สรุปว่า ถึงตอนนี้รถคันแรกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย, ประชาชนคนเสียภาษี & ต่อเศรษฐกินส่วนตัวคนกู้และคนค้ำและครอบครัว ดั

1. เกิด demand เทียม โดยอาจไม่จำเป็น เพราะแรงซื้อที่อัดอั้นมาจาก 2 ปีก่อนที่มีการชุมนุมทางการเมืองและน้ำท่วม ทำให้ปีก่อน (2555) น่าจะมี demand มากพอแล้ว

2. ทำให้ธุรกิจรถมือ 2 ซบเซา และราคาลดต่ำลง 10-20% โดยเฉพาะรุ่นที่มี cc ใกล้เคียงกับที่ได้คืนภาษีจากรถคันแรก ซึ่งทำให้คนทำธุรกิจรถมือสองขาดทุนหรือกำไรลดลง ส่วนคนขายรถมือ 2 ก็ขาดทุนเงินที่ควรจะขายได้ถ้าไม่มีนโยบายรถคันแรก

3. ทำให้การจ้างแรงงานบิดเบี้ยว เช่น พนักงานประกันภัยขาด, พนักงานผลิตรถไม่พอ ครั้นจะจ้างเพิ่ม ก็กลัว demand ลด จึงใช้วิธีให้ OT แทน และรายได้ของพนักงานดังกล่าว ก็จะลดลงเมื่อตอนนี้การผลิตส่งมอบรถคันแรกเริ่มจะส่งมอบได้ครบไปแล้ว
ซึ่งพนักงานที่ได้โอที ก็อาจจะใช้จ่ายเงินเกินตัว ทำให้เสียวินัยการใช้เงิน  ส่วนพนักงานที่ถูกจ้างเพิ่ม (ถ้ามี) ก็จะถูกปลดหรือได้ค่าแรงน้อยลง

4. ทำให้ภาษีประชาชนเสียไปร่วม 100,000 ล้านบาท โดยที่มากกว่าครึ่งได้ไปตกอยู่ที่บริษัทรถญี่ปุ่น อีกส่วนหนึ่งอยู่ที่บ.ทางด่วน ที่ได้กำไรนับจากเดือนกุมภาดีที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ แถมเดือนกันยา ครม.ก็จะให้ขึ้นราคาอีก (ทำไปเพื่อให้ประชาชนรับภาระมากขึ้น ?)  แถมราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นเนื่องจากปัญหาการเมืองในอียิปต์ยิ่งอำนวยให้กับบริษัทน้ำมันอย่างปตท., เชลล์, เอสโซ่ ฯลฯ ชัดๆ
ซึ่งถ้าหันไปติดก๊าซ ก็โดนค่าก๊าซลอยตัวอีก ... เหลือแค่ NGV ซึ่งก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะอุดหนุนอีกเท่าไหร่

5. ทำให้การใช้รถไฟฟ้าไม่เติบโตเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่ควรส่งเสริมคมนาคมข่นส่งมวลชนมากกว่า - ตามที่คห.ได้บอกไว้ น่าจะจารึกไว้ในกินเนสบุ๊คว่า เป็นประเทศเดียวในโลกที่สนับสนุนให้ประชาชนมีรถ แทนที่จะส่งเสริมขนส่งมวลชน

6. มีอุบัติเหตุและรถติดมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะจำนวนรถคันแรก และมือใหม่หัดขับ นอกจากนั้น รํบยังต้องเสียค่าซ่อมและสร้างถนนเสริมเพื่อแก้ปัญหาการจราจร - ถ้าฟังข่าวประจำ จะได้ยินว่ารัฐบาลจ่ายเงินเป็นหลักหลายพันล้านในการอำนวยความสะดวกรถติด ไม่ใช่่เพราะถนนเสียอย่างเดียว ... ถึงจะอย่างนั้น ถนนก็เสียเพิ่มเพราะรถมีวิ่งมากขึ้นด้วยเช่นกัน

