หม่อมเต่านาเปรียบเทียบกรณีศึกษาอียิปต์กับไทย

กระทู้สนทนา
" สำหรับเราแล้ว นอกจากความเหมือนในวิธีการปราบปรามประชาชนของรัฐบาลของกองทัพอียิปต์ กับของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ประเทศไทยกับอียิปต์ มีความแตกต่างกันอยู่อย่างมาก เรายังจำความรู้สึกตอนที่ทหารผู้ใหญ่ของอียิปต์เปลี่ยนมาหนุนกองทัพประชาชนที่ออกมาโค่น นายมูบารัก ได้ ว่าในขณะที่หลายคนดีใจ เรากลับไม่สบายใจ รู้สึกว่ามันเป็นแค่การซื้อเวลา และโอกาสอีกเล็กน้อยให้ประเทศได้ลองเดินต่อ เพราะสิ่งที่ทำให้นายมูบารักออกก็คือการปฎิวัติเป็นหลัก โดยทหารที่อยู่ฝั่งเขาเอง และด้วยปัญหาเศรษฐกิจที่สั่งสมลงรากลึก อียิปต์ถุกกดด้วยนายมูบารักมากว่าสามสิบปี อยู่ดีๆจะให้ฟื้นตัวเร็วคงลำบาก แต่คนที่ออกมาโค่นล้ม ที่มีพรรคพวก ครอบครัวล้มตายไปเขาคงรอไม่ได้นาน พูดง่ายๆคือรัฐบาลใหม่ ไม่ว่าจะเป็นใครจะต้องถูกกดดันด้วยเรื่องเศรษฐกิจอย่างมาก แล้วพอผลเลือกตั้งออกมา คะแนนของฝั่งนายมูบารักเดิม กับฝ่ายที่ชนะ ใกล้เคียงกันมากๆ ห่างแค่ไม่กี่เปอร์เซนต์ แล้วนักข่าวก็ไปสัมภาษณ์ประชานรากหญ้าฝ่ายที่เลือกฝ่ายนายมูบารักเดิม เขาก็บอกว่าเขาไม่สนใจว่าใครจะมาบริหารประเทศ เขาอาจจะไม่เลือกฝ่ายที่ชนะเลือกตั้งคือ Muslim Brotherhood แต่เขาก็แค่อยากให้รัฐบาลรีบเข้าทำงานแล้วแก้ปัญหาเศรฐกิจให้ได้ ซึ่งในเวลาหนึ่งปีที่ Muslim Brotherhood เข้ามาเป็นรัฐบาล อะไรอะไรก็ยังดูไม่ดีขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะอียิปต์มีปัญหาเรื่องการกระจายรายได้ระหว่างชนชั้นที่ถุกกดมากว่า สามสิบปี อัตราคนว่างงานและเงินเฟ้อก็สูงมาก แก้ยากมาก และเมื่อปากท้องของประชาชนไม่ดี และเขารู้สึกว่ารัฐบาลเดินผิดทางแก้ปัญหาไม่ได้ทันใจพอ คนก็ออกมาเรียกร้องใหม่ ในที่สุดทหารก็ออกมาเข้าข้างอีกฝั่งแทน เหมือนเดิม แต่ที่พลาด หรืออาจจะต้องเรียกว่าเป็นชะตากรรมก็ได้ ก็คือคราวนี้ รัฐบาลของนาย โมซี่ ถึงแม้ว่าจะทำงานเศรษฐกิจได้ไม่ดี แต่ก็ถูกเลือกมาโดยประชาชนจำนวนมาก ชนะเลือกตั้งมาจริง แต่คะแนนสูสี เรียกได้ว่าทั้งสองฝ่ายจะเรียกม๊อบ หนึ่งล้านคน กันก็เรียกได้ทั้งคู่ แล้วความโกรธแค้นที่ฝังลึก รวมไปถึงปัญหาเศรษฐกิจที่ฝังลึก ก็ระเบิดขึ้นได้ง่ายมากๆ ก็เลยได้การปราบปราม และสงครามนองเลือดอย่างที่เห็น