แย่แล้วจ้า!!! “แบล็กเบอร์รี่” ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนชื่อดัง จ่อพิจารณา “เตรียมขายกิจการทิ้ง” หลังยอดขายลดฮวบ-หุ้นตก

กระทู้สนทนา
เอเจนซี่ส์/ผู้จัดการออนไลน์ -  บริษัท “แบล็กเบอร์รี่ ลิมิเต็ด” หรือชื่อเดิมคือ “รีเสิร์ช อิน โมชั่น”  บริษัทด้านสื่อสารโทรคมนาคมชื่อดังจากประเทศแคนาดา ผู้พัฒนาโทรศัพท์อัจฉริยะภายใต้แบรนด์ “แบล็กเบอร์รี่” ตกเป็นข่าวเตรียมพิจารณาความเป็นไปได้ในการขายกิจการของตัวเองให้กับนักลงทุนที่สนใจ หลังจากที่บริษัทยังคงประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และล้มเหลวในการต่อกรกับคู่แข่งรายอื่นๆในตลาดมาโดยตลอด

      
       รายงานข่าวที่มีการเผยแพร่ในวันจันทร์ (12) ระบุว่า แบล็กเบอร์รี่ ลิมิเต็ด ซึ่งมีฐานอยู่ที่ วอเตอร์ลู ในประเทศแคนาดาได้ประกาศตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ทุกแนวทางเกี่ยวกับอนาคตของบริษัท ซึ่งรวมถึง การขายกิจการให้นักลงทุนที่สนใจให้เข้ามา “เทคโอเวอร์” หรือ “ร่วมทุน”

      
       ความเคลื่อนไหวล่าสุดของแบล็กเบอร์รี่ มีขึ้นหลังจากที่บริษัทยังคงประสบปัญหาในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสินค้าของค่ายคู่แข่งทั้งค่าย แอปเปิ้ล ซัมซุง และ กูเกิ้ล ยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วโลกมากกว่าผลิตภัณฑ์ของแบล็กเบอร์รี่ จนส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท ขณะเดียวกันมูลค่าหุ้นของแบล็กเบอร์รี่ในปีนี้เองก็ได้ปรับร่วงลงไปแล้วกว่า 18 เปอร์เซ็นต์

      
       ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด “ไอดีซี” ที่มีการเผยแพร่ล่าสุดยังระบุว่าส่วนแบ่งการตลาดของทางแบล็กเบอร์รี่โดยรวม ร่วงลงไปอย่างน่าตกใจ จากที่เคยครองส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ทโฟนถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2009 เหลือเพียงแค่ไม่ถึงแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้
      

        ทางด้าน ทอร์สเทน ไฮน์ซ ซีอีโอของแบล็กเบอร์รี่ ได้ออกมายอมรับว่า คณะกรรมการพิเศษดังกล่าวที่ทางบริษัทตั้งขึ้นจะเป็นผู้ที่พิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอนาคตของบริษัท
      

       ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่จะมีการนำมาพิจารณาอย่างจริงจังนั้น จะรวมถึง ความเป็นไปได้ในการขายกิจการทั้งหมดหรือจะยังคงดำเนินกิจการต่อไปแต่เปิดรับการร่วมทุนจากนักลงทุนรายอื่น โดยทางแบล็กเบอร์รี่ได้ว่าจ้างบริษัทหลักทรัพย์ในเครือของ “เจ.พี. มอร์แกน” ให้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินแล้ว เพื่อคอยให้คำแนะนำหากแบล็กเบอร์รี่จำเป็นต้องขายกิจการของตน







          http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000100204
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่