สวัสดีครับเพื่อนๆชาวพันทิพทุกท่านครับ ผมตั้งใจจะเขียนกระทู้เกี่ยวกับก๊าซ LPG ในประเทศไทย เริ่มจาก
ประวัติความเป็นมา, กลไกราคา LPG, นโยบายและสาเหตุที่รัฐต้องลอยตัวราคา LPG จากข้อมูลที่รวบรวมมาได้ ผิดพลาดประการใดขอรับคำชี้แแนะด้วยนะครับ
เริ่มต้นกันด้วย
รู้จักกับ LPG
LPG ย่อมาจาก Liquefied Petroleum Gas หรือ แก๊สปิโตรเลียมเหลว เกิดจากแก๊ส 2 ชนิดคือ โพรเพน และบิวเทน โดยได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นหรือการแยกก๊าซในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดย LPG ในประเทศไทยส่วนใหญ่ได้มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ
หากพูดถึง LPG ที่เราคุ้นเคยกันดีคือ LPG สำหรับใช้เป็นพลังงานในการเดินทางขนส่ง และ ที่ใช้ในครัวเรือนซึ่งก็คือ แก๊สหุงต้ม นอกจากนี้ LPG เป็นส่วนสำคัญที่ถูกใช้ในภาคอุตสาหกรรม ทั้งการเกษตร การผลิตปิโตรเคมีต่างๆ รวมถึงทั้งกับโรงไฟฟ้าอีกด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เกร็ดความรู้
- LPG เป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ ไม่มีสีและกลิ่น ด้วยความที่เป็นก๊าซหนักทำให้สะสมและติดไฟได้ง่าย จึงต้องมีการกำหนดให้ผสมกลิ่นเฉพาะที่หลายคนอาจจะเคยได้กลิ่นกกัน เพื่อเป็นการเตือนภัยหากเกิดการรั่วไหลของก๊าซออกไป
- คำว่า “แก๊ส” และ “ก๊าซ” นั้นพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอนุญาตให้ใช้ได้ทั้งสองคำ ส่วนสำหรับทางวิชาการแล้วนั้นจะใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมนั้นคำว่า “ก๊าซ” จะหมายถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ขุดเจาะขึ้นมาจากใต้ทะเลหรือแหล่งอื่นๆ โดยยังไม่ได้ผ่านการแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ใดๆ จะไม่มีกลิ่นใดๆ ส่วน “แก๊ส” นั้นจะหมายถึงก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำมาแปรรูปและบรรจุถังแล้วหรือส่งไปตามท่อโดยแก๊สจะใส่กลิ่นเป็นเอกลักษณ์เพื่อสำหรับตรวจสอบการรั่วไหลได้
LPG ใช้ทำอะไรบ้าง
ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ LPG ถึง 549,000 ตันต่อเดือน โดยแบ่งเป็นภาคครัวเรือน เช่น แก๊สหุงต้ม, การใช้ในปิโตรเคมี เช่น การผลิตก๊าซไปจนถึงเม็ดพลาสติกและเส้นใยสังเคราะห์, การใช้ในภาคขนส่งการเดินทาง, การใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าและการที่ผู้ผลิตใช้เป็นเชื้อเพลงในการผลิตเอง
ในปี 2559-2661 ที่ผ่านมาพบว่าการใช้ LPG ในภาคครัวเรือนมีอัตราส่วนสูงที่สุด แต่ปัจจุบันจากข้อมูลเดือนมกราคม ถึง เมษายน 62 ที่ผ่านมาพบว่าการใช้ LPG ในภาคปิโตรเคมีสูงสุด
โดยในปี 2019 มีการใช้จากภาคปิโตรเคมีในอัตรา 41% ภาคครัวเรือนมีการใช้เป็นอัตรา 32% รองลงมาคือขนส่งที่ 26% ภาคอุตสาหกรรม 10% และผู้ผลิตใช้เอง 1%
ประวัติความเป็นมาของ LPG
ตลอดเวลาที่ผ่านภาครัฐได้สนับสนุนให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานมาอย่างต่อเนื่องทั้ง CNG และ LPG ในส่วนของกระทู้นี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง LPG กันเท่านั้นครับ
ในประเทศไทย เริ่มมีใช้ LPG เป็นพลังงานในรถยนต์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 หรือ 49 ปีมาแล้ว โดยในช่วงแรกได้รับความนิยมในกลุ่มรถสาธารณะ โดยต่อมาช่วงปี 2520-2530 หรือ 30 กว่าปีที่แล้วเริ่มมีการใช้ LPG ที่แพร่หลายกับรถยนต์ส่วนบุคคลเนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำมัน
กระแสการใช้ LPG ในรถยนต์เริ่มบูมมากในช่วงประมาณปี 2550 เนื่องจากผลพวงราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นมาก โดยราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูงขึ้นเกือบร้อยดอลล่าห์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่วนราคาสิงคโปร์แตะทะลุร้อยดอลล่าห์สหรัฐ เกิดวิกฤติทำให้น้ำมันไทยพุ่งสูงโดยดีเซลที่รัฐบาลตรึงราคาไว้ต้องขึ้นไปสูงกว่า 44 บาท ทำให้คนต้องหันไปใช้พลังงานทางเลือกที่ยังคงถูกลงอย่างแก๊ส มีกระแสผู้ใช้รถยนต์ไปติดตั้งถังแก๊สจำนวนมากโดยกลุ่มคนผู้ใช้รถเริ่มหันมาใช้กันมากขึ้นทั้งรถยนต์ ส่วนบุคคลและแท๊กซี่ มีรายงานว่าในปี 2551 มีรถที่ติดตั้งถังแก๊สรถยนต์กว่า 1.2 ล้านคันทั่วประเทศ แต่ด้วยต้นทุนการติดตั้งที่สูงจากอู่ที่รับติดตั้งมีจำนวนจำกัดและการต้องนำเข้าอะไหล่ ประกอบกับราคาน้ำมันตลาดโลกได้ลดตัวลงทำให้กระแสการติดตั้งแก๊สรถยนต์เริ่มหายไป แต่ยังคงมีการใช้อยู่จำนวนนึงในปัจจุบันทั้งจากกลุ่มรถยนตร์ส่วนบุคคล รถสาธารณะ และ ภาคการขนส่ง
การใช้ LPG ปัจจุบันส่วนใหญ่จะมาจากภาคครัวเรือน ปิโตรเคมี และการขนส่ง ส่วนช่วงปีหลังๆมานี้รัฐเริ่มเล็งเห็นว่ากำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติอาจไม่พอ เนื่องจากการผลิตภายในประเทศที่เริ่มลดลง ประกอบกันการใช้ก๊าซได้เปลี่ยนมือจากแต่ก่อนที่ใช้ในภาคการขนส่งเป็นอันดับหนึ่งปัจจุบันได้แทนที่ด้วยภาคปริโตรเคมีและครัวเรือนที่ใช้ LPG เป็นพลังงานจำนวนมาก รัฐบาลจึงประกาศลอยตัวราคา LPG เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้นและเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมกับผู้ผลิตรายอื่น การลอยตัวราคามีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. 2560 แต่ก็ยังคงมีการตรึงราคาไว้ไม่ให้สูงเกินไปเพื่อไม่ใช่กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน
นโยบาย LPG จากภาครัฐ และ การลอยตัวราคา
ตลอด 30-40 ปีที่ผ่านมาภาครัฐมีการควมคุมราคา LPG ตลอดทั้งราคาหน้าโรงกลั่นและราคาขายปลีกให้มีราคาถูก จากการนำกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมันมาอุดหนุนราคาอย่างเป็นเวลานาน คิดเป็นเงินรวมกันหลักแสนล้านบาท การทำให้ราคา LPG ถูกกว่าความเป็นจริงเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดอีกด้วย ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรมผู้ใช้น้ำมันที่จะไม่ต้องแบกภาระการเก็บเงินกองทุนมาหนุนราคา LPG มากจนเกินไป และทำให้เกิดการแข่งขันกันของผู้ค้าเอกชนจากข้อครหาการผูกขาดการค้า LPG ว่าการควบคุมราคาจากภาครัฐทำให้เอกชนรายย่อยแข่งขันกันได้ยาก จนวันที่ 1 สิงหาคม 2560 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีประกาศลอยตัวราคา LPG เฉพาะ LPG ที่มาจากโรงกลั่น ซึ่งเป็น LPG ที่ผลิตจากการกลั่นน้ำมันดิบ ทำให้ต้องจำเป็นต้องราคาตลาดโลก เพื่อไม่ให้บิดเบือนกลไกราคา ส่งผลให้มีการแข่งขันจากภาคเอกชนมากขึ้น แต่ยังมีการอุดหนุนราคาขายจากกองทุนน้ำมันเช่นเดิมเพื่อช่วยค่าครองชีพประชาชน
ปัจจุบันราคา LPG ประเทศไทยถูกว่าเพื่อนบ้านแทบทุกประเทศ เทียบกับราคาก๊าซหุงต้มในเวียดนาม 59 บาท/กก. ลาว 49 บาท/กก. กัมพูชา 45 บาท/กก. พม่า 34 บาท/กก. มาเลเซีย 20 บาท/กก. อินโดนีเซีย 23 บาท/กก. ขณะที่ประเทศไทยปัจจุบันราคาอยู่ที่ 21 บาท/กก. จึงเกิดปัญหาการลักลอบนำ LPG ส่งออกไปขายบ่อยครั้ง จนภาครัฐต้องกวดขันจับกุมผู้ลักลอบส่งออกตามชายแดน
การส่งออก LPG ราคาถูกไปขายยังเพื่อนบ้านเป็นการนำเงินอุดหนุนราคาจากกองทุน LPG ไปอุดหนุนราคาให้เพื่อนบ้านด้วย ซึ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง!
