ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2556
นักลงทุนจำนวนมากแห่ตอบรับ “เอ็ม เค สุกี้” สนใจจองซื้อหุ้น IPO แม้มีเสียงบ่นราคาสูง ด้วยเหตุศักยภาพธุรกิจเป็นเจ้าตลาด แบรนด์/สินค้า/บริการ ประชาชนเชื่อถือ โบรกฯ เชียร์แผนลงทุนหนุนอีก 5 ปี ดันยอดขายแตะ 2.6 หมื่นล้าน จับตาแผนขยายต่างแดน พร้อมรอลุ้นภูมิต้านทานปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อลด อีกทั้งนโยบายรัฐช่วยต้นทุนบุคลากรพุ่ง
แม้จะยังไม่มีความชัดเจนด้านราคาขายหุ้นไอพีโอ (IPO) และกำหนดการเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่เป็นที่แน่ชัดว่า ภายในเดือนสิงหาคมนี้ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาเป็นสมาชิกในร่วมกับบริษัทจดทะเบียนอื่นๆ
สำหรับ บมจ.เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป ดำเนินธุรกิจหลัก คือ ร้านอาหารสุกี้ยากี้ ภายใต้แบรนด์ “เอ็ม เค” ตั้งแต่ปี 2529 และดำเนินธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ “ยาโยอิ” “ฮากาตะ” และ “เท็นจิน” ร้านอาหารไทย “ณ สยาม” และ “เลอ สยาม” และร้านกาแฟ/เบเกอรี่ “เลอ เพอทิท”
เดิมบริษัทกำหนดวันที่จะขายหุ้น คือ วันที่ 31 กรกฎาคม และ 1-2 สิงหาคม 2556 และเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันที่ 8 สิงหาคม ต่อมา บริษัทแจ้งว่า เลื่อนการเสนอขายหุ้นไอพีโอของเอ็มเคฯ ไปเป็นวันที่ 5-7 สิงหาคม และคาดว่าจะเข้าเทรดในวันที่ 15 สิงหาคม โดยราคาที่จะเสนอขายไอพีโอยังกำหนดอยู่ในช่วงราคาไว้ที่ 45-49 บาท และคาดว่าจะสรุปราคาเสนอขายอย่างเป็นทางการได้ในวันที่ 2 ส.ค. ซึ่งจะเป็นวันเซ็นสัญญาแต่งตั้งอันเดอร์ไรเตอร์
ทั้งนี้ เอ็มเค จะเสนอขายหุ้นไอพีโอ จำนวน 185.85 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท วัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปใช้ก่อสร้างโรงงานครัวกลางแห่งใหม่ สร้างสำนักงานใหม่ ขยายสาขา และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท ซึ่งมูลค่าระดมทุนคาดว่าจะอยู่ในช่วง 8.36-9.11 พันล้านบาท ถือเป็นมูลค่าระดมทุนสูงสุดของปีนี้ **...ขณะเดียวกัน แม้ยังไม่ได้กำหนดราคาขายหุ้น IPO ที่ชัดเจน แต่กลับได้รับการประเมินราคาพื้นฐานหุ้นบริษัทจากโบรกเกอร์แล้ว ซึ่งอยู่ในช่วง 65-72 บาท/หุ้น **
**ภาพรวมเงินที่ได้จากการระดมทุน ส่วนหนึ่งจะนำไปก่อสร้างโรงงานครัวกลางแห่งใหม่ ที่บางนา ประมาณ 1 พันล้านบาท รวมถึงการขยายสาขา ซึ่งปัจจุบันมีอยู่เกือบ 400 แห่ง โดยจะเปิดใหม่ตามการเติบโตของศูนย์การค้า ซึ่งเชื่อว่าภายในช่วง 2-3 ปีนี้ ศูนย์การค้ายังมีการเติบโตได้อีกมาก นอกจากนี้ ยังใช้ในการก่อสร้างสำนักงานแห่งใหม่ จำนวน 320 ล้านบาท**
ณ วันที่ 30 ก.ย.55 มีร้านอาหารเอ็ม เค สุกี้ 339 แห่งทั่วประเทศ และมีร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ 81 แห่ง ร้านอาหารไทย เลอ สยาม 2 แห่ง ร้านอาหารไทย ณ สยาม 1 แห่ง และร้านกาแฟ/เบเกอรี เลอ เพอทิท 1 แห่ง และยังมีการขายแฟรนไชส์ร้านเอ็ม เค สุกี้ ให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เวียดนาม
