฐบาลนี้ ตนขอเลยงานนี้สู้เพื่อปากท้องเท่านั้น เหลืองแดงใช้น้ำมันแพงเท่ากัน
ปัญหาก๊าซหุงต้มแก้ง่ายมาก แค่แก้ให้ตรงจุด คือ ทุกวันนี้ภาคอุตสาหกรรมจ่ายเข้ากองทุนน้ำมัน 12 บาท แต่ภาคปิโตรเคมีจ่ายแค่ 1 บาท แค่ให้ภาคปิโตรเคมีจ่ายเท่าภาคอุตสาหกรรมอื่น ก็จะได้เงินเข้ากองทุนน้ำมัน 3 หมื่นล้านบาท หนี้กองทุนฯหายเกลี้ยง ไม่ต้องเก็บจากเบนซิน 9 บาท และดีเซล 4 บาท ราคาน้ำมันลดทันที แล้วปัญหามันจะจบ ถ้ารัฐบาลกล้าตัดสินใจ รัฐบาลอยู่ยาวแน่นอน
ด้านนายอิฐบูรณ์กล่าวว่า การมีมติ ครม.ให้ภาคปิโตรเคมีใช้ก๊าซก่อนพี่น้องประชาชน เกิดตอนปี 51 เป็นช่วงที่การเมืองวุ่นวาย ฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนมติ ครม. แต่จะเปลี่ยนได้ไหมถ้าพี่น้องยังแตกแยกกันอยู่ ธุรกิจพลังงานใช้โอกาสที่พี่น้องทะเลาะกันในการฉกฉวยผลประโยชน์ เราต้องสามัคคีกันอย่างมาก ทัศนคติทางการเมืองขอให้วางไว้ ทำเพื่อปากท้องของเรา ปกป้องทรัพยากรที่ต้องเเป็นของเรา สลายเสื้อสี แล้วใส่เสื้อสีดำ ให้เหมือนอ่าวพร้าวที่ดำเพราะการกระทำของปตท. ทำให้สีดำท่วมตึกที่ทำการ ปตท. เพราะเป็นแหล่งที่ไม่ชอบธรรมของประเทศ บ่าย 3 โมง วันศุกร์ที่ 23 ส.ค. มาพร้อมๆ กัน ทำได้ไหมแค่นี้
“ม.ล.กรกสิวัฒน์-อิฐบูรณ์” ชวนคนไทยสลายสีเสื้อบุก ปตท.ค้านขึ้นราคา LPG 23 ส.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 สิงหาคม 2556 01:02 น.
วันที่ 21 ส.ค. ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา พร้อมด้วยนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมสนทนาในรายการ “คนเคาะข่าว” ทางเอเอสทีวี
ม.ล.กรกสิวัฒน์ได้กล่าวว่า ก๊าซหุงต้มเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา ไทยมายังเป็นประเทศส่งออก แต่วันนี้ขาดแคลนจนต้องนำเข้า แล้วพบความจริงว่าปัญหาไม่ได้เริ่มต้นจากการไม่มีวัตถุดิบผลิตแอลพีจี เรามีเพียงพอที่จะสามารถผลิตเพิ่มอีกหลายล้านตันเลย
วันนี้ก๊าซจากอ่าวไทยขึ้นมา 4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ปรากฏว่าเข้าโรงแยกก๊าซแค่ 2,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตเท่านั้น แค่ 60 เปอร์เซ็นต์ของก๊าซหุงต้มที่ขุดได้ ที่เหลือ 40 เปอร์เซ็นต์เข้าไม่ได้ จึงปนไปกับก๊าซมีเทนใช้เผาปั่นไฟ เหมือนกับว่าวัตถุดิบมีแต่ไม่ยอมสร้างโรงแยกก๊าซให้พอ พอมีน้อยก็นำเข้าแล้วขอขึ้นราคาเป็นราคาตลาดโลก รัฐวิสาหกิจบริหารจัดการอย่างนี้ได้อย่างไรทำคนเดือดร้อน
