ปลูกหุ้นกินผล
โตแบบ“พอเพียง” ปีละ 40%นิยามเล่นหุ้น “ปุณยวีร์ จันทรขจร”
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ควักเงินตั้งต้น 2.7 แสนบาท สอยหุ้น GUngHO หนึ่งตัว จากตลาดหุ้น Nikkei ผ่าน 4 เดือน ทะยานแตะ 1.2 ล้านบาท พลิกพอร์ตหุ้นญี่ปุ่น “เป๊ก ปุณยวีร์"
นักลงทุนแนววีไอ ในฐานะนักเขียนมือใหม่ สังกัด Stock2morrow “ชายหนุ่มวัย 30 ปี” ผู้มากประสบการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นเจ้าของพอร์ตลงทุนหลัก “สิบล้านบาท” ในดัชนีนิกเกอิ (Nikkei) ประเทศญี่ปุ่น
หลังหุ้น GUngHO online entertainment ผู้ผลิตเกมส์ออนไลน์ ที่เขาซื้อไว้เพียง 1 หุ้น ราคา 900,000 เยนต่อหุ้น “พุ่งพรวด” เป็น 4 ล้านเยน ต่อหุ้น ภายในระยะเวลา 3-4 เดือน และยังมีเงินลงทุนในตลาดหุ้นไทยหลัก “แสนบาท”
หนุ่มมากความสามารถ “หลงรัก” วัฒนธรรมจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาฝังรากลึกในเมืองไทยตั้งแต่เด็กๆ ทำให้เขาตัดสินใจสอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาญี่ปุ่น ก่อนจะมาสอบชิงทุนปริญญาโท มหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างทำงานในองค์กรการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ตามคำแนะนำของเลขาท่านทูต
“ชีวิตชอบความท้าทาย” ทำให้ “หนุ่มเป็ก” ตัดสินใจเปลี่ยนงานประจำไปเรื่อยๆ เริ่มแรกเขานั่งทำงานอยู่ใน “เอสโซ่” ผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศญี่ปุ่น ก่อนจะโยกมาทำงานในองค์กรเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ในถนนอโศก เพียงเพราะเบื่องานซ้ำซากจำเจ ก่อนจะลาออกไปเรียนปริญญาโท เมื่อจบการศึกษา เขาเลือกยึดอาชีพไกด์ 8-9 เดือน และบินกลับเมืองไทย ปัจจุบันทำงานเป็น “ดีเจ-ครีเอทีฟ” ประจำคลื่น 93.75 สถานีที่เน้นเปิดแต่เพลงญี่ปุ่น
“ความโลภ-ความกลัว” คือ อุปสรรคในการลงทุน” “เซียนหุ้นอารมณ์ดี” บอกกับ “กรุงเทพธุรกิจ BizWeek” ก่อนจะเล่าถึงเส้นทางการลงทุนในตลาดหุ้น Nikkei ให้ฟังว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้มีหุ้นซื้อขายประมาณ 225 ตัว ทุกตัวล้วนเป็นหุ้นพื้นฐานดี อาทิ หุ้น TOYOTA และหุ้น Honda เป็นต้น เปรียบสเมือน SET 50 บ้านเรา
เริ่มลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นครั้งแรกในปี 2554 เงินตั้งต้นราวๆ 300,000 บาท โดยการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต แต่มาลงทุนจริงจังช่วงครึ่งหลังปี 2555 เริ่มต้นสอย หุ้น Oriental land ซึ่งเป็นเจ้าของดีสนีย์แลนด์ และดิสนีย์ซี “ชอบหุ้นตัวนี้” เพราะเป็นสวนสนุกที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี เขาลงทุนแค่ครั้งเดียว เน้นเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ เพื่อเพิ่มมาร์จิ้นเป็นหลัก
จากนั้นก็มาซื้อ หุ้น JR ในธุรกิจรถไฟฟ้า ตัดสินใจซื้อ เพราะเชื่อว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรรถไฟฟ้าในญี่ปุ่นไม่มีวันตาย ประชาชนส่วนใหญ่ใช้รถไฟฟ้าทุกวัน เราเองก็ใช้บริการอยู่ทุกวันเพื่อเดินทางไปเรียน ฉะนั้นเราสัมผัสได้ ตอนเช้าคนแน่นยิ่งกว่าปลากระป๋อง แถมเป็นธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่งอีกต่างหาก ใครถือหุ้น JR 100 หุ้นขึ้นไป จะได้รับบัตรส่วนลด 30%
ต่อมาก็มาซื้อ หุ้น TOYOTA ตัวนี้ไม่ต้องบอก ก็รู้ว่าเขาเป็นเจ้าตลาดรถยนต์ ข้อดีเพียบ จากนั้นก็ซื้อ หุ้น UNIQLO เจ้าของเสื้อผ้าญี่ปุ่น แบรนด์ “ยูนิโคล่” เมื่อก่อนเคยทำงานอยู่ในยูนิโคล่ระยะหนึ่ง “ผมรู้ว่าเขามีมาร์จิ้นดีมากขนาดไหน” เพราะบริษัทประหยัดต้นทุนทุกอย่าง เราในฐานะนักลงทุนจะได้ประโยชน์เต็มๆ
หุ้นเหล่านี้ขอยกให้เป็น “หุ้นกองหลัง” บอกตรงๆไม่กล้าให้เป็น “หุ้นกองหน้า” หรือ “กองกลาง” เพราะเราไม่ได้ติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด ตัวอยู่เมืองไทยทำให้ความมั่นใจไม่เต็มร้อย ขอเน้นชัวร์ๆ ดีกว่า หลายคนคงตั้งคำถามอะไรคือ "หุ้นกองหลัง-กองหน้า-กองกลาง" เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง
“ผมหวังผลตอบแทนจากดัชนี Nikkei เฉลี่ย 30-40% ได้แค่นี้ก็พอใจละ !!”