ทั้งนี้ จากข่าวการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ของเจ้าตลาดสุกี้ยากี้เบอร์หนึ่งของประเทศ ที่มีออกอย่างต่อเนื่อง พบว่ามีกระแสตอบรับจากนักลงทุนที่สนใจจะจองซื้อหุ้น IPO ของบริษัทจำนวนมาก เนื่องจากเชื่อมั่นในศักยภาพธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตทุกปี แม้จะมีราคาขายที่สูงก็ตาม
**และข้อมูลไฟลิ่งที่บริษัทยื่นเสนอสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่า ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจที่บริษัทรายงานนั้น ได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการร้านอาหารรายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ด้วยปริมาณสาขา 339 แห่งทั่วประเทศ แทบกล่าวว่าเหลือพื้นที่เพื่อการเปิดสาขาใหม่ของ “เอ็มเค สุกี้” ในประเทศไทยมีไม่มากแล้ว**
โดยบริษัทได้รายงานความเสี่ยงจากการเปิดสาขาใหม่ ว่า สาขาที่เปิดใหม่อาจไม่สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมาย และไม่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อเงินลงทุน ที่เฉลี่ยใช้งบปประมาณ 8-10 ล้านบาท/สาขา เพราะทำเลที่ตั้งสาขาใหม่อาจจะทับซ้อนกับสาขาเดิมที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน จนส่งผลอาจกระทบต่อยอดขาย และผลดำเนินงานในระยะยาว แต่บริษัทเชื่อว่าการศึกษาแผนงานเปิดสาขาใหม่อย่างเคร่งครัดที่มีเงื่อนไขผลตอบแทนจากการลงทุนต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะสามารถหาพื้นที่สำหรับสาขาใหม่ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งด้วยประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจกว่า 25 ปี ที่มีสินค้า และบริการเป็นที่ยอมรับ ยิ่งเป็นส่วนเสริม และการันตีคุณภาพของบริษัทได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ ด้วยแผนงานที่มีเป้าหมายเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี และต้องใช้พนักงานเฉลี่ย 30-40 คนต่อสาขา ทำให้บริษัทต้องมีพนักงานใหม่จำนวนมาก โดยปัจจุบันมีจำนวน 19,451 คน แบ่งเป็นพนักงานประจำ 72% และพนักงานชั่วคราว 28% และมีอัตราการหมุนเวียนของพนักงาน 10% ซึ่งหมายความว่าหากบริษัทไม่สามารถจัดหาพนักงานให้รองรับการเปิดสาขาใหม่ และทดแทนพนักงานที่ลาออกได้ทันเวลา อาจส่งผลกระทบต่อการบริการ และการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
**อีกทั้งการพึ่งพิงบุคลากรจำนานมากเพื่อให้ได้มาซึ่งการบริการ และความเป็นเลิศของสินค้า นั่นย่อมหมายถึงต้นทุนด้านบุคลากรของบริษัทต้องอยู่ในระดับที่สูง จากค่าจ้างรายวันและรายเดือนในระดับสูง รวมถึงสวัสดิการของพนักงานเพื่อช่วยรักษาบุคลากรของบริษัท ที่ถือเป็นกลไกสำคัญของการดำเนินธุรกิจ และที่ผ่านมา จากนโยบายประชานิยมของรัฐบาล โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท และการปรับเงินเดือนวุฒิปริญญาตรีใหม่เป็น 1.5 หมื่นบาท/เดือน ในปี 2557 นับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนด้านบุคลากรของบริษัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้ที่ผ่านมาบริษัทจะมีการปรับเพิ่มราคาอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และเพื่อยังคงรักษาระดับความสามารถทำกำไรก็ตาม**
นอกจากนี้ บริษัทยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่บริษัทไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความเสี่ยงจากโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก ไข่หวัดหมู ความเสี่ยงจากความผันผวนของวัตถุดิบ ...