กลิ่นอายตะวันตกของประชาธิปไตย...สู่ประชาธิปไตยแบบกากๆของไทยหรือไม่เสื้อแดง?....

กระทู้คำถาม

การปฏิวัติที่ยังไม่จบของอียิปต์



ย้อนหลังไปเมื่อปี 2554 ชาวอียิปต์ลุกฮือรวมพลังกันขับไล่"ฮอสนี มูบารัก" ประธานาธิบดีที่ปกครองประเทศอียิปต์มานานถึง 30 ปี ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นเผด็จการปกครองประเทศ หลังจากชาวอียิปต์เห็นความสำเร็จของการปฏิวัติตูนิเซีย จึงได้ลุกฮือขึ้นมาปฏิวัติเรียกร้องความเป็นธรรม จนมูบารักต้องยอมลงจากตำแหน่งไปในที่สุด เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 และถูกดำเนินดคีตามกฎหมายอยู่ในตอนนี้

เมื่อครั้งนั้น กลุ่มภราดรภาพของนายโมฮัมเหม็ด มอร์ซี เป็นแกนนำหลักสำคัญในการโค่นอำนาจมูบารัก ด้วยความหวังของประชาชนที่ต้องการรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ และเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน จนนำไปสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในช่วงปลายปี 2554 และการเลือกตั้งประธานาธิบดีอียิปต์เมื่อวันที่ 16-17 มิถุนายน 2555 ซึ่งปรากฏว่า มอร์ซี ได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเสียงกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ ได้กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอียิปต์ที่มาจากการเลือกตั้ง

ดูเหมือนการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจะราบรื่นดี แต่หากลับเริ่มมองเห็นถึงความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้น ตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญที่ดูเหมือนจะเป็นที่ไม่ปลื้มของประชาชน เมื่อมอร์ซีประกาศใช้กฤษฎีกาเพิ่มอำนาจของตนเหนือการตรวจสอบของฝ่ายตุลาการ ทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นมาประท้วงใหญ่ ก่อนที่จะยอมยกเลิกในเวลาต่อมา และเปิดทางร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อเตรียมการเลือกตั้งต่อไป และมีการลงประชามติ มีความเห็น "เห็นชอบ" กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

แต่ความวุ่นวายในอียิปต์ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เมื่อประชาชนเริ่มแสดงความไม่พอใจต่อการปกครองของผู้นำคนใหม่ที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศได้ และยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังเกิดขึ้นในประเทศอียิปต์ แม้ว่าจะไม่มีฮอสนี มูบารัก อยู่แล้ว

เวลาล่วงเลยผ่านไปเพียงแค่ 1 ปีของการขึ้นเป็นประธานาธิบดีของนายมอร์ซีประชาชนชาวอียิปต์ออกมารวมตัวกันอีกครั้ง เรียกร้องให้มอร์ซีลงจากตำแหน่ง โดยมีการรวมตัวกันตามเมืองใหญ่ๆ เช่นเคย กดดันให้มอร์ซีคืนเก้าอี้แห่งประชาธิปไตยมาให้แก่ประชาชนอีกครั้ง

สถานการณ์ตึงเครียดนำไปสู่การชุมนุมครั้งใหญ่ของประชาชนเหมือนเมื่อครั้งโค่นมูบารัก จนทหารออกมาประกาศ "ขีดเส้นตาย" ให้มอร์ซีต้องลงจากตำแหน่งและนำไปสู่การรัฐประหารของทหาร ปลดมอร์ซี ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง ตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้น เดินหน้าปฏิวัติอียิปต์อีกครั้ง!!