7. ทำให้ผู้คนฟุ้งเฟ้อ (ปกติคนไทยก็ติดหรูอยู่แล้ว ยิ่งมาได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐแบบนี้ยิ่งชอบกันเข้าไปใหญ่) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หนี้ภาคครัวเรือนพุ่งสูงถึง 80% ของ GDP (อีกส่วนหนึ่งจากหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล รวมทั้ง 2 ข้อ เป็นหนี้ภาคครัวเรือนส่วนใหญ่ของประชาชน) ... เป็นสิ่งที่รัฐบาลควรชักจูงให้คนไทยประหยัดและอดออมมากกว่าเยอะ

8. แทนที่จะซื้อบ้านหลังแรก กลับหันไปซื้อรถคันแรกเป็นส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยสี่ และทำให้ธนาคารและภาคการเงินเข้มงวดกับสินเชื่อ (ต้องมีค่าผ่อนชำระทุกสถาบัน (เช็คจาก credit bureau) ดังนั้น คนที่ซื้อรถคันแรกไปแล้ว ก็จะโดนจำกัดสินเชื่อ ยากที่่จะซื้อบ้านหลังแรกหรือของจำเป็นต่อชีวิตได้อีกอีกมาก …. นอกจากนั้น ยังทำให้เครษฐกิจครึ่งปีหลังขยายตัวได้ต่ำเนื่องจากประชาชนประหยัดมากขึ้นอีกด้วย

9. คนซื้อรถคันแรกที่มีจำนวนรถราวๆ 1.25 ล้านคน ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงเพราะราคาน้ำมันพุ่งจากปัญหาการเมืองในอียิตป์ (ปีที่ใช้นโยบายรถคันแรก 2555 ราคาน้ำมันประมาณ 31 บาทต่อลิตร ตอนนี้ราวๆ 41 บาทต่อลิตร)
และค่าทางด่วนที่กำลังจะขึ้นเดือนกันยา ต่อให้ย้ายไปติดตั้งแก๊สก็จะโดนขึ้นราคา (มีเหลือ NGV ที่ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะช่วยเหลือประชาชนไปอีกนานเท่าไหร่ มัวแต่อุดหนุนปตท.ที่กำไรปีนึงเป็นแสนล้าน – ไม่ต้องมาบอกถึงทฤษีโบราณว่า ภาษีก็จะกลับมาใช้จ่ายอีกเลย มันจะคุ้มกับเงินร่วมแสนล้านที่ต้องจ่ายค่ารถคันแรกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลงงั้นหรือ)

10. แม้ปัจจุบันจะมีรถคันแรกที่โดนยึดเพื่อขายทอดตลาด/ประมูลรถมือสอง !!!! เพียง 300 คัน แต่ปัญหารอเวลาปะทุ ใครจะรู้ว่าถ้าค่าครองชีพพุ่งขึ้น หรือคนที่ใช้จ่ายเกินตัว หรือแม้แต่คนที่คำนวณรายได้ รายจ่ยผิด จะผ่อนรถไม่สำเร็จอีกสักกี่พันกี่หมื่นคน
อย่าลืมว่าตอนนี้เรายังไม่รู้ยอดรถที่เริ่มมีอาการไม่ผ่อนจ่าย 1-3 เดือนหรือกำลังอยู่ระหว่างถูกฟ้องร้องด้วย

สรุปว่า นโยบายประชานิยมแบบสุดขั้ว แบบไม่จำกัดวงเงิน จะสร้างความสูญเสียให้กับเศรษฐกิจของประเทศอย่างที่คนออกนโยบาย, คนปฏิบัติ เป็นอย่างมากอย่างที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว
รวมถึงกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนตัวของคนกู้ และคนค้ำประกัน และครอบครัว มากเช่นกัน
รัฐบาลชุดนี้รู้จักและเข้าใจคำว่า 'เศรษฐกิจพอเพียง' บ้างไหมครับ ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่