พูดถึงโฆษณาเปปทีน ทำให้นึกถึงโฆษณาประกันชีวิตตัวหนึ่ง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



กะว่าจะตั้งตอนเห็นโฆษณานี้ตั้งเเต่ครั้งเเรกเเล้ว เเต่ก็ลืมไป
จนมีเรื่องเปปทีนเนี่ยแหละ ทำให้นึกออกขึ้นมา

กับคอนเซ็ปที่ว่า "ไม่ต้องตรวจ ไม่ต้องตอบปัญหาสุขภาพ"
ไอไม่ต้องตรวจพอเข้าใจ เเต่ ไม่ต้องตอบปัญหาสุขภาพเนี่ย
สมมุติถ้าเป้นเราไปทำอ่ะน่ะ(ตอนแก่ อิอิ) เราก็ต้องบอกคำเเน่นอน ถึงเค้าจะบอกว่าไม่ต้องตอบก็เถอะ
เเต่ถ้าคนที่ไปทำเป็นตาสีตาสาล่ะ เเละดูในโฆษณาก็เอามาเป็นตัวชูโรงด้วย
เค้าก็ต้องคิดตามโฆษณาเเน่ๆว่า ไม่เห้นต้องทำไรเลย ไม่ต้องตรวจ ไม่ต้องตอบ ทำประกันอย่างเดียว
ก็เหมือนโฆษณาจูงใจอย่างนึง

เเต่ที่เรามาขัดใจนินึงตรงที่
ตาม ปพพ.มาตรา 865
"ถ้า ในเวลาทำ สัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัย ก็ดี หรือ ในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงิน ย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือ มรณะของเขานั้น ก็ดี รู้อยู่แล้ว ละเว้นเสีย ไม่เปิดเผยข้อความจริง ซึ่ง อาจจะได้จูงใจ ผู้รับประกันภัย ให้เรียกเบี้ยประกันภัย สูงขึ้นอีก หรือ ให้บอกปัด ไม่ยอมทำสัญญา หรือว่า รู้อยู่แล้ว แถลงข้อความนั้น เป็นความเท็จไซร้ ท่านว่า สัญญานั้น เป็นโมฆียะ
ถ้า มิได้ใช้สิทธิบอกล้าง ภายในกำหนด เดือนหนึ่ง นับแต่ วันที่ผู้รับประกันภัยทราบ มูลอันจะบอกล้างได้ ก็ดี หรือ มิได้ใช้สิทธินั้น ภายในกำหนด ห้าปี นับแต่ วันทำสัญญา ก็ดี ท่านว่า สิทธินั้น เป็นอันระงับสิ้นไป"

เเต่ถ้าจะใช้ มาตรา 866 มาเป็นขออ้างให้ผู้รับประกันภัยรับผิดตามสัญญา
เราดูว่ามันออกจะหมิ่นแหม่ไปน่ะ ตาสีตาสาต้องการทำประกันอาวุโส เเต่ถ้าเกิดโดนบริษัทประกันเบี้ยวโดยอ้าง 865
จะทำประกัน เเต่ต้องมาฟ้องเรียกเงินประกันจากบริษัท มันแปลกใช่ไหม
ทั้งๆที่ตัวเองบอกเองว่า "ไม่ต้องตอบคำถาม ไม่ต้องตรวจสุขภาพ"


ถึงเเม้จะยังไม่เคยเกิดกรณีปัญหา(หรือเคยมีเเล้ว) เเต่ไม่เเน่ ไม่งั้นก็ไม่มีการฟ้องเอาเงินประกันกันโครมๆหรอก

เเต่อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์ของบริษัทเค้านั้นแหละ เเต่ผมเชื่อว่าผู้รับประกันเลือกที่จะไม่ทำอย่างนั้นหรอก(คงงั้นน่ะ)
เเต่เเค่อยากออกมาบอกว่า เราไม่ค่อยชอบโฆษณา ตัวนี้สักเท่าไหร่
ปัจจุบันไม่รู้ยังออกอากาศอยู่อีกไหม วอน สคบ. เข้ามาตรวจสอบดูเเลหน่อยก็ดี

ทั้งนี้ทั้งนั้นผมบอกไว้ก่อนว่าไม่เคยทำประกันตัวนี้น่ะครับ
เค้าอาจจะมีขั้นตอนสอบถามรายละเอียดหรืออะไรของเขาก็ได้(เเต่ถ้าถามมันก็ไม่ตรงกับโฆษณาสิ...เอ๊ะ ยังไง)


ก็น่ะความคิดเห็นส่วนตัวครับ...เเค่ทางทฤษฎี
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่