07 สิงหาคม 2556 TRUE ทำได้ AIS ก็ทำได้ ( กรณีทำกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมกับTOT) โดยส่วนที่เซ็นเสาให้TOTไปแล้ว AISสามารถเซ็นสงวนสิทธิ์การใช้งานได้
ประเด็นหลัก
"เราคงดูผลสรุปว่าหากทรูทำได้ แล้วในสัญญาสัมปทานที่เอไอเอสทำร่วมกับบมจ.ทีโอที ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างกัน เราก็ทำได้ ส่วนเสาสถานีฐานที่เซ็นโอนให้ทีโอทีตามบีทีโอ บริษัทสามารถเซ็นสงวนสิทธิ์การใช้งานได้ แต่สุดท้ายต้องดูว่ากลุ่มทรูทำอย่างไรกับเสาที่อยู่ในการเจรจาระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม และมีปัญหาชั้นอนุญาโตตุลาการ"
เขา กล่าวว่า สาเหตุที่เอไอเอสจะออกอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ไม่ได้หมายความว่าบริษัทมีหนี้น้อยจึงไม่จำเป็นต้องทำ แต่หากผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรมดำเนินการได้ ผู้ถือหุ้นก็ย่อมถามบอร์ดบริษัทว่าทำไมถึงไม่ดำเนินการ
______________________________________
'เอไอเอส'หวังเลียนแบบ'ทรู'ตั้งกองทุนโครงสร้างโทรคม
เอไอเอสขอด้วย หากกลุ่มทรูดันตั้งอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์สำเร็จ ย้ำสัญญาอยู่บนมาตรฐานเดียวกันตามกฎบีทีโอ
นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์) ในกิจการโทรคมนาคมว่า หากมีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเอกชนสามารถดึงทรัพย์สินโทรคมนาคม เสา สถานีฐาน ตามสัญญาสัมปทานสร้าง-โอน-บริการ (บีทีโอ) ไปจัดตั้งเป็นกองทุนได้บริษัทก็พร้อมดำเนินการทันที
ทั้งนี้ แผนการจัดตั้งกองทุนรวม มีแนวคิดจากกรณี บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น แสดงความจำนงต่อคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าจะจัดตั้งกองทุนดังกล่าวมูลค่าไม่ต่ำกว่า 70,000 ล้านบาท
"เราคงดูผลสรุปว่าหากทรูทำได้ แล้วในสัญญาสัมปทานที่เอไอเอสทำร่วมกับบมจ.ทีโอที ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างกัน เราก็ทำได้ ส่วนเสาสถานีฐานที่เซ็นโอนให้ทีโอทีตามบีทีโอ บริษัทสามารถเซ็นสงวนสิทธิ์การใช้งานได้ แต่สุดท้ายต้องดูว่ากลุ่มทรูทำอย่างไรกับเสาที่อยู่ในการเจรจาระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม และมีปัญหาชั้นอนุญาโตตุลาการ"
เขา กล่าวว่า สาเหตุที่เอไอเอสจะออกอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ไม่ได้หมายความว่าบริษัทมีหนี้น้อยจึงไม่จำเป็นต้องทำ แต่หากผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรมดำเนินการได้ ผู้ถือหุ้นก็ย่อมถามบอร์ดบริษัทว่าทำไมถึงไม่ดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด ได้มีหนังสือ จท.11-560068 ลงวันที่ 3 ก.ค.2555 ขอหารือกรณีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ ร่วมกับกลุ่มทรู อยู่ระหว่างดำเนินการขออนุญาตจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เรื่องดังกล่าวมีประเด็นต้องพิจารณาว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ตาม.พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 หรือไม่
หากต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจะต้องขอใบอนุญาตประเภทใด โดยสำนักงาน กสทช. ได้จัดทำระเบียบว่าการการประชุม เรื่องดังกล่าว เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการโทรคมนาคม (กทค.) แล้ว เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2556 สำนักงาน กสทช.นำเข้าบรรจุเป็นวาระจร ไม่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรอง แต่บอร์ด กทค.ยังไม่ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว
'ประวิทย์' ชงเรียก 5 ค่ายหารือร่วม
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นการดำเนินการรูปแบบใหม่ เรื่องใหม่ ที่ยังไม่เคยมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใดทำมาก่อน ดังนั้นบอร์ด กทค. และสำนักงาน กสทช. ควรเชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาด 5 บริษัท ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) บริษัท ทรูมูฟ จำกัด บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม และบริษัทกองทุนรวมทั้งหมดที่สนใจรูปแบบธุรกิจดังกล่าว เข้าหารือร่วมกัน ถึงแนวทางการจัดหารูปแบบธุรกิจ และความเป็นไปได้ว่าจะออกมาลักษณะใด