กลไกราคา LPG
ราคา LPG มีที่มาจาก 2 ส่วน ได้แก่
1. LPG ที่มาจากโรงกลั่นน้ำมัน เป็นส่วนที่รัฐลอยตัวราคา เนื่องจากใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งเราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องให้การอ้างอิงราคาตามตลาดโลก โดยใช้ราคาจากตลาดซาอุดิอาระเบีย
2. LPG จากโรงแยกก๊าซ ที่เป็นของ ปตท. ทางภาครัฐมีนโยบายให้ ปตท. จะต้องชดเชยเงินเข้ากองทุน LPG หากราคาหน้าโรงแยกก๊าซต่ำกว่าราคาตลาดอ้างอิงซาอุฯ แต่ถ้าหากราคาสูงกว่าก็ให้ ปตท. มีหน้าที่อุดหนุนราคาไปก่อนเพื่อไม่ให้สูงเกินไป
เพราะฉะนั้นกลไกการปรับราคาของ LPG จะอ้างอิงราคาตลาดโลก เพื่อให้ผู้ผลิตรายอื่นสามารถเข้ามาแข่งกันกับผู้ผลิตในประเทศได้ แต่ราคาจริงยังคงมีกลไกจากภาครัฐคอยอุดหนุนราคาอยู่เช่นกัน ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์จากราคา LPG ที่ไม่สูงเกินไป
โครงสร้างราคา LPG
ปัจจุบัน (กรกฎาคม 2562) ก๊าซ LPG เก็บเงินเข้ากองทุนอยู่ที่ 1.79 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากราคา LPG ตลาดโลกและหน้าโรงกลั่นลดลงมาอย่างมาก จาก 500 กว่าเหรียญต่อตันเหลือประมาณ 400 เหรียญ โดยราคา LPG หน้าโรงกลั่นปัจจุบันลดลงจากเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจาก 18 บาทกว่าเหลือ 12 บาทกว่า และลดการชดเชยจากกองทุน LPG ไปจากเดิมที่ชดเชย 3.6 บาทในเดือนพฤษภาคม กลับมาเก็บเงินเข้ากองทุน LPG 1.7 บาทชดเชยการขาดทุน
(โครงสร้างราคา LPG ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2019)
กองทุน LPG และการชดเชยราคา
หลังจากที่กระทรวงพลังงานและคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ประกาศแยกกองทุนน้ำมันและกองทุน LPG ออกจากกันเมื่อปี 2558 เพื่อไม่ให้มีปัญหาการเอาเงินผู้ใช้น้ำมันไปอุดหนุนราคา LPG โดยในช่วงแรก กองทุน LPG มีเงินสะสม 2,400 ล้านบาท แต่ด้วยราคา LPG หลังลอยตัวทำให้ราคาสูงตามตลาดโลก แต่ทางกระทรวงพลังงานต้องการตรึงราคาไว้ให้อยู่ที่ 363 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม ทำให้ต้องนำเงินมาใช้อุดหนุนราคา จนทางเงินสะสมกองทุนหมดจึงได้โยกเงินกองทุนน้ำมันมาช่วยอุดหนุนในช่วงแรกได้โยกเงินจากกองทุนน้ำมันไปวงเงิน 3,000 ล้านบาทและเพิ่มขึ้นมาเป็น 7,000 ล้านบาทในปัจจุบันจากการขาดทุนสะสมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการชดเชยราคาในช่วงที่ราคาตลาดโลกขึ้นสูง
