ผลการเลือกตั้งของกัมพูชา แม้ว่ารัฐบาลจะชนะ แต่เสียงของรัฐบาลกลับหายไปจากครั้งก่อนมากโขอยู่ทีเดียว และที่สำคัญเสียงเหล่านั้นกลับไปเพิ่มที่นั่งให้กับฝ่ายค้าน....
จากกรณีนี้ มองกันอย่างผู้ใช้หลักคิดวิถีประชาธิปไตย ก็จะบอกได้ว่ามันไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอันใดเลย..!!
แต่หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง คือแง่มุมของการรักษาอำนาจ ซึ่งเป็นแง่มุมที่หลายพรรคการเมืองผู้เป็นฝ่ายเสียงข้างมาก หรือฝ่ายกุมอำนาจรัฐอยู่แท้ๆ ต้องกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปเสียอย่างที่ไม่น่าจะเป็น หรือที่เรียกว่า "พลิกความคาดหมาย" นั่นแหละ
ดูผลการเลือกตั้งสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล โดยมีคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เอาเถอะ ใครจะเชื่อบ้างว่า คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะสามารถนำพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งได้ขนาดนั้น
ดูผลของกัมพูชา ก็เช่นเดียวกัน ฮุนเซนครองอำนาจมาอย่างยาวนาน กุมเสียงข้างมากไว้โดยตลอด แต่พอผลการเลือกตั้งออกมา พรรคฝ่ายค้านของคุณสม รังสี กลับมีคะแนนจี้ติดหายใจรดต้นคอเอาดื้อๆ แม้ว่าฝ่ายคุณฮุนเซนจะไม่แพ้แต่เชื่อเถอะ ใจคอไม่อยู่กับเนื้อกับตัวกันแล้วละกัน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ หากพิจารณาในแง่มุมหลักๆ มองว่า น่าจะมาจาก 3 ด้าน คือ หากเป็นฝ่ายรัฐบาลแล้วมีผลคะแนนแพ้หรือเกือบแพ้ฝ่ายค้าน พึงพิจารณาได้เลยว่า มีเหตุมาจาก การบริหารงาน 1 การใช้อำนาจเกินขอบเขต 1 และที่สำคัญคือ เหลิง อีก 1
ในแง่ของการบริหารงาน ก็เช่น ทำงานไม่เป็น ไม่มีผลงาน ไม่บริหารงานตามที่วางนโยบาย บริหารแล้วเกิดความเสียหายฯลฯ เป็นต้น
ในแง่ของการใช้อำนาจเกินขอบเขต ก็เช่น อาศัยช่องทางกฎหมาย หรืออำนาจ ที่มีอยู่ทำร้ายสังคมเพื่อประโยชน์ของตนและพวกพ้อง คอรัปชั่น ฯลฯ เป็นต้น
ในแง่ของ ความ "เหลิง" นั้น เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลของคนในกลุ่มผู้มีอำนาจ เช่นอาการยะโส โอหัง ไม่ฟังเสียงใคร เคยนอบน้อมถ่อมตนก็กลับเป็นคนก้าวร้าว ชอบที่จะใช้อำนาจทั้งๆที่ตนเองไม่มีอำนาจ ปั้นน้ำเป็นตัว ให้ร้ายป้ายสี ไม่สนใจเรื่องของวัฒนธรรมสังคมใดๆทั้งสิ้น มุ่งประโยชน์ตนเองเป็นสำคัญ เป็นต้น...
ทั้งหมดที่กล่าวมา เห็นมาแล้วเป็นบทเรียนทั้งสิ้น....
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล หากจะต้องเป็นฝ่ายค้านไปอีกยาวๆหรือไม่ หรือจะเป็นฝ่ายรัฐบาลไปอีกยาวๆได้หรือไม่ ให้คิดเลยว่าต้องระมัดระวัง ใน 3 เรื่องข้างบนนี้ให้มากๆเชียว
การเดินทาง ทางการเมืองบนถนนประชาธิปไตยนั้น โลกอารยะเขาใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ...อย่าได้สร้างพฤติกรรมที่ทำให้สังคมแตกสลายเพราะความเห็นแก่ตัวของตัวกันเลย เพราะแม้จะได้อำนาจนั้นมาจริงๆ มันก็จะเป็นอำนาจแค่ "ชั่วคราว" เท่านั้นเอง...!!
