สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิก
กระทู้นี้ก็จะขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ เรื่องของ อันตคาหิกทิฏฐิ ๑๐
คือชุดคำถามเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด ที่พระพุทธองค์ทรงไม่พยากรณ์นะครับ
----------------------------------------------------------------------------------
โดยปกติชาวพุทธเรา ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็ย่อมเข้าใจกันดีว่า
กฏแห่งกรรม มีจริง การเวียนว่ายตายเกิดมีจริง ดังตัวอย่างที่ทรงแสดงไว้ว่า
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน
เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต ฯ [1]
ตรงนี้ เป็นคำสอนที่ทุกๆท่านคงจะเคยได้ยิน เคยได้ฟังมาอยู่แล้ว และคงไม่มีอะไรต้องสงสัย
แต่ในบางครั้ง ท่านอาจจะเจอคนบางคนกล่าวว่า
"พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงตรัสพยากรณ์ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกบ้าง"
ที่นี้ ย่อมเกิดความสับสนขึ้นมาว่า เอ ยังไงกันแน่ !?
ทรงตรัสว่า เมื่อทำปาณาติบาตไว้ จักต้องเกิดในทุคติภูมิ หรือไม่ก็เกิดเป็นมนุษย์มีอายุสั้น
แต่ภายหลังเมื่อถูกถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกบ้างไหม กลับไม่ทรงพยากรณ์
------------------------------------------------------------
จะขออธิบายเป็นลำดับไปดังนี้นะครับ
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๑. ในศาสนาพุทธนั้น เราเห็นอยู่ว่า สัตว์ บุคคล นั้นเป็นเพียงสมมติสัจจะ
[2]
เพื่อสื่อถึงปรมัตถสัจจะ คือ กระแสความเป็นไปของรูปนามขันธ์ ๕ ในภพชาติหนึ่งๆ
ที่ประกอบด้วยไตรลักษณ์ มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป อยู่ทุกขณะ
ดังนั้น ในเวลาที่ พระพุทธองค์ ทรงแสดงเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิดนั้น
ทรงกล่าวถึง สัตว์บุคคลโดยความเป็นสมมติสัจจะ นั่นเอง
คือไม่ได้เห็นว่า มีสัตว์โดยความเป็นอัตตา
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๒. ส่วน ปริพาชกภายนอกศาสนานั้น เมื่อเห็นว่ามี สัตว์บุคคล ไปเกิดใหม่
ก็จะเห็นโดยความเป็นอัตตา (เช่นอย่างในหนังที่เราเห็นว่ามีวิญญาณล่องลอยออกจากร่าง เป็นต้น)
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๓. มาถึงปัญหาที่ว่า ทำไมพระพุทธเจ้า ทรงไม่พยากรณ์
ที่จริงแล้ว เรื่อง การเวียนว่ายตายเกิดที่ทรงไม่พยากรณ์นั้น จะมาเป็นชุดคำถาม
อย่างเช่น
ชุดคำถาม อันตคาหิกทิฏฐิ ๑๐ ข้อ คือ
"ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสมณโคดม เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ไม่ทรงพยากรณ์[3]
อย่างนี้ว่า"
1 โลกเที่ยงก็ดี
2 โลกไม่เที่ยงก็ดี
3 โลกมีที่สุดก็ดี
4 โลกไม่มีที่สุดก็ดี
5 ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี
6 ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นก็ดี
7 สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี
8 สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี
9 สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี
10 สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ
สาเหตุที่ทรงไม่ตอบพยากรณ์ในชุดคำถามนี้ ที่อธิบายไว้ลึกสุด
ก็จะอยู่ใน สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค - โมคคัลลานสูตร นี้เอง คือ
พ. ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็นจักษุว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อม
ตามเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่น
เป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้น
แล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม
เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมทรงพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณาเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น
เมื่อตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ[3]
จากพระพุทธพจน์ บทนี้เอง ทำให้เราทราบว่า
การถามเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของปริพาชก ในชุดคำถาม ๑๐ นี้
ถามโดยความเป็น "อัตตา" นั่นเอง คือแม้จะเห็น ตา หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ
ก็เห็นโดยความเป็น เรา เป็นอัตตา
ส่วน ในศาสนาพุทธนั้น ตะเห็น ตา หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ โดยความเป็นอนัตตา
แม้ ที่ทรงเรียกว่า สัตว์ บุคคล นั้นก็เป็นเพียง สมมติที่สื่อถึงสภาพธรรม โดยไม่มีอัตตาใดๆภายในเลย
นอกจากนี้ จากการศึกษา พระอรรถกถา เรื่องอันตคาหิกทิฏฐิ[4]
ทำให้ทราบว่า ปริพาชก เหล่านี้ ถามคำถามมาเป็นชุด
โดยเป็นลักษณะคำถามสุดโต่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ เป็นการถามด้วยทิฏฐิอันถือเอาที่สุด
ตามอาการในวาระที่หนึ่ง - ถือเอาตามอาการในวาระที่สอง - กล่าวแก้อาการในวาระที่สาม.