สถานะกองทุน LPG
จากข้อมูลปัจจุบัน 14 ก.ค. 62 เงินกองทุน LPG หลักๆมาจากการรับโอนจากบัญชีน้ำมันเพื่อชดเชยราคา สถานะกองทุนตอนนี้ขาดทุนอยู่ 6.3 พันล้านบาท จากปัญหาลดภาระกองทุนน้ำมันฯเป็นเวลานาน เมื่อ กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีการวางแผนกำหนดให้กองทุน LPG สามารถติดลบได้ไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการปรับการชดเชยราคาและเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อไม่ให้มีการขาดดุลบัญชีกองทุนมากเกินไป
แนวโน้มการปรับราคา LPG ในอนาคต
แนวโน้มการปรับราคา LPG ต่อไปหลักจากการลอยตัวราคาหน้าโรงกลั่นไปแล้วจะขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลกที่จะสะท้อนราคาต้นทุนหน้าโรงกลั่นเพื่อให้เกิดการแข่งขันกันระหว่าเอกชน แต่ภาครัฐก็ยังคงตรึงราคาไว้เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน โดยยังมีการชดเชยราคาและปรับลดค่าการตลาดเมื่อราคาสูงขึ้น และเก็บเงินเข้ากองทุน LPG เมื่อราคาลดต่ำลง ขณะนี้ราคา LPG ตลาดโลกอยู่ในระดับที่ต่ำ โดยราคาหน้าโรงแยกอยู่ที่ 12 บาทกว่าๆ ทำให้ทางภาครัฐได้เก็บเงินส่วนต่างราคาที่ลดลงไปเข้ากองทุน LPG ขึ้นเพื่อลดภาระการขาดทุนสะสม ส่วนราคา LPG ที่เหมาะสมขณะนี้ทางกระทรวงพลังงานได้พยายามตรึงราคาไว้ ณ ปัจจุบัน ประมาณ 21-23 บาท ราคาอาจจะต้องวิ่งอยู่ในช่วงประมาณนี้ไปอีกในระยะยาวถ้าหากราคาในตลาดโลกไม่พุ่งสูงจนทำให้ต้องชดเชยราคามากเกินไป
และนี่คือข้อมูลเกี่ยวกับ LPG ในประเทศไทยทั้งหมดที่ผมพอจะรวบรวมและสรุปมาในกระทู้นี้ เพื่อต้องการให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงที่มาที่ไป เข้าใจโครงสร้างราคา นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ LPG เหตุที่ต้องมีการลอยตัวราคา LPG
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมาจนถึงตอนสุดท้ายนี้นะครับ
ข้อมูลผิดพลาดประการใดมาแแบ่งปันข้อมูลความรู้กันได้นะครับ
ทำความรู้จักกับ LPG ในประเทศไทย อะไรเป็นสาเหตุให้รัฐต้องลอยตัวราคา?
