สวัสดีครับ ผมเด็กชายมะม่วง ได้สนใจประวัติของสมาร์ตโฟนยี่ห้อนี้ จนได้สืบค้นข้อมูลต่าง ๆ มา และเอามาเขียนให้ท่านสมาชิกได้รับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจเหล่านี้ด้วย บทความส่วนมากเป็นการแปลมาจากภาษาอังกฤษผสมจากความคิดเห็นส่วนตัวของผมด้วย เพราะฉะนั้นอาจมีการผิดพลาดของข้อมูล หากผู้อ่านท่านใดพบข้อผิดพลาดส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความ ท่านสามารถโต้แย้งได้ และสามารถคิดเห็นเพิ่มเติมได้เลยนะครับ นี่เป็นบทความแรกของผม การเรียบเรียงอาจจะแปลก ๆ เล็กน้อย ก็ขออภัยไว้ก่อนนะครับ
BlackBerry สมาร์ตโฟนเคยเป็นที่นิยมมากที่สุดในช่วงหนึ่ง ตอนนั้นใคร ๆ ก็ต้องการมีบีบีไว้ โดยเฉพาะวัยรุ่น เนื่องจากบีบีนั้นมีโปรแกรมแชตที่สนุกสนานเป็นจุดขายสำคัญพร้อมกับแป้นพิมพ์ qwerty ที่พิมพ์มันมาก บีบีเคยมีจุดที่สูงที่สุดซึ่งเป็นการที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากถึง 50% ในสหรัฐอเมริกาและ 20% ในตลาดมือถือโลก แต่ปัจจุบันบีบีมีส่วนแบ่งการตลาด 0% ภายในเวลาอันสั้น บีบีนั้นมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
เริ่มต้นจากบริษัทสัญชาติแคนาดาแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า Research in Motion (RIM) ซึ่งก่อตั้งโดยนักเรียนวิศวะชาวแคนาดาสองคนเมื่อปี พ.ศ. 2527 เริ่มจากการทำโปรเจกต์ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะระบบทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จากนั้นในปี พ.ศ. 2532 ผู้ให้บริการเครื่องขายมือถือของแคนาดาที่มีว่า ร็อจเจอรส์ (Rogers) ได้ทำสัญญากับ RIM ในการทำเครือข่ายสำหรับการรับส่งข้อความโดยเฉพาะ จากการทำสัญญาครั้งนั้นทำให้ RIM เป็นผู้นำทางด้านเครือข่ายการรับส่งข้อความยุคบุกเบิกในช่วงเวลานั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 ได้ทำเพจเจอร์ที่มีแป้นพิมพ์ขาย โดยมีคุณสมบัติเป็นเพจเจอร์สองทาง (two-way pager) ในชื่อ Inter@tive Pager หรือที่รู้จักกันในชื่อ RIM-900 (แต่ในช่วงนั้นก็มีรหัส 850 เช่นกัน)โดยมันสามารถทำได้ทั้งส่งข้อความและรับข้อความได้เลย หลังจากนั้น พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา RIM ใช้ชื่อ BlackBerry เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ต่อไป และเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นแรกในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยชื่อว่า BlackBerry 5810
ขณะนั้นบีบีเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงถึงความมั่งคั่งและสามารถบ่งบอกถึงสถานะทางสังคมของเจ้าของได้เลยเนื่องจากราคาที่แพงมาก และสิ่งที่สำคัญที่ทำให้บีบีได้รับความนิยมคือรูปลักษณ์ที่มีความสวยงาม ทันสมัย และทำการตลาดชัดเจนในกลุ่มนักธุรกิจซึ่งให้มันมาแทนที่แลปท็อปที่ทำงานช้า พร้อมกับแป้นพิมพ์ที่พิมพ์ได้สะดวกไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อิริยาบถอย่างไร อีกทั้งยังสามารถตอบอีเมลหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ และสิ่งที่ทำให้ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ BlackBerry Messenger (BBM)