เช่น ถามว่า สัตว์ตายเกิดต้องเกิด(โดยเป็นอัตตา) ใช่ไหม
ถ้าไม่ใช่ แล้ว สัตว์ตายแล้วก็สูญไป ใช่ไหม
ถ้าไม่ใช่ แล้ว บางพวกต้องเกิด(เห็นโดยอัตตา) บางพวกตายแล้วสูญ ใช่ไหม
ถ้าไม่ใช่ แล้ว ดังนั้นก็ไม่ใช่ทั้งสองใช่ไหม (เป็นความเห็นแบบ ซัดซ่าย เรียก อมราวิกเขปิกทิฏฐิ)
ดังนั้น ด้วยความที่ปริพาชกเหล่านี้ ไม่รู้ในพระไตรลักษณ์ และเหตุปัจจัย ความเป็นไปของรูปนามที่เกิดดับตลอดเวลาอยู่นั้นเอง
ประกอบกับ ถามไล่มาเป็นชุดเพื่อให้เข้ากับ มิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นการเห็นสัตว์บุคคลไปเกิดใหม่โดยเป็นอัตตา นี้เอง
พระพุทธองค์ จึงทรงไม่พยากรณ์ เพราะ คิดไปก็มีส่วนแห่งความเป็นบ้าหรือทำให้ฟุ้งซ่าน
และเพราะความคิดนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นเพื่อนิพพาน
แต่ทรงสอนให้กระทำความเพียรให้รู้จริงในเรื่อง ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางดับทุกข์
เพราะความคิดนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... เพื่อนิพพาน
[5]
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๔. ส่วนคำสอนภายในพุทธศาสนา ที่เห็น สัตว์ บุคคล โดยไม่ได้เห็นเป็นอัตตา นั้น
ย่อมมีการแสดงหลักการเวียนว่ายตายเกิดแน่นอน ดังที่ได้ยกพระพุทธพจน์เรื่อง
ผลแห่งปาณาติบาต ว่า หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น
[1]
เป็นตัวอย่างมาแสดงให้ดูไว้แล้ว
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๕. พระพุทธศาสนา นั้นสอนลึกไปถึง สภาวะแห่งความสัมพันธ์ของรูปนาม
ว่า มีความเกี่ยวข้องโยงใยอย่างไร ทั้งในระหว่างภพชาติ และในภพชาติถัดไป
คำสอนที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ก็คือ เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยการนั่นเอง
ในเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาทนั้น ทรงแสดงไว้อยู่สองนัย
- นัยหนึ่ง จะเป็นปัจจยาการที่เกิดขึ้น ในหนึ่งขณะจิต เรียก อภิธรรมภาชนียนัย เช่นในอ้างอิง [6]
นัยนี้ ก็จะเกิดขึ้นเรื่อยๆอยู่ในทุกขณะจิต ระหว่างที่เรามีชีวิตดำเนินไป
- อีกนัยหนึ่ง จะเป็นปัจจยาการความสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้น ในความเป็นไปหลายขณะจิต เรียก ปฏิจจฯ-สุตตันตภาชนียนัย
[7], [8]
หากท่านเข้าไปดูตามหมายเลขอ้างอิง ก็จะเห็นว่า เมื่อกล่าวถึง ชาติ ชรา มรณะ
นัยแรกจะเป็นการแสดงถึง การเกิดขึ้น แปรไป ดับลง ของ จิตในแต่ละขณะ ดังเช่น
"ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุ แห่งธรรมเหล่านั้น
อันใด นี้เรียกว่า ชรา"
[6]
ส่วนนัยที่สองจะเป็นการแสดงถึง อาการเกิด อาการแก่ ของ (สมมติสัจจะของ) สัตว์ บุคคล ดังเช่น
"ความหยั่งลง ๑- เกิด ๒- เกิด จำเพาะ ๓- ความปรากฏแห่งขันธ์
ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ"
@๑. คือเป็นชลาพุชะหรืออัณฑชปฏิสนธิ ๒. คือเป็นสังเสทชปฏิสนธิ
๓. คือเป็น@อุปปาติกปฏิสนธิ ฯ
"ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ
ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา"[7], [8]
นัยที่สองนี้ เป็นการแสดงถึง ความสัมพันธ์ของรูปนาม ทั้งในระหว่างชาตินี้ และชาติต่อๆไปได้
นี้จึงเป็น การแสดงครอบคลุมถึงเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันมีแต่ในบวรพุทธศาสนานี้เท่านั้น
ที่แสดงโดยสภาพความเป็นปรมัตถ์ธรรม ประกอบด้วยพระไตรลักษณ์ เหตุปัจจัยของรูปนาม