ขณะเดียวกัน ต้องหาข้อสรุป เมื่อทรูมูฟยังติดปัญหาเกี่ยวกับพันธสัญญาสัมปทานในลักษณะการสร้าง โอน บริการ หรือบีทีโอ ซึ่งก็ควรแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เรียบร้อยก่อน
ไอซีทีขอศึกษาเคลียร์ข้อกฎหมาย
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กสท และกระทรวงไอซีที ยังไม่ได้ตัดสินใจดำเนินการใด เนื่องจากต้องศึกษารายละเอียดและขั้นตอน รวมถึงประเด็นข้อกฎหมายด้วยว่า หากนำทรัพย์สินตามสัญญาบีทีโอตามที่ทรูมูฟส่งมอบคืนให้ กสท จะเข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หรือไม่
ทั้งนี้เพราะหากนำโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เสาโทรคมนาคม อุปกรณ์ตามสัญญา จะกระทบกฎหมายดังกล่าว รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยไหม ฉะนั้นเป็นเรื่องที่ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนไม่ได้ ต้องศึกษาอย่างละเอียด และรอบคอบ
แม้ว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะเปิดเสรีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. แต่ยังผูกโยงกันหลายส่วนทั้งเรื่องสัญญาสัมปทานระหว่างทรู กับทีโอที และกสท รวมถึงการเกี่ยวโยงกับไอซีทีด้วย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130807/521883/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%
AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%
B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A3%
E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8
%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E
0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1.html
TRUE ทำได้ AIS ก็ทำได้(กรณีทำกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมกับTOT)โดยส่วนที่เซ็นเสาให้TOTไปแล้วAISสามารถเซ็นสงวนใช้ได้
ประเด็นหลัก
"เราคงดูผลสรุปว่าหากทรูทำได้ แล้วในสัญญาสัมปทานที่เอไอเอสทำร่วมกับบมจ.ทีโอที ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างกัน เราก็ทำได้ ส่วนเสาสถานีฐานที่เซ็นโอนให้ทีโอทีตามบีทีโอ บริษัทสามารถเซ็นสงวนสิทธิ์การใช้งานได้ แต่สุดท้ายต้องดูว่ากลุ่มทรูทำอย่างไรกับเสาที่อยู่ในการเจรจาระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม และมีปัญหาชั้นอนุญาโตตุลาการ"
เขา กล่าวว่า สาเหตุที่เอไอเอสจะออกอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ไม่ได้หมายความว่าบริษัทมีหนี้น้อยจึงไม่จำเป็นต้องทำ แต่หากผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรมดำเนินการได้ ผู้ถือหุ้นก็ย่อมถามบอร์ดบริษัทว่าทำไมถึงไม่ดำเนินการ
______________________________________
'เอไอเอส'หวังเลียนแบบ'ทรู'ตั้งกองทุนโครงสร้างโทรคม
เอไอเอสขอด้วย หากกลุ่มทรูดันตั้งอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์สำเร็จ ย้ำสัญญาอยู่บนมาตรฐานเดียวกันตามกฎบีทีโอ
นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์) ในกิจการโทรคมนาคมว่า หากมีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าเอกชนสามารถดึงทรัพย์สินโทรคมนาคม เสา สถานีฐาน ตามสัญญาสัมปทานสร้าง-โอน-บริการ (บีทีโอ) ไปจัดตั้งเป็นกองทุนได้บริษัทก็พร้อมดำเนินการทันที
ทั้งนี้ แผนการจัดตั้งกองทุนรวม มีแนวคิดจากกรณี บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น แสดงความจำนงต่อคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าจะจัดตั้งกองทุนดังกล่าวมูลค่าไม่ต่ำกว่า 70,000 ล้านบาท
"เราคงดูผลสรุปว่าหากทรูทำได้ แล้วในสัญญาสัมปทานที่เอไอเอสทำร่วมกับบมจ.ทีโอที ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างกัน เราก็ทำได้ ส่วนเสาสถานีฐานที่เซ็นโอนให้ทีโอทีตามบีทีโอ บริษัทสามารถเซ็นสงวนสิทธิ์การใช้งานได้ แต่สุดท้ายต้องดูว่ากลุ่มทรูทำอย่างไรกับเสาที่อยู่ในการเจรจาระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม และมีปัญหาชั้นอนุญาโตตุลาการ"
เขา กล่าวว่า สาเหตุที่เอไอเอสจะออกอินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ไม่ได้หมายความว่าบริษัทมีหนี้น้อยจึงไม่จำเป็นต้องทำ แต่หากผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรมดำเนินการได้ ผู้ถือหุ้นก็ย่อมถามบอร์ดบริษัทว่าทำไมถึงไม่ดำเนินการ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่า บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด ได้มีหนังสือ จท.11-560068 ลงวันที่ 3 ก.ค.2555 ขอหารือกรณีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ ร่วมกับกลุ่มทรู อยู่ระหว่างดำเนินการขออนุญาตจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เรื่องดังกล่าวมีประเด็นต้องพิจารณาว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ตาม.พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 หรือไม่
หากต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจะต้องขอใบอนุญาตประเภทใด โดยสำนักงาน กสทช. ได้จัดทำระเบียบว่าการการประชุม เรื่องดังกล่าว เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการโทรคมนาคม (กทค.) แล้ว เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2556 สำนักงาน กสทช.นำเข้าบรรจุเป็นวาระจร ไม่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรอง แต่บอร์ด กทค.ยังไม่ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว
'ประวิทย์' ชงเรียก 5 ค่ายหารือร่วม
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นการดำเนินการรูปแบบใหม่ เรื่องใหม่ ที่ยังไม่เคยมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใดทำมาก่อน ดังนั้นบอร์ด กทค. และสำนักงาน กสทช. ควรเชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาด 5 บริษัท ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) บริษัท ทรูมูฟ จำกัด บมจ.ทีโอที บมจ.กสท โทรคมนาคม และบริษัทกองทุนรวมทั้งหมดที่สนใจรูปแบบธุรกิจดังกล่าว เข้าหารือร่วมกัน ถึงแนวทางการจัดหารูปแบบธุรกิจ และความเป็นไปได้ว่าจะออกมาลักษณะใด
ขณะเดียวกัน ต้องหาข้อสรุป เมื่อทรูมูฟยังติดปัญหาเกี่ยวกับพันธสัญญาสัมปทานในลักษณะการสร้าง โอน บริการ หรือบีทีโอ ซึ่งก็ควรแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เรียบร้อยก่อน
ไอซีทีขอศึกษาเคลียร์ข้อกฎหมาย
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กสท และกระทรวงไอซีที ยังไม่ได้ตัดสินใจดำเนินการใด เนื่องจากต้องศึกษารายละเอียดและขั้นตอน รวมถึงประเด็นข้อกฎหมายด้วยว่า หากนำทรัพย์สินตามสัญญาบีทีโอตามที่ทรูมูฟส่งมอบคืนให้ กสท จะเข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หรือไม่
ทั้งนี้เพราะหากนำโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เสาโทรคมนาคม อุปกรณ์ตามสัญญา จะกระทบกฎหมายดังกล่าว รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยไหม ฉะนั้นเป็นเรื่องที่ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนไม่ได้ ต้องศึกษาอย่างละเอียด และรอบคอบ
แม้ว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะเปิดเสรีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. แต่ยังผูกโยงกันหลายส่วนทั้งเรื่องสัญญาสัมปทานระหว่างทรู กับทีโอที และกสท รวมถึงการเกี่ยวโยงกับไอซีทีด้วย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130807/521883/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%
AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%
B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A3%
E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8
%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E
0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1.html