ปิดโรงงานรองเท้าผ้าใบ “แพน” ล่าสุด “แพนเอเซียฟุตแวร์” ในเครือสหพัฒน์ ประกาศหยุดประกอบกิจการโรงงานผลิตรองเท้า และกระเป๋า ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคมนี้ โดยเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด เหตุยอดคำสั่งซื้อฮวบ แถมขาดทุนสะสมจำนวนมาก แม้ขายสินทรัพย์หลายรายการให้ในเครือช่วยพยุง อีกทั้งโดนซ้ำเติมจากค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ลูกค้ารายใหญ่ย้ายฐานหนี
บมจ.แพนเอเซียฟุตแวร์ (PAF) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 11/2556 วันที่ 15 สิงหาคม 2556 ได้มีมติสำคัญสำคัญเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างธุรกิจ คือ ด้วยสถานการณ์ของบริษัทฯ ในปัจจุบัน มียอดคำสั่งซื้อจากลูกค้าลดลงอย่างต่อเนื่องในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทฯ ขาดทุนสะสมจำนวนมาก โดยมีสาเหตุจากการย้ายฐานการผลิตของลูกค้ารายใหญ่ ประกอบกับค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณคำสั่งซื้อจากลูกค้าน้อยลง และเป็นคำสั่งซื้อที่มีปริมาณน้อยกว่ากำลังการผลิตของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก
ขณะเดียวกัน บริษัทมีขนาดโครงสร้างองค์กรขนาดใหญ่ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง การดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายไม่สัมพันธ์กับกระบวนการผลิตตามคำสั่งซื้อที่น้อยลง ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และจะทำให้บริษัทฯ มีผลประกอบการขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น
ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ปรับโครงสร้างการประกอบกิจการของบริษัทฯ โดยให้หยุดประกอบกิจการโรงงานผลิตรองเท้า และกระเป๋า ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2556 โดยเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด และให้คงพนักงานไว้เฉพาะส่วนสำนักงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่จำนวนหนึ่งประมาณ 10 คน
นอกจากนี้ PAF จะปรับสถานะการประกอบกิจการของบริษัทฯ โดยปรับเปลี่ยนจากบริษัทที่ประกอบธุรกิจในด้านการผลิตรองเท้า และกระเป๋า และการถือหุ้นในบริษัทย่อย เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจในการถือหุ้นในบริษัทย่อยเพียงอย่างเดียว (HOLDING COMPANY) โดยบริษัทฯ ยังคงมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยเช่นเดิม ทั้งนี้ บริษัทย่อยยังคงมีการดำเนินธุรกิจในการประกอบกิจการโรงงานอันเป็นธุรกิจหลักของบริษัทย่อย
โดยบริษัทย่อยที่บริษัทฯ เข้าถือหุ้นอันเป็นบริษัทแกนในการประกอบธุรกิจในการถือหุ้น คือบริษัทดับเบิ้ลยู บีแอลพี จำกัด (เดิมบริษัท แพนระยอง จำกัด) ซึ่งผลิตรองเท้า และกระเป๋า และมีสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท 100% บริษัทจึงมีอำนาจควบคุมบริหารจัดการตามสัดส่วนการถือหุ้นทุกประการ
สำหรับ PAF นับเป็นอีกหนึ่งบริษัทในเครือสหพัฒน์ โดยสัดส่วนผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก ประกอบด้วย 1.บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 18.91% 2.บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 18.12% 3.นายวิโรจน์ อึ้งไพบูลย์ สัดส่วน 5.95% 4.บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 5.65% 5.บริษัท ไอ.ดี.เอฟ. จำกัด สัดส่วน 4.84% 6.บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด สัดส่วน 4.82% 7.นายบุญชัย โชควัฒนา สัดส่วน 4.25% 8.บริษัท บ้านแพน เอนจิเนียริ่ง แอนด์ โฮลดิ้ง จำกัด สัดส่วน 3.29% 9.นางชัยลดา ตันติเวชกุล สัดส่วน 3.21% และ 10.นายกษม ศิริรังสรรค์กุล สัดส่วน 1.09%
โดยเป็นที่รับรู้กันว่า บริษัทแห่งนี้ผลิตสินค้าแบรนด์ PAN KSWISS CAmper mark&spencer hummel scholl jansport และ kliping