และสอดคล้องลงกันกับ หลักกฏแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด โดยมิได้เห็นสัตว์ บุคคล โดยความเป็นอัตตา
เหมือนดังลัทธิภายนอกพระศาสนา
จึงถือเป็นความน่าอัศจรรย์อย่างหนึ่ง ของคำสอนในพระพุทธศาสนานั่นเอง
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๖. ศาสนาพุทธ นั้นเน้นสอนในเรื่อง ของ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางให้ถึงความดับทุกข์
ทุกข์นั้น ทรงสอนไว้อย่างละเอียดกว้างขวาง คือ
-
แม้ความเวียนว่ายตายเกิด ก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง [9]
(ไม่ได้สอนให้ปฏิเสธเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด)
- แม้ สุขเวทนา ก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง เพราะต้องหมดไปเปลี่ยนไป
และต้องสรรหาไม่หยุดหย่อน (เรียก วิปริณามทุกข์)
- แม้ รูปนามสังขตธรรมทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง เพราะต้อง
เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วแตกดับสลายไปอยู่ทุกขณะ ไม่มีที่สิ้นสุด (เรียกสังขารทุกข์)
ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ตัณหาคือเหตุแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ควรละ
นิพพานคือความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง
และมรรคเป็นทางให้ดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้เจริญ
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๗. ในเบื้องต้นนั้น เมื่อจะกระทำ วิสุทธิ ๗ อันเป็นหนทางไปสู่ความดับทุกข์ให้เจริญนั้น
ศีล และ ทิฏฐิ ต้องวิสุทธิ บริสุทธิ์ก่อน
บุคคลใดๆ ในพุทธศาสนา จึงควรเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ เบื้องต้นให้ถูกต้อง
[10]
คือเห็นถูกในกฏแห่งกรรม หลักการเวียนว่ายตายเกิด ต่อจากนั้นจึงจะ
กระทำความเพียร ในสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน ในสติปัฏฐาน
ให้รู้เห็น รูปนามตามเป็นจริง อันประกอบด้วยไตรลักษณ์ ให้ยิ่งๆขึ้นไป
ตราบจนถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน
ในวันนี้ ก็ขอสนทนาไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
สวัสดีครับ
หลักการเวียนว่ายตายเกิดในพุทธศาสนา VS อันตคาหิกทิฏฐิ ๑๐ ที่ทรงไม่พยากรณ์
กระทู้นี้ก็จะขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ เรื่องของ อันตคาหิกทิฏฐิ ๑๐
คือชุดคำถามเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด ที่พระพุทธองค์ทรงไม่พยากรณ์นะครับ
----------------------------------------------------------------------------------
โดยปกติชาวพุทธเรา ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็ย่อมเข้าใจกันดีว่า
กฏแห่งกรรม มีจริง การเวียนว่ายตายเกิดมีจริง ดังตัวอย่างที่ทรงแสดงไว้ว่า
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน
เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต ฯ [1]
ตรงนี้ เป็นคำสอนที่ทุกๆท่านคงจะเคยได้ยิน เคยได้ฟังมาอยู่แล้ว และคงไม่มีอะไรต้องสงสัย
แต่ในบางครั้ง ท่านอาจจะเจอคนบางคนกล่าวว่า
"พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงตรัสพยากรณ์ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกบ้าง"
ที่นี้ ย่อมเกิดความสับสนขึ้นมาว่า เอ ยังไงกันแน่ !?
