ข้อคิดที่ได้จากการอ่านหนังสือวอร์เรนบัฟเฟ็ตต์และการตีความงบการเงิน, นรา สุภัคโรจน์ แปล
ต่อจากตอน 1 งบกำไรขาดทุน นะครับ
ตอนที่ 2: งบดุล
1. หากเราเห็นเงินสดและหลักทรัพย์ที่สามารถขายได้จำนวนสูง และไม่มีหนี้เลยหรือมีเพียงเล็กน้อย เป็นไปได้มากที่บริษัทจะฝ่าฟันพายุไปได้และเป็นบริษัทที่ได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ถ้าบริษัทประสบปัญหาแล้วขาดเงินสดและกอดหนี้ก้อนโตไว้ เป็นไปได้ว่าเรือกำลังจะจม ซึ่งแม้ผู้บริหารเก่งก็ไม่สามารถกอบกู้ได้ (ให้พิจารณาอย่างน้อย 7 ปีที่ผ่านมา)
2. ในการชี้บ่งว่าบริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน ให้ดูที่สินค้าคงคลังและกำไรสุทธิที่จะสูงขึ้นสอดคล้องกัน
3. บริษัทที่มียอดลูกหนี้การค้าสุทธิต่ำกว่าคู่แข่งเมื่อคิดเป็นร้อยละต่อยอดขายเบื้องต้น แสดงว่าบริษัทนั้นน่าจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่บริษัทอื่นไม่มี
4. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งได้มาจาก สินทรัพย์หมุนเวียน หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน ค่ามากกว่า 1 หรือยิ่งสูง แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องมากเท่านั้น (ยกเว้นบริษัทที่มีทำกำไรได้แข่งแกร่งจนทำให้ชำระหนี้หมุนเวียนได้สบายๆ อาจมีค่าอัตราส่วนนี้ต่ำกว่า 1 ต้องศึกษาเพิ่มเติม)
5. การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความสม่ำเสมอไม่ต้องเปลี่ยนแปลงบ่อย เท่ากับกำไรสม่ำเสมอ ผลิตภัณฑ์ที่สม่ำเสมอหมายถึงการไม่ต้องใช้เงินมาหาศาลในการปรับปรุงโรงงานและเครื่องจักรเพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน ทำให้บริษัทมีเงินลงทุนในธุรกิจที่สร้างรายได้อื่น
6. เมื่อใดที่เห็นค่าความนิยมเพิ่มขึ้นตามปีที่ผ่านไป เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าบริษัทนั้นได้ซื้อธุรกิจเข้ามาใหม่ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ดีสำหรับบริษัทหากธุรกิจที่ซื้อมามีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน (หากคงที่อาจซื้อได้ต่ำกว่ามูลค่าบัญชี หรือ ไม่ได้ซื้อธุรกิจใหม่)
7. มูลค่าทรัพย์สินอื่นๆ ที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่บริษัทครอบครองคือ ชื่อบริษัท (ไม่ปรากฏในงบดุล)
8. การลงทุนระยะยาวของบริษัทสามารถบอกแนวคิดการลงทุนของผู้บริหารระดับสูงว่า พวกเขาลงทุนในธุรกิจอื่นที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน หรือ ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมากหรือไม่
9. เมื่อจุมพิตกบแห่งธุรกิจที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหลายตัวพอ มันจะกลายเป็นเจ้าชายแห่งธุรกิจขึ้นมาได้
10. อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ยิ่งสูงยิ่งดี แต่ต้องดูต้นทุนในการเข้าสู่ธุรกิจประกอบเพื่อพิจารณาความได้เปรียบในการแข่งขันด้วย (ยอดรวมสินทรัพย์ต่ำ => ระดมทุนซื้อได้ง่าย => เข้าสู่ธุรกิจได้ง่ายยอดรวมสินทรัพย์สูง => ระดมทุนซื้อได้ยาก => เข้าสู่ธุรกิจได้ยาก)
11. การลงทุนในสถาบันการเงินที่ปลอดภัยคือมองหาสถาบันที่กู้ระยะยาวแล้วปล่อยกู้ระยะยาว หลีกเลี่ยงบริษัทที่กู้ระยะสั้นแล้วปล่อยกู้ระยะยาว เลี่ยงบริษัทที่กู้ระยะสั้นมากกว่าระยะยาว
12. บริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนบางอย่างเหนือกว่าคู่แข่ง ไม่ต้องการหนี้ระยะยาว หรือมีความต้องการน้อยมากในการดำเนินกิจการ ดังนั้นจึงมีหนี้ระยะยาวที่จะครบกำหนดชำระน้อยหรือไม่มีเลย
13. หากไม่ใช่สถาบันการเงินแล้ว ทุกครั้งที่เห็น อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหลังปรับรวมหุ้นซื้อคืน แล้วต่ำกว่า 0.8 (ยิ่งต่ำยิ่งดี) มีโอกาสเป็นไปได้มากว่าบริษัทนั้นมีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
14. บริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนจะไม่มีหุ้นบุริมสิทธิ์
15. อัตราเติบโตของ กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร ของบริษัทเป็นตัวบ่งชี้ว่าบริษัทได้รับประโยชน์จากการมีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่ เช่น การนำเงินไปซื้อบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนต่อไป
16. หุ้นซื้อคืนที่ปรากฏในงบดุล และประวัติการซื้อหุ้นคืน เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าบริษัทที่ดูอยู่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
17. ผลตอบแทนสำหรับส่วนของผู้ถือหุ้น คือ กำไรสุทธิ หารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งค่ายิ่งสูงยิ่งดี
***ปลูกหุ้นกินผล***
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
ข้อคิดที่ได้จากการอ่านหนังสือวอร์เรนบัฟเฟ็ตต์และการตีความงบการเงิน (งบดุล)
ต่อจากตอน 1 งบกำไรขาดทุน นะครับ
ตอนที่ 2: งบดุล
1. หากเราเห็นเงินสดและหลักทรัพย์ที่สามารถขายได้จำนวนสูง และไม่มีหนี้เลยหรือมีเพียงเล็กน้อย เป็นไปได้มากที่บริษัทจะฝ่าฟันพายุไปได้และเป็นบริษัทที่ได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ถ้าบริษัทประสบปัญหาแล้วขาดเงินสดและกอดหนี้ก้อนโตไว้ เป็นไปได้ว่าเรือกำลังจะจม ซึ่งแม้ผู้บริหารเก่งก็ไม่สามารถกอบกู้ได้ (ให้พิจารณาอย่างน้อย 7 ปีที่ผ่านมา)
2. ในการชี้บ่งว่าบริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน ให้ดูที่สินค้าคงคลังและกำไรสุทธิที่จะสูงขึ้นสอดคล้องกัน
3. บริษัทที่มียอดลูกหนี้การค้าสุทธิต่ำกว่าคู่แข่งเมื่อคิดเป็นร้อยละต่อยอดขายเบื้องต้น แสดงว่าบริษัทนั้นน่าจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่บริษัทอื่นไม่มี
4. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งได้มาจาก สินทรัพย์หมุนเวียน หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน ค่ามากกว่า 1 หรือยิ่งสูง แสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องมากเท่านั้น (ยกเว้นบริษัทที่มีทำกำไรได้แข่งแกร่งจนทำให้ชำระหนี้หมุนเวียนได้สบายๆ อาจมีค่าอัตราส่วนนี้ต่ำกว่า 1 ต้องศึกษาเพิ่มเติม)
5. การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความสม่ำเสมอไม่ต้องเปลี่ยนแปลงบ่อย เท่ากับกำไรสม่ำเสมอ ผลิตภัณฑ์ที่สม่ำเสมอหมายถึงการไม่ต้องใช้เงินมาหาศาลในการปรับปรุงโรงงานและเครื่องจักรเพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน ทำให้บริษัทมีเงินลงทุนในธุรกิจที่สร้างรายได้อื่น
6. เมื่อใดที่เห็นค่าความนิยมเพิ่มขึ้นตามปีที่ผ่านไป เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าบริษัทนั้นได้ซื้อธุรกิจเข้ามาใหม่ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ดีสำหรับบริษัทหากธุรกิจที่ซื้อมามีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน (หากคงที่อาจซื้อได้ต่ำกว่ามูลค่าบัญชี หรือ ไม่ได้ซื้อธุรกิจใหม่)
7. มูลค่าทรัพย์สินอื่นๆ ที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่บริษัทครอบครองคือ ชื่อบริษัท (ไม่ปรากฏในงบดุล)
8. การลงทุนระยะยาวของบริษัทสามารถบอกแนวคิดการลงทุนของผู้บริหารระดับสูงว่า พวกเขาลงทุนในธุรกิจอื่นที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน หรือ ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมากหรือไม่
9. เมื่อจุมพิตกบแห่งธุรกิจที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหลายตัวพอ มันจะกลายเป็นเจ้าชายแห่งธุรกิจขึ้นมาได้
10. อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ยิ่งสูงยิ่งดี แต่ต้องดูต้นทุนในการเข้าสู่ธุรกิจประกอบเพื่อพิจารณาความได้เปรียบในการแข่งขันด้วย (ยอดรวมสินทรัพย์ต่ำ => ระดมทุนซื้อได้ง่าย => เข้าสู่ธุรกิจได้ง่ายยอดรวมสินทรัพย์สูง => ระดมทุนซื้อได้ยาก => เข้าสู่ธุรกิจได้ยาก)
11. การลงทุนในสถาบันการเงินที่ปลอดภัยคือมองหาสถาบันที่กู้ระยะยาวแล้วปล่อยกู้ระยะยาว หลีกเลี่ยงบริษัทที่กู้ระยะสั้นแล้วปล่อยกู้ระยะยาว เลี่ยงบริษัทที่กู้ระยะสั้นมากกว่าระยะยาว
12. บริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนบางอย่างเหนือกว่าคู่แข่ง ไม่ต้องการหนี้ระยะยาว หรือมีความต้องการน้อยมากในการดำเนินกิจการ ดังนั้นจึงมีหนี้ระยะยาวที่จะครบกำหนดชำระน้อยหรือไม่มีเลย
13. หากไม่ใช่สถาบันการเงินแล้ว ทุกครั้งที่เห็น อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหลังปรับรวมหุ้นซื้อคืน แล้วต่ำกว่า 0.8 (ยิ่งต่ำยิ่งดี) มีโอกาสเป็นไปได้มากว่าบริษัทนั้นมีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
14. บริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนจะไม่มีหุ้นบุริมสิทธิ์
15. อัตราเติบโตของ กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร ของบริษัทเป็นตัวบ่งชี้ว่าบริษัทได้รับประโยชน์จากการมีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่ เช่น การนำเงินไปซื้อบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนต่อไป
16. หุ้นซื้อคืนที่ปรากฏในงบดุล และประวัติการซื้อหุ้นคืน เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าบริษัทที่ดูอยู่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
17. ผลตอบแทนสำหรับส่วนของผู้ถือหุ้น คือ กำไรสุทธิ หารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งค่ายิ่งสูงยิ่งดี
***ปลูกหุ้นกินผล***
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376#!/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376