“หนุ่มเป๊ก” เล่าว่า พอร์ตหุ้นญี่ปุ่น เริ่มเปลี่ยนจาก “หลักล้าน” เป็น “หลักสิบล้าน” เพราะ “หุ้น GUngHO online entertainment” ผู้ผลิตเกมส์ออนไลน์ แม้จะซื้อเพียง 1 หุ้น ราคา 900,000 เยน หรือประมาณ 270,000 บาท ในช่วงสิ้นปี 2555 แต่หลังจากถือมา 3-4 เดือน ราคาทะยานมาแตะ 4 ล้านเยนต่อหุ้น หรือประมาณ 1.2 ล้านบาท จากนั้นบริษัทก็แตกพาร์จาก 1 หุ้น เป็น 10 หุ้น เพื่อจูงใจนักลงทุน ทำให้ผมมีหุ้นเพิ่มเป็น 10 ตัว ตกตัวละ 400,000 เยน
“ไม่อยากจะเชื่อจาก “เงินตั้งต้น” 270,000 บาท วันนี้พอร์ตเพิ่มเป็น 4.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,500%”
ครั้งหนึ่งราคาหุ้น GUngHO เคยทำ “นิวไฮ” ระดับ 1.5 ล้านเยนต่อหุ้น เพราะบริษัทมีกำไรเติบโต 75% หรือประมาณ 5,000 ล้านบาท แถมยอดขายยังโตตั้ง 9 เท่า หรือประมาณเดือนละ 3,000 ล้านบาทต่อเดือน เขามีพนักงาน 980 คน และมีค่า P/E ประมาณ145 เท่า หากวันไหนยอดดาวน์โหลดเกมส์ลดลง อาจทยอยขายหุ้นตัวนี้ออกมา หุ้น GUngHO ไม่เหมาะที่จะถือนานๆ
จากการค้นข้อมูล พบว่า เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา บริษัทมียอดดาวน์โหลดรวม 13 ล้านคน และราคาเพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว มาร์เก็ตแคปทะลุ 1 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 300,000 ล้านบาท ใหญ่พอๆกับดีแทค แต่เนื่องจากบริษัทนี้พึ่งพาเกมส์ออนไลน์มากถึง 95 % ของยอดขาย ทำให้เราจำเป็นต้องจัดหุ้นตัวนี้ไปอยู่กลุ่ม “เล่นรอบ” เพราะอีก 5 ปีข้างหน้า เขาคงไม่มีโอกาสเติบโตแบบ “ก้าวกระโดด” อีกแล้ว ซึ่งตัวบริษัทเองก็รู้ดี ฉะนั้นเขาถึงไปหารายได้จากทางอื่นแทน
“หลายคนบอกว่า เข้ามาเทรดหุ้น เพื่อจะเอาชนะตลาด ด้วยการได้กำไรมากกว่าตลาดทุกปี แต่ผมเข้าตลาดหุ้น เพราะต้องการชนะตัวเอง และสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ฉะนั้นการที่ตลาดหุ้นผันผวนไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับผม แต่ที่เป็นปัญหา คือ สภาพจิตใจตัวเองที่ยังคงผันผวนตามตลาด ดังนั้นหากเราชนะตัวเองได้ ชัยชนะในตลาดหุ้นคงไม่หนีหายไปไหน”
“นักลงทุนหนุ่ม” เล่าถึงพอร์ตหุ้นเมืองไทยว่า เปิดพอร์ตครั้งแรกกับบล.เอเซีย พลัส ด้วยเงินตั้งต้น 500,000 บาท ตอนนั้นเดินเข้าไปหาโบรกเกอร์ด้วย “ความมั่นใจสุดๆ” หุ้น ผลิตไฟฟ้า (EGCO) คือ หุ้นตัวแรกของพอร์ต “สอยตัวนี้” เพราะเห็นว่าค่า P/E ต่ำ
เข้าสูตรนักลงทุนวีไอเป๊ะ!