ทรงตรัสว่า เมื่อทำปาณาติบาตไว้ จักต้องเกิดในทุคติภูมิ หรือไม่ก็เกิดเป็นมนุษย์มีอายุสั้น
แต่ภายหลังเมื่อถูกถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกบ้างไหม กลับไม่ทรงพยากรณ์
------------------------------------------------------------
จะขออธิบายเป็นลำดับไปดังนี้นะครับ
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๑. ในศาสนาพุทธนั้น เราเห็นอยู่ว่า สัตว์ บุคคล นั้นเป็นเพียงสมมติสัจจะ [2]
เพื่อสื่อถึงปรมัตถสัจจะ คือ กระแสความเป็นไปของรูปนามขันธ์ ๕ ในภพชาติหนึ่งๆ
ที่ประกอบด้วยไตรลักษณ์ มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป อยู่ทุกขณะ
ดังนั้น ในเวลาที่ พระพุทธองค์ ทรงแสดงเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิดนั้น
ทรงกล่าวถึง สัตว์บุคคลโดยความเป็นสมมติสัจจะ นั่นเอง
คือไม่ได้เห็นว่า มีสัตว์โดยความเป็นอัตตา
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๒. ส่วน ปริพาชกภายนอกศาสนานั้น เมื่อเห็นว่ามี สัตว์บุคคล ไปเกิดใหม่
ก็จะเห็นโดยความเป็นอัตตา (เช่นอย่างในหนังที่เราเห็นว่ามีวิญญาณล่องลอยออกจากร่าง เป็นต้น)
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๓. มาถึงปัญหาที่ว่า ทำไมพระพุทธเจ้า ทรงไม่พยากรณ์
ที่จริงแล้ว เรื่อง การเวียนว่ายตายเกิดที่ทรงไม่พยากรณ์นั้น จะมาเป็นชุดคำถาม
อย่างเช่น ชุดคำถาม อันตคาหิกทิฏฐิ ๑๐ ข้อ คือ
"ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสมณโคดม เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ไม่ทรงพยากรณ์[3]
อย่างนี้ว่า"
1 โลกเที่ยงก็ดี
2 โลกไม่เที่ยงก็ดี
3 โลกมีที่สุดก็ดี
4 โลกไม่มีที่สุดก็ดี
5 ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี
6 ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นก็ดี
7 สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี
8 สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี
9 สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี
10 สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ
สาเหตุที่ทรงไม่ตอบพยากรณ์ในชุดคำถามนี้ ที่อธิบายไว้ลึกสุด
ก็จะอยู่ใน สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค - โมคคัลลานสูตร นี้เอง คือ
พ. ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็นจักษุว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อม
ตามเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่น
เป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้น
แล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม
เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมทรงพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณาเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น
เมื่อตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ฯ[3]
จากพระพุทธพจน์ บทนี้เอง ทำให้เราทราบว่า
การถามเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของปริพาชก ในชุดคำถาม ๑๐ นี้
ถามโดยความเป็น "อัตตา" นั่นเอง คือแม้จะเห็น ตา หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ
ก็เห็นโดยความเป็น เรา เป็นอัตตา
ส่วน ในศาสนาพุทธนั้น ตะเห็น ตา หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ โดยความเป็นอนัตตา
แม้ ที่ทรงเรียกว่า สัตว์ บุคคล นั้นก็เป็นเพียง สมมติที่สื่อถึงสภาพธรรม โดยไม่มีอัตตาใดๆภายในเลย
นอกจากนี้ จากการศึกษา พระอรรถกถา เรื่องอันตคาหิกทิฏฐิ[4]
ทำให้ทราบว่า ปริพาชก เหล่านี้ ถามคำถามมาเป็นชุด
โดยเป็นลักษณะคำถามสุดโต่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ เป็นการถามด้วยทิฏฐิอันถือเอาที่สุด
ตามอาการในวาระที่หนึ่ง - ถือเอาตามอาการในวาระที่สอง - กล่าวแก้อาการในวาระที่สาม.