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ปัจจุบันทาง ICC อยู่ระหว่างให้ทีมผู้บริหารเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา และพัฒนาภาคธุรกิจของ PAF ให้ดีขึ้น หลังจากที่ประสบภาวะขาดทุนสะสมมาเป็นระยะเวลานาน ล่าสุด ขาดทุนสะสมถึง 2.65 พันล้านบาท โดยในไตามาส 1/56 บริษัทพลิกกลับมามีกำไรสุทธิถึง 253.39 ล้านบาท จากการขายสินทรัพย์เข้า แต่ผลการดำเนินงานปกติยังปรับตัวลดลง โดยเป็นการขายสินทรัพย์ที่เป็นที่ดินเปล่า และสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคล หรือบริษัทที่เกี่ยวโยงกับประมาณ 26 รายการ 133 แปลง หรือประมาณ 1.29 พันไร่ ซึ่งล่าสุด ได้พิจารณาขายให้แต่บริษัทที่มีการเกี่ยวโยงกันเท่านั้น เช่น กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ICC บริษัท ไอ.ดี.เอฟ. จำกัด บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเหลือเพียง 1 รายการ หรือ 25 แปลง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิคมสหรัตนนคร จำนวน 261 ไร่ ที่ยังไม่มีผู้เสนอซื้อ
โดยเมื่อปี 2555 พบว่า PAF มีข่าวปิดโรงงานมาก่อนแล้ว นั่นคือ บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ รับเบอร์ จำกัด ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรองเท้า มีพนักงานชายหญิง อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็มีการเลิกจ้าง และปิดโรงงาน บริษัท กบินทร์บุรี แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
นอกจากนี้ ในปี 2552 บมจ.แพนเอเซียฟุตแวร์ ได้ขายที่ดินพร้อมสวนยางพาราซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบุ่งมะแลง และตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ให้แก่ บริษัท ไอ.ดี.เอฟ.จำกัด จำนวน 31 โฉนด เนื้อที่รวม 2,967 ไร่ 3 งาน 85.2 ตารางวา มูลค่า 130 ล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้รับไปใช้ปรับปรุงเครื่องจักรในการผลิตพื้นรองเท้า และใช้ในการลงทุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่มีแรงงานจำนวนมาก และค่าแรงถูกกว่าในประเทศไทย อีกทั้งมีสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี
โรงงานรองเท้า "แพน" ปิดกิจการถาวร โดนซ้ำเติมจากค่าแรง 300
บมจ.แพนเอเซียฟุตแวร์ (PAF) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 11/2556 วันที่ 15 สิงหาคม 2556 ได้มีมติสำคัญสำคัญเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างธุรกิจ คือ ด้วยสถานการณ์ของบริษัทฯ ในปัจจุบัน มียอดคำสั่งซื้อจากลูกค้าลดลงอย่างต่อเนื่องในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทฯ ขาดทุนสะสมจำนวนมาก โดยมีสาเหตุจากการย้ายฐานการผลิตของลูกค้ารายใหญ่ ประกอบกับค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณคำสั่งซื้อจากลูกค้าน้อยลง และเป็นคำสั่งซื้อที่มีปริมาณน้อยกว่ากำลังการผลิตของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก
ขณะเดียวกัน บริษัทมีขนาดโครงสร้างองค์กรขนาดใหญ่ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง การดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายไม่สัมพันธ์กับกระบวนการผลิตตามคำสั่งซื้อที่น้อยลง ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และจะทำให้บริษัทฯ มีผลประกอบการขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น
ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ปรับโครงสร้างการประกอบกิจการของบริษัทฯ โดยให้หยุดประกอบกิจการโรงงานผลิตรองเท้า และกระเป๋า ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2556 โดยเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด และให้คงพนักงานไว้เฉพาะส่วนสำนักงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่จำนวนหนึ่งประมาณ 10 คน