ซื้อมา 113 บาท ผ่านไป 1 เดือน ราคาหุ้นร่วง 20-30% แต่ไม่ยอมขาย ด้วยความอยากเป็นนักลงทุนวีไอไง ถือคติถือยาวๆ สุดท้ายราคาก็ไม่ไปไหน จริงๆต้องขาดทุนหนัก แต่โชคดีตรงที่ไปซื้อหุ้น ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ผ่านมา 3 วัน กำไร 7% ได้ส่วนต่างคืนมาหลายพันบาท
“เริ่มรู้สึกสนุกกับการเก็งกำไร” ทำให้ช่วงแรกๆเกิดอารมณ์คึก เปลี่ยนแนวจาก “ถือยาว” มาเป็น “เล่นสั้นๆ” แบบนี้เรียกว่า “โลภ” ซึ่งล้วนแล้วทำให้เราล้มเหลว พูดง่ายๆ คุณเข้าไปซื้อไม้แรกแล้วดันเกิดสัญญาณทางเทคนิค อาทิ new high, price pattern และ golden cross เป็นต้น เมื่อไม่อยากได้กำไรน้อย หรือกลัวกำไรช้า ทนถือต่อไป สุดท้ายหุ้นเบรกไม่ไปไหน หรือไปช้า คุณเกิดอาการทนไม่ไหวขายทิ้ง แบบนี้คงยากที่จะเจอกับความสำเร็จ
เล่นไปเล่นมา ดันไปสอย “หุ้น บ้านปู (BANPU)” ช่วงหุ้นกำลังวิ่ง ราคาขึ้นเร็วมาก “ยิ่งขึ้นยิ่งซื้อ” ถือมาเรื่อยจนปี 2551 เกิดเหตุการณ์ล้มละลายของวาณิชธนกิจชั้นนำของสหรัฐอเมริกาอย่าง “เลแมน บราเดอร์ส” บังเอิญช่วงนั้นเดินทางไปเรียนปริญญาโทที่ประเทศญี่ปุ่นพอดี ก่อนไปไม่ยอมล้างพอร์ต เพราะเชื่อว่า BANPU เป็นหุ้นพื้นฐาน
ก่อนซื้อหุ้น BANPU ศึกษามาดีมาก เห็นว่าเมืองจีนต้องการถ่านหินมหาศาล แถมเศรษฐกิจจะแซงหน้าญี่ปุ่นอีก หุ้นขึ้นไปแตะ 800 บาท ยังไม่ขายเลยคิดดู แถมซื้อถัวเฉลี่ยอีก 1 ไม้ด้วย ตอนนั้นเชื่อว่าจะขึ้นไปถึง 1,000 บาท
สุดท้ายได้รับรู้ว่า อากาศบน “ยอดเขาเอเวอเรสต์” มันหนาวเหน็บเพียงไหน (หัวเราะ)
ราคาหุ้น BANPU ร่วงมาอยู่ 500 บาท เงินเก็บทั้งชีวิตหายไปในพริบตา เพราะดันให้น้ำหนักในหุ้น BANPU มากถึง 70% ของพอร์ต ตอนนั้นเกิดอาการพูดไม่ออกบอกไม่ถูก แต่ก็รู้สึกอุ่นใจขึ้นมานิดๆ เพราะเพื่อนๆ ก็พากันขึ้นมายืนชมวิวบนยอดดอยเหมือนเรา (ฮ่าฮ่า) ทุกวันนี้หุ้น BANPUก็ยังอยู่ในพอร์ตเหมือนเดิม เก็บไว้เตือนสติตัวเองว่า หากเล่นหุ้น commodity คุณต้องรู้จักคำว่า “ตัดขาดทุน” (Cut loss)
คราวนี้เริ่มปฏิบัติการโหลดงบการเงิน เพื่อดูพื้นฐานของบริษัทต่างๆ ทยอยจัดหมวดหมู่หุ้นที่ต้องการซื้อลงทุน ที่สำคัญเริ่มเรียนรู้จิตวิทยาการลงทุนมากขึ้น “ผมจะเรียงลำดับความสำคัญของการลงทุนออกเป็น 3 ข้อ”
ข้อแรก คือ จิตวิทยาในการลงทุน ข้อสอง บริหารพอร์ตลงทุนและเงินลงทุนให้เหมาะสม สุดท้าย คือ การวิเคราะห์พื้นฐานและเทคนิคหุ้นให้ถูกต้อง คนส่วนใหญ่เน้นการศึกษาข้อสุดท้ายอย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งๆที่มันมีความสำคัญน้อยที่สุด
“จะดีใจมากหากได้รับผลตอบแทน 100% ภายใน 1 ปี แต่จะดีใจมากกว่าถ้าโกยกำไรกว่า 30-40% ทุกปี”
ถามถึงการออกแบบพอร์ตลงทุน “นักลงทุนหนุ่ม” บอกว่า อยากให้นึกถึงทีมฟุตบอล “ผมจะเปรียบตัวเองเป็นผู้จัดการทีม” เป้าหมายของ “กุนซือคนนี้” คือ นำพาทีมคว้า “ชัยชนะ” ต่อเนื่องทุกปี “ความมั่นคงในระยะยาว” แน่นอนผู้นำทีมย่อมอยากได้ แม้บางครั้งต้องเปลี่ยนตัวผู้เล่นบ้าง เพื่อความเหมาะสมก็ต้องทำ
ทีมฟุตบอลของผมจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยส่วนแรก คือ “ผู้รักษาประตู” ส่วนนี้เราจะเว้นพื้นที่ไว้ เพื่อเงินสด จำเป็นต้องมีอย่างน้อย 5-10% ของพอร์ต
ส่วนที่สอง คือ “กองหลัง” เราจะให้พื้นที่นี้ประมาณ 20% กับหุ้นที่มีอัตราการเติบโตที่ดี และจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ เช่น กลุ่มค้าปลีก กลุ่มโรงพยาบาล และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน เน้นไปทางฝั่งสื่อสาร ,รถไฟฟ้า ,ประปา เป็นต้น เน้นถือยาวไม่ต่ำกว่า 10 ปี
