ปตท. พุ่งอันดับ 95 สู่บริษัทใหญ่ลำดับ 81 จากการจัดอันดับธุรกิจยักษ์ใหญ่ทั่วโลก 500 แห่งของนิตยสารดัง "ฟอร์จูน" ที่เชลล์ครองอันดับ 1
ฟอร์จูน นิตยสารและเว็บไซต์ชื่อดังของสหรัฐ เผยผลการจัดอันดับบริษัทยักษ์ใหญ่ 500 แห่งทั่วโลก หรือ ฟอร์จูน 500 พิจารณาจากผลประกอบการของปี 2555 และเปรียบเทียบกับตัวเลขของปี 2554 โดยบริษัท ปตท. ของไทยติดอันดับ 81 พุ่งขึ้นจากอันดับที่ 95 เมื่อปีก่อน ด้วยรายได้ 89,945 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12.9% กำไร 3,370 ล้านดอลลาร์ และ สินทรัพย์ 53,363 ล้านดอลลาร์ ทั้งยังเป็นบริษัทไทยบริษัทเดียวที่ติดอยู่ในรายชื่อบริษัทขนาดใหญ่ 500 แห่งทั่วโลกจากการจัดอันดับของฟอร์จูน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ปตท. กล่าวว่า อันดับ ปตท.ดีขึ้นในขณะที่หลายๆ ธุรกิจแย่ลง สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจในอเมริกาที่ไม่ดี ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตลดลงไปจำนวนมาก แต่อันดับที่ดีขึ้นของ ปตท. ก็ไม่ได้ดีไปกว่าคนอื่นมาก เราดีขึ้นในท่ามกลางที่คนอื่นแย่ลง สะท้อนถึงปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้
อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับของฟอร์จูน 500 ที่ปรากฏนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่ายังมีวิกฤติเศรษฐกิจอยู่ แต่ในส่วนของ ปตท. หากเทียบกับปี 2554 ก็ถือว่าอันดับดีขึ้นจาก 95 มาอยู่ที่ 81
สำหรับบริษัทที่ครองอันดับ 1 คือ รอยัล ดัทช์ เชลล์ ซึ่งเมื่อปี 2554 ก็ครองบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก แม้เมื่อปีที่แล้วรัฐบาลสหรัฐห้ามบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ เข้าขุดเจาะในแถบอาร์กติก จนกว่าจะนำเสนอแผนที่น่าพึงพอใจก็ตาม
แต่ เชลล์ ยังแข็งแกร่ง เห็นได้จากรายได้ไตรมาสแรกของปีนี้ที่สูงกว่าการคาดหมายของนักวิเคราะห์ นอกจากนั้น บริษัทยังมีรายได้มากมายจากสินทรัพย์ที่มีอยู่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือโรงงานจีทีแอลในกาตาร์ ซึ่งทำกำไรให้ได้อย่างมาก
รายได้ของเชลล์มีจำนวน 481,700 ล้านดอลลาร์ กำไร 26,592 ล้านดอลลาร์ สินทรัพย์ 360,325 ล้านดอลลาร์
อันดับ 2 คือ วอลมาร์ทสโตร์ ที่ขยับขึ้นมา 1 อันดับ หลังจากการเน้นราคาสินค้าที่ต่ำของร้านค้าปลีกรายนี้ ดึงดูดผู้คนได้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ยอดขายสำหรับปีงบประมาณ 2555 เพิ่มขึ้น 5.9% เป็น 443,900 ล้านดอลลาร์ โดยผู้บริโภคในสหรัฐมีสัดส่วนถึง 62% ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท
เมื่อดูรายได้แล้ว วอลมาร์ท ทำได้ 469,162 ล้านดอลลาร์ และมีกำไร 16,999 ล้านดอลลาร์ ส่วนสินทรัพย์มีมูลค่า 203,105 ล้านดอลลาร์
อันดับ 3 คือ เอกซอน โมบิล ซึ่งหักปากกาคำทำนายของนักวิเคราะห์บางคนที่ระบุว่าการกลั่นเป็นธุรกิจที่ถ่วงรายได้ของบริษัท แต่ผู้กลั่นรายใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง เอกซอน ไม่เห็นด้วยและเดินหน้าทำธุรกิจ จนเมื่อปีที่แล้วบริษัทมีกำไรประจำปีมากเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์สหรัฐ แซงหน้าสถิติของตัวเองที่เคยทำไว้เมื่อปี 2551 ขณะที่รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 44,800 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 9.3% จากปีก่อน สำหรับปีหน้าบริษัทมีแผนลดการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลง 1% พร้อมหันไปเน้นการลงทุนในการขุดเจาะแหล่งที่ยากเข้าถึง
