5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับหุ้น
มีหลายคนทีเดียวที่ชอบคุยเรื่องหุ้นให้คนอื่นฟัง แม้ว่าการพูดคุยเรื่องหุ้นอาจจะดูดี น่าตื่นเต้น ดูมีความรอบรู้ แต่บางคนก็เข้าใจผิด และไม่รู้จริง
ความเชื่อผิดๆ ข้อที่ 1: "การลงทุนในหุ้นของบริษัท X ของผม เป็นการลงทุนที่มั่นใจได้ 100%"
ความเข้าใจผิด หุ้นที่ร้อนแรง ใครๆ ก็แย่งกันซื้อ ต้องเป็นการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมแน่นอน
ทำไมถึงเป็นความเชื่อที่ผิด ไม่มีการลงทุนอะไรที่มั่นใจได้ 100% บริษัทไหนๆ ก็อาจจะมีปัญหาร้ายแรงที่ซ่อนไว้จากผู้ลงทุน/ผู้ถือหุ้น และด้วยการซ่อนปัญหา ซ่อนตัวเลขที่ลงบัญชีให้ผิดๆ เพื่อแสดงกำไรสูงๆ ราคาหุ้นจะได้สูงตามไปด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Enron, WorldCom พังทลายมาแล้ว
แสดงว่าแม้กระทั่งบริษัทขนาดยักษ์ที่มีชื่อเสียง มีผู้บริหารมืออาชีพที่ดีที่สุด ก็ยังพังทะลายได้จากหายนะที่ควบคุมไม่ได้ หรือจากการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในตลาด เช่น การมีคู่แข่งใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่ และที่สำคัญที่สุดคือการการฉ้อโกง
นอกจากนี้ เมื่อเราซื้อหุ้นด้วยความร้อนแรงของมัน ด้วยข่าวลือ ราคาหุ้นนั้นก็อาจสูงเกินกว่าความเป็นจริงซึ่งทำให้ยากที่จะได้รับผลตอบแทนสูงๆ ได้
การป้องกันหายนะจากการลงทุนที่ดีที่สุดคือการกระจายการลงทุน และยิ่งต้องทำเช่นนั้นหากเราลงทุนในหุ้นเองโดยไม่ได้ลงทุนผ่านกองทุนรวมซึ่งมีการกระจายการลงทุนไว้อย่างดีแล้ว หากเราลงทุนเองก็ควรเรียนรู้วิธีหาบริษัทดีๆ ที่อาจจะไม่มีคนเห็นคุณค่าในวันนี้ เพราะราคาหุ้นยังไม่ร้อนแรง แต่มีโอกาสมากที่จะให้ผลตอบแทนสูงจากการลงทุนในระยะยาว วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นและเพิ่มผลตอบแทนให้เราได้
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์จะพูดว่า ผมเต็มใจที่จะลงทุนในบริษัทนี้เพราะเชื่อว่ามันจะเป็นการตัดสินใจลงทุนที่ยอดเยี่ยม แต่เพื่อความไม่ประมาท ผมจะลงทุนด้วยเงินเพียง 5% ของเงินลงทุนทั้งหมด
ความเชื่อผิดๆ ข้อที่ 2: "ไม่มีวันที่ผมจะซื้อหุ้นในช่วงนี้หรอก เพราะช่วงนี้ตลาดหุ้นมันย่ำแย่เอามากๆ”
ความเข้าใจผิด มีแต่คนโง่ๆ เท่านั้นที่จะซื้อหุ้นในช่วงที่ตลาดย่ำแย่อย่างนี้
ทำไมถึงเป็นความเชื่อที่ผิด หากหุ้นที่เราซื้อยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคง ราคาหุ้นที่ตกลงมาในปัจจุบันจะเป็นเพียงเพราะความกลัวของผู้ลงทุนในระยะสั้นๆ ซึ่งจะเหมือนเวลาร้านค้าติดป้ายลดราคา
เป็นโอกาสอันดียิ่งที่จะแสวงหาหุ้นราคาถูกที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีราคาต่ำกว่าที่มันควรจะเป็นมาไว้ในพอร์ตการลงทุนของเรา แต่อย่าลืมทำการบ้าน เพราะไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่ลดราคาจะดีไปหมด เราต้องขยันหาความรู้และหาความจริงว่าอะไรทำให้ราคาหุ้นดีๆ ตกลงมามากขนาดนั้น ต้องมั่นใจว่ามันเป็นเพราะตลาดโดยรวม ไม่ใช่เพราะบริษัทนั้นๆ มีปัญหาใหญ่ๆ ที่เรายังไม่รู้ จำได้ไหมที่เคยแนะนำไปว่า Recession ที่เพิ่งเกิดขึ้นจากปัญหา Subprime และ CDOs จะทำให้คนมีเงินสดได้รับโอกาสในการซื้อของดีราคาถูก และร่ำรวยขึ้นมาได้
จงจำไว้ว่าตลาดหุ้นเป็นตลาดที่มีวงจรหรือวัฏจักรของมัน และในช่วงที่คนขายอย่างตื่นตระหนกมันไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำตาม
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์จะพูดว่า ผมกำลังได้รับโอกาสที่ดีมากในการเลือกลงทุนในหุ้นดีๆ ที่ราคาตกลงมาเพราะตลาดหุ้นมันย่ำแย่ในวันนี้ ผมจะต้องรักการตัดสินใจซื้อหุ้นวันนี้แน่ๆ เมื่อทุกอย่างดีขึ้น และราคาหุ้นกลับขึ้นไปสูงอย่างที่มันควรจะเป็นในอนาคต
ความเชื่อผิดๆ ข้อที่ 3: "ผมมีการกระจายการลงทุนที่ดี เพราะผมลงทุนในกองทุนหุ้นที่มีหุ้นหลายๆ ตัวตามตลาด”
ความเข้าใจผิด การลงทุนในหุ้นหลายๆ ตัว เป็นการกระจายการลงทุนที่ถูกต้องแล้ว
ทำไมถึงเป็นความเชื่อที่ผิด แน่นอนที่การซื้อกองทุนหุ้นย่อมดีกว่าซื้อหุ้นเพียง 2-3 ตัว แต่การจะมีพอร์ตการลงทุนที่ดี พอร์ตการลงทุนนั้นจะต้องมีการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลายๆ ประเภทด้วย เช่น กองทุนพันธบัตร กองทุนตราสารหนี้ มันนี่มาร์เก็ตฟันด์ กองทุนหุ้นในประเทศ กองทุนหุ้นต่างประเทศ ฯลฯ
การลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในหุ้นหลายตัวเป็นการกระจายการลงทุนในหุ้นที่ดี แต่การเป็นเจ้าของพอร์ตการลงทุนที่มีกองทุนหรือสินทรัพย์หลากหลายประเภท จะเป็นการกระจายการลงทุนของทั้งพอร์ตที่ดีที่สุด
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์จะพูดว่า ผมมีการกระจายการลงทุนในหุ้นที่ดีพอเพราะว่าผมลงทุนในกองทุนหุ้น แต่กองทุนหุ้นนั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุนทั้งหมดของผม ผมยังลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ อีกด้วย พอร์ตการลงทุนทั้งหมดของผมจึงลดความเสี่ยงไปได้มากเพราะมีการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท
ความเชื่อผิดๆ ข้อที่ 4: “ผมเพิ่งใช้บริการโบรกเกอร์ที่เจ๋งที่สุด ผมรู้ว่าผมจะรวยแน่ๆ”
ความเข้าใจผิด คำแนะนำการลงทุน จากโบรกเกอร์เหล่านี้คือคำแนะนำที่ดีที่สุด และจะทำให้เราร่ำรวย
