...การปิดวาจา พระพุทธเจ้าทรงติเตียนเพราะคือ มูควัตร...
การอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์ตามพระพุทธานุญาต ตลอดไตรมาสถ้วนสามเดือน คือนับตั้งต้นจากวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นต้นมา ครบถ้วน 3 เดือน จนในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ฉะนั้น วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จึงเป็นวันปวารณา พึงเข้าใจไว้ว่าถึงแม้ว่าวันนี้จะเป็นวันปวารณาเพื่อออกพรรษาก็จริง แต่พระสงฆ์จะไปแรมคืนที่อื่นในวันนี้ยังไม่ได้ ต้องอยู่ต่อไปในวัดที่ตนอธิษฐานพรรษาไว้นั้น จนตลอดคืนนั้นเสียก่อน ต่อรุ่งขึ้นแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงออกจาริกไปแรมคืนที่อื่นได้ ไม่เช่นนั้นการจำพรรษาจะไม่ครบ 3 เดือน พรรษาขาดด้วยเหตุนี้ วันออกพรรษาจริงๆ คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
“วันปวารณา” หรือวันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเกี่ยวกับพิธีสงฆ์ กล่าวคือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทำปวารณา แทนอุโบสถสังฆกรรม คือตามปกติจะต้องสวดปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ทุกวันอุโบสถ คือสวดเป็นประจำปักษ์หรือทุกกึ่งเดือน แต่เฉพาะวันนี้ไม่ต้องสวดปาติโมกข์ ทรงอนุญาตให้ทำปวารณาแทน
ปวารณานี้เป็นพิธีกรรมของสงฆ์อย่างหนึ่ง เป็นการกล่าวประกาศในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อเปิดโอกาสให้สงฆ์กล่าวตักเตือนกันได้ ในเมื่อเห็นความผิดพลั้งไม่ดีไม่งามของกันและกัน ทั้งพระผู้ใหญ่และพระ ผู้น้อย ต่างก็ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ทั้งนั้น วิธีนี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้ามิได้ถือบุคคลเป็นใหญ่ แต่พระองค์ถือธรรม คือ ความถูกความควรเป็นสำคัญ เมื่อเห็นความไม่ดีไม่งามของกันและกันแล้ว ก็อนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทั้งนี้ก็เพื่อความบริสุทธิ์ของกันและกันในหมู่คณะสงฆ์
มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ทำปวารณา คือ สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหารเมืองสาวัตถี มีพระภิกษุพวกหนึ่ง จำนวนหลายรูปด้วยกันจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ประสงค์จะป้องกันความวิวาทไม่ให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน จึงได้ตั้งกติกาสัญญาว่า จะไม่พูดจากัน แม้ใครมีกิจอย่างไรต่างก็ทำกิจตามหน้าที่ของตนโดยจะไม่พูดกันเลย วิธีนี้เรียกว่า “
มูควัตร” คือ
ปฏิบัติเหมือนคนใบ้ ภิกษุเหล่านี้ปฏิบัติอย่างนี้ตลอดพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วก็พากันมาเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลมูควัตรที่ตนปฎิบัติให้ทราบทุกประการ พระพุทธองค์ทรงตำหนิว่า
“ความประพฤติของพวกเธอเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ธรรมดาว่าสัตว์เดียรัจฉานนั้น ถึงจะอยู่ด้วยกันก็ไม่ถามถึงทุกข์สุขของกันและกัน อาการของพวกเธอก็เหมือนฉันนั้น”
แล้วตรัสห้ามภิกษุมิให้ปฏิบัติเช่นนั้นอีกต่อไป ถ้าขืนปฏิบัติปรับโทษเป็นอาบัติทุกกฎ แล้วทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ทำปวารณาแก่กันและกัน คือ ว่ากล่าวติโทษข้อผิดพลาดตามที่ได้เห็นหรือได้ยิน หรือรู้สึกรังเกียจนี้เป็นมูลเหตุที่พระสงฆ์ทำปวารณา
ที่มาข้อมูลจาก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=26966
การปิดวาจา พระพุทธเจ้าทรงติเตียนเพราะคือ มูควัตร
...การปิดวาจา พระพุทธเจ้าทรงติเตียนเพราะคือ มูควัตร...