“หวังผลตอบแทนจาก “หุ้นกองหลัง” เฉลี่ยปีละ 20-30%”
หน้าที่หลักของ “กองหลัง” คือ ถือกินเงินปันผลและเอาไว้สู้กับเงินเฟ้อ หากช่วงไหนมีเงินสดเยอะจะนำมาซื้อหุ้นกลุ่มนี้เป็นตัวแรกๆเพราะมีราคาถูก ทุกครั้งที่ได้กำไรจากหุ้นกลุ่มนี้มักนำกลับมาลงทุนใหม่ ด้วยการซื้อหนังสือดีๆสักเล่มมาอ่านเสริมความรู้ในสมอง หรือลงคอร์สสัมมนา ที่ผ่านมาแทบไม่ขายหุ้นกองหลังแม้แต่ครั้งเดียว ตรงข้ามมีแต่เก็บเพิ่มตลอด
ส่วนที่สาม คือ “กองกลาง” วางน้ำหนักไปเลย 40% ส่วนใหญ่จะให้พื้นที่กับหุ้นที่เล่นเป็นรอบๆ อาทิ หุ้น commodity โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน เดินเรือ และหุ้นที่เคลื่อนไหวตามเศรษฐกิจโลก หุ้นเหล่านี้มีกำไรเยอะมาก ถือเป็นตัวหลักในการเพิ่มฐานเงินให้พอร์ตในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า
“หวังจะมีกำไรจากหุ้นกองกลาง 40-50%”
“สตอรี่” ถือเป็นปัจจัยแรกที่ใช้เลือกซื้อหุ้นกองกลาง “สนุกดี” เหมือนคัดเลือกนางงามเข้ารอบ ปกติจะเลือกมา 2-3 ตัว เน้นตัวเด่นๆประจำอุตสาหกรรม เมื่อได้ตัวที่ดีที่สุดจะใช้เส้นกราฟรายสัปดาห์ของหุ้นตัวนั้นเข้าช่วยในการตัดสินใจ อาทิ technical ราย sector เป็นต้น
สุดท้าย คือ “กองหน้า” วางน้ำหนักราวๆ 20% ของพอร์ต กองนี้ออกแนวบู๊ ลงทุนแบบไม่ต้องดูพื้นฐานบริษัท เน้นเก็งกำไรระยะสั้นอย่างเดียว โดยจะใช้เทคนิคเข้าช่วย เช่น price pattern Fibonacci และการนับคลื่นที่ใช้การดูราคาอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” (DW), Futures และ Options
“หวังโกยกำไรในช่วงขาขึ้นประมาณ 20-30%”
“นักลงทุนวัย 30 ปี” วิเคราะห์หุ้นกองหลัง 3 ตัวประจำพอร์ตให้ฟังว่า หุ้นซีเอส ล็อกซอินโฟ (CSL) ตอนแรกที่ซื้อ เพราะเห็นเขาจ่ายเงินปันผลดีเฉลี่ย 8% ทั้งๆที่โบรกเกอร์ หลายรายมองว่า “หุ้นอิ่มตัวแล้ว” ซื้อมา 80,000 หุ้น ราคา 5-6 บาท “ผมเชื่อว่าผลประกอบการจะอยู่ในเกณฑ์ดีเฉลี่ยอัตราเติบโต 10-15%
หุ้น เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ซื้อมา 20,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 30 บาท ถือมาตั้งแต่ยังไม่มีห้างสรรพสินค้าพารากอน ก่อนจะซื้อหุ้น CPN เคยนำหุ้น เอ็ม บี เค (MBK) มาเทียบพื้นฐานด้วย แต่บังเอิญใช้บริการ CPN มากกว่า (หัวเราะ) ตอนตัดสินใจซื้อไม่ได้คำนึงว่าเขาจะจ่ายเงินปันผลมากเท่าไร คิดเพียงว่าเขาเป็นหุ้น Grown Stock (หุ้นเติบโต)
โตแบบ“พอเพียง” ปีละ 40%นิยามเล่นหุ้น “ปุณยวีร์ จันทรขจร”
โตแบบ“พอเพียง” ปีละ 40%นิยามเล่นหุ้น “ปุณยวีร์ จันทรขจร”
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ควักเงินตั้งต้น 2.7 แสนบาท สอยหุ้น GUngHO หนึ่งตัว จากตลาดหุ้น Nikkei ผ่าน 4 เดือน ทะยานแตะ 1.2 ล้านบาท พลิกพอร์ตหุ้นญี่ปุ่น “เป๊ก ปุณยวีร์"
นักลงทุนแนววีไอ ในฐานะนักเขียนมือใหม่ สังกัด Stock2morrow “ชายหนุ่มวัย 30 ปี” ผู้มากประสบการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นเจ้าของพอร์ตลงทุนหลัก “สิบล้านบาท” ในดัชนีนิกเกอิ (Nikkei) ประเทศญี่ปุ่น
หลังหุ้น GUngHO online entertainment ผู้ผลิตเกมส์ออนไลน์ ที่เขาซื้อไว้เพียง 1 หุ้น ราคา 900,000 เยนต่อหุ้น “พุ่งพรวด” เป็น 4 ล้านเยน ต่อหุ้น ภายในระยะเวลา 3-4 เดือน และยังมีเงินลงทุนในตลาดหุ้นไทยหลัก “แสนบาท”