ทำไมถึงเป็นความเชื่อที่ผิด การซื้อและขายหุ้นในแต่ละครั้งจะมีค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ที่เราต้องจ่าย ไม่ว่าจะซื้อขายผ่านโบรกเกอร์หรือผ่านอินเตอร์เน็ต ยิ่งเราให้โบรกเอร์ตัดสินใจทำการซื้อขายหุ้นแทนเราได้ เรามักจะพบว่ามีการซื้อขายที่ถี่ไป เพราะเขาได้รับคอมมิชชั่นจากการซื้อขายหุ้น และนั่นจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนของเราลดลงไป
มีความเสี่ยงสูงที่โบรกเกอร์จะบริหารพอร์ตลงทุนของเราผิดพลาด เพราะมีวัตถุประสงค์ต่างกับเราที่เป็นเจ้าของเงิน วัตถุประสงค์ของโบรกเกอร์คือการมีรายได้คอมมิชชั่นในการซื้อขายหุ้น และจะ ได้โบนัสมากๆ เมื่อทำได้ตามเป้าหมายหรือมากกว่า การจะถึงเป้าหมายของเขาจึงต้องมีการซื้อขายบ่อยครั้ง ความกดดันนี้อาจทำให้เขาจำเป็นต้องแนะนำการลงทุนที่ไม่เหมาะสมให้เรา และแม้ว่าจะผิดจรรยาบรรณ แต่สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นบ่อยๆ ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย
ดังนั้น แทนที่จะใช้บริการโบรกเกอร์แบบผิดๆ เพราะธุรกิจหลักทรัพย์โดยเฉพาะในบ้านเรามีการผลักดันให้มีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้โบรกเกอร์แบบนั้น ซึ่งทำให้เขาอาจแนะนำชักจูงให้เราลงทุนอย่างไม่เหมาะสมกับตนเอง เราจึงต้องเลือกใช้บริการจากผู้ที่แสดงให้เห็นแล้วว่าเขาเป็นมาร์เก็ตติ้งโบรกเกอร์ที่มีคุณภาพและยึดมั่นในจรรยาบรรณ เราอาจเลือกใช้บริการผู้วางแผนการลงทุนเป็น 2nd Opinion ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่ลืมทำการบ้านด้วยตนเองด้วย
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์จะพูดว่า หากผมใช้โบรกเกอร์อย่างถูกต้อง สินทรัพย์ที่ผมลงทุนก็จะทวีค่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากคนเหล่านั้นจะทำหน้าที่แนะ นำการลงทุนที่ดี ที่เหมาะสมกับผม โดยไม่มีอคติจากค่าคอมมิชชั่นที่ได้รับ และผมจะตัดสินใจลงทุนเอง
ความเชื่อผิดๆ ข้อที่ 5: "วันนี้ผมได้กำไร 1 หมื่นบาทจากหุ้นที่ผมถืออยู่ เพราะราคามันขึ้นไป 5%”
ความเข้าใจผิด เข้าใจผิดว่าเราทำเงินได้เมื่อราคาหุ้นขึ้น และเราขาดทุนเมื่อราคาลดลง
ทำไมถึงเป็นความเชื่อที่ผิด กำไรขาดทุนที่คำนวณได้เป็นเพียงตัวเลขในกระดาษตราบใดที่เรายังไม่ขายหุ้นออกไป
เราไม่ต้องไปตื่นเต้นหรือตระหนกตกใจจนเกินเหตุกับวัฏจักรของตลาดหุ้นที่ขึ้นๆ ลงๆ หากเราเชื่อมั่นในหุ้นดีๆ หรือกองทุนหุ้นดีๆ ที่เรามีอยู่ และควรจะคงการลงทุนระยะยาวไว้ จนกว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปถึงหรือใกล้เคียงกับที่ควรจะเป็นโดยปัจจัยพื้นฐาน
