http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000092296
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ว่า นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนได้เรียนรู้การประหยัดไฟ ก็อยากจะส่งเสริมให้มีแผงโซลาร์บนหลังคาบ้าน ซึ่งกระทรวงพลังงานก็ได้ตอบสนองเพราะทำเสนอเข้าคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติแล้ว
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจเรื่องกระแสไฟฟ้า เรื่องการประหยัดไฟฟ้า และเป็นการลดจำนวนการสร้างโรงไฟฟ้าลงโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะเงินที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ค่า FT ต่างๆ ประชาชนต้องรับภาระอยู่แล้ว ฉะนั้นประชาชนสร้างเองในแต่ละหลังจะทำให้เฉลี่ยกันไปจะทำให้ถูกลงไปอีก
นายพงษ์ศักดิ์ ยังได้กล่าวถึง ต้นทุนในการติดตั้งว่า จากเดิมค่าติดตั้งก็คิด 300,000 – 400,000 บาท ราคาที่ออกแบบใหม่รัฐบาลรู้ขั้นตอนในการติดตั้งทั้งลดธรรมเนียมลง และทางกระทรวงคลังยังจะลดค่าภาษีให้อีก ซึ่งคิดว่าต้นทุนไม่ถึง 200,000 และสามารถกู้เงินมาติดตั้งได้ใช้เงินรายได้ที่ได้จากการขายไฟฟ้าให้รัฐมาผ่อน 3 - 4 กู้ได้คืนแล้ว
นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ทำไฟฟ้าโซลาร์ชุมชนที่ 800 เมกะวัตต์ หมายถึงจะให้ชุมชนติดตั้งโซลาร์ 1 เมกะวัตต์ เสร็จแล้วตรงนี้เป็นรายได้เป็นสวัสดิการของหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านจะมีกำไรเข้าไปซ่อมแซมหมู่บ้าน ขึ้นอยู่คณะกรรมการหมู่บ้านในแต่ละแห่ง คงไม่ได้ทุกชุมชน เพราะขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่ที่มีสายส่ง ไฟฟ้าเหมาะสมหรือไม่ ที่ดินแสงแดดเพียงพอหรือไม่ บางแห่งฝนตกมากบางแห่งไม่มีแดด แดดไม่ร้อนพอก็ไม่เหมาะสม รัฐบาลจะทดลองทำ 800 แห่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประชาชนสามารถติดต่อบริษัทที่ขายโซลาร์ที่รับติดตั้งซึ่งมีหลายเจ้า ทางกระทรวงพลังงานกำลังตรวจศูนย์ว่าคนไหนเหมาะสม คงจะเริ่มได้เดือนหน้าสามารถทำได้เลย และที่ออกมา 100 เมกะวัตต์ สำหรับบนหลังคาบ้านไม่ได้หมายความว่ามีแค่ 100,000 หลัง หมายถึงมีคนขอ 100,000 หลัง รัฐบาลก็จะติดตั้งให้ เพราะอย่างต่างประเทศการกำหนดค่า FIT 6 บาท 96 สตางค์ เขาจะผลิตทุกปีเขามีค่าแผงถูกลงค่าไฟฟ้าก็จะถูกลงด้วย
ก.พลังงาน รับลูกนายกฯ หนุนติดแผงโซลาร์บนหลังคาบ้าน คาด ส.ค.นี้ชัด
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ว่า นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนได้เรียนรู้การประหยัดไฟ ก็อยากจะส่งเสริมให้มีแผงโซลาร์บนหลังคาบ้าน ซึ่งกระทรวงพลังงานก็ได้ตอบสนองเพราะทำเสนอเข้าคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติแล้ว
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจเรื่องกระแสไฟฟ้า เรื่องการประหยัดไฟฟ้า และเป็นการลดจำนวนการสร้างโรงไฟฟ้าลงโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะเงินที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ค่า FT ต่างๆ ประชาชนต้องรับภาระอยู่แล้ว ฉะนั้นประชาชนสร้างเองในแต่ละหลังจะทำให้เฉลี่ยกันไปจะทำให้ถูกลงไปอีก
นายพงษ์ศักดิ์ ยังได้กล่าวถึง ต้นทุนในการติดตั้งว่า จากเดิมค่าติดตั้งก็คิด 300,000 – 400,000 บาท ราคาที่ออกแบบใหม่รัฐบาลรู้ขั้นตอนในการติดตั้งทั้งลดธรรมเนียมลง และทางกระทรวงคลังยังจะลดค่าภาษีให้อีก ซึ่งคิดว่าต้นทุนไม่ถึง 200,000 และสามารถกู้เงินมาติดตั้งได้ใช้เงินรายได้ที่ได้จากการขายไฟฟ้าให้รัฐมาผ่อน 3 - 4 กู้ได้คืนแล้ว
นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ทำไฟฟ้าโซลาร์ชุมชนที่ 800 เมกะวัตต์ หมายถึงจะให้ชุมชนติดตั้งโซลาร์ 1 เมกะวัตต์ เสร็จแล้วตรงนี้เป็นรายได้เป็นสวัสดิการของหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านจะมีกำไรเข้าไปซ่อมแซมหมู่บ้าน ขึ้นอยู่คณะกรรมการหมู่บ้านในแต่ละแห่ง คงไม่ได้ทุกชุมชน เพราะขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่ที่มีสายส่ง ไฟฟ้าเหมาะสมหรือไม่ ที่ดินแสงแดดเพียงพอหรือไม่ บางแห่งฝนตกมากบางแห่งไม่มีแดด แดดไม่ร้อนพอก็ไม่เหมาะสม รัฐบาลจะทดลองทำ 800 แห่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประชาชนสามารถติดต่อบริษัทที่ขายโซลาร์ที่รับติดตั้งซึ่งมีหลายเจ้า ทางกระทรวงพลังงานกำลังตรวจศูนย์ว่าคนไหนเหมาะสม คงจะเริ่มได้เดือนหน้าสามารถทำได้เลย และที่ออกมา 100 เมกะวัตต์ สำหรับบนหลังคาบ้านไม่ได้หมายความว่ามีแค่ 100,000 หลัง หมายถึงมีคนขอ 100,000 หลัง รัฐบาลก็จะติดตั้งให้ เพราะอย่างต่างประเทศการกำหนดค่า FIT 6 บาท 96 สตางค์ เขาจะผลิตทุกปีเขามีค่าแผงถูกลงค่าไฟฟ้าก็จะถูกลงด้วย