เนื่องจากผลิตภัณฑ์แบล็กเบอร์รี่ที่ได้จำหน่วยนั้นเป็นที่นิยมมากที่สุดในกลุ่มนักธุรกิจ RIM จึงออกแบบโทรศัพท์แบบใหม่ที่ดูเข้ากับผู้คนทั่วไปได้มากขึ้น จึงได้เปิดตัวบีบีซีรีส์ที่มีรหัส (8000-9000) เริ่มจาก BlackBerry Electron 8700 ออกมาในช่วง พ.ศ. 2549 ซึ่งใส่คุณสมบัติมากมายเข้าไป อย่างเช่น จอภาพที่มีคุณภาพมากขึ้น ความจำมากขึ้น มีโปรแกรมแชตที่ติดตั้งไว้ให้พร้อม มีกล้องถ่ายภาพ ช่องใส่เมมโมรี่การ์ด แผนที่ และอื่น ๆ อีกมากมาย ต่อมาก็ได้เปิดตัวรุ่น Pearl ที่มีจุดเด่นคือเปลี่ยนปุ่มนำทางจากล้อเลื่อนที่ข้างตัวเครื่องซึ่งเลื่อนได้เพียงขึ้น-ลง แต่เปลี่ยนเป็นลูกกลิ้งและย้ายมาอยู่ที่ตรงกลางฝั่งด้านบนของแป้นพิมพ์ ทำให้เลือกเมนูได้สี่ทิศทาง (บนล่างซ้ายขวา) ลูกกลิ้งนี้มีลักษณะเล็กคล้ายกับไข่มุกจึงเป็นที่มาของชื่อ Pearl และต่อมาก็ได้เปิดตัวหลาย ๆ รุ่นต่อมา เช่น Pearl Flip, Curve, Bold, Storm, Tour, Style และ Torch
แต่เมื่อการมาของไอโฟนครั้งแรกที่ปี พ.ศ. 2550 แบล็กเบอร์รี่ยังไม่ตายทันที อีกทั้งยังทำรายได้และยอดขายได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนวันที่ไอโฟนนั้นได้พัฒนาตัวเองไปได้ไกลกว่าแบล็กเบอร์รี่แล้ว แต่แบล็กเบอร์รี่นั้นยังเหมือนกับย่ำอยู่กับที่ การพัฒนาของโอโฟนก้าวกระโดดขึ้นมากในทุก ๆ ปีทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การทำงานต่าง ๆ ในหน้าจอใหญ่ทั้งหมดของไอโฟนเหมือนกับเป็นการปลดล็อกความสามารถของแบล็กเบอร์รี่ที่ทำไม่ได้ จากนั้นแบล็กเบอร์รี่จากผู้นำจึงกลายเป็นผู้ตามจนได้ออกสมาร์ตโฟนรุ่น Storm มาแก้มือ แต่มันกลับเป็นมือถือที่ย่ำแย่ทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ปัญหาของมันทำให้รู้ว่าแบล็คเบอร์รี่นั้นไม่สามารถทำสมาร์ตโฟนสู้ไอโฟนได้อีกแล้ว
อีกปัญหาหลักของแบล็กเบอร์รี่นั้นคือซอฟค์แวร์ที่ดูโบราณ ระบบปฏิบัติการของแบล็กเบอร์รี่ที่เปลี่ยนไปแต่ละปีมีการพัฒนาน้อยกว่า iOS มาก ๆ ส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (User Interface) ของไอโฟนมีความน่าใช้กว่าของแบล็กเบอร์รี่ นอกจากจะดึงดูดผู้ใช้งานแล้วยังดึงดูดนักพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย ในขณะที่แบล็กเบอร์รี่มัวแต่เล็งการพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการของตัวเองอย่างเช่น ทำให้การรับส่งอีเมล์รวดเร็วขึ้นหรือการพัฒนาความปลอดภัยของเครื่องให้มากขึ้น หรือการไม่ทำให้แอปแชตยอดนิยมของตัวเองแพร่หลายไปแก่ยี่ห้ออื่น ทำให้แอปพลิเคชั่นจากผู้พัฒนาที่สามของ BlackBerry OS มีน้อยกว่า iOS มาก และแอปพลิเคชันแชตเกิดใหม่มากมายอย่าง Whatsapp และ LINE กลายเป็นแอปแชตยอดนิยมใหม่แทนที่ BBM อย่างโดยปริยาย
สาเหตุมากมายเหล่านี้จึงทำให้ผู้ใช้งานแบล็กเบอร์รี่เริ่มย้ายไปใช้ไอโฟนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนยอดขายของแบล็กเบอร์รี่เริ่มลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่การมาของไอโฟน 4 ขณะนั้นขณะนั้นเป็นช่วงของแบล็กเบอร์รี่รุ่น Bold 9780 เมื่อเทียบจุดต่อจุดแล้ว แบล็กเบอร์รี่ด้อยกว่าเกือบทุกจุด จึงทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของ RIM ลดลงจาก 20% ในปี พ.ศ. 2552 ไปสู่น้อยกว่า 5% ใน พ.ศ. 2555
ใน พ.ศ. 2555 แบล็กเบอร์รี่ได้พยายามทำสมาร์ตโฟนหน้าจอสัมผัสพร้อมกับสเปคที่ดี แต่มันสายไปแล้ว ผู้คนตอนนั้นได้ยึดติดกับไอโฟนหรือมือถือแอนดรอยด์ไปแล้ว จากยอดขายมือถือทั่วโลกในไตรมาสที่สี่ของ พ.ศ. 2559 มีการจำหน่ายสมาร์ตโฟนไปแล้วกว่า 432 ล้านเครื่อง แต่ยอดขายของแบล็กเบอร์รี่ทำได้เพียง 207,900 เครื่อง ดังนั้นทำให้ส่วนแบ่งของ RIM เป็น 0% อย่างทางการ จนทำให้ TCL ได้สนใจซื้อกิจการในส่วนของการออกแบบและผลิตสมาร์ตโฟนแบล็กเบอร์รี่ ส่วนบริษัทแม่ที่ไม่ได้ถูกซื้อยังทำซอฟต์แวร์ทางด้านความปลอดภัยต่อไป
หลังจากชื่อของ BlackBerry ได้ตกมาอยู่ในมือของ TCL ผู้ผลิตมือถือสัญชาติจีนแล้ว แบล็กเบอร์รี่รุ่นใหม่ก็ออกมาภายใต้ระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งไม่ใช่ BlackBerry OS อีกต่อไป ทำให้ผู้ใช้งานได้ใช้แอปพลิเคชันได้หลากหลากพร้อมกับแป้นพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของบีบี และได้ทำการตลาดเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ที่ใส่ใจในด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย โดยรุ่นล่าสุดของบีบีคือรุ่น Key2 ที่เปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2561 แต่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2563) ยังไม่มีการผลิตรุ่นใหม่ออกมาอีกทั้งยังมีการประกาศจาก TCL แล้วว่าจะไม่มีการผลิต BlackBerry ภายใต้บริษัท TCL อีกต่อไป และในอนาคตเรายังจะเห็น BlackBerry ภายใต้บริษัทใหม่อยู่หรือไม่ สำหรับสาวกอย่างผมแล้วยังรอคอยอยู่เสมอ
ที่มา
https://qz.com/49115/rim-renames-itself-blackberry-heres-how-that-name-came-to-be/
https://www.pocket-lint.com/phones/news/137319-farewell-blackberry-os-here-are-the-23-best-blackberry-phones-that-changed-the-world
https://en.m.wikipedia.org/wiki/List_of_BlackBerry_products
https://www.businessinsider.com/blackberry-smartphone-rise-fall-mobile-failure-innovate-2019-11
จากเป็นที่นิยมสู่จุดตกต่ำของ BlackBerry
BlackBerry สมาร์ตโฟนเคยเป็นที่นิยมมากที่สุดในช่วงหนึ่ง ตอนนั้นใคร ๆ ก็ต้องการมีบีบีไว้ โดยเฉพาะวัยรุ่น เนื่องจากบีบีนั้นมีโปรแกรมแชตที่สนุกสนานเป็นจุดขายสำคัญพร้อมกับแป้นพิมพ์ qwerty ที่พิมพ์มันมาก บีบีเคยมีจุดที่สูงที่สุดซึ่งเป็นการที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากถึง 50% ในสหรัฐอเมริกาและ 20% ในตลาดมือถือโลก แต่ปัจจุบันบีบีมีส่วนแบ่งการตลาด 0% ภายในเวลาอันสั้น บีบีนั้นมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
เริ่มต้นจากบริษัทสัญชาติแคนาดาแห่งนี้เดิมมีชื่อว่า Research in Motion (RIM) ซึ่งก่อตั้งโดยนักเรียนวิศวะชาวแคนาดาสองคนเมื่อปี พ.ศ. 2527 เริ่มจากการทำโปรเจกต์ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะระบบทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จากนั้นในปี พ.ศ. 2532 ผู้ให้บริการเครื่องขายมือถือของแคนาดาที่มีว่า ร็อจเจอรส์ (Rogers) ได้ทำสัญญากับ RIM ในการทำเครือข่ายสำหรับการรับส่งข้อความโดยเฉพาะ จากการทำสัญญาครั้งนั้นทำให้ RIM เป็นผู้นำทางด้านเครือข่ายการรับส่งข้อความยุคบุกเบิกในช่วงเวลานั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 ได้ทำเพจเจอร์ที่มีแป้นพิมพ์ขาย โดยมีคุณสมบัติเป็นเพจเจอร์สองทาง (two-way pager) ในชื่อ Inter@tive Pager หรือที่รู้จักกันในชื่อ RIM-900 (แต่ในช่วงนั้นก็มีรหัส 850 เช่นกัน)โดยมันสามารถทำได้ทั้งส่งข้อความและรับข้อความได้เลย หลังจากนั้น พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา RIM ใช้ชื่อ BlackBerry เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ต่อไป และเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นแรกในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2545 โดยชื่อว่า BlackBerry 5810
ขณะนั้นบีบีเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงถึงความมั่งคั่งและสามารถบ่งบอกถึงสถานะทางสังคมของเจ้าของได้เลยเนื่องจากราคาที่แพงมาก และสิ่งที่สำคัญที่ทำให้บีบีได้รับความนิยมคือรูปลักษณ์ที่มีความสวยงาม ทันสมัย และทำการตลาดชัดเจนในกลุ่มนักธุรกิจซึ่งให้มันมาแทนที่แลปท็อปที่ทำงานช้า พร้อมกับแป้นพิมพ์ที่พิมพ์ได้สะดวกไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อิริยาบถอย่างไร อีกทั้งยังสามารถตอบอีเมลหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ และสิ่งที่ทำให้ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ BlackBerry Messenger (BBM)
เนื่องจากผลิตภัณฑ์แบล็กเบอร์รี่ที่ได้จำหน่วยนั้นเป็นที่นิยมมากที่สุดในกลุ่มนักธุรกิจ RIM จึงออกแบบโทรศัพท์แบบใหม่ที่ดูเข้ากับผู้คนทั่วไปได้มากขึ้น จึงได้เปิดตัวบีบีซีรีส์ที่มีรหัส (8000-9000) เริ่มจาก BlackBerry Electron 8700 ออกมาในช่วง พ.ศ. 2549 ซึ่งใส่คุณสมบัติมากมายเข้าไป อย่างเช่น จอภาพที่มีคุณภาพมากขึ้น ความจำมากขึ้น มีโปรแกรมแชตที่ติดตั้งไว้ให้พร้อม มีกล้องถ่ายภาพ ช่องใส่เมมโมรี่การ์ด แผนที่ และอื่น ๆ อีกมากมาย ต่อมาก็ได้เปิดตัวรุ่น Pearl ที่มีจุดเด่นคือเปลี่ยนปุ่มนำทางจากล้อเลื่อนที่ข้างตัวเครื่องซึ่งเลื่อนได้เพียงขึ้น-ลง แต่เปลี่ยนเป็นลูกกลิ้งและย้ายมาอยู่ที่ตรงกลางฝั่งด้านบนของแป้นพิมพ์ ทำให้เลือกเมนูได้สี่ทิศทาง (บนล่างซ้ายขวา) ลูกกลิ้งนี้มีลักษณะเล็กคล้ายกับไข่มุกจึงเป็นที่มาของชื่อ Pearl และต่อมาก็ได้เปิดตัวหลาย ๆ รุ่นต่อมา เช่น Pearl Flip, Curve, Bold, Storm, Tour, Style และ Torch
แต่เมื่อการมาของไอโฟนครั้งแรกที่ปี พ.ศ. 2550 แบล็กเบอร์รี่ยังไม่ตายทันที อีกทั้งยังทำรายได้และยอดขายได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนวันที่ไอโฟนนั้นได้พัฒนาตัวเองไปได้ไกลกว่าแบล็กเบอร์รี่แล้ว แต่แบล็กเบอร์รี่นั้นยังเหมือนกับย่ำอยู่กับที่ การพัฒนาของโอโฟนก้าวกระโดดขึ้นมากในทุก ๆ ปีทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การทำงานต่าง ๆ ในหน้าจอใหญ่ทั้งหมดของไอโฟนเหมือนกับเป็นการปลดล็อกความสามารถของแบล็กเบอร์รี่ที่ทำไม่ได้ จากนั้นแบล็กเบอร์รี่จากผู้นำจึงกลายเป็นผู้ตามจนได้ออกสมาร์ตโฟนรุ่น Storm มาแก้มือ แต่มันกลับเป็นมือถือที่ย่ำแย่ทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ปัญหาของมันทำให้รู้ว่าแบล็คเบอร์รี่นั้นไม่สามารถทำสมาร์ตโฟนสู้ไอโฟนได้อีกแล้ว
อีกปัญหาหลักของแบล็กเบอร์รี่นั้นคือซอฟค์แวร์ที่ดูโบราณ ระบบปฏิบัติการของแบล็กเบอร์รี่ที่เปลี่ยนไปแต่ละปีมีการพัฒนาน้อยกว่า iOS มาก ๆ ส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (User Interface) ของไอโฟนมีความน่าใช้กว่าของแบล็กเบอร์รี่ นอกจากจะดึงดูดผู้ใช้งานแล้วยังดึงดูดนักพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย ในขณะที่แบล็กเบอร์รี่มัวแต่เล็งการพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการของตัวเองอย่างเช่น ทำให้การรับส่งอีเมล์รวดเร็วขึ้นหรือการพัฒนาความปลอดภัยของเครื่องให้มากขึ้น หรือการไม่ทำให้แอปแชตยอดนิยมของตัวเองแพร่หลายไปแก่ยี่ห้ออื่น ทำให้แอปพลิเคชั่นจากผู้พัฒนาที่สามของ BlackBerry OS มีน้อยกว่า iOS มาก และแอปพลิเคชันแชตเกิดใหม่มากมายอย่าง Whatsapp และ LINE กลายเป็นแอปแชตยอดนิยมใหม่แทนที่ BBM อย่างโดยปริยาย
สาเหตุมากมายเหล่านี้จึงทำให้ผู้ใช้งานแบล็กเบอร์รี่เริ่มย้ายไปใช้ไอโฟนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนยอดขายของแบล็กเบอร์รี่เริ่มลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่การมาของไอโฟน 4 ขณะนั้นขณะนั้นเป็นช่วงของแบล็กเบอร์รี่รุ่น Bold 9780 เมื่อเทียบจุดต่อจุดแล้ว แบล็กเบอร์รี่ด้อยกว่าเกือบทุกจุด จึงทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของ RIM ลดลงจาก 20% ในปี พ.ศ. 2552 ไปสู่น้อยกว่า 5% ใน พ.ศ. 2555
ใน พ.ศ. 2555 แบล็กเบอร์รี่ได้พยายามทำสมาร์ตโฟนหน้าจอสัมผัสพร้อมกับสเปคที่ดี แต่มันสายไปแล้ว ผู้คนตอนนั้นได้ยึดติดกับไอโฟนหรือมือถือแอนดรอยด์ไปแล้ว จากยอดขายมือถือทั่วโลกในไตรมาสที่สี่ของ พ.ศ. 2559 มีการจำหน่ายสมาร์ตโฟนไปแล้วกว่า 432 ล้านเครื่อง แต่ยอดขายของแบล็กเบอร์รี่ทำได้เพียง 207,900 เครื่อง ดังนั้นทำให้ส่วนแบ่งของ RIM เป็น 0% อย่างทางการ จนทำให้ TCL ได้สนใจซื้อกิจการในส่วนของการออกแบบและผลิตสมาร์ตโฟนแบล็กเบอร์รี่ ส่วนบริษัทแม่ที่ไม่ได้ถูกซื้อยังทำซอฟต์แวร์ทางด้านความปลอดภัยต่อไป
หลังจากชื่อของ BlackBerry ได้ตกมาอยู่ในมือของ TCL ผู้ผลิตมือถือสัญชาติจีนแล้ว แบล็กเบอร์รี่รุ่นใหม่ก็ออกมาภายใต้ระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งไม่ใช่ BlackBerry OS อีกต่อไป ทำให้ผู้ใช้งานได้ใช้แอปพลิเคชันได้หลากหลากพร้อมกับแป้นพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของบีบี และได้ทำการตลาดเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ที่ใส่ใจในด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย โดยรุ่นล่าสุดของบีบีคือรุ่น Key2 ที่เปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2561 แต่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2563) ยังไม่มีการผลิตรุ่นใหม่ออกมาอีกทั้งยังมีการประกาศจาก TCL แล้วว่าจะไม่มีการผลิต BlackBerry ภายใต้บริษัท TCL อีกต่อไป และในอนาคตเรายังจะเห็น BlackBerry ภายใต้บริษัทใหม่อยู่หรือไม่ สำหรับสาวกอย่างผมแล้วยังรอคอยอยู่เสมอ
ที่มา
https://qz.com/49115/rim-renames-itself-blackberry-heres-how-that-name-came-to-be/
https://www.pocket-lint.com/phones/news/137319-farewell-blackberry-os-here-are-the-23-best-blackberry-phones-that-changed-the-world
https://en.m.wikipedia.org/wiki/List_of_BlackBerry_products
https://www.businessinsider.com/blackberry-smartphone-rise-fall-mobile-failure-innovate-2019-11