++++


กองทัพ...คำตอบสุดท้ายปัญหาอียิปต์


กองทัพคือผู้ที่ปกครองอียิปต์ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา รวมถึงมูบารักที่เป็นทหาร



เมื่อประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด มอร์ซีแห่งอียิปต์ ปลดบรรดานายทหารช่วงปีก่อนและแต่งตั้งนายพลอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซีซี ขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองทัพและรัฐมนตรีกลาโหมนั้น เป็นเหมือนการบ่งชี้ว่ากองทัพอยู่ใต้การบังคับบัญชาของผู้นำคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตย

เมื่อครั้งได้รับการแต่งตั้งขึ้นมาเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ซีซี วัย 58 ดูมีคุณสมบัติเหมาะสมเพราะเป็นนายพลรุ่นใหม่ที่ต้องการโอกาสหลังจากอยู่ใต้เงาของนายพลสูงวัยมาหลายปี อย่างนายพลฮุสเซน ทันทาวี วัย 78 ที่เป็นรัฐมนตรีกลาโหมของอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก มา 20 ปี

จริงๆ คนที่มาจากกองทัพคือผู้ที่ปกครองอียิปต์ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา รวมถึงมูบารักที่เป็นทหาร ขณะที่กองทัพเองก็บริหารประเทศช่วงเปลี่ยนผ่าน 16 เดือนหลังจากการปฏิวัติพลังประชาชนอันทำให้นายพลคนสุดท้ายคือมูบารัก ต้องลงจากตำแหน่ง และกองทัพก็ลังเลที่จะส่งมอบอำนาจให้นายมูร์ซี จนกระทั่งนายมูร์ซีปลดนายทันทาวีและนายพลอีกหลายคน มาในวิกฤตการณ์ครั้งนี้ นายพลซีซีเป็นดั่งตัวแปรสำคัญ โดยเขาเตือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่ากองทัพมีหน้าที่เข้าแทรกแซงเพื่อไม่ให้อียิปต์ตกสู่อุโมงค์แห่งความขัดแย้งและการต่อสู้ แต่เขาไม่ได้เข้าข้างทั้งประธานาธิบดีหรือฝ่ายตรงข้าม นายพลซีซีเคยกล่าวไว้ว่า กองทัพภักดีต่อประชาชนและประเทศชาติ จนกระทั่งในที่สุดเขาได้ยื่นคำขาดให้นายมอร์ซียอมแบ่งปันอำนาจกับฝ่ายตรงข้ามภายใน 48 ชั่วโมง

นายพลซีซีเป็นทหารอาชีพที่ได้รับการบ่มเพาะมาเพื่อทำหน้าที่ผู้นำ หลังจากเคยดูแลทั้งด้านบัญชาการ ข่าวกรอง และการทูตในกองทัพ ทั้งยังเคยไปอยู่ที่วิทยาลัยการทหารของสหรัฐในรัฐเพนซิลวาเนีย 1 ปี ดังนั้นเขาจึงคุ้นเคยกับสหรัฐ ซึ่งให้เงินช่วยเหลือกองทัพอียิปต์ปีละ 1,300 ล้านดอลลาร์

กองทัพภายใต้การนำของนายพลซีซีได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในประเทศ ขณะที่เขาก็ใช้วิธีที่ระมัดระวังในการเรียกเสียงสนับสนุนสู่กองทัพ ด้วยการส่งเครื่องบินไปโปรยธงชาติให้ฝูงชนที่ชุมนุมกันที่จตุรัสตาหะรี

นายไมเคิล วาฮิด ฮันนา แห่งมูลนิธิเซนจูรี ชี้ว่ากองทัพไม่มีความต้องการจะกลับมาปกครองประเทศอีก และนายพลซีซีก็ไม่ได้อยู่ในกลุ่มแกนนำแม่ทัพสายเหยี่ยวที่ต้องการแสดงบทบาทดังกล่าว

แหล่งข่าวในกองทัพเผยว่าการที่นายมอร์ซีเรียกร้องเมื่อเดือนที่แล้วให้ต่างชาติเข้าแทรกแซงในซีเรีย ถือเป็นจุดเปลี่ยน นอกจากนั้น กลุ่มภราดรภาพมุสลิมของนายมอร์ซียังไปไกลกว่านั้น ด้วยการเรียกร้องให้ทำสงครามศักดิสิทธิ์ อันเป็นคำที่สร้างความวิตกแก่กองทัพซึ่งใช้เวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ปราบปรามกลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรง
cr: http://www.thaibizcenter.com/rss/page.asp?openurl=http%3A%2F%2Fwww.matichon.co.th%2Fnews_detail.php%3Fnewsid%3D1372917542%26grpid%3D01%26catid%3D01
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่