สหพันธ์นิสิตแพทย์ฯ ร่อนหนังสือถึง “โอสถสภา” หยุดใช้นิสิตนักศึกษาแพทย์เป็นพรีเซนเตอร์โฆษณา “เปปทีน” ชี้ไม่เหมาะสม เตือนเพื่อนนิสิตแพทย์ผิดต่อจรรยาบรรณ เสียหายถึงสถาบันการศึกษาด้วย ด้าน อย.ไม่ฟันธงโฆษณาเกินจริงหรือไม่ เตรียมตรวจสอบอีกครั้ง พบข้อมูลเก่า “เปปทีน” เคยถูกปรับ 5 ครั้ง ฐานโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.
ภาพจากโฆษณาเปปทีน ที่หนึ่งในดวงใจ สอบติดทั่วประเทศ 2556 ในเว็บไซต์ยูทิวบ์
วันนี้ (26 ก.ค.) นายสกล เจริญวีรกุล นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนายกสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี (สพท.) กล่าวถึงกรณีที่มีการถกเถียงกันในสังคมออนไลน์ เรื่องการนำนิสิตนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์มาเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาเครื่องดื่มยี่ห้อ “เปปทีน” มีความเหมาะสมหรือไม่ ว่า การใช้นิสิตนักศึกษาที่สอบติดด้านแพทย์ รวมไปถึงเยาวชนที่กำลังจะสอบเข้าสถานศึกษาต่างๆ มาเป็นสัญลักษณ์ในการโฆษณานั้น ทาง สพท.เห็นว่าเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่เหมาะสม จึงได้ออกแถลงการณ์และทำหนังสือถึง นายรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท โอสถสภา จำกัด ในฐานะผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม “เปปทีน” เพื่อให้หยุดการใช้นิสิตนักศึกษาแพทย์ในการโฆษณาลักษณะนี้
“การดึงนักศึกษาแพทย์มาเป็นพรีเซนเตอร์ไม่เพียงจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของนักศึกษาแพทย์ แต่ยังกระทบต่อสถาบันการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ด้วย ซึ่งอาจถูกมองว่ามีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัทเครื่องดื่มที่โฆษณา ที่สำคัญการกระทำดังกล่าวยังผิดต่อจรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย ข้อ 1.6 ที่ระบุให้ละเว้นการรับผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใดๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง หรืออาจมีผลกระทบที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือนำไปสู่ไม่เหมาะสมต่อความเป็นนิสิตนักศึกษาแพทย์ องค์กรนิสิตนักศึกษาแพทย์ สถาบันแพทย์ และต่อวิชาชีพเวชกรรมหรือจรรยาบรรณแพทย์” นายสกล กล่าว
นายสกล กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีนี้ตนได้พูดคุยกับนิสิตนักศึกษาที่ไปเป็นพรีเซนเตอร์แล้ว แต่ละคนต่างก็รู้สึกกังวลและไม่สบายใจ เพราะไม่รู้มาก่อนว่าทำไม่ได้ ซึ่งหลังจากโฆษณาไปแล้ว ได้ถูกอาจารย์เรียกมาตักเตือน อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากความไม่รู้ จึงขอให้นิสิตนักศึกษาแพทย์ทุกคนนำเรื่องนี้เป็นประสบการณ์ว่าไม่ควรกระทำ
ด้าน ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า การโฆษณาลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณเกินเหตุหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถเอาผิดได้ เนื่องจากไม่ได้ระบุสรรพคุณชัดเจน และไม่ได้ระบุในฉลาก อย่างไรก็ตาม จะมีการตรวจสอบเรื่องนี้อีกครั้ง
ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ของ อย.(www.fda.moph.go.th) มีการเผยแพร่เอกสารประชาสัมพันธ์ว่า เครื่องดื่มเปปทีน เคยถูก อย.เปรียบเทียบปรับอย่างน้อย 5 ครั้ง เนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ในความผิดฐานโฆษณา คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารเพื่อประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.ดังนี้ 1.ผลการดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ 24/ปีงบประมาณ 2551 (เปรียบเทียบปรับบริษัท โอสถสภา เป็นเงิน 2,000 บาท ลงวันที่ 18 มิ.ย.2551) 2.ผลการดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ 29/ปีงบประมาณ 2552 (เปรียบเทียบปรับบริษัท โอสถสภา เป็นเงิน 2,000 บาท ลงวันที่ 27 ม.ค.2552) 3.ผลการดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ 46/ปีงบประมาณ 2553 (เปรียบเทียบปรับบริษัท โอสถสภา เป็นเงิน 8,000 บาท ลงวันที่ 12 มี.ค.2553) 4.ผลการดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ 28/ปีงบประมาณ 2555 (เปรียบเทียบปรับบริษัท โอสถสภา เป็นเงิน 40,000 บาท ลงวันที่ 14 ก.ย.2554) และ 5.ผลการดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ 111/ปีงบประมาณ 2555 (เปรียบเทียบปรับบริษัท โอสถสภา เป็นเงิน 10,000 บาท ลงวันที่ 16 พ.ค.2555)