เมื่อนับรายได้รวมปีที่แล้ว เอกซอน มีรายได้ 449,886 ล้านดอลลาร์ มีกำไร 44,880 ล้านดอลลาร์ และมีสินทรัพย์ 333,795 ล้านดอลลาร์
อันดับ 4 คือ ซิโนเปค ผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งขยับขึ้นมา 1 อันดับ การขยายตัวของซิโนเปคมีขึ้นแม้รัฐบาลจีนควบคุมราคาน้ำมันและก๊าซ ซิโนเปคมีกำไรสุทธิไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 25% แซงหน้าคู่แข่งอย่างปิโตรไชนา ผลจากเครือข่ายจัดจำหน่ายอันกว้างขวางในจีน นอกจากนั้นบริษัทยังเข้าถือครองกิจการมากมายนอกจีน อย่างการเข้าซื้อหุ้นในบ่อน้ำมันและก๊าซของแองโกลา
ปีที่แล้ว บริษัทมีรายได้ 428,167 ล้านดอลลาร์ กำไร 8,221 ล้านดอลลาร์ และสินทรัพย์ 314,082 ล้านดอลลาร์
อันดับ 5 คือ ไชนา เนชันแนล ปิโตรเลียม (ซีเอ็นพีซี) ผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ของจีนอีกรายซึ่งเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมน้ำมันโลกอย่างมาก ผ่านการเป็นหุ้นส่วนกับประเทศต่างๆ ที่อุดมไปด้วยน้ำมันอย่างอิรักและกาตาร์ พร้อมไปกับการเพิ่มการผลิตน้ำมันและก๊าซในประเทศ ทำให้ปริมาณการผลิตเมื่อปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 2.8% เป็น 278 ล้านเมตริกตัน ขณะที่การผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น 2.6% สู่ระดับสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2541
นอกจากนั้น ซีเอ็นซีพี ยังเป็นตัวเก็งที่จะได้สำรวจบ่อน้ำมันในอิรัก ต่อจากบริษัทเอกซอน ซึ่งจะทำให้อิทธิพลด้านน้ำมันของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากในอิรัก
ปีที่แล้ว ซีเอ็นพีซี มีรายได้ 408,630 ล้านดอลลาร์ กำไร 18,196 ล้านดอลลาร์ สินทรัพย์ 547,232 ล้านดอลลาร์
อันดับ 6 คือ บีพี ซึ่งหล่นลงจากอันดับ 4 เพราะต้องระดมเงินสด 30,000 ล้านดอลลาร์ไปจ่ายค่าความเสียหายจากแท่นขุดเจาะระเบิดเมื่อ 3 ปีที่แล้ว นอกจากนั้น การผลิตน้ำมันและก๊าซของบริษัทยังลดลง แต่การขายบริษัทน้ำมันและก๊าซทีเอ็นเค-บีพีในรัสเซีย ทำให้บริษัทมีรายได้และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
ปีที่แล้วบริษัทมีรายได้ 388,285 ล้านดอลลาร์ กำไร 11,582 ล้านดอลลาร์ และสินทรัพย์ 300,193 ล้านดอลลาร์
อันดับ 7 คือ สเตทกริด ซึ่งเป็นบริษัทไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของรัฐบาลจีน จัดหาไฟฟ้าให้เกือบ 80% ของประเทศ แถมยังมีแผนการรุกตลาดโลก ด้วยการประกาศข้อตกลงกับสิงคโปร์พาวเวอร์มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์ อันจะทำให้สเตทกริดขึ้นเป็นบริษัทไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในออสเตรเลีย ข้อตกลงนี้เป็นการเคลื่อนไหวล่าสุดของสเตทกริดในการลงทุนต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการลงทุนในบราซิล ฟิลิปปินส์ และโปรตุเกส
ปีที่แล้วบริษัทมีรายได้ 298,449 ล้านดอลลาร์ กำไร 12,318 ล้านดอลลาร์ สินทรัพย์ 374,546 ล้านดอลลาร์