แต่ในส่วนความเสี่ยงที่จะไม่ได้ต่อสัญญาแฟรนไชส์ยาโยอิ เชื่อว่าเป็นเรื่องที่ยาก เพราะบริษัทมีความสัมพันธ์อันดีกับพันธมิตรญี่ปุ่น “Plenus Co.,Ltd” อีกทั้ง “ยาโยอิ” นับเป็นอีก 1 ธุรกิจของบริษัทที่มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว
โดยรวมแม้ทั้ง 2 ธุรกิจหลักของบริษัท ได้แก่ เอ็มเค สุกี้ยากี้ และยาโยอิ จะมีแนวโน้มการเติบโตที่ต่อเนื่องทุกปี แต่จากสภาพวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ก็ทำให้ทั้ง 2 ธุรกิลหลักหลีกหนีการชะลอตัวการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไม่พ้น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ติดตามภาระหนี้ภาคครัวเรือนที่เร่งตัวอยู่ในระดับสูงอย่างใกล้ชิด และเริ่มเห็นภาคครัวเรือนกำลังปรับตัว ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น สะท้อนได้จากการอุปโภคบริโภคแผ่วลง เป็น 78% และเพียงครึ่งปีแรกของปี 2556 แตะที่ระดับ 80% ซึ่งกลุ่มคนที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 1 หมื่นบาท มีระดับหนี้ต่อรายได้สูงถึง 52% มากกว่าค่ามาตรฐานควรอยู่ที่ 28-30% เท่านั้น สะท้อนว่าภาระหนี้ต่อครัวเรือนของกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางถึงบนไม่น่าเป็นห่วง แต่กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีภาระหนี้เริ่มตึงตัว ทำให้การอุปโภคจะชะลอลงตามไปด้วย และอาจเป็นปัจจัยลบกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้โตเหลือ 4% ซึ่งย่อมหมายถึงการเติบโตที่ชะลอตัวในทุกภาคธุรกิจ
**บทวิเคราะห์จาก บล.เอเซีย พลัส ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผลของ Dilution Effect จากการออกหุ้นเพิ่มทุน IPO ครั้งนี้ราว 20% จะทำให้กำไรต่อหุ้น (EPS) ของบริษัทในปี 2556 ลดลง 13% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือเท่ากับ 2.47 บาท/หุ้น แต่จะกลับมาเติบโต 16% ได้ในปี 2557 โดยคิดมูลค่าเหมาะสมสิ้นปี 2556 เท่ากับ 65 บาท/หุ้น แต่ด้วยศักยภาพการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว จากแผนขยายสาขาใหม่ต่อเนื่อง และให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเกือบ 40% ประเมินว่าจะหนุนให้บริษัทโดดเด่นเหนือผู้ประกอบการรายอื่น ด้วยอัตรากำไรสุทธิสูงเฉลี่ย 14-16%***
และจากเป้าแผนการเพิ่มจำนวนสาขาใหม่ปีละ 65 สาขา พร้อมกับการก่อสร้างครัวกลางแห่งใหม่ จะช่วยเพิ่มกำลังการผลิต และเพิ่มยอดขายของบริษัทได้อีกเท่าตัวภายใน 5 ปีข้างหน้า หรือขึ้นไปสู่ระดับ 2.6 หมื่นล้านบาท ในปี 2560 จากปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยมีแรงสนับสนุนจากรายได้ต่อครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น หลังมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และปรับเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดความนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน
**เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ...นับว่าการเติบโตของ บมจ.เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป ต่อจากนี้ เป็นสิ่งที่น่าจับตา ว่าแนวโน้มการเติบโตของยอดขายทั้งร้านสุกี้ยากี้ และร้านอาหารญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นสวนกระแสการปรับตัวลดลงของจีดีพีประเทศได้มากน้อยแค่ไหน และจะเป็นไปในลักษณะใด ทั้งแบบเติบโตลดลง, เติบโตเพิ่มขึ้น หรือใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา จากการอุปโภคที่ชะลอตัว แต่ได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายรัฐ
ขณะที่เม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุนจำนวนมหาศาล แต่มีการใช้ลงทุนจริงในปีนี้ประมาณ 1 ใน 3 นั้น บริษัทจะทำอย่างไรกับเงินที่มีเหลือจำนวนมาก และเกินพอที่จะชำระหนี้เหล่านี้ ซึ่งที่น่าสนใจคือแผนการขยายสาขาไปต่างประเทศ โดยเฉพาะการรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)**
แต่หากพูดถึงสไตล์การลงทุนอย่างกูรูระดับโลกอย่าง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ก็ต้องบอกว่า เอ็ม เคฯ คืออีกบริษัทที่มีสเปกตรงใจ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีความจำเป็น หรือตอบสนองความต้องการ อีกทั้งเป็นผู้นำตลาด และไม่มีคู่แข่งที่ใกล้เคียง และสามารถขึ้นราคาสินค้า หรือบริการได้อย่างอิสระ เพียงแต่ค้านกันตรงที่ว่า...ในสเปกของบัฟเฟตต์นั้น ธุรกิจที่น่าสนใจต้องเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องการเงินลงทุนที่มากเกินไป
นักลงทุนแห่ตอบรับ “เอ็ม เค สุกี้” สนใจจองซื้อ IPO แม้มีเสียงบ่นราคาสูง
นักลงทุนจำนวนมากแห่ตอบรับ “เอ็ม เค สุกี้” สนใจจองซื้อหุ้น IPO แม้มีเสียงบ่นราคาสูง ด้วยเหตุศักยภาพธุรกิจเป็นเจ้าตลาด แบรนด์/สินค้า/บริการ ประชาชนเชื่อถือ โบรกฯ เชียร์แผนลงทุนหนุนอีก 5 ปี ดันยอดขายแตะ 2.6 หมื่นล้าน จับตาแผนขยายต่างแดน พร้อมรอลุ้นภูมิต้านทานปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อลด อีกทั้งนโยบายรัฐช่วยต้นทุนบุคลากรพุ่ง
แม้จะยังไม่มีความชัดเจนด้านราคาขายหุ้นไอพีโอ (IPO) และกำหนดการเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่เป็นที่แน่ชัดว่า ภายในเดือนสิงหาคมนี้ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาเป็นสมาชิกในร่วมกับบริษัทจดทะเบียนอื่นๆ
สำหรับ บมจ.เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป ดำเนินธุรกิจหลัก คือ ร้านอาหารสุกี้ยากี้ ภายใต้แบรนด์ “เอ็ม เค” ตั้งแต่ปี 2529 และดำเนินธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ “ยาโยอิ” “ฮากาตะ” และ “เท็นจิน” ร้านอาหารไทย “ณ สยาม” และ “เลอ สยาม” และร้านกาแฟ/เบเกอรี่ “เลอ เพอทิท”
เดิมบริษัทกำหนดวันที่จะขายหุ้น คือ วันที่ 31 กรกฎาคม และ 1-2 สิงหาคม 2556 และเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันที่ 8 สิงหาคม ต่อมา บริษัทแจ้งว่า เลื่อนการเสนอขายหุ้นไอพีโอของเอ็มเคฯ ไปเป็นวันที่ 5-7 สิงหาคม และคาดว่าจะเข้าเทรดในวันที่ 15 สิงหาคม โดยราคาที่จะเสนอขายไอพีโอยังกำหนดอยู่ในช่วงราคาไว้ที่ 45-49 บาท และคาดว่าจะสรุปราคาเสนอขายอย่างเป็นทางการได้ในวันที่ 2 ส.ค. ซึ่งจะเป็นวันเซ็นสัญญาแต่งตั้งอันเดอร์ไรเตอร์