นอกจากนี้ PAF จะปรับสถานะการประกอบกิจการของบริษัทฯ โดยปรับเปลี่ยนจากบริษัทที่ประกอบธุรกิจในด้านการผลิตรองเท้า และกระเป๋า และการถือหุ้นในบริษัทย่อย เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจในการถือหุ้นในบริษัทย่อยเพียงอย่างเดียว (HOLDING COMPANY) โดยบริษัทฯ ยังคงมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยเช่นเดิม ทั้งนี้ บริษัทย่อยยังคงมีการดำเนินธุรกิจในการประกอบกิจการโรงงานอันเป็นธุรกิจหลักของบริษัทย่อย
โดยบริษัทย่อยที่บริษัทฯ เข้าถือหุ้นอันเป็นบริษัทแกนในการประกอบธุรกิจในการถือหุ้น คือบริษัทดับเบิ้ลยู บีแอลพี จำกัด (เดิมบริษัท แพนระยอง จำกัด) ซึ่งผลิตรองเท้า และกระเป๋า และมีสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท 100% บริษัทจึงมีอำนาจควบคุมบริหารจัดการตามสัดส่วนการถือหุ้นทุกประการ
สำหรับ PAF นับเป็นอีกหนึ่งบริษัทในเครือสหพัฒน์ โดยสัดส่วนผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก ประกอบด้วย 1.บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 18.91% 2.บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 18.12% 3.นายวิโรจน์ อึ้งไพบูลย์ สัดส่วน 5.95% 4.บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) สัดส่วน 5.65% 5.บริษัท ไอ.ดี.เอฟ. จำกัด สัดส่วน 4.84% 6.บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด สัดส่วน 4.82% 7.นายบุญชัย โชควัฒนา สัดส่วน 4.25% 8.บริษัท บ้านแพน เอนจิเนียริ่ง แอนด์ โฮลดิ้ง จำกัด สัดส่วน 3.29% 9.นางชัยลดา ตันติเวชกุล สัดส่วน 3.21% และ 10.นายกษม ศิริรังสรรค์กุล สัดส่วน 1.09%
โดยเป็นที่รับรู้กันว่า บริษัทแห่งนี้ผลิตสินค้าแบรนด์ PAN KSWISS CAmper mark&spencer hummel scholl jansport และ kliping
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ปัจจุบันทาง ICC อยู่ระหว่างให้ทีมผู้บริหารเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา และพัฒนาภาคธุรกิจของ PAF ให้ดีขึ้น หลังจากที่ประสบภาวะขาดทุนสะสมมาเป็นระยะเวลานาน ล่าสุด ขาดทุนสะสมถึง 2.65 พันล้านบาท โดยในไตามาส 1/56 บริษัทพลิกกลับมามีกำไรสุทธิถึง 253.39 ล้านบาท จากการขายสินทรัพย์เข้า แต่ผลการดำเนินงานปกติยังปรับตัวลดลง โดยเป็นการขายสินทรัพย์ที่เป็นที่ดินเปล่า และสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคล หรือบริษัทที่เกี่ยวโยงกับประมาณ 26 รายการ 133 แปลง หรือประมาณ 1.29 พันไร่ ซึ่งล่าสุด ได้พิจารณาขายให้แต่บริษัทที่มีการเกี่ยวโยงกันเท่านั้น เช่น กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ICC บริษัท ไอ.ดี.เอฟ. จำกัด บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเหลือเพียง 1 รายการ หรือ 25 แปลง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นิคมสหรัตนนคร จำนวน 261 ไร่ ที่ยังไม่มีผู้เสนอซื้อ
โดยเมื่อปี 2555 พบว่า PAF มีข่าวปิดโรงงานมาก่อนแล้ว นั่นคือ บริษัท เอ็กซ์เซลเล้นท์ รับเบอร์ จำกัด ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรองเท้า มีพนักงานชายหญิง อีกทั้งก่อนหน้านี้ก็มีการเลิกจ้าง และปิดโรงงาน บริษัท กบินทร์บุรี แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
นอกจากนี้ ในปี 2552 บมจ.แพนเอเซียฟุตแวร์ ได้ขายที่ดินพร้อมสวนยางพาราซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบุ่งมะแลง และตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ให้แก่ บริษัท ไอ.ดี.เอฟ.จำกัด จำนวน 31 โฉนด เนื้อที่รวม 2,967 ไร่ 3 งาน 85.2 ตารางวา มูลค่า 130 ล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้รับไปใช้ปรับปรุงเครื่องจักรในการผลิตพื้นรองเท้า และใช้ในการลงทุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่มีแรงงานจำนวนมาก และค่าแรงถูกกว่าในประเทศไทย อีกทั้งมีสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี