QE เป็น สิ่งที่ผมสงสัยมาตลอด ว่า ตั้งแต่มี QE มา เศรษฐกิจที่แท้จริง ไม่ได้ดีขึ้นเลย
สิ่งที่น่าแปลกคือ สำหรับ "นักพนันหุ้น" ทั้งหลาย กลับต้องการให้ตัวเลข เศรษฐกิจ ของ สหรัฐ แย่ลง
เพื่อให้ "เหม่ง" รักษา QE ไว้ให้พวกท่าน โดยไม่สนใจว่า เศรษฐกิจการค้าที่แท้จริง หรือ Economic Real Sector จะเป็นเช่นไร
ตลาดหุ้นเปลี่ยนไป เมื่อ หุ้นขึ้น เมื่อตลาด ทราบว่า เศรษฐกิจ แย่ลง
แต่หุ้นลง เมื่อตลาดทราบว่า เศรษฐกิจดีขึ้น
ความสงสัยนี้ ทำให้ผมลองหาบทความ จาก อากู๋ ผลกระทบของคิวอี 3 โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ....
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศมาตรการพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 13 กันยายน (QE3) ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นดีใจ
และปรับตัวขึ้นกว่า 1.5%
ทั้งนี้เพราะมาตรการที่ประกาศเกินความคาดหมายของตลาด คือ เฟดประกาศว่าจะซื้อ MBS ( หลักทรัพย์ที่มีบ้านเป็นหลักประกัน ) เดือนละ 40,000 ล้านบาท เริ่มต้นวันที่ 14 กันยายนเป็นต้นไป และคงดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับต่ำไปจนถึงกลางปี 2015
ที่สำคัญคือ จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างยิ่ง ( highly accommodative ) และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วก็จะยังดำเนินนโยบายดังกล่าวต่อไปอีกนาน ( considerable time after economic recovery strengthens )
เป็นที่เข้าใจว่านโยบายทุ่มเงินอย่างไม่จำกัดจำนวน จะดำเนินต่อเนื่องจนกระทั่งการว่างงานปรับตัวลงเหลือ 7% หรือต่ำกว่านั้น
มาตรการ QE3 นี้นักวิเคราะห์บางคน บอกว่าน่าจะเรียกว่า “ QE infinity ” มากกว่า เพราะไม่มีการกำหนดขอบเขตแต่อย่างใด และ Bank of America-Merrill Lynch คาดการณ์ว่าขั้นต่อไป เฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอีกเดือนละ 45,000 - 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป แปลว่า เฟดจะพิมพ์เงินเข้าระบบเดือนละเกือบ 100,000 ล้านเหรียญอย่างต่อเนื่องถึงปี 2015 คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใหญ่กว่า QE1 และ QE2 รวมกัน
ทั้งนี้มาตรการ QE ที่ทำมาในอดีตนั้น ทำให้งบดุลของธนาคารกลางสหรัฐขยายตัวจาก 900,000 ล้านเหรียญมาเป็น 2,800,000 ล้านเหรียญ ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ( ขณะที่งบดุลของ อีซีบี เพิ่มจาก 1.1 ล้านล้านยูโรมาเป็น 3.1 ล้านล้านยูโรในช่วงเดียวกัน )
ทั้งนี้หนี้ของธนาคารกลางนั้นส่วนใหญ่ก็คือธนบัตร ( เงิน ) ที่พิมพ์ออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง ซึ่งมาตรการ คิวอี ถือว่าเป็นมาตรการที่เป็นมิตรกับนักลงทุนมากที่สุด เพราะการที่ธนาคารกลางซื้อพันธบัตรคุณภาพดีออกจากมือของประชาชนนั้น ย่อมเป็นการผลักดันให้ประชาชนมีเงินที่จะนำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ
ดังนั้นนักลงทุนจึงมองว่า เมื่อมีข่าวร้ายว่าเศรษฐกิจทรุดตัวลง ( เช่น การว่างงานเพิ่มขึ้น ) แทนที่จะกลัวว่า ผลประกอบการของบริษัทจะตกต่ำลง ก็จะมองว่าธนาคารกลางจะต้องเพิ่มมาตรการคิวอี เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าราคาหุ้นจะไม่ตกมีแต่ขึ้น คือ เชื่อว่า Bad news is good news เพราะเมื่อมีข่าวร้ายในเชิงของปัจจัยพื้นฐานก็จะมีมาตรการคิวอี ( ข่าวดี ) ออกมาพยุงหุ้น เพราะธนาคารกลางสหรัฐสรุปว่าการพยุงหุ้นคือกลไกที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจนั่นเอง