ทั้งนี้ เอ็มเค จะเสนอขายหุ้นไอพีโอ จำนวน 185.85 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท วัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปใช้ก่อสร้างโรงงานครัวกลางแห่งใหม่ สร้างสำนักงานใหม่ ขยายสาขา และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท ซึ่งมูลค่าระดมทุนคาดว่าจะอยู่ในช่วง 8.36-9.11 พันล้านบาท ถือเป็นมูลค่าระดมทุนสูงสุดของปีนี้ **...ขณะเดียวกัน แม้ยังไม่ได้กำหนดราคาขายหุ้น IPO ที่ชัดเจน แต่กลับได้รับการประเมินราคาพื้นฐานหุ้นบริษัทจากโบรกเกอร์แล้ว ซึ่งอยู่ในช่วง 65-72 บาท/หุ้น **
**ภาพรวมเงินที่ได้จากการระดมทุน ส่วนหนึ่งจะนำไปก่อสร้างโรงงานครัวกลางแห่งใหม่ ที่บางนา ประมาณ 1 พันล้านบาท รวมถึงการขยายสาขา ซึ่งปัจจุบันมีอยู่เกือบ 400 แห่ง โดยจะเปิดใหม่ตามการเติบโตของศูนย์การค้า ซึ่งเชื่อว่าภายในช่วง 2-3 ปีนี้ ศูนย์การค้ายังมีการเติบโตได้อีกมาก นอกจากนี้ ยังใช้ในการก่อสร้างสำนักงานแห่งใหม่ จำนวน 320 ล้านบาท**
ณ วันที่ 30 ก.ย.55 มีร้านอาหารเอ็ม เค สุกี้ 339 แห่งทั่วประเทศ และมีร้านอาหารญี่ปุ่นยาโยอิ 81 แห่ง ร้านอาหารไทย เลอ สยาม 2 แห่ง ร้านอาหารไทย ณ สยาม 1 แห่ง และร้านกาแฟ/เบเกอรี เลอ เพอทิท 1 แห่ง และยังมีการขายแฟรนไชส์ร้านเอ็ม เค สุกี้ ให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เวียดนาม
ทั้งนี้ จากข่าวการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ของเจ้าตลาดสุกี้ยากี้เบอร์หนึ่งของประเทศ ที่มีออกอย่างต่อเนื่อง พบว่ามีกระแสตอบรับจากนักลงทุนที่สนใจจะจองซื้อหุ้น IPO ของบริษัทจำนวนมาก เนื่องจากเชื่อมั่นในศักยภาพธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตทุกปี แม้จะมีราคาขายที่สูงก็ตาม
**และข้อมูลไฟลิ่งที่บริษัทยื่นเสนอสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่า ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจที่บริษัทรายงานนั้น ได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการร้านอาหารรายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ด้วยปริมาณสาขา 339 แห่งทั่วประเทศ แทบกล่าวว่าเหลือพื้นที่เพื่อการเปิดสาขาใหม่ของ “เอ็มเค สุกี้” ในประเทศไทยมีไม่มากแล้ว**
โดยบริษัทได้รายงานความเสี่ยงจากการเปิดสาขาใหม่ ว่า สาขาที่เปิดใหม่อาจไม่สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมาย และไม่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อเงินลงทุน ที่เฉลี่ยใช้งบปประมาณ 8-10 ล้านบาท/สาขา เพราะทำเลที่ตั้งสาขาใหม่อาจจะทับซ้อนกับสาขาเดิมที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน จนส่งผลอาจกระทบต่อยอดขาย และผลดำเนินงานในระยะยาว แต่บริษัทเชื่อว่าการศึกษาแผนงานเปิดสาขาใหม่อย่างเคร่งครัดที่มีเงื่อนไขผลตอบแทนจากการลงทุนต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะสามารถหาพื้นที่สำหรับสาขาใหม่ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งด้วยประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจกว่า 25 ปี ที่มีสินค้า