การอยู่จำพรรษาของพระสงฆ์ตามพระพุทธานุญาต ตลอดไตรมาสถ้วนสามเดือน คือนับตั้งต้นจากวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นต้นมา ครบถ้วน 3 เดือน จนในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ฉะนั้น วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จึงเป็นวันปวารณา พึงเข้าใจไว้ว่าถึงแม้ว่าวันนี้จะเป็นวันปวารณาเพื่อออกพรรษาก็จริง แต่พระสงฆ์จะไปแรมคืนที่อื่นในวันนี้ยังไม่ได้ ต้องอยู่ต่อไปในวัดที่ตนอธิษฐานพรรษาไว้นั้น จนตลอดคืนนั้นเสียก่อน ต่อรุ่งขึ้นแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงออกจาริกไปแรมคืนที่อื่นได้ ไม่เช่นนั้นการจำพรรษาจะไม่ครบ 3 เดือน พรรษาขาดด้วยเหตุนี้ วันออกพรรษาจริงๆ คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
“วันปวารณา” หรือวันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเกี่ยวกับพิธีสงฆ์ กล่าวคือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทำปวารณา แทนอุโบสถสังฆกรรม คือตามปกติจะต้องสวดปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ทุกวันอุโบสถ คือสวดเป็นประจำปักษ์หรือทุกกึ่งเดือน แต่เฉพาะวันนี้ไม่ต้องสวดปาติโมกข์ ทรงอนุญาตให้ทำปวารณาแทน
ปวารณานี้เป็นพิธีกรรมของสงฆ์อย่างหนึ่ง เป็นการกล่าวประกาศในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อเปิดโอกาสให้สงฆ์กล่าวตักเตือนกันได้ ในเมื่อเห็นความผิดพลั้งไม่ดีไม่งามของกันและกัน ทั้งพระผู้ใหญ่และพระ ผู้น้อย ต่างก็ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ทั้งนั้น วิธีนี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้ามิได้ถือบุคคลเป็นใหญ่ แต่พระองค์ถือธรรม คือ ความถูกความควรเป็นสำคัญ เมื่อเห็นความไม่ดีไม่งามของกันและกันแล้ว ก็อนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทั้งนี้ก็เพื่อความบริสุทธิ์ของกันและกันในหมู่คณะสงฆ์
มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ทำปวารณา คือ สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหารเมืองสาวัตถี มีพระภิกษุพวกหนึ่ง จำนวนหลายรูปด้วยกันจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล ประสงค์จะป้องกันความวิวาทไม่ให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน จึงได้ตั้งกติกาสัญญาว่า จะไม่พูดจากัน แม้ใครมีกิจอย่างไรต่างก็ทำกิจตามหน้าที่ของตนโดยจะไม่พูดกันเลย วิธีนี้เรียกว่า “มูควัตร” คือปฏิบัติเหมือนคนใบ้ ภิกษุเหล่านี้ปฏิบัติอย่างนี้ตลอดพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วก็พากันมาเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลมูควัตรที่ตนปฎิบัติให้ทราบทุกประการ พระพุทธองค์ทรงตำหนิว่า “ความประพฤติของพวกเธอเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ธรรมดาว่าสัตว์เดียรัจฉานนั้น ถึงจะอยู่ด้วยกันก็ไม่ถามถึงทุกข์สุขของกันและกัน อาการของพวกเธอก็เหมือนฉันนั้น”
แล้วตรัสห้ามภิกษุมิให้ปฏิบัติเช่นนั้นอีกต่อไป ถ้าขืนปฏิบัติปรับโทษเป็นอาบัติทุกกฎ แล้วทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ทำปวารณาแก่กันและกัน คือ ว่ากล่าวติโทษข้อผิดพลาดตามที่ได้เห็นหรือได้ยิน หรือรู้สึกรังเกียจนี้เป็นมูลเหตุที่พระสงฆ์ทำปวารณา
ที่มาข้อมูลจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=26966