สภาวการณ์เช่นนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ย่อมมีความพึงพอใจอย่างมาก และเกือบทุกคนจะสนับสนุนมาตรการคิวอีอย่างไม่มีเงื่อนไข น้อยคนที่จะมองต่างมุมจากธนาคารกลางของสหรัฐหรืออีซีบี
แต่ผมได้พบบทความที่มองต่างมุม 2 บทความซึ่งขอนำมาสรุปให้อ่านในครั้งนี้ครับ
บทความแรกเขียนโดย Ruchir Sharma หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาคของกองทุน Morgan Stanley ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Financial Times วันที่ 10 กันยายน 2012 สรุปว่า การพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เงินทะลักไปสู่การเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาอาหารและราคาน้ำมัน
ปัญหาคือ เมื่อคิวอีทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น กำลังซื้อของประชาชนก็ลดลง แปลว่า คิวอีจะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแต่อย่างใด
ตัวอย่างเช่น หากคิวอี 3 ผลักดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับสูงขึ้นเกินกว่า 120 เหรียญต่อบาร์เรล ก็จะทำให้ผู้บริโภคต้องใช้เงินเพื่อซื้อน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนเกินกว่า 6% ของรายได้ ซึ่งการศึกษาในอดีตพบว่าที่ระดับดังกล่าวผู้บริโภคจะเริ่มลดการบริโภคสินค้าอื่น ๆ ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในกลางปี 2010 และ 2011
นอกจากนั้นก็ยังพบว่าเมื่อราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น 20 เหรียญต่อบาร์เรล จีดีพีสหรัฐจะลดลง 0.3% และเงินเฟ้อจะปรับเพิ่มขึ้น 0.3%
ที่สำคัญคือคิวอีนั้น กระทบคนจนมากกว่าคนรวย เพราะสัดส่วนของรายจ่ายของคนจนที่ต้องนำไปใช้ในการซื้ออาหารและพลังงานนั้นสูงกว่าสัดส่วนของคนร่ำรวยอย่างมาก
นอกจากนั้นคนที่รวยที่สุด 10% ของประเทศก็ยังถือหุ้นมากถึง 75% ของหุ้นทั้งหมดอีกด้วย
กล่าวคือมาตรการคิวอีนั้นช่วยคนรวยและทำให้คนจนลำบากมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นาย Sharma สรุปว่า ธนาคารกลางสหรัฐ กำลังพยายามฝืนธรรมชาติในการใช้คิวอีมาอุ้มเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำอย่างรุนแรง กล่าวคือโดยปกติแล้วเมื่อเศรษฐกิจเผชิญกับวิกฤติทางการเงิน เศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างรุนแรงและใช้เวลา 7 ปีกว่าจะฟื้นตัว ( เช่นกรณีของไทยในปี 1997 ซึ่งกว่าทุกอย่างจะเข้าสู่สภาวะปกติก็ต้องใช้เวลา 5 - 6 ปี )
แต่ธนาคารกลางสหรัฐ พยายามอุ้มให้เศรษฐกิจตกต่ำเล็กน้อยเพียง 1 ปี แต่ก็ส่งผลให้เกิดความบิดเบือนและเกิดผลกระทบข้างเคียงดังกล่าว
อีกบทความหนึ่งเขียนโดยนาย Peter Fisher หัวหน้าฝ่ายการลงทุนในตราสารหนี้ของกองทุน BlackRock ลงใน Financial Times เช่นกัน กล่าวตำหนิวิธีคิดของธนาคารกลางสหรัฐว่า การพิมพ์เงินออกมากดดอกเบี้ยลงให้ต่ำทั้งดอกเบี้ยระยะยาว และดอกเบี้ยระยะสั้นนั้น จะไม่ได้ทำให้เกิดการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม ( ซึ่งจะถูกนำไปลงทุนฟื้นเศรษฐกิจ ) แต่อย่างใด เพราะหากคนให้กู้ได้ดอกเบี้ยต่ำเพียง 1 - 1.5 % ( พันธบัตร 5 - 10 ปี ) ก็จะทำให้คนไม่อยากปล่อยกู้
กล่าวคือจะต้องตอบให้ได้ว่าหากผลตอบแทนจากการปล่อยกู้ต่ำแล้ว ทำไมจึงจะมีการปล่อยกู้มากขึ้น ?
ทั้งนี้ทาง Fisher กลับมองว่าเมื่อธนาคารกลางสหรัฐเข้าไปซื้อพันธบัตรมาเก็บเอาไว้เป็นจำนวนมากทำให้พันธบัตร ( สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยสุด ) ราคาสูงมาก ( ดอกเบี้ยต่ำมาก ) นักลงทุนที่มีเงินอยู่ในมือ ก็จะไม่กล้าซื้อพันธบัตรราคาแพงดังกล่าว เพราะกลัวว่าราคาพันธบัตรจะปรับลดลงในอนาคต ( เพราะดอกเบี้ยจะต้องปรับขึ้นกลับไปสู่ระดับปกติ )
คนที่คาดการณ์เช่นนั้นก็จะยอมถือเงินเอาไว้ ( เก็บซุกใต้หมอน ) ดีกว่านำเอาเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยง กล่าวคือมาตรการคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐ อาจกำลังนำไปสู่กับดักสภาพคล่อง ( liquidity trap ) ก็ได้
หมายความว่าธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินเข้าไปเท่าไหร่ประชาชนก็จะเก็บเงินกองเอาไว้เฉย ๆ ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่ได้นำเอาไว้ใช้ทำประโยชน์แต่อย่างใด
หากจะนำเอามาโยงกับประเทศไทย ผมก็ขอกล่าวถึงบทความของ ดร.บัณฑิต นิจถาวร ที่ลงในกรุงเทพธุรกิจเมื่อ 10 กันยายน ซึ่งแสดงความกังวลว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทย
“ ขณะนี้ขยายตัวจากการเร่งตัวของการใช้จ่ายที่มาจากการสร้างหนี้ ( debt-driven spending-led economy ) ”
ดังนั้นนโยบายการเงินจะต้องนำปัจจัยนี้มาพิจารณาในการกำหนดทิศทางดอกเบี้ย ทั้งนี้ ดร.บัณฑิต กล่าวต่อไปว่า
“ อัตราดอกเบี้ย ณ ระดับปัจจุบันไม่ได้เป็นข้อจำกัดต่อการใช้จ่ายในประเทศ ”
และสรุปว่า “ ในทุกวิกฤติที่เกิดขึ้นในโลกต้นเหตุจะเหมือนกัน คือมาจากการก่อหนี้ที่เกินพอดี ”
ผมเห็นด้วยกับ ดร.บัณฑิต และมีประเด็นเพิ่มเติมว่ามาตรการกดดอกเบี้ยลงให้ต่ำ ( ทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว ) ของสหรัฐอเมริกา และยุโรปอย่างต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้านั้น ย่อมจะเป็นสิ่งที่จะท้าทายประเทศไทยอย่างมาก เพราะเรากำลังเห็นต่างชาติเพิ่มการถือครองพันธบัตรรัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมาก ( เงินทุนไหลเข้า ) ในขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ของไทยก็ได้เริ่มกู้ยืมเงินจากต่างประเทศแล้ว
http://www.ranthong.com/smf/index.php?topic=36180.0;wap2
ปล. ผมตั้งในห้อง ศาลา เพราะ คิดว่า ประชาชนคนทั่วไป ต้องตระหนักว่า นี่เป็น ปํญหาสังคมที่ ประชาชนชาวไทยต้องเจอ
การที่ คนฉลาดๆในอเมริกา ยุโรป และคนมีเงินทั้งหลาย คิดนำเอา ตลาดซื้อขาย ล่วงหน้า มาใช้อย่าง "ผิดวัตถุประสงค์"
โดยนำ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า มา "เก็งกำไร" โดย ไม่คำนึงว่า ผลของมันจะทำให้ สินค้าอุปโภค บริโภคแพงขึ้น
และมีผลกระทบ ต่อ ประชาชนไม่ใช่เฉพาะคนไทย แต่คนทั้งโลก
คิดง่ายๆ ว่า น้ำมัน เป็น ต้นทุนสำคัญขนาดไหน ตั้งแต่ วัตถุดิบ ยัน แปรรูปเป็นสินค้า (ทองคำช่างมันเถอะ ไม่ได้กินทุกวัน)
ประชาชนคนรากหญ้า ไม่มีรัฐบาลไหนให้ความรู้เลย ไม่มีความรู้แม้กระทั้ง ทำไมสินค้ามันแพงขึ้น
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ทุกๆ รัฐบาลในโลก จะต้องร่วมมือกัน ยับยั้ง การใช้ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า มาเก็งกำไร แบบผิดๆ
เพื่อ ประชาชนรากหญ้า ทั่วโลก
QE 3 ดีจริงหรือ ? หรือแค่แตะถ่วงปัญหา ผู้ถือหุ้นไทยควรอยากให้มี QE จริงๆหรือ ประชาชนตาดำๆ จำเป็นต้องมี QE ไหม
สิ่งที่น่าแปลกคือ สำหรับ "นักพนันหุ้น" ทั้งหลาย กลับต้องการให้ตัวเลข เศรษฐกิจ ของ สหรัฐ แย่ลง
เพื่อให้ "เหม่ง" รักษา QE ไว้ให้พวกท่าน โดยไม่สนใจว่า เศรษฐกิจการค้าที่แท้จริง หรือ Economic Real Sector จะเป็นเช่นไร
ตลาดหุ้นเปลี่ยนไป เมื่อ หุ้นขึ้น เมื่อตลาด ทราบว่า เศรษฐกิจ แย่ลง
แต่หุ้นลง เมื่อตลาดทราบว่า เศรษฐกิจดีขึ้น
ความสงสัยนี้ ทำให้ผมลองหาบทความ จาก อากู๋ ผลกระทบของคิวอี 3 โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ....