ก๊าซหุงต้มที่เหลือ 2,500 ล้านลูกบาศก์ฟุต ที่เข้าโรงแยกก๊าซไม่ได้ ตรงนี้สามารถทำก๊าซหุงต้มได้ 2 ล้านตัน ซึ่งทุกวันนี้นำเข้าแค่ล้านกว่าตัน ดังนั้นถ้าปตท.แยกก๊าซตรงนี้ได้ไม่ต้องนำเข้าเลย แล้วยังเหลือส่งออกด้วย แต่ที่ทำแบบนี้เพื่อให้ขาดตลาด จะได้ขึ้นราคาได้ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ (อดีต CEO ปตท.) พูดตลอดว่าไม่ขึ้นราคาก็จะไม่สร้างโรงแยกก๊าซ เพราะไม่คุ้ม ทั้งที่ธุรกิจก๊าซหุงต้ม ปตท.ไม่เคยขาดทุนเลย แต่ที่ไม่คุ้มคืออยากได้กำไรเยอะๆมากกว่านี้ จนยอมทิ้ง 2 ล้านตันไปเผารวมกับก๊าซมีเทนแล้วบอกว่าไม่พอ ฉะนั้นการนำเข้าก๊าซหุงต้ม ปตท.ต้องรับผิดชอบเพราะผูกขาดตั้งแต่ท่อก๊าซไปแล้ว ต้องดูดูแลเรื่องสร้างโรงแยกก๊าซให้พอ
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวอีกว่า โรงแยกก๊าซสามารถผลิตก๊าซหุงต้มได้ 3.5 ล้านตัน เพียงพอต่อการใช้กับภาคประชาชน คือ ภาคครัวเรือนและยานยนต์ ดังนั้น ถ้าก๊าซมาจากอ่าวไทยให้คนไทยใช้ก็ไม่ต้องนำเข้า แต่คนที่ทำให้ก๊าซไม่พอคือภาคปิโตรเคมี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.ทั้งนั้น ได้สิทธิพิเศษแย่งก๊าซจากโรงแยกก๊าซไปก่อน โดยออกเป็นมติครม.เลย พอขาดก็นำเข้า แล้วก็ตกเป็นภาระประชาชน
สถานการณ์ก๊าซวันนี้ถ้าบริหารจัดการดีๆ พอยิ่งกว่าพอ หากสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มได้จะไม่ต้องนำเข้าเลย แต่สถานการณ์วันนี้กระทรวงพลังงานรู้เห็น เอาสิทธิพิเศษอะไรไปให้ ปตท. ในเมื่อประชาชนคือเจ้าของทรัพยากร รัฐลำดับความสำคัญผิดแล้ว
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวต่อว่า วันนี้จะขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม จากเดิมอยู่ที่กิโลกรัมละ 18.13 บาท ส่งถึงบ้านตกที่ 20 บาท/กก. ต่อไปจะขึ้นเป็น 24.82 บาท/กก. แต่ภาคปิโตรเคมีใช้แค่ 16.20 บาท/กก. วิธีการอธิบายแบบ ปตท.บอกว่าประชาชนซื้อก๊าซที่ 10 บาท/กก. ส่วนภาคปิโตรเคมีซื้อ 22.30/กก. แล้วบอกภาคประชาชนใช้ถูกจนเคยตัว เลยต้องขึ้นราคา ตนขอถามว่ามีบ้านไหนซื้อก๊าซหุงต้มได้ 10 บาทบ้าง แล้วเอาราคานี้ไปเสนอนายกฯเพื่อใช้ตัดสินใจให้ขึ้นราคา ให้เห็นว่าประชาชนใช้ในราคาต่ำ
ที่สำคัญตอนแปรรูปเข้าตลาด โรงแยกก๊าซทั้ง 4 โรงรวมกันตีราคาให้เราประมาณ 3,200 ล้านบาท แต่วันนี้จะสร้างสักโรงบอกแพงมากมายมหาศาล แสดงว่าตอนแปรรูปตีราคาให้เราต่ำไปแล้ว คือ ตอนเอาของประชาชนไปตีราคาซะต่ำ พอจะสร้างใหม่บอกมันแพง แล้วโรงแยกก๊าซ 4 โรงก็ทำกำไรให้ปตท.จนร่ำรวยแล้ว เหมือนลืมบุญคุณประชาชน
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาเวลา ปตท.สร้างโรงแยกก๊าซเพิ่ม ก็ขึ้นราคามาตลอด ทั้งที่ต้นทุนต่อหน่วยไม่ควรเพิ่ม หรือต้องลดลงด้วยซ้ำ เพราะผลิตได้มากขึ้น ขายได้มากขึ้น เป็นการทำขัดหลักเศรษฐศาสตร์
ม.ล.กรกสิวัฒน์ยังกล่าวอีกว่า เมื่อปี 55 ปตท.ได้กำไรจากก๊าซธรรมชาติ 3.8 หมื่นล้านบาท แต่ยังจะขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม ไม่พอยังได้กำไรจากการได้สัมปทานเป็นแสนล้าน ทำไมกระทรวงพลังงานไม่พิจารณาตรงนี้บ้างว่าเขาได้กำไร ขาดทุนตรงไหน และอย่าลืมว่าทรัพยากรมาจากแผ่นดินไทย