และบริการเป็นที่ยอมรับ ยิ่งเป็นส่วนเสริม และการันตีคุณภาพของบริษัทได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ ด้วยแผนงานที่มีเป้าหมายเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี และต้องใช้พนักงานเฉลี่ย 30-40 คนต่อสาขา ทำให้บริษัทต้องมีพนักงานใหม่จำนวนมาก โดยปัจจุบันมีจำนวน 19,451 คน แบ่งเป็นพนักงานประจำ 72% และพนักงานชั่วคราว 28% และมีอัตราการหมุนเวียนของพนักงาน 10% ซึ่งหมายความว่าหากบริษัทไม่สามารถจัดหาพนักงานให้รองรับการเปิดสาขาใหม่ และทดแทนพนักงานที่ลาออกได้ทันเวลา อาจส่งผลกระทบต่อการบริการ และการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
**อีกทั้งการพึ่งพิงบุคลากรจำนานมากเพื่อให้ได้มาซึ่งการบริการ และความเป็นเลิศของสินค้า นั่นย่อมหมายถึงต้นทุนด้านบุคลากรของบริษัทต้องอยู่ในระดับที่สูง จากค่าจ้างรายวันและรายเดือนในระดับสูง รวมถึงสวัสดิการของพนักงานเพื่อช่วยรักษาบุคลากรของบริษัท ที่ถือเป็นกลไกสำคัญของการดำเนินธุรกิจ และที่ผ่านมา จากนโยบายประชานิยมของรัฐบาล โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท และการปรับเงินเดือนวุฒิปริญญาตรีใหม่เป็น 1.5 หมื่นบาท/เดือน ในปี 2557 นับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนด้านบุคลากรของบริษัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แม้ที่ผ่านมาบริษัทจะมีการปรับเพิ่มราคาอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และเพื่อยังคงรักษาระดับความสามารถทำกำไรก็ตาม**
นอกจากนี้ บริษัทยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่บริษัทไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความเสี่ยงจากโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก ไข่หวัดหมู ความเสี่ยงจากความผันผวนของวัตถุดิบ ...แต่ในส่วนความเสี่ยงที่จะไม่ได้ต่อสัญญาแฟรนไชส์ยาโยอิ เชื่อว่าเป็นเรื่องที่ยาก เพราะบริษัทมีความสัมพันธ์อันดีกับพันธมิตรญี่ปุ่น “Plenus Co.,Ltd” อีกทั้ง “ยาโยอิ” นับเป็นอีก 1 ธุรกิจของบริษัทที่มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว
โดยรวมแม้ทั้ง 2 ธุรกิจหลักของบริษัท ได้แก่ เอ็มเค สุกี้ยากี้ และยาโยอิ จะมีแนวโน้มการเติบโตที่ต่อเนื่องทุกปี แต่จากสภาพวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ก็ทำให้ทั้ง 2 ธุรกิลหลักหลีกหนีการชะลอตัวการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไม่พ้น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ติดตามภาระหนี้ภาคครัวเรือนที่เร่งตัวอยู่ในระดับสูงอย่างใกล้ชิด และเริ่มเห็นภาคครัวเรือนกำลังปรับตัว ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น สะท้อนได้จากการอุปโภคบริโภคแผ่วลง เป็น 78% และเพียงครึ่งปีแรกของปี 2556 แตะที่ระดับ 80% ซึ่งกลุ่มคนที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 1 หมื่นบาท มีระดับหนี้ต่อรายได้สูงถึง 52% มากกว่าค่ามาตรฐานควรอยู่ที่ 28-30% เท่านั้น สะท้อนว่าภาระหนี้ต่อครัวเรือนของกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางถึงบนไม่น่าเป็นห่วง แต่กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีภาระหนี้เริ่มตึงตัว ทำให้การอุปโภคจะชะลอลงตามไปด้วย และอาจเป็นปัจจัยลบกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้โตเหลือ 4% ซึ่งย่อมหมายถึงการเติบโตที่ชะลอตัวในทุกภาคธุรกิจ