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ประกาศมาตรการพิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 13 กันยายน (QE3) ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นดีใจ
และปรับตัวขึ้นกว่า 1.5%
ทั้งนี้เพราะมาตรการที่ประกาศเกินความคาดหมายของตลาด คือ เฟดประกาศว่าจะซื้อ MBS ( หลักทรัพย์ที่มีบ้านเป็นหลักประกัน ) เดือนละ 40,000 ล้านบาท เริ่มต้นวันที่ 14 กันยายนเป็นต้นไป และคงดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับต่ำไปจนถึงกลางปี 2015
ที่สำคัญคือ จะดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างยิ่ง ( highly accommodative ) และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วก็จะยังดำเนินนโยบายดังกล่าวต่อไปอีกนาน ( considerable time after economic recovery strengthens )
เป็นที่เข้าใจว่านโยบายทุ่มเงินอย่างไม่จำกัดจำนวน จะดำเนินต่อเนื่องจนกระทั่งการว่างงานปรับตัวลงเหลือ 7% หรือต่ำกว่านั้น
มาตรการ QE3 นี้นักวิเคราะห์บางคน บอกว่าน่าจะเรียกว่า “ QE infinity ” มากกว่า เพราะไม่มีการกำหนดขอบเขตแต่อย่างใด และ Bank of America-Merrill Lynch คาดการณ์ว่าขั้นต่อไป เฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอีกเดือนละ 45,000 - 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป แปลว่า เฟดจะพิมพ์เงินเข้าระบบเดือนละเกือบ 100,000 ล้านเหรียญอย่างต่อเนื่องถึงปี 2015 คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใหญ่กว่า QE1 และ QE2 รวมกัน
ทั้งนี้มาตรการ QE ที่ทำมาในอดีตนั้น ทำให้งบดุลของธนาคารกลางสหรัฐขยายตัวจาก 900,000 ล้านเหรียญมาเป็น 2,800,000 ล้านเหรียญ ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ( ขณะที่งบดุลของ อีซีบี เพิ่มจาก 1.1 ล้านล้านยูโรมาเป็น 3.1 ล้านล้านยูโรในช่วงเดียวกัน )
ทั้งนี้หนี้ของธนาคารกลางนั้นส่วนใหญ่ก็คือธนบัตร ( เงิน ) ที่พิมพ์ออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง ซึ่งมาตรการ คิวอี ถือว่าเป็นมาตรการที่เป็นมิตรกับนักลงทุนมากที่สุด เพราะการที่ธนาคารกลางซื้อพันธบัตรคุณภาพดีออกจากมือของประชาชนนั้น ย่อมเป็นการผลักดันให้ประชาชนมีเงินที่จะนำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ
ดังนั้นนักลงทุนจึงมองว่า เมื่อมีข่าวร้ายว่าเศรษฐกิจทรุดตัวลง ( เช่น การว่างงานเพิ่มขึ้น ) แทนที่จะกลัวว่า ผลประกอบการของบริษัทจะตกต่ำลง ก็จะมองว่าธนาคารกลางจะต้องเพิ่มมาตรการคิวอี เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่าราคาหุ้นจะไม่ตกมีแต่ขึ้น คือ เชื่อว่า Bad news is good news เพราะเมื่อมีข่าวร้ายในเชิงของปัจจัยพื้นฐานก็จะมีมาตรการคิวอี ( ข่าวดี ) ออกมาพยุงหุ้น เพราะธนาคารกลางสหรัฐสรุปว่าการพยุงหุ้นคือกลไกที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจนั่นเอง
สภาวการณ์เช่นนี้นักลงทุนส่วนใหญ่ย่อมมีความพึงพอใจอย่างมาก และเกือบทุกคนจะสนับสนุนมาตรการคิวอีอย่างไม่มีเงื่อนไข น้อยคนที่จะมองต่างมุมจากธนาคารกลางของสหรัฐหรืออีซีบี
แต่ผมได้พบบทความที่มองต่างมุม 2 บทความซึ่งขอนำมาสรุปให้อ่านในครั้งนี้ครับ
บทความแรกเขียนโดย Ruchir Sharma หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์มหภาคของกองทุน Morgan Stanley ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Financial Times วันที่ 10 กันยายน 2012 สรุปว่า การพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เงินทะลักไปสู่การเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาอาหารและราคาน้ำมัน
ปัญหาคือ เมื่อคิวอีทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น กำลังซื้อของประชาชนก็ลดลง แปลว่า คิวอีจะไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแต่อย่างใด
ตัวอย่างเช่น หากคิวอี 3 ผลักดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับสูงขึ้นเกินกว่า 120 เหรียญต่อบาร์เรล ก็จะทำให้ผู้บริโภคต้องใช้เงินเพื่อซื้อน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนเกินกว่า 6% ของรายได้ ซึ่งการศึกษาในอดีตพบว่าที่ระดับดังกล่าวผู้บริโภคจะเริ่มลดการบริโภคสินค้าอื่น ๆ ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในกลางปี 2010 และ 2011
นอกจากนั้นก็ยังพบว่าเมื่อราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น 20 เหรียญต่อบาร์เรล จีดีพีสหรัฐจะลดลง 0.3% และเงินเฟ้อจะปรับเพิ่มขึ้น 0.3%
ที่สำคัญคือคิวอีนั้น กระทบคนจนมากกว่าคนรวย เพราะสัดส่วนของรายจ่ายของคนจนที่ต้องนำไปใช้ในการซื้ออาหารและพลังงานนั้นสูงกว่าสัดส่วนของคนร่ำรวยอย่างมาก
นอกจากนั้นคนที่รวยที่สุด 10% ของประเทศก็ยังถือหุ้นมากถึง 75% ของหุ้นทั้งหมดอีกด้วย
กล่าวคือมาตรการคิวอีนั้นช่วยคนรวยและทำให้คนจนลำบากมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นาย Sharma สรุปว่า ธนาคารกลางสหรัฐ กำลังพยายามฝืนธรรมชาติในการใช้คิวอีมาอุ้มเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำอย่างรุนแรง กล่าวคือโดยปกติแล้วเมื่อเศรษฐกิจเผชิญกับวิกฤติทางการเงิน เศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างรุนแรงและใช้เวลา 7 ปีกว่าจะฟื้นตัว ( เช่นกรณีของไทยในปี 1997 ซึ่งกว่าทุกอย่างจะเข้าสู่สภาวะปกติก็ต้องใช้เวลา 5 - 6 ปี )
แต่ธนาคารกลางสหรัฐ พยายามอุ้มให้เศรษฐกิจตกต่ำเล็กน้อยเพียง 1 ปี แต่ก็ส่งผลให้เกิดความบิดเบือนและเกิดผลกระทบข้างเคียงดังกล่าว
อีกบทความหนึ่งเขียนโดยนาย Peter Fisher หัวหน้าฝ่ายการลงทุนในตราสารหนี้ของกองทุน BlackRock ลงใน Financial Times เช่นกัน กล่าวตำหนิวิธีคิดของธนาคารกลางสหรัฐว่า การพิมพ์เงินออกมากดดอกเบี้ยลงให้ต่ำทั้งดอกเบี้ยระยะยาว และดอกเบี้ยระยะสั้นนั้น จะไม่ได้ทำให้เกิดการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม ( ซึ่งจะถูกนำไปลงทุนฟื้นเศรษฐกิจ ) แต่อย่างใด เพราะหากคนให้กู้ได้ดอกเบี้ยต่ำเพียง 1 - 1.5 % ( พันธบัตร 5 - 10 ปี ) ก็จะทำให้คนไม่อยากปล่อยกู้
กล่าวคือจะต้องตอบให้ได้ว่าหากผลตอบแทนจากการปล่อยกู้ต่ำแล้ว ทำไมจึงจะมีการปล่อยกู้มากขึ้น ?