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานยังใช้เงินภาษีประชาชนตีพิมพ์เอกสารเพื่อชี้แจงเรื่องก๊าซ โดยบอกอีกว่าภาคครัวเรือนใช้ก๊าซหุงต้ม 10 บาท/กก. ส่วนภาคปิโตรเคมี 22.30 บาท/กก. ซึ่งมันไม่จริง ตนมีเอกสารยืนยันจาก ปตท.ล่าสุดเลยว่าภาคปิโตรเคมีใช้แค่ 17 บาท/กก.เท่านั้น แล้วในอีก 2 ปีข้างหน้า ราคาก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน ยานยนต์ และ อุตสาหกรรม จะต้องใช้เท่ากันที่ 30.13 บาท/กก. ส่วนภาคปิโตรเคมียังอยู่ที่ 17 บาท/กก. คือภาคปิโตรเคมีได้ใช้ก๊าซต่ำกว่าราคาตลาดโลก 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ให้คนไทยทั้งประเทศใช้ในราคาตลาดโลก ใจร้ายมาก เคยเชิญข้าราชการกระทรวงพลังงานมาถามว่าจริงหรือที่ภาคปิโตรเคมีใช้ก๊าซ 22.30 บาท/กก. รองอธิบดีตอบว่าไม่รู้ที่มาที่ไป แค่พิมพ์ตามที่ ปตท.บอก
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวทิ้งท้ายว่า ทรัพย์ของแผ่นดินคือสมบัติของประชาชน 23 ส.ค.นี้ ไปทวงสิทธิว่าคนไทยทุกคนเป็นเจ้าของทรัพยากรใต้แผ่นดินไทย และข้าราชการกระทรวงพลังงานระดับสูงต้องไม่นั่ง 2 บทบาท เพราะได้ค่าจ้างจากเงินเดือนข้าราชการไปแล้ว อย่ารับเงินซ้อนอีก ถ้าจะเป็นนักธุรกิจให้ออกไปเป็น ต้องเลือกบทบาทใดบทบาทหนึ่ง
วันนี้มุกของคนฉ้อฉลพลังงานกำลังปล่อยข่าวว่าพวกตนจะล้มรัฐบาล ไม่มีทางที่จะทำแบบนั้น ปัญหาเรื่องพลังงาน หมักหมมมาหลายรัฐบาลแล้ว ไม่ใช่แค่รัฐบาลนี้ ตนขอเลยงานนี้สู้เพื่อปากท้องเท่านั้น เหลืองแดงใช้น้ำมันแพงเท่ากัน
ปัญหาก๊าซหุงต้มแก้ง่ายมาก แค่แก้ให้ตรงจุด คือ ทุกวันนี้ภาคอุตสาหกรรมจ่ายเข้ากองทุนน้ำมัน 12 บาท แต่ภาคปิโตรเคมีจ่ายแค่ 1 บาท แค่ให้ภาคปิโตรเคมีจ่ายเท่าภาคอุตสาหกรรมอื่น ก็จะได้เงินเข้ากองทุนน้ำมัน 3 หมื่นล้านบาท หนี้กองทุนฯหายเกลี้ยง ไม่ต้องเก็บจากเบนซิน 9 บาท และดีเซล 4 บาท ราคาน้ำมันลดทันที แล้วปัญหามันจะจบ ถ้ารัฐบาลกล้าตัดสินใจ รัฐบาลอยู่ยาวแน่นอน
ด้านนายอิฐบูรณ์กล่าวว่า การมีมติ ครม.ให้ภาคปิโตรเคมีใช้ก๊าซก่อนพี่น้องประชาชน เกิดตอนปี 51 เป็นช่วงที่การเมืองวุ่นวาย ฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนมติ ครม. แต่จะเปลี่ยนได้ไหมถ้าพี่น้องยังแตกแยกกันอยู่ ธุรกิจพลังงานใช้โอกาสที่พี่น้องทะเลาะกันในการฉกฉวยผลประโยชน์ เราต้องสามัคคีกันอย่างมาก ทัศนคติทางการเมืองขอให้วางไว้ ทำเพื่อปากท้องของเรา ปกป้องทรัพยากรที่ต้องเเป็นของเรา สลายเสื้อสี แล้วใส่เสื้อสีดำ ให้เหมือนอ่าวพร้าวที่ดำเพราะการกระทำของปตท. ทำให้สีดำท่วมตึกที่ทำการ ปตท. เพราะเป็นแหล่งที่ไม่ชอบธรรมของประเทศ บ่าย 3 โมง วันศุกร์ที่ 23 ส.ค. มาพร้อมๆ กัน ทำได้ไหมแค่นี้