หนุ่มมากความสามารถ “หลงรัก” วัฒนธรรมจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาฝังรากลึกในเมืองไทยตั้งแต่เด็กๆ ทำให้เขาตัดสินใจสอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาญี่ปุ่น ก่อนจะมาสอบชิงทุนปริญญาโท มหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างทำงานในองค์กรการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ตามคำแนะนำของเลขาท่านทูต
“ชีวิตชอบความท้าทาย” ทำให้ “หนุ่มเป็ก” ตัดสินใจเปลี่ยนงานประจำไปเรื่อยๆ เริ่มแรกเขานั่งทำงานอยู่ใน “เอสโซ่” ผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศญี่ปุ่น ก่อนจะโยกมาทำงานในองค์กรเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ในถนนอโศก เพียงเพราะเบื่องานซ้ำซากจำเจ ก่อนจะลาออกไปเรียนปริญญาโท เมื่อจบการศึกษา เขาเลือกยึดอาชีพไกด์ 8-9 เดือน และบินกลับเมืองไทย ปัจจุบันทำงานเป็น “ดีเจ-ครีเอทีฟ” ประจำคลื่น 93.75 สถานีที่เน้นเปิดแต่เพลงญี่ปุ่น
“ความโลภ-ความกลัว” คือ อุปสรรคในการลงทุน” “เซียนหุ้นอารมณ์ดี” บอกกับ “กรุงเทพธุรกิจ BizWeek” ก่อนจะเล่าถึงเส้นทางการลงทุนในตลาดหุ้น Nikkei ให้ฟังว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้มีหุ้นซื้อขายประมาณ 225 ตัว ทุกตัวล้วนเป็นหุ้นพื้นฐานดี อาทิ หุ้น TOYOTA และหุ้น Honda เป็นต้น เปรียบสเมือน SET 50 บ้านเรา
เริ่มลงทุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นครั้งแรกในปี 2554 เงินตั้งต้นราวๆ 300,000 บาท โดยการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต แต่มาลงทุนจริงจังช่วงครึ่งหลังปี 2555 เริ่มต้นสอย หุ้น Oriental land ซึ่งเป็นเจ้าของดีสนีย์แลนด์ และดิสนีย์ซี “ชอบหุ้นตัวนี้” เพราะเป็นสวนสนุกที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี เขาลงทุนแค่ครั้งเดียว เน้นเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ เพื่อเพิ่มมาร์จิ้นเป็นหลัก
จากนั้นก็มาซื้อ หุ้น JR ในธุรกิจรถไฟฟ้า ตัดสินใจซื้อ เพราะเชื่อว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรรถไฟฟ้าในญี่ปุ่นไม่มีวันตาย ประชาชนส่วนใหญ่ใช้รถไฟฟ้าทุกวัน เราเองก็ใช้บริการอยู่ทุกวันเพื่อเดินทางไปเรียน ฉะนั้นเราสัมผัสได้ ตอนเช้าคนแน่นยิ่งกว่าปลากระป๋อง แถมเป็นธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่งอีกต่างหาก ใครถือหุ้น JR 100 หุ้นขึ้นไป จะได้รับบัตรส่วนลด 30%
ต่อมาก็มาซื้อ หุ้น TOYOTA ตัวนี้ไม่ต้องบอก ก็รู้ว่าเขาเป็นเจ้าตลาดรถยนต์ ข้อดีเพียบ จากนั้นก็ซื้อ หุ้น UNIQLO เจ้าของเสื้อผ้าญี่ปุ่น แบรนด์ “ยูนิโคล่” เมื่อก่อนเคยทำงานอยู่ในยูนิโคล่ระยะหนึ่ง “ผมรู้ว่าเขามีมาร์จิ้นดีมากขนาดไหน” เพราะบริษัทประหยัดต้นทุนทุกอย่าง เราในฐานะนักลงทุนจะได้ประโยชน์เต็มๆ
หุ้นเหล่านี้ขอยกให้เป็น “หุ้นกองหลัง” บอกตรงๆไม่กล้าให้เป็น “หุ้นกองหน้า” หรือ “กองกลาง” เพราะเราไม่ได้ติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด ตัวอยู่เมืองไทยทำให้ความมั่นใจไม่เต็มร้อย ขอเน้นชัวร์ๆ ดีกว่า หลายคนคงตั้งคำถามอะไรคือ "หุ้นกองหลัง-กองหน้า-กองกลาง" เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง
“ผมหวังผลตอบแทนจากดัชนี Nikkei เฉลี่ย 30-40% ได้แค่นี้ก็พอใจละ !!”
