คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
สิ่งที่คุณทำถูกต้องแล้วครับ เข้าใจถูกต้องแล้ว
ถ้ามีอะไรสงสัยให้ถามผมต่อได้
สิ่งที่คุณทำนั้นคือการฝึกเชิงสติครับ
สติคือทางสายเอกก็ถูกต้องแล้ว
ส่วนที่คุณพยายามฝึกสมาธิแบบนิ่ง นั่นเขาเรียกว่า เชิง สมถะครับ (อย่างไรก็ตามการอยู่นิ่งๆเราก็สามารถฝึกสติได้ เพราะสติละเอียดไร้ขีดจำกัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกระทำตอนนั้น)
การฝึกสตินั้นมีอยู่ สี่ฐาน มันก็น่าแปลกที่หลายๆคนไม่เคยหรือไม่สนใจหรือไม่เข้าใจ หรือไม่เคยคิด หรือไม่เคยฝึกกับฐานเสียง
ความรู้สึกทางหู ทางประสาทเสียง จากการได้ยิน หรือสภาวะที่เกิดขึ้นมาได้รับเสียงนั้น คือสติฐานหนึ่งทั้งสิ้น
ส่วนคนที่พูดว่ามันคือการส่งจิตออกนอก คำว่าส่งจิตออกนอกนั่นคือภาษาของคนไทยนะครับ คนไทยบางกลุ่มคิดกันเอง นึกไปเอง สร้างคำและความหมายของคำนั้นๆไปเอง ซึ่งเป็นเทคนิคที่เขาประยุกต์ขึ้นมาใช้ มันดีครับมันมีประโยชน์นะคำว่าไม่ส่งจติออกนอก จะได้มีหลักมีแนว แต่ถ้าเราเข้าใจผิดแล้วไปยึดติดกับคำนั้นทำให้เราเสียประโยชน์หลายๆอย่างได้ คำว่าส่งจิตออกนอกมันไม่ใช่คำจากพระพุทธเจ้าโดยตรง เป็นคำของสงฆ์สาวกคนไทย
แต่ตามสภาวะจริงนั้นไม่ต้องไปสนใจกับคำว่าส่งจิตออกนอกออกใน แต่ให้สนใจว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร และเข้าหลักการเบื้องต้นหรือไม่
คุณเองสามารถใช้สติแล่นไปบนเส้นเสียง ฐานเสียง คลื่นเสียง สัมผัสเสียง ฐานกายที่หู สภาวะ หรือความรู้สึกทางใจหรือทุกๆอย่างที่เกิดเพราะเสียงนั้นได้ครับ
การเคลื่อนไหวทางกาย การสัมผัสทางใจ การสัมผัสรสชาติทางลิ้น สัมผัสกลิ่นทางจมูก สัมผัดความคิด สัมผัสทางตาด้วยการเห็น แล้วฉไนหลายๆคนลืมสัมผัสทางเสียง ผมอยากบอกว่าสัมผัสทางเสียงก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น
และหลายคนก็น่าแปลก สองมาตรฐาน บอกว่าเสียงสวดมนต์ได้แต่เสียงเพลงหรือเสียงอื่นๆไม่ได้ ไม่ดี คนที่พูดแบบนั้นความเข้าใจเขามาจากความเชื่อและการได้ยินมา ไม่ตรงกับหลักการมาตรฐายสากลธรรมชาติ ที่ว่าเราสามารถจับสภาวะหรือสัมผัสของเสียงใดๆก็ได้ มาฝึกสติ
ถ้าสติละเีอียด หรือสัดส่ายน้อยมันก็เกิดอนิสงค์ของสมาธิเชิงสมถะไปในตัวได้ด้วยซ้ำ
ฉนั้นสิ่งที่คุณทำมีประโยชน์แน่นอน แต่พยายามอย่าหลง เคลิ้ม จนไปสร้างจินตนาการไปตามความหมายของเนื้อเพลงหรือความรู้สึกที่เพลงจะสื่อ เพราะอาจจะทำให้เกิดการปรุงแต่งทางอารมณ์ได้ คือต้องแยกว่าเราจะฝึกสติกับสมาธิ หรือจะฟังเพื่อให้จิตเศร้าหรือจิตพองโต
ถ้าจะฝึกสติ สมาธิ ก็ให้มีสติกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นตรงนั้น พูดง่ายๆคืออย่าเผลอสติ พยายามเอาสติคลุมไว้เป็นชั้นๆ และใช้สัมปชัญยะให้รู้ว่าเรากำลังทำอะไร และเพื่ออะไร ไม่ใช่ไร้จุดหมายเลื่อนลอย เหมือนคนเดินเรื่อยๆไปถึงร้านค้าร้านหนึ่งแล้วเดินผ่านไปเฉย ไร้จุดหมายว่าผ่านร้านค้าแล้วจะทำอะไร คุณก็ไม่สามารถได้ประโยชน์จากการเดินผ่านร้านค้านั้นได้เต็มที่ แต่ถ้าคุณมีจุดหมายไว้ก่อนว่าเมื่อผ่านร้านค้าแล้วจะซื้อของสักชิ้น เมื่อคุณเดินผ่านแล้วคุณเข้าไปซื้อของ คุณก็จะได้ประโยชน์เต็มที่ ฉนั้นการใช้สัมปชัญญะมาครอบสติอีกชั้นหนึ่งจะมีประโยชน์และกันเราเขวได้มากกว่าเดิม