มีเวลาอีกมากที่จะขายหุ้นในระยะยาวในราคาที่ได้กำไรสูงกว่าวันนี้ มูลค่าของพอร์ตการลงทุนจะผันผวนรายวันตามราคาตลาด แต่กำไรขาดทุนที่แท้จริงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราขายหุ้นออกไปเท่านั้น และน่าเสียดายที่เราหลายๆ คนตัดสินใจขายไปบนความผันผวน ไม่ใช่ขายด้วยมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์จะพูดว่า
มูลค่าพอร์ตการลงทุนของผมในวันนี้สูงขึ้น 1 หมื่นบาท เพราะเป็นวันที่ดีของตลาดหุ้น แต่ก็ไม่ได้กระทบอะไรผม เพราะผมยังไม่คิดจะขายหุ้นที่ถือในพอร์ตในช่วงนี้
สรุป
ไม่น่าเชื่อเลยว่าแม้กระทั่งเพื่อนเรา ญาติเรา และเจ้านายเราที่ฉลาดที่สุดก็ยังเชื่อและพูดผิดๆ เกี่ยวกับหุ้นตาม 5 ข้อที่ยกตัวอย่างมาให้ และแม้เราจะพยายามอธิบายสิ่งที่ถูกต้องให้เขาฟัง เขาก็ยังไม่เชื่อและหาว่าเรานั่นแหละที่ผิด
แต่อย่าไปกังวลเลยว่าใครจะพูดอะไร จะถูกจะผิด จะโง่หรือฉลาด เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในการลงทุนไม่ใช่การพูดที่ดูฉลาด แต่เป็นการกระทำที่ฉลาดต่างหาก
อย่าทำผิดๆ ใน 5 ข้อที่ว่านี้ แล้วเราจะอยู่ใน track ที่ถูกต้องของการลงทุนที่จะทำให้เราได้รับผลตอบแทนที่ดีตามเป้าหมายการลงทุนที่เราต้องการ
เครดิตบทความโดย วรวรรณ ธาราภูมิ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง
"ไม่มีวันที่ผมจะซื้อหุ้นในช่วงนี้หรอก เพราะช่วงนี้ตลาดหุ้นมันย่ำแย่เอามากๆ”
5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับหุ้น
มีหลายคนทีเดียวที่ชอบคุยเรื่องหุ้นให้คนอื่นฟัง แม้ว่าการพูดคุยเรื่องหุ้นอาจจะดูดี น่าตื่นเต้น ดูมีความรอบรู้ แต่บางคนก็เข้าใจผิด และไม่รู้จริง
ความเชื่อผิดๆ ข้อที่ 1: "การลงทุนในหุ้นของบริษัท X ของผม เป็นการลงทุนที่มั่นใจได้ 100%"
ความเข้าใจผิด หุ้นที่ร้อนแรง ใครๆ ก็แย่งกันซื้อ ต้องเป็นการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมแน่นอน
ทำไมถึงเป็นความเชื่อที่ผิด ไม่มีการลงทุนอะไรที่มั่นใจได้ 100% บริษัทไหนๆ ก็อาจจะมีปัญหาร้ายแรงที่ซ่อนไว้จากผู้ลงทุน/ผู้ถือหุ้น และด้วยการซ่อนปัญหา ซ่อนตัวเลขที่ลงบัญชีให้ผิดๆ เพื่อแสดงกำไรสูงๆ ราคาหุ้นจะได้สูงตามไปด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้บริษัทใหญ่ๆ อย่าง Enron, WorldCom พังทลายมาแล้ว
แสดงว่าแม้กระทั่งบริษัทขนาดยักษ์ที่มีชื่อเสียง มีผู้บริหารมืออาชีพที่ดีที่สุด ก็ยังพังทะลายได้จากหายนะที่ควบคุมไม่ได้ หรือจากการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในตลาด เช่น การมีคู่แข่งใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่ และที่สำคัญที่สุดคือการการฉ้อโกง