“หนุ่มเป๊ก” เล่าว่า พอร์ตหุ้นญี่ปุ่น เริ่มเปลี่ยนจาก “หลักล้าน” เป็น “หลักสิบล้าน” เพราะ “หุ้น GUngHO online entertainment” ผู้ผลิตเกมส์ออนไลน์ แม้จะซื้อเพียง 1 หุ้น ราคา 900,000 เยน หรือประมาณ 270,000 บาท ในช่วงสิ้นปี 2555 แต่หลังจากถือมา 3-4 เดือน ราคาทะยานมาแตะ 4 ล้านเยนต่อหุ้น หรือประมาณ 1.2 ล้านบาท จากนั้นบริษัทก็แตกพาร์จาก 1 หุ้น เป็น 10 หุ้น เพื่อจูงใจนักลงทุน ทำให้ผมมีหุ้นเพิ่มเป็น 10 ตัว ตกตัวละ 400,000 เยน
“ไม่อยากจะเชื่อจาก “เงินตั้งต้น” 270,000 บาท วันนี้พอร์ตเพิ่มเป็น 4.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,500%”
ครั้งหนึ่งราคาหุ้น GUngHO เคยทำ “นิวไฮ” ระดับ 1.5 ล้านเยนต่อหุ้น เพราะบริษัทมีกำไรเติบโต 75% หรือประมาณ 5,000 ล้านบาท แถมยอดขายยังโตตั้ง 9 เท่า หรือประมาณเดือนละ 3,000 ล้านบาทต่อเดือน เขามีพนักงาน 980 คน และมีค่า P/E ประมาณ145 เท่า หากวันไหนยอดดาวน์โหลดเกมส์ลดลง อาจทยอยขายหุ้นตัวนี้ออกมา หุ้น GUngHO ไม่เหมาะที่จะถือนานๆ
จากการค้นข้อมูล พบว่า เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา บริษัทมียอดดาวน์โหลดรวม 13 ล้านคน และราคาเพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว มาร์เก็ตแคปทะลุ 1 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 300,000 ล้านบาท ใหญ่พอๆกับดีแทค แต่เนื่องจากบริษัทนี้พึ่งพาเกมส์ออนไลน์มากถึง 95 % ของยอดขาย ทำให้เราจำเป็นต้องจัดหุ้นตัวนี้ไปอยู่กลุ่ม “เล่นรอบ” เพราะอีก 5 ปีข้างหน้า เขาคงไม่มีโอกาสเติบโตแบบ “ก้าวกระโดด” อีกแล้ว ซึ่งตัวบริษัทเองก็รู้ดี ฉะนั้นเขาถึงไปหารายได้จากทางอื่นแทน
“หลายคนบอกว่า เข้ามาเทรดหุ้น เพื่อจะเอาชนะตลาด ด้วยการได้กำไรมากกว่าตลาดทุกปี แต่ผมเข้าตลาดหุ้น เพราะต้องการชนะตัวเอง และสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ฉะนั้นการที่ตลาดหุ้นผันผวนไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับผม แต่ที่เป็นปัญหา คือ สภาพจิตใจตัวเองที่ยังคงผันผวนตามตลาด ดังนั้นหากเราชนะตัวเองได้ ชัยชนะในตลาดหุ้นคงไม่หนีหายไปไหน”
“นักลงทุนหนุ่ม” เล่าถึงพอร์ตหุ้นเมืองไทยว่า เปิดพอร์ตครั้งแรกกับบล.เอเซีย พลัส ด้วยเงินตั้งต้น 500,000 บาท ตอนนั้นเดินเข้าไปหาโบรกเกอร์ด้วย “ความมั่นใจสุดๆ” หุ้น ผลิตไฟฟ้า (EGCO) คือ หุ้นตัวแรกของพอร์ต “สอยตัวนี้” เพราะเห็นว่าค่า P/E ต่ำ
เข้าสูตรนักลงทุนวีไอเป๊ะ!