อันดับ 8 คือ โตโยต้า มอเตอร์ แห่งญี่ปุ่น ที่กลับมาครองตำแหน่งผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกเมื่อปีที่แล้วหลังจากสูญเสียตำแหน่งให้บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ไปเมื่อปี 2554 ซึ่งหลังจากนั้น นายอากิระ โตโยะตะ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ก็ได้ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่เพื่อให้บริษัทมีความคล่องตัวและตอบสนองได้มากขึ้น
ปีที่แล้วบริษัทมีรายได้ 265,702 ล้านดอลลาร์ กำไร 11,587 ล้านดอลลาร์ สินทรัพย์ 377,482 ล้านดอลลาร์
อันดับ 9 คือ โฟล์คสวาเก้น ที่มีแผนครองโลกแต่เจออุปสรรคที่ทวีปยุโรป ซึ่งสภาพตลาดซบเซา กระนั้น ผู้ผลิตรถสัญชาติเยอรมนีแสดงความมั่นใจว่าจะมีผลประกอบการตามเป้าหมาย และยึดมั่นเป้าหมายในการขึ้นเป็นผู้ผลิตรถชั้นนำของโลกภายในปี 2561 ขณะนี้บริษัทกำลังปรับปรุงการผลิต พร้อมกับเสริมแกร่งรถหรูยี่ห้อออดี้
ปีที่แล้ว บริษัทมีรายได้ 247,613 ล้านดอลลาร์ กำไร 27,909 ล้านดอลลาร์ สินทรัพย์ 408,173 ล้านดอลลาร์
อันดับ 10 คือ โทเทล บริษัทน้ำมันฝรั่งเศส ซึ่งกำไรเพิ่มขึ้นช่วงท้ายๆ ของปีที่แล้ว ผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยปีที่แล้วบริษัทมีรายได้ 234,278 ล้านดอลลาร์ กำไร 13,743 ล้านดอลลาร์ และ สินทรัพย์ 226,505 ล้านดอลลาร์
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20130710/516334/%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%99-500-%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97.%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A81.html
ปตท. ก้าวสู่บริษัทใหญ่ลำดับ 81 ของโลกจากการจัดอันดับธุรกิจยักษ์ใหญ่ทั่วโลก 500 แห่งของนิตยสารดัง "ฟอร์จูน"
ปตท. พุ่งอันดับ 95 สู่บริษัทใหญ่ลำดับ 81 จากการจัดอันดับธุรกิจยักษ์ใหญ่ทั่วโลก 500 แห่งของนิตยสารดัง "ฟอร์จูน" ที่เชลล์ครองอันดับ 1
ฟอร์จูน นิตยสารและเว็บไซต์ชื่อดังของสหรัฐ เผยผลการจัดอันดับบริษัทยักษ์ใหญ่ 500 แห่งทั่วโลก หรือ ฟอร์จูน 500 พิจารณาจากผลประกอบการของปี 2555 และเปรียบเทียบกับตัวเลขของปี 2554 โดยบริษัท ปตท. ของไทยติดอันดับ 81 พุ่งขึ้นจากอันดับที่ 95 เมื่อปีก่อน ด้วยรายได้ 89,945 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12.9% กำไร 3,370 ล้านดอลลาร์ และ สินทรัพย์ 53,363 ล้านดอลลาร์ ทั้งยังเป็นบริษัทไทยบริษัทเดียวที่ติดอยู่ในรายชื่อบริษัทขนาดใหญ่ 500 แห่งทั่วโลกจากการจัดอันดับของฟอร์จูน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ปตท. กล่าวว่า อันดับ ปตท.ดีขึ้นในขณะที่หลายๆ ธุรกิจแย่ลง สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจในอเมริกาที่ไม่ดี ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตลดลงไปจำนวนมาก แต่อันดับที่ดีขึ้นของ ปตท. ก็ไม่ได้ดีไปกว่าคนอื่นมาก เราดีขึ้นในท่ามกลางที่คนอื่นแย่ลง สะท้อนถึงปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้
อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับของฟอร์จูน 500 ที่ปรากฏนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่ายังมีวิกฤติเศรษฐกิจอยู่ แต่ในส่วนของ ปตท. หากเทียบกับปี 2554 ก็ถือว่าอันดับดีขึ้นจาก 95 มาอยู่ที่ 81
