31 พฤษภาคม 2556 แหล่งข่าว(ค่ายมือถือฟ้องแรง) BlackBerry ไทยตัดสินใจทิ้งBBรุ่นเก่าอดใช้คลื่น 2.1 GHz ( ถ้าเล่นเน็ตต้องตั้งค่าระบบใหม่ทุกครั้งที่มีการเปิดเครื่องเพราะตัวเครื่องรู้จักกับเครือข่ายด้วยจึงจะสามารถใช้งานได้ ) ประกาศกร้าวไม่อัปเกรดเฟิร์มแวร์
ประเด็นหลัก
***ลูกค้าแบล็กเบอร์รี่เก่าอดใช้คลื่น 2.1 GHz
ด้วยแนวทางการทำตลาดบนระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 10 เป็นหลัก ทำให้แบล็กเบอร์รี่ตัดสินใจเลิกซัปพอร์ตเหล่าโอเปอเรเตอร์รายใหม่ในท้องตลาด ด้วยการยกเลิกการอัปเดตเฟิร์มแวร์ที่รองรับเครือข่ายใหม่ ซึ่งในที่นี้ส่งผลกระทบต่อโอเปอเรเตอร์ไทยทั้ง 3 รายที่เปิดให้บริการเครือข่ายใหม่บนคลื่น 2.1 GHz
แหล่งข่าวจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งระบุว่า ลูกค้าเก่าที่ใช้งานแบล็กเบอร์รี่รุ่นเดิมในตลาดถ้าต้องการย้ายมาใช้งานบนเครือข่าย 2.1 GHz จะต้องทำการตั้งค่าระบบใหม่ทุกครั้งที่มีการเปิดเครื่อง ทำให้เกิดผลกระทบต่อลูกค้าในกลุ่มองค์กรหลายราย เพราะปัจจุบันยังมีองค์กรธุรกิจในไทยที่ยังคงมีการนำเข้าเครื่องในระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 7 เข้ามาใช้งานอยู่เรื่อยๆ
“ทางแก้ไขเดียวที่ทำได้ง่ายๆ คือ ทางแบล็กเบอร์รี่ทำการอัปเกรดเฟิร์มแวร์ด้วยการใส่ข้อมูลของเครือข่ายใหม่เข้าไป เพียงแต่ว่าปัจจุบันแบล็กเบอร์รี่ไม่ได้ซัปพอร์ตลูกค้าหลังการขายเครื่องรุ่นเดิมแล้ว ทำให้ทางผู้ให้บริการเครือข่ายต้องหาทางแก้ไขด้วยตนเอง”
โดยปกติการใช้งานเครื่องแบล็กเบอร์รี่รุ่นเดิมในท้องตลาดต้องมีการเปิดแพกเกจเฉพาะของแบล็กเบอร์รี่ทั้งในส่วนของลูกค้าองค์กร (BlackBerry Enterprise Service) และลูกค้าทั่วไป (BlackBerry Internet Service) ซึ่งในส่วนนี้จำเป็นต้องมีการตั้งค่าให้ตัวเครื่องรู้จักกับเครือข่ายด้วยจึงจะสามารถใช้งานได้ แต่เครือข่าย 2.1 GHz ถือเป็นเครือข่ายที่เพิ่งเปิดให้บริการจึงยังไม่มีข้อมูลอยู่ในตัวเครื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของแบล็กเบอร์รี่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
______________________________________
เปิดไม้เด็ด “บีบี” ไลน์หลบไป บีบีเอ็มพร้อมแล้ว
“ไลน์ (Line) จะไม่มีที่ยืนในตลาดอีกต่อไป เมื่อบีบีเอ็ม (BBM) เปิดให้บริการ” คำกล่าวจากปากของผู้อำนวยการประจำประเทศไทย บริษัท แบล็กเบอร์รี่ จำกัด เบอนัวต์ นาลิน ที่แสดงให้เห็นถึงความคาดหวังที่ผู้บริหารระดับสูงของแบล็กเบอร์รี่มีต่อการเปิดบีบีเอ็มให้กลายเป็นโอเพนแชตแพลตฟอร์มสำหรับทุกระบบปฏิบัติการ
เบอนัวต์มองว่า การเปิดให้บริการบีบีเอ็มแบบครอสแพลตฟอร์มในช่วงเดือนสิงหาคมถือเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด เพราะถึงช่วงเวลานั้นปริมาณอุปกรณ์แบล็กเบอร์รี่ 10 รุ่นใหม่ที่มีในท้องตลาดจะเพิ่มขึ้น ระบบต่างๆ ก็จะเริ่มลงตัวมากขึ้น สิ่งที่น่าจับตามองต่อไปก็คือว่าปริมาณดาวน์โหลดบีบีเอ็มในช่วงเปิดให้บริการจะสามารถทำสถิติได้สูงเท่าใด
“ปัจจุบันบีบีเอ็มมีผู้ใช้งานอยู่ราว 60 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนใช้งานผ่านแบล็กเบอร์รี่เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าถึงเวลาที่เปิดให้โหลดใช้งานในระบบปฏิบัติการอื่นแบบฟรีๆ แล้ว ยอดผู้ใช้งานอาจเติบโตได้มากกว่า 2-3 เท่าในเวลาไม่กี่วัน”
สิ่งที่แบล็กเบอร์รี่ได้พิสูจน์มาอย่างยาวนานคือในแง่ของความปลอดภัยในระบบปฏิบัติการ ซึ่งรวมถึงการรับส่งข้อมูลในบีบีเอ็มด้วย แม้ว่าในแบล็กเบอร์รี่ 10 ผู้ใช้งานทั่วไปไม่จำเป็นต้องเปิดแพกเกจเฉพาะในการใช้งาน ข้อมูลที่ถูกส่งออกไปก็จะถูกเข้ารหัสอยู่เช่นเดิม อีกจุดที่น่าสนใจนอกจากเรื่องของความปลอดภัยแล้ว การเข้ารหัสช่วยให้ปริมาณข้อมูลที่ใช้ในการรับ-ส่งลดลงด้วย
“แชตแพลตฟอร์มในปัจจุบันยังไม่มีแอปฯ ใดสามารถรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วเท่าบีบีเอ็มที่เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับคำว่าเรียลไทม์มากที่สุด นั่นหมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อความไปหาเพื่อนปลายทางก็จะได้รับข้อความทันที ไม่เหมือนกับแชตแพลตฟอร์มอื่นที่ยังขาดความเสถียรของเซิร์ฟเวอร์ส่งผลให้บางทีข้อความเกิดการดีเลย์ขึ้น”
นอกจากการประกาศเปิดให้บีบีเอ็มกลายเป็นมัลติแชตแพลตฟอร์มแล้ว ทางแบล็กเบอร์รี่ก็ได้จัดอีกหนึ่งทีเด็ดเข้ามาสร้างความโดดเด่นให้แก่แชตแพลตฟอร์มของตนเอง ด้วยการเปิดให้บริการบีบีเอ็มแชนเนล (BBM Channels) ที่ถือว่าเปิดช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่แก่องค์กรธุรกิจ หรือกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่ต้องการช่องทางสำหรับติดต่อสื่อสารไปยังลูกค้า
ถ้ามองไปในการแข่งขันของตลาดแชตแพลตฟอร์มในภูมิภาคเอเชีย จะเห็นว่าทั้งไลน์ และวีแชต (WeChat) เปิดให้บริการฟังก์ชันดังกล่าวมาสักพักแล้วในชื่อของ Official Account ที่เปิดให้เจ้าของแบรนด์สินค้า กลุ่มศิลปิน สามารถสร้างช่องทางการสื่อสารไปยังผู้บริโภค เพียงแต่ว่าทั้ง 2 แชตแพลตฟอร์มเติบโตอย่างมากแค่เพียงในภูมิภาคเอเชียเท่านั้น
ส่งผลให้แบล็กเบอร์รี่ ซึ่งมีฐานลูกค้าหลักในแถบสหรัฐฯ แคนาดา ยุโรป และบางประเทศในภูมิภาคเอเชีย เล็งเห็นถึงช่องทางดังกล่าวที่ลูกค้าองค์กรหลายรายมีความเชื่อมั่นในระบบปฏิบัติการของตนเอง ให้หันมาใช้งานบีบีเอ็มแชนเนลในการขยายฐานลูกค้าผ่านสมาร์ทโฟนที่ไม่จำกัดเพียงแค่แบล็กเบอร์รี่ แต่จะรวมถึงฐานลูกค้าไอโอเอส และแอนดรอยด์ในอนาคต
โดยจากข้อมูลที่เปิดเผยออกมาระบุว่า ตัวบีบีเอ็มแชนเนลจะรองรับการใช้งานกับระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่รุ่นเก่าทั้ง 5 6 และ 7 เพื่อให้ลูกค้าเดิมที่ใช้งานอยู่สามารถใช้งานด้วยได้
“บีบีเอ็มแชนเนลถือเป็นพัฒนาการของฟังก์ชันกรุ๊ปเดิมในบีบีเอ็มที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างกลุ่มขึ้นมาและเชิญชวนเพื่อน 30 คนเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันภายในกลุ่มนั้นๆ ซึ่งมีผู้ใช้งานหลายรายนำการสร้างกลุ่มดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจอย่างการแจ้งเดลีดีลแก่ลูกค้า ใช้เรียกแท็กซี่ หรือแม้แต่การแจ้งราคาขายสินค้า”
ดังนั้น คาดว่าเมื่อมีการเปิดให้บริการบีบีเอ็มแชนเนลขึ้นมาแล้ว ก็จะมีกลุ่มผู้ใช้งานส่วนหนึ่งสามารถนำความสามารถของการแจ้งข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามมา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกที่เปิดให้บริการบีบีเอ็ม ลูกค้าที่ใช้งานแอนดรอยด์ และไอโฟนจะสามารถใช้งานได้เฉพาะฟีเจอร์อย่างการสนทนา การใช้งานทั่วไป และแชนเนลเท่านั้น ส่วนความสามารถอื่นๆ อย่างการ โทร.หรือวิดีโอคอลผ่านบีบีเอ็มนั้นจะทยอยตามมาในอนาคต
***ความปลอดภัย ปัจจัยหลักสู่เบอร์ 1 สมาร์ทโฟน
ทอร์สเทน ไฮนส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแบล็กเบอร์รี่ ให้ข้อมูลเสริมถึงแนวทางที่แบล็กเบอร์รี่ยึดมั่นในการทำตลาดสมาร์ทโฟน และคาดว่าจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้แบล็กเบอร์รี่กลายเป็นผู้นำในตลาด คือในแง่ของระบบรักษาความปลอดภัยในการให้บริการโมบายล์คอมพิวติ้งแบบครบวงจร
ซึ่งในส่วนของกลุ่มลูกค้าองค์กร แบล็กเบอร์รี่ก็ได้เตรียมแผนในการให้บริการด้วยการเพิ่มตัวเซิร์ฟเวอร์ BlackBerry Enterprise Service 10 (BES 10) เข้ามาเพื่อให้แต่ละองค์กรนำไปติดตั้งเพื่อเรียกใช้งานผ่านทางเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ที่จะช่วยซัปพอร์ตการติดตั้ง รวมถึงแนะนำรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสม
เบื้องต้น รูปแบบการทำงานของ BES 10 คือการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่อเชื่อมต่อเข้าไปกับระบบเมลภายในองค์กร หลังจากนั้นก็ทำการลงทะเบียนตัวเครื่องแบล็กเบอร์รี่ 10 เข้าสู่ระบบ เมื่อทำตามขั้นตอนแล้วเสร็จผู้ใช้งานก็จะสามารถรับส่งเมลภายในองค์กรได้ทันที
โดยข้อมูลของเมลจะถูกทำการเข้ารหัสไว้ รวมถึงสามารถตั้งระดับในการใช้งานได้ว่าบัญชีผู้ใช้นี้สามารถส่งต่อข้อมูลไปยังลูกค้าภายนอกได้หรือไม่ หรือแม้แต่การควบคุมให้เปิดหรือปิดฟังก์ชันการทำงานของตัวเครื่องเพื่อความปลอดภัยก็สามารถทำได้
***เติมโปรดักต์เจาะตลาดเพิ่ม
ภายใต้โรดแมปของสมาร์ทโฟนแบล็กเบอร์รี่ที่จะเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยปีนี้ จะประกอบไปด้วยเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 10 จำนวน 5 รุ่น และอีก 1 รุ่นเป็นระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 7 ซึ่งจนถึงเวลานี้ได้มีการเปิดตัวออกมาแล้วทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกัน (ระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 10) คือ Z10 ที่เริ่มวางจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว ตามด้วย Q10 ที่มีแพลนวางตลาดในช่วงเดือนมิถุนายน ตามมาด้วย Q5 ในช่วงเดือนสิงหาคม ส่วนรุ่นที่เหลือก็จะทยอยตามออกมา
เพียงแต่ถ้าดูที่ช่วงราคาในการทำตลาดของ 3 รุ่นที่เปิดตัวออกมาแล้วนั้นจะจับกลุ่มระดับกลางถึงบนเป็นหลัก เพราะตามข้อมูลล่าสุดที่ได้มาพบว่าช่วงระดับราคาของ Q5 อาจจะอยู่ที่ราว 12,000 บาท ส่วน Q10 เปิดราคาจองไว้ที่ 22,900 บาท เมื่อนับรวมกับ Z10 ที่เปิดราคา 20,900 บาท ทำให้เห็นได้ว่าแบล็กเบอร์รี่กำลังพยายามผลักดันสินค้าให้อยู่ในระดับพรีเมียมมากขึ้นเมื่อเทียบกับการทำตลาดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
เมื่อรวมกับคำให้สัมภาษณ์ของเบอนัวต์ในงานเปิดตัว Z10 ในประเทศไทย ที่ระบุว่าแบล็กเบอร์รี่จะใช้เครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 10 ทำตลาดในกลุ่มไฮเอนด์ และแบล็กเบอร์รี่ 7 ทำตลาดในระดับล่าง จึงสอดคล้องกับระดับราคาจำหน่ายของเครื่องที่จะทยอยออกมาในตลาดได้ทันที นอกจากนี้ยังได้เปิดเผยว่า หนึ่งในรุ่นที่จะวางจำหน่ายในอนาคตอาจมีชื่อรุ่นว่า A10 อีกด้วย
***ลูกค้าแบล็กเบอร์รี่เก่าอดใช้คลื่น 2.1 GHz
ด้วยแนวทางการทำตลาดบนระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 10 เป็นหลัก ทำให้แบล็กเบอร์รี่ตัดสินใจเลิกซัปพอร์ตเหล่าโอเปอเรเตอร์รายใหม่ในท้องตลาด ด้วยการยกเลิกการอัปเดตเฟิร์มแวร์ที่รองรับเครือข่ายใหม่ ซึ่งในที่นี้ส่งผลกระทบต่อโอเปอเรเตอร์ไทยทั้ง 3 รายที่เปิดให้บริการเครือข่ายใหม่บนคลื่น 2.1 GHz
แหล่งข่าวจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งระบุว่า ลูกค้าเก่าที่ใช้งานแบล็กเบอร์รี่รุ่นเดิมในตลาดถ้าต้องการย้ายมาใช้งานบนเครือข่าย 2.1 GHz จะต้องทำการตั้งค่าระบบใหม่ทุกครั้งที่มีการเปิดเครื่อง ทำให้เกิดผลกระทบต่อลูกค้าในกลุ่มองค์กรหลายราย เพราะปัจจุบันยังมีองค์กรธุรกิจในไทยที่ยังคงมีการนำเข้าเครื่องในระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 7 เข้ามาใช้งานอยู่เรื่อยๆ
“ทางแก้ไขเดียวที่ทำได้ง่ายๆ คือ ทางแบล็กเบอร์รี่ทำการอัปเกรดเฟิร์มแวร์ด้วยการใส่ข้อมูลของเครือข่ายใหม่เข้าไป เพียงแต่ว่าปัจจุบันแบล็กเบอร์รี่ไม่ได้ซัปพอร์ตลูกค้าหลังการขายเครื่องรุ่นเดิมแล้ว ทำให้ทางผู้ให้บริการเครือข่ายต้องหาทางแก้ไขด้วยตนเอง”
โดยปกติการใช้งานเครื่องแบล็กเบอร์รี่รุ่นเดิมในท้องตลาดต้องมีการเปิดแพกเกจเฉพาะของแบล็กเบอร์รี่ทั้งในส่วนของลูกค้าองค์กร (BlackBerry Enterprise Service) และลูกค้าทั่วไป (BlackBerry Internet Service) ซึ่งในส่วนนี้จำเป็นต้องมีการตั้งค่าให้ตัวเครื่องรู้จักกับเครือข่ายด้วยจึงจะสามารถใช้งานได้ แต่เครือข่าย 2.1 GHz ถือเป็นเครือข่ายที่เพิ่งเปิดให้บริการจึงยังไม่มีข้อมูลอยู่ในตัวเครื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของแบล็กเบอร์รี่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000064949
แหล่งข่าว(ค่ายมือถือฟ้องแรง)BlackBerryไทยตัดสินใจทิ้งBBรุ่นเก่าอดใช้คลื่น2.1GHz(ถ้าเล่นเน็ตต้องตั้งค่าระบบใหม่ทุกครั้ง)
ประเด็นหลัก
***ลูกค้าแบล็กเบอร์รี่เก่าอดใช้คลื่น 2.1 GHz
ด้วยแนวทางการทำตลาดบนระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 10 เป็นหลัก ทำให้แบล็กเบอร์รี่ตัดสินใจเลิกซัปพอร์ตเหล่าโอเปอเรเตอร์รายใหม่ในท้องตลาด ด้วยการยกเลิกการอัปเดตเฟิร์มแวร์ที่รองรับเครือข่ายใหม่ ซึ่งในที่นี้ส่งผลกระทบต่อโอเปอเรเตอร์ไทยทั้ง 3 รายที่เปิดให้บริการเครือข่ายใหม่บนคลื่น 2.1 GHz
แหล่งข่าวจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งระบุว่า ลูกค้าเก่าที่ใช้งานแบล็กเบอร์รี่รุ่นเดิมในตลาดถ้าต้องการย้ายมาใช้งานบนเครือข่าย 2.1 GHz จะต้องทำการตั้งค่าระบบใหม่ทุกครั้งที่มีการเปิดเครื่อง ทำให้เกิดผลกระทบต่อลูกค้าในกลุ่มองค์กรหลายราย เพราะปัจจุบันยังมีองค์กรธุรกิจในไทยที่ยังคงมีการนำเข้าเครื่องในระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 7 เข้ามาใช้งานอยู่เรื่อยๆ
“ทางแก้ไขเดียวที่ทำได้ง่ายๆ คือ ทางแบล็กเบอร์รี่ทำการอัปเกรดเฟิร์มแวร์ด้วยการใส่ข้อมูลของเครือข่ายใหม่เข้าไป เพียงแต่ว่าปัจจุบันแบล็กเบอร์รี่ไม่ได้ซัปพอร์ตลูกค้าหลังการขายเครื่องรุ่นเดิมแล้ว ทำให้ทางผู้ให้บริการเครือข่ายต้องหาทางแก้ไขด้วยตนเอง”
โดยปกติการใช้งานเครื่องแบล็กเบอร์รี่รุ่นเดิมในท้องตลาดต้องมีการเปิดแพกเกจเฉพาะของแบล็กเบอร์รี่ทั้งในส่วนของลูกค้าองค์กร (BlackBerry Enterprise Service) และลูกค้าทั่วไป (BlackBerry Internet Service) ซึ่งในส่วนนี้จำเป็นต้องมีการตั้งค่าให้ตัวเครื่องรู้จักกับเครือข่ายด้วยจึงจะสามารถใช้งานได้ แต่เครือข่าย 2.1 GHz ถือเป็นเครือข่ายที่เพิ่งเปิดให้บริการจึงยังไม่มีข้อมูลอยู่ในตัวเครื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของแบล็กเบอร์รี่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
______________________________________
เปิดไม้เด็ด “บีบี” ไลน์หลบไป บีบีเอ็มพร้อมแล้ว
“ไลน์ (Line) จะไม่มีที่ยืนในตลาดอีกต่อไป เมื่อบีบีเอ็ม (BBM) เปิดให้บริการ” คำกล่าวจากปากของผู้อำนวยการประจำประเทศไทย บริษัท แบล็กเบอร์รี่ จำกัด เบอนัวต์ นาลิน ที่แสดงให้เห็นถึงความคาดหวังที่ผู้บริหารระดับสูงของแบล็กเบอร์รี่มีต่อการเปิดบีบีเอ็มให้กลายเป็นโอเพนแชตแพลตฟอร์มสำหรับทุกระบบปฏิบัติการ
เบอนัวต์มองว่า การเปิดให้บริการบีบีเอ็มแบบครอสแพลตฟอร์มในช่วงเดือนสิงหาคมถือเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด เพราะถึงช่วงเวลานั้นปริมาณอุปกรณ์แบล็กเบอร์รี่ 10 รุ่นใหม่ที่มีในท้องตลาดจะเพิ่มขึ้น ระบบต่างๆ ก็จะเริ่มลงตัวมากขึ้น สิ่งที่น่าจับตามองต่อไปก็คือว่าปริมาณดาวน์โหลดบีบีเอ็มในช่วงเปิดให้บริการจะสามารถทำสถิติได้สูงเท่าใด
“ปัจจุบันบีบีเอ็มมีผู้ใช้งานอยู่ราว 60 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนใช้งานผ่านแบล็กเบอร์รี่เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าถึงเวลาที่เปิดให้โหลดใช้งานในระบบปฏิบัติการอื่นแบบฟรีๆ แล้ว ยอดผู้ใช้งานอาจเติบโตได้มากกว่า 2-3 เท่าในเวลาไม่กี่วัน”
สิ่งที่แบล็กเบอร์รี่ได้พิสูจน์มาอย่างยาวนานคือในแง่ของความปลอดภัยในระบบปฏิบัติการ ซึ่งรวมถึงการรับส่งข้อมูลในบีบีเอ็มด้วย แม้ว่าในแบล็กเบอร์รี่ 10 ผู้ใช้งานทั่วไปไม่จำเป็นต้องเปิดแพกเกจเฉพาะในการใช้งาน ข้อมูลที่ถูกส่งออกไปก็จะถูกเข้ารหัสอยู่เช่นเดิม อีกจุดที่น่าสนใจนอกจากเรื่องของความปลอดภัยแล้ว การเข้ารหัสช่วยให้ปริมาณข้อมูลที่ใช้ในการรับ-ส่งลดลงด้วย
“แชตแพลตฟอร์มในปัจจุบันยังไม่มีแอปฯ ใดสามารถรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วเท่าบีบีเอ็มที่เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับคำว่าเรียลไทม์มากที่สุด นั่นหมายความว่า เมื่อมีการส่งข้อความไปหาเพื่อนปลายทางก็จะได้รับข้อความทันที ไม่เหมือนกับแชตแพลตฟอร์มอื่นที่ยังขาดความเสถียรของเซิร์ฟเวอร์ส่งผลให้บางทีข้อความเกิดการดีเลย์ขึ้น”
นอกจากการประกาศเปิดให้บีบีเอ็มกลายเป็นมัลติแชตแพลตฟอร์มแล้ว ทางแบล็กเบอร์รี่ก็ได้จัดอีกหนึ่งทีเด็ดเข้ามาสร้างความโดดเด่นให้แก่แชตแพลตฟอร์มของตนเอง ด้วยการเปิดให้บริการบีบีเอ็มแชนเนล (BBM Channels) ที่ถือว่าเปิดช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่แก่องค์กรธุรกิจ หรือกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่ต้องการช่องทางสำหรับติดต่อสื่อสารไปยังลูกค้า
ถ้ามองไปในการแข่งขันของตลาดแชตแพลตฟอร์มในภูมิภาคเอเชีย จะเห็นว่าทั้งไลน์ และวีแชต (WeChat) เปิดให้บริการฟังก์ชันดังกล่าวมาสักพักแล้วในชื่อของ Official Account ที่เปิดให้เจ้าของแบรนด์สินค้า กลุ่มศิลปิน สามารถสร้างช่องทางการสื่อสารไปยังผู้บริโภค เพียงแต่ว่าทั้ง 2 แชตแพลตฟอร์มเติบโตอย่างมากแค่เพียงในภูมิภาคเอเชียเท่านั้น
ส่งผลให้แบล็กเบอร์รี่ ซึ่งมีฐานลูกค้าหลักในแถบสหรัฐฯ แคนาดา ยุโรป และบางประเทศในภูมิภาคเอเชีย เล็งเห็นถึงช่องทางดังกล่าวที่ลูกค้าองค์กรหลายรายมีความเชื่อมั่นในระบบปฏิบัติการของตนเอง ให้หันมาใช้งานบีบีเอ็มแชนเนลในการขยายฐานลูกค้าผ่านสมาร์ทโฟนที่ไม่จำกัดเพียงแค่แบล็กเบอร์รี่ แต่จะรวมถึงฐานลูกค้าไอโอเอส และแอนดรอยด์ในอนาคต
โดยจากข้อมูลที่เปิดเผยออกมาระบุว่า ตัวบีบีเอ็มแชนเนลจะรองรับการใช้งานกับระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่รุ่นเก่าทั้ง 5 6 และ 7 เพื่อให้ลูกค้าเดิมที่ใช้งานอยู่สามารถใช้งานด้วยได้
“บีบีเอ็มแชนเนลถือเป็นพัฒนาการของฟังก์ชันกรุ๊ปเดิมในบีบีเอ็มที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างกลุ่มขึ้นมาและเชิญชวนเพื่อน 30 คนเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันภายในกลุ่มนั้นๆ ซึ่งมีผู้ใช้งานหลายรายนำการสร้างกลุ่มดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจอย่างการแจ้งเดลีดีลแก่ลูกค้า ใช้เรียกแท็กซี่ หรือแม้แต่การแจ้งราคาขายสินค้า”
ดังนั้น คาดว่าเมื่อมีการเปิดให้บริการบีบีเอ็มแชนเนลขึ้นมาแล้ว ก็จะมีกลุ่มผู้ใช้งานส่วนหนึ่งสามารถนำความสามารถของการแจ้งข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามมา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกที่เปิดให้บริการบีบีเอ็ม ลูกค้าที่ใช้งานแอนดรอยด์ และไอโฟนจะสามารถใช้งานได้เฉพาะฟีเจอร์อย่างการสนทนา การใช้งานทั่วไป และแชนเนลเท่านั้น ส่วนความสามารถอื่นๆ อย่างการ โทร.หรือวิดีโอคอลผ่านบีบีเอ็มนั้นจะทยอยตามมาในอนาคต
***ความปลอดภัย ปัจจัยหลักสู่เบอร์ 1 สมาร์ทโฟน
ทอร์สเทน ไฮนส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแบล็กเบอร์รี่ ให้ข้อมูลเสริมถึงแนวทางที่แบล็กเบอร์รี่ยึดมั่นในการทำตลาดสมาร์ทโฟน และคาดว่าจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้แบล็กเบอร์รี่กลายเป็นผู้นำในตลาด คือในแง่ของระบบรักษาความปลอดภัยในการให้บริการโมบายล์คอมพิวติ้งแบบครบวงจร
ซึ่งในส่วนของกลุ่มลูกค้าองค์กร แบล็กเบอร์รี่ก็ได้เตรียมแผนในการให้บริการด้วยการเพิ่มตัวเซิร์ฟเวอร์ BlackBerry Enterprise Service 10 (BES 10) เข้ามาเพื่อให้แต่ละองค์กรนำไปติดตั้งเพื่อเรียกใช้งานผ่านทางเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ที่จะช่วยซัปพอร์ตการติดตั้ง รวมถึงแนะนำรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสม
เบื้องต้น รูปแบบการทำงานของ BES 10 คือการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่อเชื่อมต่อเข้าไปกับระบบเมลภายในองค์กร หลังจากนั้นก็ทำการลงทะเบียนตัวเครื่องแบล็กเบอร์รี่ 10 เข้าสู่ระบบ เมื่อทำตามขั้นตอนแล้วเสร็จผู้ใช้งานก็จะสามารถรับส่งเมลภายในองค์กรได้ทันที
โดยข้อมูลของเมลจะถูกทำการเข้ารหัสไว้ รวมถึงสามารถตั้งระดับในการใช้งานได้ว่าบัญชีผู้ใช้นี้สามารถส่งต่อข้อมูลไปยังลูกค้าภายนอกได้หรือไม่ หรือแม้แต่การควบคุมให้เปิดหรือปิดฟังก์ชันการทำงานของตัวเครื่องเพื่อความปลอดภัยก็สามารถทำได้
***เติมโปรดักต์เจาะตลาดเพิ่ม
ภายใต้โรดแมปของสมาร์ทโฟนแบล็กเบอร์รี่ที่จะเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยปีนี้ จะประกอบไปด้วยเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 10 จำนวน 5 รุ่น และอีก 1 รุ่นเป็นระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 7 ซึ่งจนถึงเวลานี้ได้มีการเปิดตัวออกมาแล้วทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกัน (ระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 10) คือ Z10 ที่เริ่มวางจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว ตามด้วย Q10 ที่มีแพลนวางตลาดในช่วงเดือนมิถุนายน ตามมาด้วย Q5 ในช่วงเดือนสิงหาคม ส่วนรุ่นที่เหลือก็จะทยอยตามออกมา
เพียงแต่ถ้าดูที่ช่วงราคาในการทำตลาดของ 3 รุ่นที่เปิดตัวออกมาแล้วนั้นจะจับกลุ่มระดับกลางถึงบนเป็นหลัก เพราะตามข้อมูลล่าสุดที่ได้มาพบว่าช่วงระดับราคาของ Q5 อาจจะอยู่ที่ราว 12,000 บาท ส่วน Q10 เปิดราคาจองไว้ที่ 22,900 บาท เมื่อนับรวมกับ Z10 ที่เปิดราคา 20,900 บาท ทำให้เห็นได้ว่าแบล็กเบอร์รี่กำลังพยายามผลักดันสินค้าให้อยู่ในระดับพรีเมียมมากขึ้นเมื่อเทียบกับการทำตลาดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
เมื่อรวมกับคำให้สัมภาษณ์ของเบอนัวต์ในงานเปิดตัว Z10 ในประเทศไทย ที่ระบุว่าแบล็กเบอร์รี่จะใช้เครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 10 ทำตลาดในกลุ่มไฮเอนด์ และแบล็กเบอร์รี่ 7 ทำตลาดในระดับล่าง จึงสอดคล้องกับระดับราคาจำหน่ายของเครื่องที่จะทยอยออกมาในตลาดได้ทันที นอกจากนี้ยังได้เปิดเผยว่า หนึ่งในรุ่นที่จะวางจำหน่ายในอนาคตอาจมีชื่อรุ่นว่า A10 อีกด้วย
***ลูกค้าแบล็กเบอร์รี่เก่าอดใช้คลื่น 2.1 GHz
ด้วยแนวทางการทำตลาดบนระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 10 เป็นหลัก ทำให้แบล็กเบอร์รี่ตัดสินใจเลิกซัปพอร์ตเหล่าโอเปอเรเตอร์รายใหม่ในท้องตลาด ด้วยการยกเลิกการอัปเดตเฟิร์มแวร์ที่รองรับเครือข่ายใหม่ ซึ่งในที่นี้ส่งผลกระทบต่อโอเปอเรเตอร์ไทยทั้ง 3 รายที่เปิดให้บริการเครือข่ายใหม่บนคลื่น 2.1 GHz
แหล่งข่าวจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายหนึ่งระบุว่า ลูกค้าเก่าที่ใช้งานแบล็กเบอร์รี่รุ่นเดิมในตลาดถ้าต้องการย้ายมาใช้งานบนเครือข่าย 2.1 GHz จะต้องทำการตั้งค่าระบบใหม่ทุกครั้งที่มีการเปิดเครื่อง ทำให้เกิดผลกระทบต่อลูกค้าในกลุ่มองค์กรหลายราย เพราะปัจจุบันยังมีองค์กรธุรกิจในไทยที่ยังคงมีการนำเข้าเครื่องในระบบปฏิบัติการแบล็กเบอร์รี่ 7 เข้ามาใช้งานอยู่เรื่อยๆ
“ทางแก้ไขเดียวที่ทำได้ง่ายๆ คือ ทางแบล็กเบอร์รี่ทำการอัปเกรดเฟิร์มแวร์ด้วยการใส่ข้อมูลของเครือข่ายใหม่เข้าไป เพียงแต่ว่าปัจจุบันแบล็กเบอร์รี่ไม่ได้ซัปพอร์ตลูกค้าหลังการขายเครื่องรุ่นเดิมแล้ว ทำให้ทางผู้ให้บริการเครือข่ายต้องหาทางแก้ไขด้วยตนเอง”
โดยปกติการใช้งานเครื่องแบล็กเบอร์รี่รุ่นเดิมในท้องตลาดต้องมีการเปิดแพกเกจเฉพาะของแบล็กเบอร์รี่ทั้งในส่วนของลูกค้าองค์กร (BlackBerry Enterprise Service) และลูกค้าทั่วไป (BlackBerry Internet Service) ซึ่งในส่วนนี้จำเป็นต้องมีการตั้งค่าให้ตัวเครื่องรู้จักกับเครือข่ายด้วยจึงจะสามารถใช้งานได้ แต่เครือข่าย 2.1 GHz ถือเป็นเครือข่ายที่เพิ่งเปิดให้บริการจึงยังไม่มีข้อมูลอยู่ในตัวเครื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของแบล็กเบอร์รี่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000064949