ซื้อมา 113 บาท ผ่านไป 1 เดือน ราคาหุ้นร่วง 20-30% แต่ไม่ยอมขาย ด้วยความอยากเป็นนักลงทุนวีไอไง ถือคติถือยาวๆ สุดท้ายราคาก็ไม่ไปไหน จริงๆต้องขาดทุนหนัก แต่โชคดีตรงที่ไปซื้อหุ้น ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ผ่านมา 3 วัน กำไร 7% ได้ส่วนต่างคืนมาหลายพันบาท
“เริ่มรู้สึกสนุกกับการเก็งกำไร” ทำให้ช่วงแรกๆเกิดอารมณ์คึก เปลี่ยนแนวจาก “ถือยาว” มาเป็น “เล่นสั้นๆ” แบบนี้เรียกว่า “โลภ” ซึ่งล้วนแล้วทำให้เราล้มเหลว พูดง่ายๆ คุณเข้าไปซื้อไม้แรกแล้วดันเกิดสัญญาณทางเทคนิค อาทิ new high, price pattern และ golden cross เป็นต้น เมื่อไม่อยากได้กำไรน้อย หรือกลัวกำไรช้า ทนถือต่อไป สุดท้ายหุ้นเบรกไม่ไปไหน หรือไปช้า คุณเกิดอาการทนไม่ไหวขายทิ้ง แบบนี้คงยากที่จะเจอกับความสำเร็จ
เล่นไปเล่นมา ดันไปสอย “หุ้น บ้านปู (BANPU)” ช่วงหุ้นกำลังวิ่ง ราคาขึ้นเร็วมาก “ยิ่งขึ้นยิ่งซื้อ” ถือมาเรื่อยจนปี 2551 เกิดเหตุการณ์ล้มละลายของวาณิชธนกิจชั้นนำของสหรัฐอเมริกาอย่าง “เลแมน บราเดอร์ส” บังเอิญช่วงนั้นเดินทางไปเรียนปริญญาโทที่ประเทศญี่ปุ่นพอดี ก่อนไปไม่ยอมล้างพอร์ต เพราะเชื่อว่า BANPU เป็นหุ้นพื้นฐาน
ก่อนซื้อหุ้น BANPU ศึกษามาดีมาก เห็นว่าเมืองจีนต้องการถ่านหินมหาศาล แถมเศรษฐกิจจะแซงหน้าญี่ปุ่นอีก หุ้นขึ้นไปแตะ 800 บาท ยังไม่ขายเลยคิดดู แถมซื้อถัวเฉลี่ยอีก 1 ไม้ด้วย ตอนนั้นเชื่อว่าจะขึ้นไปถึง 1,000 บาท
สุดท้ายได้รับรู้ว่า อากาศบน “ยอดเขาเอเวอเรสต์” มันหนาวเหน็บเพียงไหน (หัวเราะ)
ราคาหุ้น BANPU ร่วงมาอยู่ 500 บาท เงินเก็บทั้งชีวิตหายไปในพริบตา เพราะดันให้น้ำหนักในหุ้น BANPU มากถึง 70% ของพอร์ต ตอนนั้นเกิดอาการพูดไม่ออกบอกไม่ถูก แต่ก็รู้สึกอุ่นใจขึ้นมานิดๆ เพราะเพื่อนๆ ก็พากันขึ้นมายืนชมวิวบนยอดดอยเหมือนเรา (ฮ่าฮ่า) ทุกวันนี้หุ้น BANPUก็ยังอยู่ในพอร์ตเหมือนเดิม เก็บไว้เตือนสติตัวเองว่า หากเล่นหุ้น commodity คุณต้องรู้จักคำว่า “ตัดขาดทุน” (Cut loss)
คราวนี้เริ่มปฏิบัติการโหลดงบการเงิน เพื่อดูพื้นฐานของบริษัทต่างๆ ทยอยจัดหมวดหมู่หุ้นที่ต้องการซื้อลงทุน ที่สำคัญเริ่มเรียนรู้จิตวิทยาการลงทุนมากขึ้น “ผมจะเรียงลำดับความสำคัญของการลงทุนออกเป็น 3 ข้อ”
ข้อแรก คือ จิตวิทยาในการลงทุน ข้อสอง บริหารพอร์ตลงทุนและเงินลงทุนให้เหมาะสม สุดท้าย คือ การวิเคราะห์พื้นฐานและเทคนิคหุ้นให้ถูกต้อง คนส่วนใหญ่เน้นการศึกษาข้อสุดท้ายอย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งๆที่มันมีความสำคัญน้อยที่สุด
“จะดีใจมากหากได้รับผลตอบแทน 100% ภายใน 1 ปี แต่จะดีใจมากกว่าถ้าโกยกำไรกว่า 30-40% ทุกปี”
ถามถึงการออกแบบพอร์ตลงทุน “นักลงทุนหนุ่ม” บอกว่า อยากให้นึกถึงทีมฟุตบอล “ผมจะเปรียบตัวเองเป็นผู้จัดการทีม” เป้าหมายของ “กุนซือคนนี้” คือ นำพาทีมคว้า “ชัยชนะ” ต่อเนื่องทุกปี “ความมั่นคงในระยะยาว” แน่นอนผู้นำทีมย่อมอยากได้ แม้บางครั้งต้องเปลี่ยนตัวผู้เล่นบ้าง เพื่อความเหมาะสมก็ต้องทำ
ทีมฟุตบอลของผมจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยส่วนแรก คือ “ผู้รักษาประตู” ส่วนนี้เราจะเว้นพื้นที่ไว้ เพื่อเงินสด จำเป็นต้องมีอย่างน้อย 5-10% ของพอร์ต
ส่วนที่สอง คือ “กองหลัง” เราจะให้พื้นที่นี้ประมาณ 20% กับหุ้นที่มีอัตราการเติบโตที่ดี และจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ เช่น กลุ่มค้าปลีก กลุ่มโรงพยาบาล และกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน เน้นไปทางฝั่งสื่อสาร ,รถไฟฟ้า ,ประปา เป็นต้น เน้นถือยาวไม่ต่ำกว่า 10 ปี
“หวังผลตอบแทนจาก “หุ้นกองหลัง” เฉลี่ยปีละ 20-30%”
หน้าที่หลักของ “กองหลัง” คือ ถือกินเงินปันผลและเอาไว้สู้กับเงินเฟ้อ หากช่วงไหนมีเงินสดเยอะจะนำมาซื้อหุ้นกลุ่มนี้เป็นตัวแรกๆเพราะมีราคาถูก ทุกครั้งที่ได้กำไรจากหุ้นกลุ่มนี้มักนำกลับมาลงทุนใหม่ ด้วยการซื้อหนังสือดีๆสักเล่มมาอ่านเสริมความรู้ในสมอง หรือลงคอร์สสัมมนา ที่ผ่านมาแทบไม่ขายหุ้นกองหลังแม้แต่ครั้งเดียว ตรงข้ามมีแต่เก็บเพิ่มตลอด
ส่วนที่สาม คือ “กองกลาง” วางน้ำหนักไปเลย 40% ส่วนใหญ่จะให้พื้นที่กับหุ้นที่เล่นเป็นรอบๆ อาทิ หุ้น commodity โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน เดินเรือ และหุ้นที่เคลื่อนไหวตามเศรษฐกิจโลก หุ้นเหล่านี้มีกำไรเยอะมาก ถือเป็นตัวหลักในการเพิ่มฐานเงินให้พอร์ตในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า
“หวังจะมีกำไรจากหุ้นกองกลาง 40-50%”
“สตอรี่” ถือเป็นปัจจัยแรกที่ใช้เลือกซื้อหุ้นกองกลาง “สนุกดี” เหมือนคัดเลือกนางงามเข้ารอบ ปกติจะเลือกมา 2-3 ตัว เน้นตัวเด่นๆประจำอุตสาหกรรม เมื่อได้ตัวที่ดีที่สุดจะใช้เส้นกราฟรายสัปดาห์ของหุ้นตัวนั้นเข้าช่วยในการตัดสินใจ อาทิ technical ราย sector เป็นต้น
สุดท้าย คือ “กองหน้า” วางน้ำหนักราวๆ 20% ของพอร์ต กองนี้ออกแนวบู๊ ลงทุนแบบไม่ต้องดูพื้นฐานบริษัท เน้นเก็งกำไรระยะสั้นอย่างเดียว โดยจะใช้เทคนิคเข้าช่วย เช่น price pattern Fibonacci และการนับคลื่นที่ใช้การดูราคาอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” (DW), Futures และ Options
“หวังโกยกำไรในช่วงขาขึ้นประมาณ 20-30%”
“นักลงทุนวัย 30 ปี” วิเคราะห์หุ้นกองหลัง 3 ตัวประจำพอร์ตให้ฟังว่า หุ้นซีเอส ล็อกซอินโฟ (CSL) ตอนแรกที่ซื้อ เพราะเห็นเขาจ่ายเงินปันผลดีเฉลี่ย 8% ทั้งๆที่โบรกเกอร์ หลายรายมองว่า “หุ้นอิ่มตัวแล้ว” ซื้อมา 80,000 หุ้น ราคา 5-6 บาท “ผมเชื่อว่าผลประกอบการจะอยู่ในเกณฑ์ดีเฉลี่ยอัตราเติบโต 10-15%
หุ้น เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ซื้อมา 20,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 30 บาท ถือมาตั้งแต่ยังไม่มีห้างสรรพสินค้าพารากอน ก่อนจะซื้อหุ้น CPN เคยนำหุ้น เอ็ม บี เค (MBK) มาเทียบพื้นฐานด้วย แต่บังเอิญใช้บริการ CPN มากกว่า (หัวเราะ) ตอนตัดสินใจซื้อไม่ได้คำนึงว่าเขาจะจ่ายเงินปันผลมากเท่าไร คิดเพียงว่าเขาเป็นหุ้น Grown Stock (หุ้นเติบโต)