นอกจากนี้ เมื่อเราซื้อหุ้นด้วยความร้อนแรงของมัน ด้วยข่าวลือ ราคาหุ้นนั้นก็อาจสูงเกินกว่าความเป็นจริงซึ่งทำให้ยากที่จะได้รับผลตอบแทนสูงๆ ได้
การป้องกันหายนะจากการลงทุนที่ดีที่สุดคือการกระจายการลงทุน และยิ่งต้องทำเช่นนั้นหากเราลงทุนในหุ้นเองโดยไม่ได้ลงทุนผ่านกองทุนรวมซึ่งมีการกระจายการลงทุนไว้อย่างดีแล้ว หากเราลงทุนเองก็ควรเรียนรู้วิธีหาบริษัทดีๆ ที่อาจจะไม่มีคนเห็นคุณค่าในวันนี้ เพราะราคาหุ้นยังไม่ร้อนแรง แต่มีโอกาสมากที่จะให้ผลตอบแทนสูงจากการลงทุนในระยะยาว วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นและเพิ่มผลตอบแทนให้เราได้
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์จะพูดว่า ผมเต็มใจที่จะลงทุนในบริษัทนี้เพราะเชื่อว่ามันจะเป็นการตัดสินใจลงทุนที่ยอดเยี่ยม แต่เพื่อความไม่ประมาท ผมจะลงทุนด้วยเงินเพียง 5% ของเงินลงทุนทั้งหมด
ความเชื่อผิดๆ ข้อที่ 2: "ไม่มีวันที่ผมจะซื้อหุ้นในช่วงนี้หรอก เพราะช่วงนี้ตลาดหุ้นมันย่ำแย่เอามากๆ”
ความเข้าใจผิด มีแต่คนโง่ๆ เท่านั้นที่จะซื้อหุ้นในช่วงที่ตลาดย่ำแย่อย่างนี้
ทำไมถึงเป็นความเชื่อที่ผิด หากหุ้นที่เราซื้อยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคง ราคาหุ้นที่ตกลงมาในปัจจุบันจะเป็นเพียงเพราะความกลัวของผู้ลงทุนในระยะสั้นๆ ซึ่งจะเหมือนเวลาร้านค้าติดป้ายลดราคา
เป็นโอกาสอันดียิ่งที่จะแสวงหาหุ้นราคาถูกที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีราคาต่ำกว่าที่มันควรจะเป็นมาไว้ในพอร์ตการลงทุนของเรา แต่อย่าลืมทำการบ้าน เพราะไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่ลดราคาจะดีไปหมด เราต้องขยันหาความรู้และหาความจริงว่าอะไรทำให้ราคาหุ้นดีๆ ตกลงมามากขนาดนั้น ต้องมั่นใจว่ามันเป็นเพราะตลาดโดยรวม ไม่ใช่เพราะบริษัทนั้นๆ มีปัญหาใหญ่ๆ ที่เรายังไม่รู้ จำได้ไหมที่เคยแนะนำไปว่า Recession ที่เพิ่งเกิดขึ้นจากปัญหา Subprime และ CDOs จะทำให้คนมีเงินสดได้รับโอกาสในการซื้อของดีราคาถูก และร่ำรวยขึ้นมาได้
จงจำไว้ว่าตลาดหุ้นเป็นตลาดที่มีวงจรหรือวัฏจักรของมัน และในช่วงที่คนขายอย่างตื่นตระหนกมันไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำตาม
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์จะพูดว่า ผมกำลังได้รับโอกาสที่ดีมากในการเลือกลงทุนในหุ้นดีๆ ที่ราคาตกลงมาเพราะตลาดหุ้นมันย่ำแย่ในวันนี้ ผมจะต้องรักการตัดสินใจซื้อหุ้นวันนี้แน่ๆ เมื่อทุกอย่างดีขึ้น และราคาหุ้นกลับขึ้นไปสูงอย่างที่มันควรจะเป็นในอนาคต
ความเชื่อผิดๆ ข้อที่ 3: "ผมมีการกระจายการลงทุนที่ดี เพราะผมลงทุนในกองทุนหุ้นที่มีหุ้นหลายๆ ตัวตามตลาด”