สำหรับบริษัทที่ครองอันดับ 1 คือ รอยัล ดัทช์ เชลล์ ซึ่งเมื่อปี 2554 ก็ครองบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก แม้เมื่อปีที่แล้วรัฐบาลสหรัฐห้ามบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ เข้าขุดเจาะในแถบอาร์กติก จนกว่าจะนำเสนอแผนที่น่าพึงพอใจก็ตาม
แต่ เชลล์ ยังแข็งแกร่ง เห็นได้จากรายได้ไตรมาสแรกของปีนี้ที่สูงกว่าการคาดหมายของนักวิเคราะห์ นอกจากนั้น บริษัทยังมีรายได้มากมายจากสินทรัพย์ที่มีอยู่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือโรงงานจีทีแอลในกาตาร์ ซึ่งทำกำไรให้ได้อย่างมาก
รายได้ของเชลล์มีจำนวน 481,700 ล้านดอลลาร์ กำไร 26,592 ล้านดอลลาร์ สินทรัพย์ 360,325 ล้านดอลลาร์
อันดับ 2 คือ วอลมาร์ทสโตร์ ที่ขยับขึ้นมา 1 อันดับ หลังจากการเน้นราคาสินค้าที่ต่ำของร้านค้าปลีกรายนี้ ดึงดูดผู้คนได้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ยอดขายสำหรับปีงบประมาณ 2555 เพิ่มขึ้น 5.9% เป็น 443,900 ล้านดอลลาร์ โดยผู้บริโภคในสหรัฐมีสัดส่วนถึง 62% ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท
เมื่อดูรายได้แล้ว วอลมาร์ท ทำได้ 469,162 ล้านดอลลาร์ และมีกำไร 16,999 ล้านดอลลาร์ ส่วนสินทรัพย์มีมูลค่า 203,105 ล้านดอลลาร์
อันดับ 3 คือ เอกซอน โมบิล ซึ่งหักปากกาคำทำนายของนักวิเคราะห์บางคนที่ระบุว่าการกลั่นเป็นธุรกิจที่ถ่วงรายได้ของบริษัท แต่ผู้กลั่นรายใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง เอกซอน ไม่เห็นด้วยและเดินหน้าทำธุรกิจ จนเมื่อปีที่แล้วบริษัทมีกำไรประจำปีมากเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์สหรัฐ แซงหน้าสถิติของตัวเองที่เคยทำไว้เมื่อปี 2551 ขณะที่รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 44,800 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 9.3% จากปีก่อน สำหรับปีหน้าบริษัทมีแผนลดการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลง 1% พร้อมหันไปเน้นการลงทุนในการขุดเจาะแหล่งที่ยากเข้าถึง
เมื่อนับรายได้รวมปีที่แล้ว เอกซอน มีรายได้ 449,886 ล้านดอลลาร์ มีกำไร 44,880 ล้านดอลลาร์ และมีสินทรัพย์ 333,795 ล้านดอลลาร์
อันดับ 4 คือ ซิโนเปค ผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งขยับขึ้นมา 1 อันดับ การขยายตัวของซิโนเปคมีขึ้นแม้รัฐบาลจีนควบคุมราคาน้ำมันและก๊าซ ซิโนเปคมีกำไรสุทธิไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 25% แซงหน้าคู่แข่งอย่างปิโตรไชนา ผลจากเครือข่ายจัดจำหน่ายอันกว้างขวางในจีน นอกจากนั้นบริษัทยังเข้าถือครองกิจการมากมายนอกจีน อย่างการเข้าซื้อหุ้นในบ่อน้ำมันและก๊าซของแองโกลา
ปีที่แล้ว บริษัทมีรายได้ 428,167 ล้านดอลลาร์ กำไร 8,221 ล้านดอลลาร์ และสินทรัพย์ 314,082 ล้านดอลลาร์
อันดับ 5 คือ ไชนา เนชันแนล ปิโตรเลียม (ซีเอ็นพีซี) ผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ของจีนอีกรายซึ่งเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมน้ำมันโลกอย่างมาก ผ่านการเป็นหุ้นส่วนกับประเทศต่างๆ ที่อุดมไปด้วยน้ำมันอย่างอิรักและกาตาร์ พร้อมไปกับการเพิ่มการผลิตน้ำมันและก๊าซในประเทศ ทำให้ปริมาณการผลิตเมื่อปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 2.8% เป็น 278 ล้านเมตริกตัน ขณะที่การผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น 2.6% สู่ระดับสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2541