เริ่มต้นกันด้วย
รู้จักกับ LPG
LPG ย่อมาจาก Liquefied Petroleum Gas หรือ แก๊สปิโตรเลียมเหลว เกิดจากแก๊ส 2 ชนิดคือ โพรเพน และบิวเทน โดยได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นหรือการแยกก๊าซในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดย LPG ในประเทศไทยส่วนใหญ่ได้มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ
หากพูดถึง LPG ที่เราคุ้นเคยกันดีคือ LPG สำหรับใช้เป็นพลังงานในการเดินทางขนส่ง และ ที่ใช้ในครัวเรือนซึ่งก็คือ แก๊สหุงต้ม นอกจากนี้ LPG เป็นส่วนสำคัญที่ถูกใช้ในภาคอุตสาหกรรม ทั้งการเกษตร การผลิตปิโตรเคมีต่างๆ รวมถึงทั้งกับโรงไฟฟ้าอีกด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
LPG ใช้ทำอะไรบ้าง
ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ LPG ถึง 549,000 ตันต่อเดือน โดยแบ่งเป็นภาคครัวเรือน เช่น แก๊สหุงต้ม, การใช้ในปิโตรเคมี เช่น การผลิตก๊าซไปจนถึงเม็ดพลาสติกและเส้นใยสังเคราะห์, การใช้ในภาคขนส่งการเดินทาง, การใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าและการที่ผู้ผลิตใช้เป็นเชื้อเพลงในการผลิตเอง
ในปี 2559-2661 ที่ผ่านมาพบว่าการใช้ LPG ในภาคครัวเรือนมีอัตราส่วนสูงที่สุด แต่ปัจจุบันจากข้อมูลเดือนมกราคม ถึง เมษายน 62 ที่ผ่านมาพบว่าการใช้ LPG ในภาคปิโตรเคมีสูงสุด
โดยในปี 2019 มีการใช้จากภาคปิโตรเคมีในอัตรา 41% ภาคครัวเรือนมีการใช้เป็นอัตรา 32% รองลงมาคือขนส่งที่ 26% ภาคอุตสาหกรรม 10% และผู้ผลิตใช้เอง 1%
ประวัติความเป็นมาของ LPG
ตลอดเวลาที่ผ่านภาครัฐได้สนับสนุนให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานมาอย่างต่อเนื่องทั้ง CNG และ LPG ในส่วนของกระทู้นี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง LPG กันเท่านั้นครับ
ในประเทศไทย เริ่มมีใช้ LPG เป็นพลังงานในรถยนต์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 หรือ 49 ปีมาแล้ว โดยในช่วงแรกได้รับความนิยมในกลุ่มรถสาธารณะ โดยต่อมาช่วงปี 2520-2530 หรือ 30 กว่าปีที่แล้วเริ่มมีการใช้ LPG ที่แพร่หลายกับรถยนต์ส่วนบุคคลเนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำมัน
กระแสการใช้ LPG ในรถยนต์เริ่มบูมมากในช่วงประมาณปี 2550 เนื่องจากผลพวงราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นมาก โดยราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูงขึ้นเกือบร้อยดอลล่าห์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่วนราคาสิงคโปร์แตะทะลุร้อยดอลล่าห์สหรัฐ เกิดวิกฤติทำให้น้ำมันไทยพุ่งสูงโดยดีเซลที่รัฐบาลตรึงราคาไว้ต้องขึ้นไปสูงกว่า 44 บาท ทำให้คนต้องหันไปใช้พลังงานทางเลือกที่ยังคงถูกลงอย่างแก๊ส มีกระแสผู้ใช้รถยนต์ไปติดตั้งถังแก๊สจำนวนมากโดยกลุ่มคนผู้ใช้รถเริ่มหันมาใช้กันมากขึ้นทั้งรถยนต์ ส่วนบุคคลและแท๊กซี่ มีรายงานว่าในปี 2551 มีรถที่ติดตั้งถังแก๊สรถยนต์กว่า 1.2 ล้านคันทั่วประเทศ แต่ด้วยต้นทุนการติดตั้งที่สูงจากอู่ที่รับติดตั้งมีจำนวนจำกัดและการต้องนำเข้าอะไหล่ ประกอบกับราคาน้ำมันตลาดโลกได้ลดตัวลงทำให้กระแสการติดตั้งแก๊สรถยนต์เริ่มหายไป แต่ยังคงมีการใช้อยู่จำนวนนึงในปัจจุบันทั้งจากกลุ่มรถยนตร์ส่วนบุคคล รถสาธารณะ และ ภาคการขนส่ง