ความเข้าใจผิด การลงทุนในหุ้นหลายๆ ตัว เป็นการกระจายการลงทุนที่ถูกต้องแล้ว
ทำไมถึงเป็นความเชื่อที่ผิด แน่นอนที่การซื้อกองทุนหุ้นย่อมดีกว่าซื้อหุ้นเพียง 2-3 ตัว แต่การจะมีพอร์ตการลงทุนที่ดี พอร์ตการลงทุนนั้นจะต้องมีการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลายๆ ประเภทด้วย เช่น กองทุนพันธบัตร กองทุนตราสารหนี้ มันนี่มาร์เก็ตฟันด์ กองทุนหุ้นในประเทศ กองทุนหุ้นต่างประเทศ ฯลฯ
การลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในหุ้นหลายตัวเป็นการกระจายการลงทุนในหุ้นที่ดี แต่การเป็นเจ้าของพอร์ตการลงทุนที่มีกองทุนหรือสินทรัพย์หลากหลายประเภท จะเป็นการกระจายการลงทุนของทั้งพอร์ตที่ดีที่สุด
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์จะพูดว่า ผมมีการกระจายการลงทุนในหุ้นที่ดีพอเพราะว่าผมลงทุนในกองทุนหุ้น แต่กองทุนหุ้นนั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุนทั้งหมดของผม ผมยังลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ อีกด้วย พอร์ตการลงทุนทั้งหมดของผมจึงลดความเสี่ยงไปได้มากเพราะมีการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท
ความเชื่อผิดๆ ข้อที่ 4: “ผมเพิ่งใช้บริการโบรกเกอร์ที่เจ๋งที่สุด ผมรู้ว่าผมจะรวยแน่ๆ”
ความเข้าใจผิด คำแนะนำการลงทุน จากโบรกเกอร์เหล่านี้คือคำแนะนำที่ดีที่สุด และจะทำให้เราร่ำรวย
ทำไมถึงเป็นความเชื่อที่ผิด การซื้อและขายหุ้นในแต่ละครั้งจะมีค่าธรรมเนียมโบรกเกอร์ที่เราต้องจ่าย ไม่ว่าจะซื้อขายผ่านโบรกเกอร์หรือผ่านอินเตอร์เน็ต ยิ่งเราให้โบรกเอร์ตัดสินใจทำการซื้อขายหุ้นแทนเราได้ เรามักจะพบว่ามีการซื้อขายที่ถี่ไป เพราะเขาได้รับคอมมิชชั่นจากการซื้อขายหุ้น และนั่นจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนของเราลดลงไป
มีความเสี่ยงสูงที่โบรกเกอร์จะบริหารพอร์ตลงทุนของเราผิดพลาด เพราะมีวัตถุประสงค์ต่างกับเราที่เป็นเจ้าของเงิน วัตถุประสงค์ของโบรกเกอร์คือการมีรายได้คอมมิชชั่นในการซื้อขายหุ้น และจะ ได้โบนัสมากๆ เมื่อทำได้ตามเป้าหมายหรือมากกว่า การจะถึงเป้าหมายของเขาจึงต้องมีการซื้อขายบ่อยครั้ง ความกดดันนี้อาจทำให้เขาจำเป็นต้องแนะนำการลงทุนที่ไม่เหมาะสมให้เรา และแม้ว่าจะผิดจรรยาบรรณ แต่สิ่งเหล่านี้ก็เกิดขึ้นบ่อยๆ ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย
ดังนั้น แทนที่จะใช้บริการโบรกเกอร์แบบผิดๆ เพราะธุรกิจหลักทรัพย์โดยเฉพาะในบ้านเรามีการผลักดันให้มีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้โบรกเกอร์แบบนั้น ซึ่งทำให้เขาอาจแนะนำชักจูงให้เราลงทุนอย่างไม่เหมาะสมกับตนเอง เราจึงต้องเลือกใช้บริการจากผู้ที่แสดงให้เห็นแล้วว่าเขาเป็นมาร์เก็ตติ้งโบรกเกอร์ที่มีคุณภาพและยึดมั่นในจรรยาบรรณ เราอาจเลือกใช้บริการผู้วางแผนการลงทุนเป็น 2nd Opinion ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่ลืมทำการบ้านด้วยตนเองด้วย