ถ้ามีอะไรสงสัยให้ถามผมต่อได้
สิ่งที่คุณทำนั้นคือการฝึกเชิงสติครับ
สติคือทางสายเอกก็ถูกต้องแล้ว
ส่วนที่คุณพยายามฝึกสมาธิแบบนิ่ง นั่นเขาเรียกว่า เชิง สมถะครับ (อย่างไรก็ตามการอยู่นิ่งๆเราก็สามารถฝึกสติได้ เพราะสติละเอียดไร้ขีดจำกัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกระทำตอนนั้น)
การฝึกสตินั้นมีอยู่ สี่ฐาน มันก็น่าแปลกที่หลายๆคนไม่เคยหรือไม่สนใจหรือไม่เข้าใจ หรือไม่เคยคิด หรือไม่เคยฝึกกับฐานเสียง
ความรู้สึกทางหู ทางประสาทเสียง จากการได้ยิน หรือสภาวะที่เกิดขึ้นมาได้รับเสียงนั้น คือสติฐานหนึ่งทั้งสิ้น
ส่วนคนที่พูดว่ามันคือการส่งจิตออกนอก คำว่าส่งจิตออกนอกนั่นคือภาษาของคนไทยนะครับ คนไทยบางกลุ่มคิดกันเอง นึกไปเอง สร้างคำและความหมายของคำนั้นๆไปเอง ซึ่งเป็นเทคนิคที่เขาประยุกต์ขึ้นมาใช้ มันดีครับมันมีประโยชน์นะคำว่าไม่ส่งจติออกนอก จะได้มีหลักมีแนว แต่ถ้าเราเข้าใจผิดแล้วไปยึดติดกับคำนั้นทำให้เราเสียประโยชน์หลายๆอย่างได้ คำว่าส่งจิตออกนอกมันไม่ใช่คำจากพระพุทธเจ้าโดยตรง เป็นคำของสงฆ์สาวกคนไทย
แต่ตามสภาวะจริงนั้นไม่ต้องไปสนใจกับคำว่าส่งจิตออกนอกออกใน แต่ให้สนใจว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร และเข้าหลักการเบื้องต้นหรือไม่
คุณเองสามารถใช้สติแล่นไปบนเส้นเสียง ฐานเสียง คลื่นเสียง สัมผัสเสียง ฐานกายที่หู สภาวะ หรือความรู้สึกทางใจหรือทุกๆอย่างที่เกิดเพราะเสียงนั้นได้ครับ
การเคลื่อนไหวทางกาย การสัมผัสทางใจ การสัมผัสรสชาติทางลิ้น สัมผัสกลิ่นทางจมูก สัมผัดความคิด สัมผัสทางตาด้วยการเห็น แล้วฉไนหลายๆคนลืมสัมผัสทางเสียง ผมอยากบอกว่าสัมผัสทางเสียงก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น
และหลายคนก็น่าแปลก สองมาตรฐาน บอกว่าเสียงสวดมนต์ได้แต่เสียงเพลงหรือเสียงอื่นๆไม่ได้ ไม่ดี คนที่พูดแบบนั้นความเข้าใจเขามาจากความเชื่อและการได้ยินมา ไม่ตรงกับหลักการมาตรฐายสากลธรรมชาติ ที่ว่าเราสามารถจับสภาวะหรือสัมผัสของเสียงใดๆก็ได้ มาฝึกสติ
ถ้าสติละเีอียด หรือสัดส่ายน้อยมันก็เกิดอนิสงค์ของสมาธิเชิงสมถะไปในตัวได้ด้วยซ้ำ
ฉนั้นสิ่งที่คุณทำมีประโยชน์แน่นอน แต่พยายามอย่าหลง เคลิ้ม จนไปสร้างจินตนาการไปตามความหมายของเนื้อเพลงหรือความรู้สึกที่เพลงจะสื่อ เพราะอาจจะทำให้เกิดการปรุงแต่งทางอารมณ์ได้ คือต้องแยกว่าเราจะฝึกสติกับสมาธิ หรือจะฟังเพื่อให้จิตเศร้าหรือจิตพองโต
ถ้าจะฝึกสติ สมาธิ ก็ให้มีสติกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นตรงนั้น พูดง่ายๆคืออย่าเผลอสติ พยายามเอาสติคลุมไว้เป็นชั้นๆ และใช้สัมปชัญยะให้รู้ว่าเรากำลังทำอะไร และเพื่ออะไร ไม่ใช่ไร้จุดหมายเลื่อนลอย เหมือนคนเดินเรื่อยๆไปถึงร้านค้าร้านหนึ่งแล้วเดินผ่านไปเฉย ไร้จุดหมายว่าผ่านร้านค้าแล้วจะทำอะไร คุณก็ไม่สามารถได้ประโยชน์จากการเดินผ่านร้านค้านั้นได้เต็มที่ แต่ถ้าคุณมีจุดหมายไว้ก่อนว่าเมื่อผ่านร้านค้าแล้วจะซื้อของสักชิ้น เมื่อคุณเดินผ่านแล้วคุณเข้าไปซื้อของ คุณก็จะได้ประโยชน์เต็มที่ ฉนั้นการใช้สัมปชัญญะมาครอบสติอีกชั้นหนึ่งจะมีประโยชน์และกันเราเขวได้มากกว่าเดิม
แสดงความคิดเห็น
การนั่งสมาธิกับการฟังเพลงบรรเลง หรือเสียงสวดมนต์