การใช้ LPG ปัจจุบันส่วนใหญ่จะมาจากภาคครัวเรือน ปิโตรเคมี และการขนส่ง ส่วนช่วงปีหลังๆมานี้รัฐเริ่มเล็งเห็นว่ากำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติอาจไม่พอ เนื่องจากการผลิตภายในประเทศที่เริ่มลดลง ประกอบกันการใช้ก๊าซได้เปลี่ยนมือจากแต่ก่อนที่ใช้ในภาคการขนส่งเป็นอันดับหนึ่งปัจจุบันได้แทนที่ด้วยภาคปริโตรเคมีและครัวเรือนที่ใช้ LPG เป็นพลังงานจำนวนมาก รัฐบาลจึงประกาศลอยตัวราคา LPG เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้นและเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมกับผู้ผลิตรายอื่น การลอยตัวราคามีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. 2560 แต่ก็ยังคงมีการตรึงราคาไว้ไม่ให้สูงเกินไปเพื่อไม่ใช่กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน
นโยบาย LPG จากภาครัฐ และ การลอยตัวราคา
ตลอด 30-40 ปีที่ผ่านมาภาครัฐมีการควมคุมราคา LPG ตลอดทั้งราคาหน้าโรงกลั่นและราคาขายปลีกให้มีราคาถูก จากการนำกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมันมาอุดหนุนราคาอย่างเป็นเวลานาน คิดเป็นเงินรวมกันหลักแสนล้านบาท การทำให้ราคา LPG ถูกกว่าความเป็นจริงเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดอีกด้วย ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรมผู้ใช้น้ำมันที่จะไม่ต้องแบกภาระการเก็บเงินกองทุนมาหนุนราคา LPG มากจนเกินไป และทำให้เกิดการแข่งขันกันของผู้ค้าเอกชนจากข้อครหาการผูกขาดการค้า LPG ว่าการควบคุมราคาจากภาครัฐทำให้เอกชนรายย่อยแข่งขันกันได้ยาก จนวันที่ 1 สิงหาคม 2560 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีประกาศลอยตัวราคา LPG เฉพาะ LPG ที่มาจากโรงกลั่น ซึ่งเป็น LPG ที่ผลิตจากการกลั่นน้ำมันดิบ ทำให้ต้องจำเป็นต้องราคาตลาดโลก เพื่อไม่ให้บิดเบือนกลไกราคา ส่งผลให้มีการแข่งขันจากภาคเอกชนมากขึ้น แต่ยังมีการอุดหนุนราคาขายจากกองทุนน้ำมันเช่นเดิมเพื่อช่วยค่าครองชีพประชาชน
ปัจจุบันราคา LPG ประเทศไทยถูกว่าเพื่อนบ้านแทบทุกประเทศ เทียบกับราคาก๊าซหุงต้มในเวียดนาม 59 บาท/กก. ลาว 49 บาท/กก. กัมพูชา 45 บาท/กก. พม่า 34 บาท/กก. มาเลเซีย 20 บาท/กก. อินโดนีเซีย 23 บาท/กก. ขณะที่ประเทศไทยปัจจุบันราคาอยู่ที่ 21 บาท/กก. จึงเกิดปัญหาการลักลอบนำ LPG ส่งออกไปขายบ่อยครั้ง จนภาครัฐต้องกวดขันจับกุมผู้ลักลอบส่งออกตามชายแดน
การส่งออก LPG ราคาถูกไปขายยังเพื่อนบ้านเป็นการนำเงินอุดหนุนราคาจากกองทุน LPG ไปอุดหนุนราคาให้เพื่อนบ้านด้วย ซึ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง!
กลไกราคา LPG
ราคา LPG มีที่มาจาก 2 ส่วน ได้แก่
1. LPG ที่มาจากโรงกลั่นน้ำมัน เป็นส่วนที่รัฐลอยตัวราคา เนื่องจากใช้น้ำมันดิบเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งเราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องให้การอ้างอิงราคาตามตลาดโลก โดยใช้ราคาจากตลาดซาอุดิอาระเบีย
2. LPG จากโรงแยกก๊าซ ที่เป็นของ ปตท. ทางภาครัฐมีนโยบายให้ ปตท. จะต้องชดเชยเงินเข้ากองทุน LPG หากราคาหน้าโรงแยกก๊าซต่ำกว่าราคาตลาดอ้างอิงซาอุฯ แต่ถ้าหากราคาสูงกว่าก็ให้ ปตท. มีหน้าที่อุดหนุนราคาไปก่อนเพื่อไม่ให้สูงเกินไป
เพราะฉะนั้นกลไกการปรับราคาของ LPG จะอ้างอิงราคาตลาดโลก เพื่อให้ผู้ผลิตรายอื่นสามารถเข้ามาแข่งกันกับผู้ผลิตในประเทศได้ แต่ราคาจริงยังคงมีกลไกจากภาครัฐคอยอุดหนุนราคาอยู่เช่นกัน ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์จากราคา LPG ที่ไม่สูงเกินไป
โครงสร้างราคา LPG