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000091966
จี้ “โอสถสภา” หยุดใช้นิสิตแพทย์เป็นเครื่องมือโฆษณา “เปปทีน”
ภาพจากโฆษณาเปปทีน ที่หนึ่งในดวงใจ สอบติดทั่วประเทศ 2556 ในเว็บไซต์ยูทิวบ์
วันนี้ (26 ก.ค.) นายสกล เจริญวีรกุล นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนายกสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี (สพท.) กล่าวถึงกรณีที่มีการถกเถียงกันในสังคมออนไลน์ เรื่องการนำนิสิตนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์มาเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาเครื่องดื่มยี่ห้อ “เปปทีน” มีความเหมาะสมหรือไม่ ว่า การใช้นิสิตนักศึกษาที่สอบติดด้านแพทย์ รวมไปถึงเยาวชนที่กำลังจะสอบเข้าสถานศึกษาต่างๆ มาเป็นสัญลักษณ์ในการโฆษณานั้น ทาง สพท.เห็นว่าเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่เหมาะสม จึงได้ออกแถลงการณ์และทำหนังสือถึง นายรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท โอสถสภา จำกัด ในฐานะผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม “เปปทีน” เพื่อให้หยุดการใช้นิสิตนักศึกษาแพทย์ในการโฆษณาลักษณะนี้
“การดึงนักศึกษาแพทย์มาเป็นพรีเซนเตอร์ไม่เพียงจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของนักศึกษาแพทย์ แต่ยังกระทบต่อสถาบันการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ด้วย ซึ่งอาจถูกมองว่ามีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัทเครื่องดื่มที่โฆษณา ที่สำคัญการกระทำดังกล่าวยังผิดต่อจรรยาบรรณนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย ข้อ 1.6 ที่ระบุให้ละเว้นการรับผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใดๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง หรืออาจมีผลกระทบที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือนำไปสู่ไม่เหมาะสมต่อความเป็นนิสิตนักศึกษาแพทย์ องค์กรนิสิตนักศึกษาแพทย์ สถาบันแพทย์ และต่อวิชาชีพเวชกรรมหรือจรรยาบรรณแพทย์” นายสกล กล่าว
นายสกล กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีนี้ตนได้พูดคุยกับนิสิตนักศึกษาที่ไปเป็นพรีเซนเตอร์แล้ว แต่ละคนต่างก็รู้สึกกังวลและไม่สบายใจ เพราะไม่รู้มาก่อนว่าทำไม่ได้ ซึ่งหลังจากโฆษณาไปแล้ว ได้ถูกอาจารย์เรียกมาตักเตือน อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากความไม่รู้ จึงขอให้นิสิตนักศึกษาแพทย์ทุกคนนำเรื่องนี้เป็นประสบการณ์ว่าไม่ควรกระทำ
ด้าน ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า การโฆษณาลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณเกินเหตุหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถเอาผิดได้ เนื่องจากไม่ได้ระบุสรรพคุณชัดเจน และไม่ได้ระบุในฉลาก อย่างไรก็ตาม จะมีการตรวจสอบเรื่องนี้อีกครั้ง
ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ของ อย.(www.fda.moph.go.th) มีการเผยแพร่เอกสารประชาสัมพันธ์ว่า เครื่องดื่มเปปทีน เคยถูก อย.เปรียบเทียบปรับอย่างน้อย 5 ครั้ง เนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ในความผิดฐานโฆษณา คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารเพื่อประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.ดังนี้ 1.ผลการดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ 24/ปีงบประมาณ 2551 (เปรียบเทียบปรับบริษัท โอสถสภา เป็นเงิน 2,000 บาท ลงวันที่ 18 มิ.ย.2551) 2.ผลการดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ 29/ปีงบประมาณ 2552 (เปรียบเทียบปรับบริษัท โอสถสภา เป็นเงิน 2,000 บาท ลงวันที่ 27 ม.ค.2552) 3.ผลการดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ 46/ปีงบประมาณ 2553 (เปรียบเทียบปรับบริษัท โอสถสภา เป็นเงิน 8,000 บาท ลงวันที่ 12 มี.ค.2553) 4.ผลการดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ 28/ปีงบประมาณ 2555 (เปรียบเทียบปรับบริษัท โอสถสภา เป็นเงิน 40,000 บาท ลงวันที่ 14 ก.ย.2554) และ 5.ผลการดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.อาหาร ฉบับที่ 111/ปีงบประมาณ 2555 (เปรียบเทียบปรับบริษัท โอสถสภา เป็นเงิน 10,000 บาท ลงวันที่ 16 พ.ค.2555)
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000091966