ทั้งนี้ทาง Fisher กลับมองว่าเมื่อธนาคารกลางสหรัฐเข้าไปซื้อพันธบัตรมาเก็บเอาไว้เป็นจำนวนมากทำให้พันธบัตร ( สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยสุด ) ราคาสูงมาก ( ดอกเบี้ยต่ำมาก ) นักลงทุนที่มีเงินอยู่ในมือ ก็จะไม่กล้าซื้อพันธบัตรราคาแพงดังกล่าว เพราะกลัวว่าราคาพันธบัตรจะปรับลดลงในอนาคต ( เพราะดอกเบี้ยจะต้องปรับขึ้นกลับไปสู่ระดับปกติ )
คนที่คาดการณ์เช่นนั้นก็จะยอมถือเงินเอาไว้ ( เก็บซุกใต้หมอน ) ดีกว่านำเอาเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยง กล่าวคือมาตรการคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐ อาจกำลังนำไปสู่กับดักสภาพคล่อง ( liquidity trap ) ก็ได้
หมายความว่าธนาคารกลางสหรัฐพิมพ์เงินเข้าไปเท่าไหร่ประชาชนก็จะเก็บเงินกองเอาไว้เฉย ๆ ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่ได้นำเอาไว้ใช้ทำประโยชน์แต่อย่างใด
หากจะนำเอามาโยงกับประเทศไทย ผมก็ขอกล่าวถึงบทความของ ดร.บัณฑิต นิจถาวร ที่ลงในกรุงเทพธุรกิจเมื่อ 10 กันยายน ซึ่งแสดงความกังวลว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทย
“ ขณะนี้ขยายตัวจากการเร่งตัวของการใช้จ่ายที่มาจากการสร้างหนี้ ( debt-driven spending-led economy ) ”
ดังนั้นนโยบายการเงินจะต้องนำปัจจัยนี้มาพิจารณาในการกำหนดทิศทางดอกเบี้ย ทั้งนี้ ดร.บัณฑิต กล่าวต่อไปว่า
“ อัตราดอกเบี้ย ณ ระดับปัจจุบันไม่ได้เป็นข้อจำกัดต่อการใช้จ่ายในประเทศ ”
และสรุปว่า “ ในทุกวิกฤติที่เกิดขึ้นในโลกต้นเหตุจะเหมือนกัน คือมาจากการก่อหนี้ที่เกินพอดี ”
ผมเห็นด้วยกับ ดร.บัณฑิต และมีประเด็นเพิ่มเติมว่ามาตรการกดดอกเบี้ยลงให้ต่ำ ( ทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว ) ของสหรัฐอเมริกา และยุโรปอย่างต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 2-3 ปีข้างหน้านั้น ย่อมจะเป็นสิ่งที่จะท้าทายประเทศไทยอย่างมาก เพราะเรากำลังเห็นต่างชาติเพิ่มการถือครองพันธบัตรรัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างมาก ( เงินทุนไหลเข้า ) ในขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ของไทยก็ได้เริ่มกู้ยืมเงินจากต่างประเทศแล้ว
http://www.ranthong.com/smf/index.php?topic=36180.0;wap2
ปล. ผมตั้งในห้อง ศาลา เพราะ คิดว่า ประชาชนคนทั่วไป ต้องตระหนักว่า นี่เป็น ปํญหาสังคมที่ ประชาชนชาวไทยต้องเจอ
การที่ คนฉลาดๆในอเมริกา ยุโรป และคนมีเงินทั้งหลาย คิดนำเอา ตลาดซื้อขาย ล่วงหน้า มาใช้อย่าง "ผิดวัตถุประสงค์"
โดยนำ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า มา "เก็งกำไร" โดย ไม่คำนึงว่า ผลของมันจะทำให้ สินค้าอุปโภค บริโภคแพงขึ้น
และมีผลกระทบ ต่อ ประชาชนไม่ใช่เฉพาะคนไทย แต่คนทั้งโลก
คิดง่ายๆ ว่า น้ำมัน เป็น ต้นทุนสำคัญขนาดไหน ตั้งแต่ วัตถุดิบ ยัน แปรรูปเป็นสินค้า (ทองคำช่างมันเถอะ ไม่ได้กินทุกวัน)
ประชาชนคนรากหญ้า ไม่มีรัฐบาลไหนให้ความรู้เลย ไม่มีความรู้แม้กระทั้ง ทำไมสินค้ามันแพงขึ้น
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ทุกๆ รัฐบาลในโลก จะต้องร่วมมือกัน ยับยั้ง การใช้ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า มาเก็งกำไร แบบผิดๆ
เพื่อ ประชาชนรากหญ้า ทั่วโลก