ปัจจุบัน (กรกฎาคม 2562) ก๊าซ LPG เก็บเงินเข้ากองทุนอยู่ที่ 1.79 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากราคา LPG ตลาดโลกและหน้าโรงกลั่นลดลงมาอย่างมาก จาก 500 กว่าเหรียญต่อตันเหลือประมาณ 400 เหรียญ โดยราคา LPG หน้าโรงกลั่นปัจจุบันลดลงจากเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจาก 18 บาทกว่าเหลือ 12 บาทกว่า และลดการชดเชยจากกองทุน LPG ไปจากเดิมที่ชดเชย 3.6 บาทในเดือนพฤษภาคม กลับมาเก็บเงินเข้ากองทุน LPG 1.7 บาทชดเชยการขาดทุน
(โครงสร้างราคา LPG ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2019)
กองทุน LPG และการชดเชยราคา
หลังจากที่กระทรวงพลังงานและคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ประกาศแยกกองทุนน้ำมันและกองทุน LPG ออกจากกันเมื่อปี 2558 เพื่อไม่ให้มีปัญหาการเอาเงินผู้ใช้น้ำมันไปอุดหนุนราคา LPG โดยในช่วงแรก กองทุน LPG มีเงินสะสม 2,400 ล้านบาท แต่ด้วยราคา LPG หลังลอยตัวทำให้ราคาสูงตามตลาดโลก แต่ทางกระทรวงพลังงานต้องการตรึงราคาไว้ให้อยู่ที่ 363 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม ทำให้ต้องนำเงินมาใช้อุดหนุนราคา จนทางเงินสะสมกองทุนหมดจึงได้โยกเงินกองทุนน้ำมันมาช่วยอุดหนุนในช่วงแรกได้โยกเงินจากกองทุนน้ำมันไปวงเงิน 3,000 ล้านบาทและเพิ่มขึ้นมาเป็น 7,000 ล้านบาทในปัจจุบันจากการขาดทุนสะสมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการชดเชยราคาในช่วงที่ราคาตลาดโลกขึ้นสูง
สถานะกองทุน LPG
จากข้อมูลปัจจุบัน 14 ก.ค. 62 เงินกองทุน LPG หลักๆมาจากการรับโอนจากบัญชีน้ำมันเพื่อชดเชยราคา สถานะกองทุนตอนนี้ขาดทุนอยู่ 6.3 พันล้านบาท จากปัญหาลดภาระกองทุนน้ำมันฯเป็นเวลานาน เมื่อ กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีการวางแผนกำหนดให้กองทุน LPG สามารถติดลบได้ไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการปรับการชดเชยราคาและเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อไม่ให้มีการขาดดุลบัญชีกองทุนมากเกินไป
แนวโน้มการปรับราคา LPG ในอนาคต
แนวโน้มการปรับราคา LPG ต่อไปหลักจากการลอยตัวราคาหน้าโรงกลั่นไปแล้วจะขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลกที่จะสะท้อนราคาต้นทุนหน้าโรงกลั่นเพื่อให้เกิดการแข่งขันกันระหว่าเอกชน แต่ภาครัฐก็ยังคงตรึงราคาไว้เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน โดยยังมีการชดเชยราคาและปรับลดค่าการตลาดเมื่อราคาสูงขึ้น และเก็บเงินเข้ากองทุน LPG เมื่อราคาลดต่ำลง ขณะนี้ราคา LPG ตลาดโลกอยู่ในระดับที่ต่ำ โดยราคาหน้าโรงแยกอยู่ที่ 12 บาทกว่าๆ ทำให้ทางภาครัฐได้เก็บเงินส่วนต่างราคาที่ลดลงไปเข้ากองทุน LPG ขึ้นเพื่อลดภาระการขาดทุนสะสม ส่วนราคา LPG ที่เหมาะสมขณะนี้ทางกระทรวงพลังงานได้พยายามตรึงราคาไว้ ณ ปัจจุบัน ประมาณ 21-23 บาท ราคาอาจจะต้องวิ่งอยู่ในช่วงประมาณนี้ไปอีกในระยะยาวถ้าหากราคาในตลาดโลกไม่พุ่งสูงจนทำให้ต้องชดเชยราคามากเกินไป
และนี่คือข้อมูลเกี่ยวกับ LPG ในประเทศไทยทั้งหมดที่ผมพอจะรวบรวมและสรุปมาในกระทู้นี้ เพื่อต้องการให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงที่มาที่ไป เข้าใจโครงสร้างราคา นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ LPG เหตุที่ต้องมีการลอยตัวราคา LPG
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมาจนถึงตอนสุดท้ายนี้นะครับ
ข้อมูลผิดพลาดประการใดมาแแบ่งปันข้อมูลความรู้กันได้นะครับ