เช่น ถามว่า สัตว์ตายเกิดต้องเกิด(โดยเป็นอัตตา) ใช่ไหม
ถ้าไม่ใช่ แล้ว สัตว์ตายแล้วก็สูญไป ใช่ไหม
ถ้าไม่ใช่ แล้ว บางพวกต้องเกิด(เห็นโดยอัตตา) บางพวกตายแล้วสูญ ใช่ไหม
ถ้าไม่ใช่ แล้ว ดังนั้นก็ไม่ใช่ทั้งสองใช่ไหม (เป็นความเห็นแบบ ซัดซ่าย เรียก อมราวิกเขปิกทิฏฐิ)
ดังนั้น ด้วยความที่ปริพาชกเหล่านี้ ไม่รู้ในพระไตรลักษณ์ และเหตุปัจจัย ความเป็นไปของรูปนามที่เกิดดับตลอดเวลาอยู่นั้นเอง
ประกอบกับ ถามไล่มาเป็นชุดเพื่อให้เข้ากับ มิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นการเห็นสัตว์บุคคลไปเกิดใหม่โดยเป็นอัตตา นี้เอง
พระพุทธองค์ จึงทรงไม่พยากรณ์ เพราะ คิดไปก็มีส่วนแห่งความเป็นบ้าหรือทำให้ฟุ้งซ่าน
และเพราะความคิดนั้น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ไม่เป็นเพื่อนิพพาน
แต่ทรงสอนให้กระทำความเพียรให้รู้จริงในเรื่อง ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางดับทุกข์
เพราะความคิดนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... เพื่อนิพพาน [5]
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๔. ส่วนคำสอนภายในพุทธศาสนา ที่เห็น สัตว์ บุคคล โดยไม่ได้เห็นเป็นอัตตา นั้น
ย่อมมีการแสดงหลักการเวียนว่ายตายเกิดแน่นอน ดังที่ได้ยกพระพุทธพจน์เรื่อง
ผลแห่งปาณาติบาต ว่า หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น [1]
เป็นตัวอย่างมาแสดงให้ดูไว้แล้ว
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๕. พระพุทธศาสนา นั้นสอนลึกไปถึง สภาวะแห่งความสัมพันธ์ของรูปนาม
ว่า มีความเกี่ยวข้องโยงใยอย่างไร ทั้งในระหว่างภพชาติ และในภพชาติถัดไป
คำสอนที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ก็คือ เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยการนั่นเอง
ในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทนั้น ทรงแสดงไว้อยู่สองนัย
- นัยหนึ่ง จะเป็นปัจจยาการที่เกิดขึ้น ในหนึ่งขณะจิต เรียก อภิธรรมภาชนียนัย เช่นในอ้างอิง [6]
นัยนี้ ก็จะเกิดขึ้นเรื่อยๆอยู่ในทุกขณะจิต ระหว่างที่เรามีชีวิตดำเนินไป
- อีกนัยหนึ่ง จะเป็นปัจจยาการความสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้น ในความเป็นไปหลายขณะจิต เรียก ปฏิจจฯ-สุตตันตภาชนียนัย [7], [8]
หากท่านเข้าไปดูตามหมายเลขอ้างอิง ก็จะเห็นว่า เมื่อกล่าวถึง ชาติ ชรา มรณะ
นัยแรกจะเป็นการแสดงถึง การเกิดขึ้น แปรไป ดับลง ของ จิตในแต่ละขณะ ดังเช่น
"ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความเสื่อมสิ้นอายุ แห่งธรรมเหล่านั้น
อันใด นี้เรียกว่า ชรา" [6]
ส่วนนัยที่สองจะเป็นการแสดงถึง อาการเกิด อาการแก่ ของ (สมมติสัจจะของ) สัตว์ บุคคล ดังเช่น
"ความหยั่งลง ๑- เกิด ๒- เกิด จำเพาะ ๓- ความปรากฏแห่งขันธ์
ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ"
@๑. คือเป็นชลาพุชะหรืออัณฑชปฏิสนธิ ๒. คือเป็นสังเสทชปฏิสนธิ
๓. คือเป็น@อุปปาติกปฏิสนธิ ฯ
"ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ
ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา"[7], [8]
นัยที่สองนี้ เป็นการแสดงถึง ความสัมพันธ์ของรูปนาม ทั้งในระหว่างชาตินี้ และชาติต่อๆไปได้
นี้จึงเป็น การแสดงครอบคลุมถึงเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันมีแต่ในบวรพุทธศาสนานี้เท่านั้น
ที่แสดงโดยสภาพความเป็นปรมัตถ์ธรรม ประกอบด้วยพระไตรลักษณ์ เหตุปัจจัยของรูปนาม
และสอดคล้องลงกันกับ หลักกฏแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด โดยมิได้เห็นสัตว์ บุคคล โดยความเป็นอัตตา
เหมือนดังลัทธิภายนอกพระศาสนา
จึงถือเป็นความน่าอัศจรรย์อย่างหนึ่ง ของคำสอนในพระพุทธศาสนานั่นเอง
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๖. ศาสนาพุทธ นั้นเน้นสอนในเรื่อง ของ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางให้ถึงความดับทุกข์
ทุกข์นั้น ทรงสอนไว้อย่างละเอียดกว้างขวาง คือ
- แม้ความเวียนว่ายตายเกิด ก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง [9]
(ไม่ได้สอนให้ปฏิเสธเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด)
- แม้ สุขเวทนา ก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง เพราะต้องหมดไปเปลี่ยนไป
และต้องสรรหาไม่หยุดหย่อน (เรียก วิปริณามทุกข์)
- แม้ รูปนามสังขตธรรมทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง เพราะต้อง
เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แล้วแตกดับสลายไปอยู่ทุกขณะ ไม่มีที่สิ้นสุด (เรียกสังขารทุกข์)
ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ตัณหาคือเหตุแห่งทุกข์เป็นสิ่งที่ควรละ
นิพพานคือความดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง
และมรรคเป็นทางให้ดับทุกข์เป็นสิ่งที่ควรทำให้เจริญ
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
๗. ในเบื้องต้นนั้น เมื่อจะกระทำ วิสุทธิ ๗ อันเป็นหนทางไปสู่ความดับทุกข์ให้เจริญนั้น
ศีล และ ทิฏฐิ ต้องวิสุทธิ บริสุทธิ์ก่อน
บุคคลใดๆ ในพุทธศาสนา จึงควรเป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ เบื้องต้นให้ถูกต้อง[10]
คือเห็นถูกในกฏแห่งกรรม หลักการเวียนว่ายตายเกิด ต่อจากนั้นจึงจะ
กระทำความเพียร ในสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน ในสติปัฏฐาน
ให้รู้เห็น รูปนามตามเป็นจริง อันประกอบด้วยไตรลักษณ์ ให้ยิ่งๆขึ้นไป
ตราบจนถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน
ในวันนี้ ก็ขอสนทนาไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
สวัสดีครับ