มหากาพย์ปล้นคนไทย อย่าให้ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ มาปล้นเกี่ยวกับความรู้ และ ความจริงไปจากเรา
ตามที่เพจบางเพจได้กล่าวไว้ คงไม่พ้นเรื่องเดิมๆ นะครับ คือปิโตรเคมีใช้ในราคาถูก และถูกอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แถมยังหาว่าปิโตรเคมีแย่งจากภาคครัวเรือนไปใช้อีก
ตามที่เพจบางเพจได้กล่าวไว้ คงไม่พ้นเรื่องเดิมๆ นะครับ คือปิโตรเคมีใช้ในราคาถูก และถูกอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แถมยังหาว่าปิโตรเคมีแย่งจากภาคครัวเรือนไปใช้อีก ผมขอเขียนตามที่เพจบ้างเพจได้กล่าวอ้างมาเลยละกัน แต่จะให้ดี ขอเกริ่นถึงหน้าที่ของโรงแยกก๊าซก่อนจะดีกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติแต่ละหน่วย
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 1
เพื่อผลิตวัตถุตั้งต้นให้แก่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้มสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 2, 3 และ 4
เพื่อขยายตัวตามความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวก๊าซหุงต้มที่เพิ่มสูงขึ้น
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5
เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีความต้องการก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้มเป็นวัตถุดิบตั้งต้น พร้อมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงในด้านการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์
http://vcharkarn.com/varticle/42530
ดังที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าโรงแยกก๊าซสร้างมาเพื่ออะไร และมันก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจขนาดไหน เรามาเข้าเรื่องของเพจนี้ที่ได้กล่าวอ้างมาละกัน เนื่องจากทุกอย่างมันเชื่อมกันหมดเลยต้องขอแยกเป็นเรื่องนะครับ
แต่ก่อนที่จะไปพูดถึงที่มาของราคาก๊าซ LPG นั้นเราก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าก๊าซ LPG ที่เราใช้กันอยู่ในประเทศนั้นมาจากไหนบ้าง เพราะราคาก๊าซ LPG จากแต่ละที่นั้นแตกต่างกัน สำหรับในประเทศไทยก๊าซ LPG มาจากสามแหล่งหลักๆ คือ
1) ได้มาจากโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งก๊าซ LPG นี้ก็ถือเป็นผลผลิตที่ได้ออกมาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันนั่นเอง
2) ได้มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดยภายหลังมีการขุดค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถนำไปแยกองค์ประกอบที่มีความชื้นสูง หรือที่มีสภาพเป็นของเหลวออกมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ แทนที่เราจะนำก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้ไปเผาเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมดนั้น เราก็จับมันมาทำการแยกส่วนที่สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างอื่นได้อีก ซึ่งก๊าซ LPG ก็ถือเป็นหนึ่งที่ได้มาจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาตินี้ ก๊าซ LPG ที่ได้ก็สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อใช้ในการผลิตสิ่งต่างๆ เช่น เมล็ดพลาสติก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ก๊าซ LPG ที่ได้นี้ก็สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เช่นกัน โดยจะเห็นว่าปัจจุบันนั้นมีการนำก๊าซ LPG ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคหุงต้ม ภาคการขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม
3) ก๊าซ LPG ที่ได้มาจากการนำเข้า ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันนั้นการผลิตก๊าซ LPG ทั้งจากโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้ในประเทศ ทำให้ปัจจุบันเราต้องนำเข้าก๊าซ LPG อยู่ประมาณ 181,000 ตันต่อเดือน (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 จากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน)
เมื่อทราบแหล่งที่มาแล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าต้นทุนของก๊าซ LPG ที่มาจากแต่ละแหล่งนั้นเป็นอย่างไร โดยในส่วนของต้นทุนก๊าซ LPG ที่มาจากโรงกลั่นน้ำมันนั้น เราก็ต้องมาดูก่อนว่าเราได้ก๊าซ LPG ที่ได้มานั้นมาได้อย่างไร ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าโรงกลั่นน้ำมันนั้นใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งที่เราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่และก็เป็นการนำเข้าในราคาที่ซื้อขายกันในตลาด ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากโรงกลั่นน้ำมันนั้น ก็จะต้องมีการขายในราคาตลาดด้วยเช่นกัน ดังนั้นราคาของก๊าซ LPG ที่ผลิตได้จากโรงกลั่นนี้จึงต้องสะท้อนถึงราคาตลาดที่มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยทั่วไป ซึ่งก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามราคาตลาด แต่ปัจจุบันรัฐก็ไม่ได้ให้โรงกลั่นขายก๊าซ LPG ในราคาตามที่ควรจะได้ โดยรัฐได้มีการกำหนดราคาก๊าซ LPG ให้กับโรงกลั่นน้ำมันโดยวิธีการใช้ราคาเฉลี่ยที่คำนวณจากราคาตลาด (ราคา CP) ในอัตราส่วนร้อยละ 76 และราคาที่รัฐตั้งเพดานไว้ในประเทศที่ 333 ดอลลาร์ต่อตันในอัตราส่วนร้อยละ 24 ซึ่งก็จะทำให้ราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นนั้นต่ำกว่าราคาตลาดลงมาในระดับหนึ่ง
สำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตมาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้น จะต่างกับก๊าซ LPG ที่มาจากโรงกลั่นน้ำมันคือก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นจะใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิต ดังนั้น ต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG จึงมาจากต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่ได้จากอ่าวไทยบวกกับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจากการศึกษาโดยทางกระทรวงพลังงานนั้นทำให้ทราบว่าราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นจะอยู่ที่ประมาณ 550 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งก็ยังสูงกว่าราคาที่รัฐกำหนดไว้ที่ 333 ดอลลาร์ต่อตัน และส่วนต่างตรงนี้โรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นก็เป็นผู้รับภาระ โดยรัฐไม่ได้เข้ามาอุดหนุนแต่ประการใด
มหากาพย์ปล้นคนไทย ใครกันแน่ที่ปล้นเรา
ตามที่เพจบางเพจได้กล่าวไว้ คงไม่พ้นเรื่องเดิมๆ นะครับ คือปิโตรเคมีใช้ในราคาถูก และถูกอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แถมยังหาว่าปิโตรเคมีแย่งจากภาคครัวเรือนไปใช้อีก
ตามที่เพจบางเพจได้กล่าวไว้ คงไม่พ้นเรื่องเดิมๆ นะครับ คือปิโตรเคมีใช้ในราคาถูก และถูกอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แถมยังหาว่าปิโตรเคมีแย่งจากภาคครัวเรือนไปใช้อีก ผมขอเขียนตามที่เพจบ้างเพจได้กล่าวอ้างมาเลยละกัน แต่จะให้ดี ขอเกริ่นถึงหน้าที่ของโรงแยกก๊าซก่อนจะดีกว่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดังที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าโรงแยกก๊าซสร้างมาเพื่ออะไร และมันก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจขนาดไหน เรามาเข้าเรื่องของเพจนี้ที่ได้กล่าวอ้างมาละกัน เนื่องจากทุกอย่างมันเชื่อมกันหมดเลยต้องขอแยกเป็นเรื่องนะครับ
แต่ก่อนที่จะไปพูดถึงที่มาของราคาก๊าซ LPG นั้นเราก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าก๊าซ LPG ที่เราใช้กันอยู่ในประเทศนั้นมาจากไหนบ้าง เพราะราคาก๊าซ LPG จากแต่ละที่นั้นแตกต่างกัน สำหรับในประเทศไทยก๊าซ LPG มาจากสามแหล่งหลักๆ คือ
1) ได้มาจากโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งก๊าซ LPG นี้ก็ถือเป็นผลผลิตที่ได้ออกมาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันนั่นเอง
2) ได้มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดยภายหลังมีการขุดค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถนำไปแยกองค์ประกอบที่มีความชื้นสูง หรือที่มีสภาพเป็นของเหลวออกมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ แทนที่เราจะนำก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้ไปเผาเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมดนั้น เราก็จับมันมาทำการแยกส่วนที่สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างอื่นได้อีก ซึ่งก๊าซ LPG ก็ถือเป็นหนึ่งที่ได้มาจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาตินี้ ก๊าซ LPG ที่ได้ก็สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อใช้ในการผลิตสิ่งต่างๆ เช่น เมล็ดพลาสติก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ก๊าซ LPG ที่ได้นี้ก็สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เช่นกัน โดยจะเห็นว่าปัจจุบันนั้นมีการนำก๊าซ LPG ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคหุงต้ม ภาคการขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม
3) ก๊าซ LPG ที่ได้มาจากการนำเข้า ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันนั้นการผลิตก๊าซ LPG ทั้งจากโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้ในประเทศ ทำให้ปัจจุบันเราต้องนำเข้าก๊าซ LPG อยู่ประมาณ 181,000 ตันต่อเดือน (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 จากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน)
เมื่อทราบแหล่งที่มาแล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าต้นทุนของก๊าซ LPG ที่มาจากแต่ละแหล่งนั้นเป็นอย่างไร โดยในส่วนของต้นทุนก๊าซ LPG ที่มาจากโรงกลั่นน้ำมันนั้น เราก็ต้องมาดูก่อนว่าเราได้ก๊าซ LPG ที่ได้มานั้นมาได้อย่างไร ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าโรงกลั่นน้ำมันนั้นใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งที่เราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่และก็เป็นการนำเข้าในราคาที่ซื้อขายกันในตลาด ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากโรงกลั่นน้ำมันนั้น ก็จะต้องมีการขายในราคาตลาดด้วยเช่นกัน ดังนั้นราคาของก๊าซ LPG ที่ผลิตได้จากโรงกลั่นนี้จึงต้องสะท้อนถึงราคาตลาดที่มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยทั่วไป ซึ่งก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามราคาตลาด แต่ปัจจุบันรัฐก็ไม่ได้ให้โรงกลั่นขายก๊าซ LPG ในราคาตามที่ควรจะได้ โดยรัฐได้มีการกำหนดราคาก๊าซ LPG ให้กับโรงกลั่นน้ำมันโดยวิธีการใช้ราคาเฉลี่ยที่คำนวณจากราคาตลาด (ราคา CP) ในอัตราส่วนร้อยละ 76 และราคาที่รัฐตั้งเพดานไว้ในประเทศที่ 333 ดอลลาร์ต่อตันในอัตราส่วนร้อยละ 24 ซึ่งก็จะทำให้ราคาก๊าซ LPG จากโรงกลั่นนั้นต่ำกว่าราคาตลาดลงมาในระดับหนึ่ง
สำหรับก๊าซ LPG ที่ผลิตมาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้น จะต่างกับก๊าซ LPG ที่มาจากโรงกลั่นน้ำมันคือก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นจะใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิต ดังนั้น ต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG จึงมาจากต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่ได้จากอ่าวไทยบวกกับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจากการศึกษาโดยทางกระทรวงพลังงานนั้นทำให้ทราบว่าราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นจะอยู่ที่ประมาณ 550 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งก็ยังสูงกว่าราคาที่รัฐกำหนดไว้ที่ 333 ดอลลาร์ต่อตัน และส่วนต่างตรงนี้โรงแยกก๊าซธรรมชาตินั้นก็เป็นผู้รับภาระ โดยรัฐไม่ได้เข้ามาอุดหนุนแต่ประการใด