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์จะพูดว่า หากผมใช้โบรกเกอร์อย่างถูกต้อง สินทรัพย์ที่ผมลงทุนก็จะทวีค่าเพิ่มขึ้นเนื่องจากคนเหล่านั้นจะทำหน้าที่แนะ นำการลงทุนที่ดี ที่เหมาะสมกับผม โดยไม่มีอคติจากค่าคอมมิชชั่นที่ได้รับ และผมจะตัดสินใจลงทุนเอง
ความเชื่อผิดๆ ข้อที่ 5: "วันนี้ผมได้กำไร 1 หมื่นบาทจากหุ้นที่ผมถืออยู่ เพราะราคามันขึ้นไป 5%”
ความเข้าใจผิด เข้าใจผิดว่าเราทำเงินได้เมื่อราคาหุ้นขึ้น และเราขาดทุนเมื่อราคาลดลง
ทำไมถึงเป็นความเชื่อที่ผิด กำไรขาดทุนที่คำนวณได้เป็นเพียงตัวเลขในกระดาษตราบใดที่เรายังไม่ขายหุ้นออกไป
เราไม่ต้องไปตื่นเต้นหรือตระหนกตกใจจนเกินเหตุกับวัฏจักรของตลาดหุ้นที่ขึ้นๆ ลงๆ หากเราเชื่อมั่นในหุ้นดีๆ หรือกองทุนหุ้นดีๆ ที่เรามีอยู่ และควรจะคงการลงทุนระยะยาวไว้ จนกว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปถึงหรือใกล้เคียงกับที่ควรจะเป็นโดยปัจจัยพื้นฐาน
มีเวลาอีกมากที่จะขายหุ้นในระยะยาวในราคาที่ได้กำไรสูงกว่าวันนี้ มูลค่าของพอร์ตการลงทุนจะผันผวนรายวันตามราคาตลาด แต่กำไรขาดทุนที่แท้จริงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราขายหุ้นออกไปเท่านั้น และน่าเสียดายที่เราหลายๆ คนตัดสินใจขายไปบนความผันผวน ไม่ใช่ขายด้วยมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น
ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์จะพูดว่า
มูลค่าพอร์ตการลงทุนของผมในวันนี้สูงขึ้น 1 หมื่นบาท เพราะเป็นวันที่ดีของตลาดหุ้น แต่ก็ไม่ได้กระทบอะไรผม เพราะผมยังไม่คิดจะขายหุ้นที่ถือในพอร์ตในช่วงนี้
สรุป
ไม่น่าเชื่อเลยว่าแม้กระทั่งเพื่อนเรา ญาติเรา และเจ้านายเราที่ฉลาดที่สุดก็ยังเชื่อและพูดผิดๆ เกี่ยวกับหุ้นตาม 5 ข้อที่ยกตัวอย่างมาให้ และแม้เราจะพยายามอธิบายสิ่งที่ถูกต้องให้เขาฟัง เขาก็ยังไม่เชื่อและหาว่าเรานั่นแหละที่ผิด
แต่อย่าไปกังวลเลยว่าใครจะพูดอะไร จะถูกจะผิด จะโง่หรือฉลาด เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในการลงทุนไม่ใช่การพูดที่ดูฉลาด แต่เป็นการกระทำที่ฉลาดต่างหาก
อย่าทำผิดๆ ใน 5 ข้อที่ว่านี้ แล้วเราจะอยู่ใน track ที่ถูกต้องของการลงทุนที่จะทำให้เราได้รับผลตอบแทนที่ดีตามเป้าหมายการลงทุนที่เราต้องการ
เครดิตบทความโดย วรวรรณ ธาราภูมิ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง