สหภาพCAT เสียงแข็ง!!! ถ้า TRUE จริงใจต้องคืนเสาและตู้คอนเทนเนอร์ มาให้หมดตามสัญญาBTO (ถึงจะมาคุยเรื่องการตั้งกองทุน)

11 สิงหาคม 2556 สหภาพCAT เสียงแข็ง!!! ถ้า TRUE จริงใจต้องคืนเสาและตู้คอนเทนเนอร์ มาให้หมดตามสัญญาBTO (ถึงจะมาคุยเรื่องการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน) ชี้ บอร์ด กำลัง กำลังทำผิดละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

ประเด็นหลัก


*** สหภาพฯ กสทค้านเสียงแข็ง
      
       สังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม มองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องที่ทรูเดินหน้าตั้งกองทุนดังกล่าวทั้งๆที่มีข้อพิพาทอยู่ในชั้นอนุญาตโตตุลาการและยังไม่มีคำตัดสินใดๆออกมา แต่ในเบื้องต้นการจัดตั้งกองทุนเป็นเพียงการส่งแผนให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เท่านั้นเสมือนเป็นการโยนหินถามทางมากกว่า
      
       แต่อย่างไรก็ตามได้มีการสอบถามไปยังผู้บริหารระดับสูงของ กสท แล้วเช่นเดียวกัน ซึ่งได้คำตอบมาว่าในตอนนี้กรรมการผู้จัดการใหญ่(กจญ.)ได้มีการเจรจากับทรูจริง และกจญ.ได้มีการไปปรึกษากับบอร์ดกสท แล้วโดยบอร์ดได้สั่งให้กจญ.กลับไปปรึกษากับผู้บริหารระดับรองก่อน รวมทั้งสหภาพฯยังได้มีการเข้าไปสอบถามกับบอร์ดกสท ว่ามีนโยบายในเรื่องดังกล่าวอย่างไร ซึ่งสหภาพฯเองไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ขณะที่กจญ.ไม่เคยเข้ามาพูดคุยทำความเข้าใจกับสหภาพฯเลย
      
       'หากกจญ.ปล่อยให้ทรูเดินหน้าตั้งกองทุนจริงได้จริงทั้งๆที่เรื่องเสายังอยู่ในข้อพิพาทก็ถือว่าผิดเพราะมีเจตนาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และยังเป็นการขายสมบัติของชาติให้กับเอกชน เนื่องจากรู้ดีว่าทรูหวังเพียงต้องการเอาผลประโยชน์ ซึ่งผลประโยชน์ดังกล่าวก็เป็นของรัฐนั่นเอง ดังนั้นเราต้องการแสดงจุดยืนที่ว่าต้องการปกป้องทรัพย์สมบัติของประเทศชาติ เอาไว้'
      
       ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเสาส่งสัญญาณ ตู้คอนเทนเนอร์ หรืออุปกรณ์โทรคมนาคมต่างๆ ตามสัญญาBTO ระบุเอาไว้ว่าเมื่อหมดสัญญาสัมปทานแล้วอุปกรณ์โทรคมนาคมทุกอย่างต้องส่งคืนให้กับกสท ซึ่งทรูไม่มีสิทธิที่จะมาเรียกร้องหรืออ้างว่าเสาและตู้คอนเทนเนอร์ไม่ใช่อุปกรณ์โทรคมนาคม
      
       'หากทรูต้องการร่วมลงขันทำธุรกิจกับ กสท จริงเรื่องแรกที่ทรูต้องทำคือการคืนเสากลับมาให้ กสท 100%ก่อน ส่วนจะลงทุนร่วมกันจริงหลังจากคืนเสาแล้วเชื่อว่า กสท ก็ยินดีเปิดการเจรจาหารือแน่นอน'
      
       *** 'อนุดิษฐ์' เชียร์ทรูตั้งกองทุน
      
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที แสดงความเห็นว่า การที่ทรูเดินหน้าตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้นไม่ได้มองว่าจะทำให้รัฐวิสาหกิจอย่างกสท และบริษัท ทีโอที เสียผลประโยชน์แต่อย่างใด เนื่องจากโดยหลักการแล้วการดำเนินการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ถือว่าเป็นแนวทางของการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฏหมาย และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญเพราะถือเป็นเครื่องมือทำให้การประกอบธุรกิจด้านโทรคมนาคมมีต้นทุนที่ถูกลง
      
    
       'ผู้ที่นำทรัพย์สินเข้าไปอยู่ในกองทุนก็ไม่สามารถที่จะครอบงำคณะกรรมการบริหารกองทุนได้แต่อย่างใด เนื่องจากกฏหมายให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 30% ดังนั้นระเบียบ และข้อกฏหมายต่างๆระบุชัดเจนว่ากองทุนโครงสร้างพื้นฐานไม่ใช่เป็นของเอกชน แต่อย่างใด แต่เป็นของประชาชนทุกคนที่สามารถเข้ามาร่วมลงทุนได้ เช่นเดียวกันแม้กสท หรือทีโอที เป็นคนจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานก็ไม่สามารถเข้าไปครอบงำ ในกิจการกองทุนได้ โดยการที่ทรูต้องการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ก็จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของก.ล.ต.ซึ่งสุดท้ายทรูก็เป็นเพียงผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่านั้น ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ซึ่งต่างจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทั่วไปที่จะมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่'
      
    
       *** กสทช.ประวิทย์ ย้ำระวังพวกจับเสือมือเปล่า
      
       ด้านน.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่าการประชุมบอร์ดกทค.นัดที่ผ่านมาได้มีการนำวาระดังกล่าวเข้าพิจารณาด้วยภายหลัง บลจ.ไทยพาณิชย์ร่วมกับทรู ทำหนังสือเข้ามาหารือในข้อกฏหมายว่าการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมหรือไม่ เพราะเป็นการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเบื้องต้นทางฝ่ายกฏหมายสำนักงานกสทช.ให้ความเห็นว่าตามกฏหมายก.ล.ต.กองทุนดังกล่าวไม่สามารถประกอบกิจการโดยตรงได้ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งบริษัทจัดการโครงข่ายขึ้นมาใหม่แล้วจึงเข้ามาขอใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทมีโครงข่ายได้
      
       แต่น.พ.ประวิทย์เองได้คัดค้านเนื่องจากมองว่าสำนักงานกสทช.ควรจะกลับไปศึกษาทบทวนให้รอบด้าน ก่อนว่าการจัดตั้งกองทุนในลักษณะดังกล่าวจะจัดประเภทเป็นผู้ประกอบการประเภทใด และต้องเสียค่าธรรมเนียมแบบไหน โดยควรเชิญผู้ประกอบการโทรคมนาคมทุกรายในตลาดเข้ามาหารือกัน รวมไปถึงบริษัทจัดการหลักทรัพย์อื่นนอกจากไทยพาณิชย์ เนื่องจากกรณีนี้ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นในตลาดโทรคมนาคมไทย เพราะเชื่อว่าในอนาคตจะมีบริษัทอื่นๆเข้ามาขอใบอนุญาตประเภทโครงข่าย เพื่อจัดตั้งกองทุนรวมอื่นๆอีก ดังนั้นควรจะช่วยกันหาระบบในการกำกับดูแลว่าจะเป็นอย่างไรซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะมาขออนุมัติใบอนุญาตก็ไม่สาย
      
       'แต่ที่สุดแล้วไม่ว่าใครจะนำทรัพย์สินเข้ามาอยู่ในระบบกองทุน ควรจะต้องมีกรรมสิทธิในทรัพย์นั้นด้วยไม่ใช่จับเสือมือเปล่า แต่หากเป็นกรรมสิทธิร่วมก็ต้องให้กรรมสิทธิร่วมแสดงความยินยอมด้วย เพราะอาจเกิดข้อพิพาทได้ ซึ่งในประเด็นนี้เชื่อว่าจะไม่ยุติง่ายๆ ดังนั้นใช่ว่าใครอยากจะตั้งกองทุนแล้วจะตั้งได้เลย การตั้งกองทุนอาจจะตั้งได้ง่าย แต่ตั้งแล้วถูกกฏหมายนั้นยากกว่าแน่นอน'
      
       น.พ.ประวิทย์กล่าวย้ำว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่าย คือ ผู้ที่จะเข้ามาขอจะต้องมีกรรมสิทธิในทรัพย์สิน100% หรือหากเป็นกรรมสิทธิร่วมก็ต้องยินยอมทั้ง2ฝ่าย เพราะหากมีการฟ้องร้องจากเจ้าของกรรมสิทธิร่วมกสทช.ก็ไม่สามารถจะออกใบอนุญาตให้ได้เพราะต้องลงไปตรวจสอบว่าใครกันแน่ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิตัวจริง และอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของกองทุนในที่สุด
      
       'การตั้งกองทุนขึ้นมาแล้วเอาทรัพย์สินไปให้คนอื่นเช่าก็เข้าข่ายการประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งหากไม่ได้ใบอนุญาตก็จะมีความผิดในคดีอาญาแน่นอน'
      
แหล่งข่าวกสทช.ยังระบุอีกว่า ในการประชุมบอร์ดครั้งนั้น พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้พยายามผลักดันใบอนุญาตให้กับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ ร่วมกับกลุ่มทรู เป็นผู้จัดตั้ง โดยนำเข้าที่ประชุมเป็นวาระจรแต่กลับพิจารณาเป็นเรื่องแรกในการประชุมโดยมีเจตนารมณ์จะให้ผ่านในการประชุมครั้งเดียว โดยไม่ยอมนำไปศึกษา ให้รอบคอบก่อนทั้งๆที่เรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับวงการโทรคมนาคมไทย
      






http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000097725















______________________________________




เตือนภัยแมงเม่า!! กับแสงสีในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่ยังลูกผีลูกคน (Cyber Weekend)


แฟ้มภาพเสาโทรคมนาคม ล่าสุด กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของทรูที่ยังลูกผีลูกคน เพราะทรัพย์สินส่วนสำคัญที่กลุ่มทรูยื่นจำหน่ายเข้ากองทุน ยังเป็นกรณีพิพาทในชั้นอนุญาโตตุลาการกับบริษัท กสท โทรคมนาคม


กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) กำลังส่งกลิ่นหอมหวลในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม พลันแค่กลุ่มทรูแจ้งเรื่องตลาดหลักทรัพย์ฯ หุ้นก็กระเด้งขึ้นรับข่าวดี แต่เส้นทางนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบและสวยงามอย่างที่คาด เพราะทรัพย์สินส่วนสำคัญที่กลุ่มทรูยื่นจำหน่ายเข้ากองทุน ยังเป็นกรณีพิพาทในชั้นอนุญาโตตุลาการกับบริษัท กสท โทรคมนาคม ในประเด็นกรรมสิทธิความเป็นเจ้าของเสาโทรคมนาคมตามสัญญา BTO รวมทั้งการยื่นแสดงรายได้ในอนาคต ที่มีความไม่แน่นอนและความเสี่ยงสูง
      
       ย้อนหลังไปวันที่ 23 ก.ค.2556 บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯว่าต้องการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure Fund) โดยการขายทรัพย์สิน และรายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งมีมูลค่าโครงการไม่น้อยกว่า 70,000 ล้านบาท โดยทรัพย์สินที่จะจำหน่ายเข้ากองทุนคือ 1.เสาโทรคมนาคม 13,000 เสา 2.โครงข่ายใยแก้วนำแสง อุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ 45,000 คอร์กิโลเมตร และ 9,000 ลิงค์ 3.โครงข่ายบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด 1.2 ล้านพอร์ต ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทรูหวังจะระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อนำเงินไปลงทุนสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมรองรับการให้บริการ3G และ4G
      
       โดยในตอนนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติจัดตั้งกองทุนดังกล่าว กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยมี บลจ.ไทยพาณิชย์เป็นผู้จัดการกองทุน และมีบริษัท เจวีเอส เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ และทรูยังระบุอีกว่าภาย หลัง ก.ล.ต.อนุมัติให้จัดตั้งกองทุนได้แล้วมีแผนที่จะจองซื้อหน่วยลงทุนของกองทุน ประมาณ 33.33% ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด ซึ่งการกระทำดังกล่าวเท่ากับว่าทรูไม่รอให้อนุญาโตตุลาการ มีการตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทออกมาแต่อย่างใด
      