ซึ่งก็คงจะเกิดขึ้น เงียบลง ประทุใหม่ อยู่อย่างนี้จนกว่าคนอียิปต์เองจะหมดแรงกันไปข้างหนึ่ง จนสรุปออกมาเป็นบทเรียนที่จะไม่ให้ทำเหมือนเดิมอีก และอียิปต์ยังมีความซับซ้อนไปอีกขั้นหนึ่งที่มากกว่าเมืองไทย นั้นคือ เพื่อนบ้านแทบทุกประเทศ รวมไปถึงนายทุนใหญ่ของกองทัพอียิปต์ คือ อเมริกา ไม่มีความไว้ใจในรัฐบาลของนาย โมซี่ ต่างจากเพื่อนบ้านทุกประเทศของไทย รวมไปถึงอเมริกา และทั่วโลกที่ให้การยอมรับและไว้ใจรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นอย่างดี จนถึงดีมากๆ นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยต่างจากอียิปต์ตลอดมาก็คือ รัฐบาลทุกรัฐบาลของ พ ต ท ทักษิณ ได้ชัยชนะที่ขาดลอย คือชนะกว่ามากอย่างชัดเจน มาโดยตลอด และก็เป็นรัฐบาลที่แม้ ตอน พ ต ท ทักษิณ เป็นนายก จะมีภาพของการเข้ากับกลุ่มนายทุนอยู่มาก แต่ก็ทำงานและพยายามสร้างรายได้ให้กับประชนรากหญ้าได้ดีกว่าฝ่ายตรงข้ามคือ ปชป อย่างมากและสม่ำเสมอ คนรากหญ้าไม่ได้โกรธ พ ต ท ทักษิณ และยังเป็นฐานที่เข้มแข็งให้ตลอด แต่ก่อนปี 49 ยังตั้งตัวจับกลุ่มกันไม่ได้ จึงสามารถมีการทำการรัฐประหารได้ง่าย และยังคงกระท่อน กระแท่น ถึงรัฐบาล นายสมัคร และนายสมชาย ก็เป็นบทเรียนที่ทำให้ประชาชนรากหญ้าและ พ ต ท ทักษิณเองได้ตระหนักว่า ถ้าเขาไม่รวมตัวกันดีๆไว้ อำนาจจากคนแค่ไม่กี่คนโดยผ่านองค์กรอิสระ ก็สามารถล้มรัฐบาลของพวกเขาได้ เขาจึงเริ่มจับมือกันอย่างเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ มีการค่อยๆปรับจูนกับทหารมาเรื่อยๆ ไม่ได้หักด้ามพร้าด้วยเข่า ต่อมาเมื่อมาเป็น นายกยิ่งลักษณ์ ซึ่งคนมักจะถามเราเสมอว่าทำไมเราถึงชอบเธอมาก เรามีความรู้สึกว่า นายกปูขึ้นมาเป็นนายกเพื่อที่จะสานต่อนโยบายเดียวกับนายกทักษิณ แต่ด้วยวิธีที่นุ่มนวล และโปร่งใสกว่า แม้จะต้องทำให้ไปได้ช้ากว่า และก็พยายามอธิบาย และโอบอุ้มความรู้สึก ของคนที่ไม่ได้อยู่ฝั่งเดียวกับเธอด้วย ให้มีโอกาศได้หายกลัว หรือสามารถค่อยๆเข้าใจและสบายใจในสิ่งที่เธอกำลังพยายามทำด้วย ซึ่งเป็นอะไรที่เหนื่อยมากๆ และเป็นสิ่งที่ พ ต ท ทักษิณ ไม่ได้ทำตอนเป็นนายก ซึ่งก็ทำให้ นายกทักษิณ มีผลงานพุ่งออกไปเร็วมากกับกลุ่มคนส่วนใหญ่ แต่อีกกลุ่มหนึ่งที่ต่อต้านก็ยิ่งเคียดแค้น สับสน อึดอัดใจมากๆ ความพยายามของนายกปูที่จะพากันเดินไปทั้งประเทศ หรืออย่างน้อยก็คอยทิ้งพื้นที่ให้คนที่ไม่เห็นด้วยทุกๆกลุ่มและชนชั้นไม่หลังชนฝาเป็นความพยายามที่ดี และยิ่งใหญ่ เราจึงขอยีนยันว่าประเทศไทยไม่ได้เหมือนกับประเทศอียิปต์อยู่ในเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ประชาชนที่เลือกรัฐบาลของ พรรคของพ ต ท ทักษิณ มีจำนวนมากกว่ามาก และประชาชนที่ไม่ได้เลือกรัฐบาลของนายกปูก็ไม่ได้อยู่ในสภาพหลังชนฝา อดอยากปางตาย และประเทศไทยก็กำลังเพียรพาชนชั้นรากหญ้าและทุกๆชั้นที่ยอมเปิดใจไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านแบบต้องพึ่งพิงความมั่นคงของกันและกันเหมือนเดิม ตามที่ ดร พันศักดิ์ ได้วางไว้กว่ายี่สิบปีแล้ว ตั้งแต่สมัย นายก ชาติชายเหมือนเดิม ความเหมือนเดียวที่มีอยู่ระหว่างไทยกับอียิปต์ ก็คือ เมื่อประเทศไม่มีกติกา เมื่อรัฐบาลที่ถุกเลือกมาโดยประชาชนถูกโค่นล้ม และในกรณีของอียิปต์ เศรษฐกิจย่ำแย่มากๆ ไม่มีอะไรให้คนมีความหวัง ผลที่ได้ก็คือทุกคนจะเลือดขึ้นหน้าแล้วได้สงครามกลางเมือง อย่างที่เห็นเวลาทหารต้องเข้ามาปราบปรามในรัฐบาลอภิสิทธิ์ นอกนั้นประเทศไทยยังมีสภาพที่จะสามารถหลีกเลี่ยงจุดนี้ได้ง่าย โดยถ้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์มีความมั่นคงเพียงพอ และมีความสามารถที่จะกระจายรายได้ สร้างโอกาศใหม่ๆที่ยั่งยืนให้กับคนส่วนมากของประเทศได้เรื่อยๆ ทุกคนก็จะวุ่นวายอยู่กับความหวัง ความสนุกในการทำมาหากิน ไม่ออกมาฆ่ากัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงในเชิงสังคม และสิทธิอื่นๆที่ลึกลงไป ถ้าหากนายกปูสามารถเปิดพื้นที่ไว้ได้เรื่อยๆ เช่นนี้ ทุกๆอย่างก็จะค่อยๆ ได้รับการปรับไปตามเวลาและเงื่อนไขของกลไกของมันเอง หลักๆคือ ตราบใดที่เรามีนายกที่ชนะเลือกตั้งแบบขาดลอย และมีใจกว้าง ถ่อมตัวเช่นนายกปู เราก็ไม่เป็นอียิปต์คะ ดังนั้นมาช่วยกันตรวจสอบแบบมีเหตุผลเพื่อผลักดันให้เศรษกิจไทยเดินหน้าสำหรับตัวท่านเองคนส่วนมากของประเทศคะ ถ้าคนเรามีข้าวกินอิ่มท้องและศักดิ์ศรีให้พอเชิดหน้าชูตาได้พอสมควร การพูดคุยเพื่อค่อยๆปรับเปลี่ยนเรื่องต่างๆก็จะยังคงทำได้คะ"

ก็อปมาลงค่ะ สามารถติดตามหม่อมเต่านาได้ทาง FB : Taona Sonakul
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่