กรณีกัมพูชา: ไม่ว่าประเทศไหนในโลก...ไม่ต่างกัน..!!
จากกรณีนี้ มองกันอย่างผู้ใช้หลักคิดวิถีประชาธิปไตย ก็จะบอกได้ว่ามันไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอันใดเลย..!!
แต่หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง คือแง่มุมของการรักษาอำนาจ ซึ่งเป็นแง่มุมที่หลายพรรคการเมืองผู้เป็นฝ่ายเสียงข้างมาก หรือฝ่ายกุมอำนาจรัฐอยู่แท้ๆ ต้องกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปเสียอย่างที่ไม่น่าจะเป็น หรือที่เรียกว่า "พลิกความคาดหมาย" นั่นแหละ
ดูผลการเลือกตั้งสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล โดยมีคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เอาเถอะ ใครจะเชื่อบ้างว่า คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะสามารถนำพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งได้ขนาดนั้น
ดูผลของกัมพูชา ก็เช่นเดียวกัน ฮุนเซนครองอำนาจมาอย่างยาวนาน กุมเสียงข้างมากไว้โดยตลอด แต่พอผลการเลือกตั้งออกมา พรรคฝ่ายค้านของคุณสม รังสี กลับมีคะแนนจี้ติดหายใจรดต้นคอเอาดื้อๆ แม้ว่าฝ่ายคุณฮุนเซนจะไม่แพ้แต่เชื่อเถอะ ใจคอไม่อยู่กับเนื้อกับตัวกันแล้วละกัน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ หากพิจารณาในแง่มุมหลักๆ มองว่า น่าจะมาจาก 3 ด้าน คือ หากเป็นฝ่ายรัฐบาลแล้วมีผลคะแนนแพ้หรือเกือบแพ้ฝ่ายค้าน พึงพิจารณาได้เลยว่า มีเหตุมาจาก การบริหารงาน 1 การใช้อำนาจเกินขอบเขต 1 และที่สำคัญคือ เหลิง อีก 1
ในแง่ของการบริหารงาน ก็เช่น ทำงานไม่เป็น ไม่มีผลงาน ไม่บริหารงานตามที่วางนโยบาย บริหารแล้วเกิดความเสียหายฯลฯ เป็นต้น
ในแง่ของการใช้อำนาจเกินขอบเขต ก็เช่น อาศัยช่องทางกฎหมาย หรืออำนาจ ที่มีอยู่ทำร้ายสังคมเพื่อประโยชน์ของตนและพวกพ้อง คอรัปชั่น ฯลฯ เป็นต้น
ในแง่ของ ความ "เหลิง" นั้น เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลของคนในกลุ่มผู้มีอำนาจ เช่นอาการยะโส โอหัง ไม่ฟังเสียงใคร เคยนอบน้อมถ่อมตนก็กลับเป็นคนก้าวร้าว ชอบที่จะใช้อำนาจทั้งๆที่ตนเองไม่มีอำนาจ ปั้นน้ำเป็นตัว ให้ร้ายป้ายสี ไม่สนใจเรื่องของวัฒนธรรมสังคมใดๆทั้งสิ้น มุ่งประโยชน์ตนเองเป็นสำคัญ เป็นต้น...
ทั้งหมดที่กล่าวมา เห็นมาแล้วเป็นบทเรียนทั้งสิ้น....
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล หากจะต้องเป็นฝ่ายค้านไปอีกยาวๆหรือไม่ หรือจะเป็นฝ่ายรัฐบาลไปอีกยาวๆได้หรือไม่ ให้คิดเลยว่าต้องระมัดระวัง ใน 3 เรื่องข้างบนนี้ให้มากๆเชียว
การเดินทาง ทางการเมืองบนถนนประชาธิปไตยนั้น โลกอารยะเขาใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ...อย่าได้สร้างพฤติกรรมที่ทำให้สังคมแตกสลายเพราะความเห็นแก่ตัวของตัวกันเลย เพราะแม้จะได้อำนาจนั้นมาจริงๆ มันก็จะเป็นอำนาจแค่ "ชั่วคราว" เท่านั้นเอง...!!