       *** 'กิตติศักดิ์' เชื่อใครตั้งไม่สำคัญ ยึดผลประโยชน์เป็นหลัก
      
       กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม แสดงท่าทีต่อกรณีดังกล่าวว่าตอนนี้ได้ให้ทีมกฏหมายดูรายละเอียดอยู่ว่าสามารถทำได้หรือไม่ หรือมีขั้นตอนอะไรบ้างที่ กสท สามารถทำได้ แต่หากจะบอกว่าการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวทรูสามารถดำเนินการได้หรือไม่ได้ นั้นกสทคงตอบไม่ได้เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเกี่ยวข้องทางข้อกฏหมาย อีกทั้งในตอนนี้ กสท กำลังเจรจากับทรูในเรื่องการโอนเสาโทรคมนาคม และอุปกรณ์โทรคมนาคมตามสัญญาสัมปทานที่กำลังหมดอายุลงในวันที่15 ก.ย.2556 นี้ ซึ่งในเรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ
      
       'ท้ายที่สุดจะเป็นทรูหรือ กสท ที่จะเป็นคนจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานก็ตามไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญคงต้องดูว่ากองทุนดังกล่าวนำไปใช้เพื่อเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่ และต้องมาดูเรื่องของปริมาณ และผลตอบแทนที่ กสท ควรจะได้มากกว่า ซึ่งเราจะนำองค์ประกอบทั้ง 2 ส่วนไปพิจารณาต่อไป ซึ่งหากยอมรับได้ กสทก็ไม่ได้ยึดติดว่าใครจะเป็นคนตั้งกองทุน'
      
       นอกจากนี้หลักเกณฑ์ และข้อกำหนดของการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องให้บริการต่อสาธารณะ และให้บริการภาครัฐ รวมถึงไม่เป็นการให้บริการเฉพาะหรือให้บริการรายใดรายหนึ่งเท่านั้น ซึ่งหลักเกณณฑ์กองทุนเองก็เปิดกว้างในการให้บริการเชิงสาธารณะอยู่แล้ว
      
       'ล่าสุดเรากำลังเจรจากับทรูเพื่อหาข้อยุติในประเด็นที่มีข้อพิพาทเรื่องเสาในขณะนี้ ซึ่งหากทั้ง2ฝ่ายพึงพอใจในเรื่องของผลประโยชน์ก็จะจบลงด้วยดี ส่วนเรื่องที่อยู่ในอนุญาโตตุลาการนั้นก็คงต้องรอคำตัดสินเช่นเดียวกัน'
      
       *** สหภาพฯ กสทค้านเสียงแข็ง
      
       สังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม มองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องที่ทรูเดินหน้าตั้งกองทุนดังกล่าวทั้งๆที่มีข้อพิพาทอยู่ในชั้นอนุญาตโตตุลาการและยังไม่มีคำตัดสินใดๆออกมา แต่ในเบื้องต้นการจัดตั้งกองทุนเป็นเพียงการส่งแผนให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เท่านั้นเสมือนเป็นการโยนหินถามทางมากกว่า
      
       แต่อย่างไรก็ตามได้มีการสอบถามไปยังผู้บริหารระดับสูงของ กสท แล้วเช่นเดียวกัน ซึ่งได้คำตอบมาว่าในตอนนี้กรรมการผู้จัดการใหญ่(กจญ.)ได้มีการเจรจากับทรูจริง และกจญ.ได้มีการไปปรึกษากับบอร์ดกสท แล้วโดยบอร์ดได้สั่งให้กจญ.กลับไปปรึกษากับผู้บริหารระดับรองก่อน รวมทั้งสหภาพฯยังได้มีการเข้าไปสอบถามกับบอร์ดกสท ว่ามีนโยบายในเรื่องดังกล่าวอย่างไร ซึ่งสหภาพฯเองไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ขณะที่กจญ.ไม่เคยเข้ามาพูดคุยทำความเข้าใจกับสหภาพฯเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่