นอกจากนั้น ซีเอ็นซีพี ยังเป็นตัวเก็งที่จะได้สำรวจบ่อน้ำมันในอิรัก ต่อจากบริษัทเอกซอน ซึ่งจะทำให้อิทธิพลด้านน้ำมันของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากในอิรัก
ปีที่แล้ว ซีเอ็นพีซี มีรายได้ 408,630 ล้านดอลลาร์ กำไร 18,196 ล้านดอลลาร์ สินทรัพย์ 547,232 ล้านดอลลาร์
อันดับ 6 คือ บีพี ซึ่งหล่นลงจากอันดับ 4 เพราะต้องระดมเงินสด 30,000 ล้านดอลลาร์ไปจ่ายค่าความเสียหายจากแท่นขุดเจาะระเบิดเมื่อ 3 ปีที่แล้ว นอกจากนั้น การผลิตน้ำมันและก๊าซของบริษัทยังลดลง แต่การขายบริษัทน้ำมันและก๊าซทีเอ็นเค-บีพีในรัสเซีย ทำให้บริษัทมีรายได้และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
ปีที่แล้วบริษัทมีรายได้ 388,285 ล้านดอลลาร์ กำไร 11,582 ล้านดอลลาร์ และสินทรัพย์ 300,193 ล้านดอลลาร์
อันดับ 7 คือ สเตทกริด ซึ่งเป็นบริษัทไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของรัฐบาลจีน จัดหาไฟฟ้าให้เกือบ 80% ของประเทศ แถมยังมีแผนการรุกตลาดโลก ด้วยการประกาศข้อตกลงกับสิงคโปร์พาวเวอร์มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์ อันจะทำให้สเตทกริดขึ้นเป็นบริษัทไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในออสเตรเลีย ข้อตกลงนี้เป็นการเคลื่อนไหวล่าสุดของสเตทกริดในการลงทุนต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการลงทุนในบราซิล ฟิลิปปินส์ และโปรตุเกส
ปีที่แล้วบริษัทมีรายได้ 298,449 ล้านดอลลาร์ กำไร 12,318 ล้านดอลลาร์ สินทรัพย์ 374,546 ล้านดอลลาร์
อันดับ 8 คือ โตโยต้า มอเตอร์ แห่งญี่ปุ่น ที่กลับมาครองตำแหน่งผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกเมื่อปีที่แล้วหลังจากสูญเสียตำแหน่งให้บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ไปเมื่อปี 2554 ซึ่งหลังจากนั้น นายอากิระ โตโยะตะ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ก็ได้ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่เพื่อให้บริษัทมีความคล่องตัวและตอบสนองได้มากขึ้น
ปีที่แล้วบริษัทมีรายได้ 265,702 ล้านดอลลาร์ กำไร 11,587 ล้านดอลลาร์ สินทรัพย์ 377,482 ล้านดอลลาร์
อันดับ 9 คือ โฟล์คสวาเก้น ที่มีแผนครองโลกแต่เจออุปสรรคที่ทวีปยุโรป ซึ่งสภาพตลาดซบเซา กระนั้น ผู้ผลิตรถสัญชาติเยอรมนีแสดงความมั่นใจว่าจะมีผลประกอบการตามเป้าหมาย และยึดมั่นเป้าหมายในการขึ้นเป็นผู้ผลิตรถชั้นนำของโลกภายในปี 2561 ขณะนี้บริษัทกำลังปรับปรุงการผลิต พร้อมกับเสริมแกร่งรถหรูยี่ห้อออดี้
ปีที่แล้ว บริษัทมีรายได้ 247,613 ล้านดอลลาร์ กำไร 27,909 ล้านดอลลาร์ สินทรัพย์ 408,173 ล้านดอลลาร์
อันดับ 10 คือ โทเทล บริษัทน้ำมันฝรั่งเศส ซึ่งกำไรเพิ่มขึ้นช่วงท้ายๆ ของปีที่แล้ว ผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยปีที่แล้วบริษัทมีรายได้ 234,278 ล้านดอลลาร์ กำไร 13,743 ล้านดอลลาร์ และ สินทรัพย์ 226,505 ล้านดอลลาร์
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20130710/516334/%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%99-500-%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97.%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A81.html