@- ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ [ที่๑๙-เสาร์นี้] คือวันออกพรรษา-คือวันมหาปวารณา ~&~ พระสงฆ์ แสดงความเคารพต่อกันอย่างไร ?

“สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ”
๚:๛ ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์
ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม  ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย
เมื่อกระผมมองเห็นแล้วจักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี
ฯ:๛

เทศน์วันพระ (๑)  ๑๒ ต.ค. ๕๖ หลวงปู่เมือง พลวัฑโฒ  วัดป่ามัชฌิมาวาส บ้านดงเมือง~กาฬสินธุ์.

            "วันพระหน้าก็จะออกพรรษาแล้ว เป็นวันมหาปวารณาแทนปาฏิโมกข์   ถ้าวันพระปกติก็เป็นวันอุโบสถลงปาฏิโมกข์ วันพระที่ออกพรรษาก็ใช้วันปวารณาแทน พระสงฆ์ก็จะมารวมกันเหมือนวันเข้าพรรษเลย
            นี้ก็เป็นสิ่งที่ให้เรามองเห็นแล้วว่า เวลาหรือชีวิตมันไม่คงที่ มันเคลื่อน มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มันไม่คงที่

            ที่มันไม่คงที่มันแปรเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้ภาษาทางพระเรียก อนิจจัง ดูเหมือนว่ามันไม่มีความสำคัญอะไรต่อชีวิตของเราอย่างนั้นแหละ ...ถ้าหากไม่พิจารณาก็จะถือว่าเป็นธรรมดา

แต่ธรรมดาของปุถุชน กับ ธรรมดาของพระอริยเจ้า มันต่างกัน ...ฯ:๛

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ธรรมดาของปุถุชนก็เห็นเป็นธรรมดาๆ  เคลือบแฝงไปด้วยความประมาทนอนใจ
แต่ธรรมดาของพระอริยเจ้าท่านจะเห็นโดยแจ่มแจ้งด้วยปัญญาของท่าน
มันเป็นธรรมอันนั้น เห็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเกิดความสลดสังเวช
คือมันแปรเปลี่ยนไปในทางที่จะสลาย ที่จะดับ ที่จะสิ้นไป เสื่อมสิ้นไป หรือสูญไป ฯ:๛

            สามเดือนแป็บเดียวก็จะหมดแล้ว เหลือวันพระเดียว อาทิตย์หน้าก็ไกล้แล้วเป็นวันออกพรรษาแล้ว
มันสิ้นไปหมดไป ก็ของเก่านั่นแหละมันเวียนวนกลับไปกลับมาเป็น วัฏฏจักร เรียกว่า สังสารวัฏ มันหมุนเวียนอยู่อย่างนี้
            สังสารวัฏ อาการสังสารวัฏที่หมุนเวียนไปมาอันประกอบไปด้วย ไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่คงทนไม่ถาวร ไม่จีรังยั่งยืน เป็นทุกข์...:

note : วันออกพรรษา
            วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา  คือวันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา ๓ เดือน (นับตั้งแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา”
            คำว่า “ปวารณา ” แปลว่า “อนุญาต ” หรือ “ยอมให้ ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา
            เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข
            การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย.



credit : สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://www.lib.ru.ac.th/journal/oct/oct_EndBuddhitLent.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่