**บทวิเคราะห์จาก บล.เอเซีย พลัส ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผลของ Dilution Effect จากการออกหุ้นเพิ่มทุน IPO ครั้งนี้ราว 20% จะทำให้กำไรต่อหุ้น (EPS) ของบริษัทในปี 2556 ลดลง 13% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือเท่ากับ 2.47 บาท/หุ้น แต่จะกลับมาเติบโต 16% ได้ในปี 2557 โดยคิดมูลค่าเหมาะสมสิ้นปี 2556 เท่ากับ 65 บาท/หุ้น แต่ด้วยศักยภาพการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว จากแผนขยายสาขาใหม่ต่อเนื่อง และให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเกือบ 40% ประเมินว่าจะหนุนให้บริษัทโดดเด่นเหนือผู้ประกอบการรายอื่น ด้วยอัตรากำไรสุทธิสูงเฉลี่ย 14-16%***
และจากเป้าแผนการเพิ่มจำนวนสาขาใหม่ปีละ 65 สาขา พร้อมกับการก่อสร้างครัวกลางแห่งใหม่ จะช่วยเพิ่มกำลังการผลิต และเพิ่มยอดขายของบริษัทได้อีกเท่าตัวภายใน 5 ปีข้างหน้า หรือขึ้นไปสู่ระดับ 2.6 หมื่นล้านบาท ในปี 2560 จากปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยมีแรงสนับสนุนจากรายได้ต่อครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น หลังมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และปรับเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดความนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน
**เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ...นับว่าการเติบโตของ บมจ.เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป ต่อจากนี้ เป็นสิ่งที่น่าจับตา ว่าแนวโน้มการเติบโตของยอดขายทั้งร้านสุกี้ยากี้ และร้านอาหารญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นสวนกระแสการปรับตัวลดลงของจีดีพีประเทศได้มากน้อยแค่ไหน และจะเป็นไปในลักษณะใด ทั้งแบบเติบโตลดลง, เติบโตเพิ่มขึ้น หรือใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา จากการอุปโภคที่ชะลอตัว แต่ได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายรัฐ
ขณะที่เม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุนจำนวนมหาศาล แต่มีการใช้ลงทุนจริงในปีนี้ประมาณ 1 ใน 3 นั้น บริษัทจะทำอย่างไรกับเงินที่มีเหลือจำนวนมาก และเกินพอที่จะชำระหนี้เหล่านี้ ซึ่งที่น่าสนใจคือแผนการขยายสาขาไปต่างประเทศ โดยเฉพาะการรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)**
แต่หากพูดถึงสไตล์การลงทุนอย่างกูรูระดับโลกอย่าง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ก็ต้องบอกว่า เอ็ม เคฯ คืออีกบริษัทที่มีสเปกตรงใจ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีความจำเป็น หรือตอบสนองความต้องการ อีกทั้งเป็นผู้นำตลาด และไม่มีคู่แข่งที่ใกล้เคียง และสามารถขึ้นราคาสินค้า หรือบริการได้อย่างอิสระ เพียงแต่ค้านกันตรงที่ว่า...ในสเปกของบัฟเฟตต์นั้น ธุรกิจที่น่าสนใจต้องเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องการเงินลงทุนที่มากเกินไป