พอดีอ่านเรื่อง
บรรพชนคนไทยกินข้าวเหนียว ของคุณสุจิตต์ วงศ์เทศ ซึ่งในบทความพูดถึงทั้งข้าว(เข้าใจว่าเ็นข้าวสารข้าวเหนียว)ที่แม่ฮ่องสอนอายุ 7,000 ปี และข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วที่ตกอยู่ในโถงวัดมหาธาตุ ที่สุโขทัย(อายุน่าจะไม่น้อยเหมือนกัน) เลยสงสัยอะค่ะว่าข้าวหรือธัญพืชต่างๆ ที่หลงเหลือมาให้เราพบเจอในการขุดค้นทางโบราณคดีนี่มันยังหลงเหลือมาได้ยังไง ทำไมไม่เน่าเสียจนถึงสลายไปก่อน(อย่างข้าวนึ่งที่ตกอยู่ในดินนี่ไม่กี่วันราก็น่าจะขึ้นแล้วรึเปล่าคะ แล้วหลังจากราขึ้นนับมาจนทุกวันนี้ก็น่าจะสลายตัวไม่เหลือสภาพความเป็นข้าวนึ่งให้เราเห็นแล้วรึเปล่า?)
ป.ล. แท็กอะไรดีน้อออออ
ข้าวหรือธัญพืชที่เจอในการขุดค้นทางโบราณคดีทำไมถึงยังเหลือให้เราเจอคะ?
ป.ล. แท็กอะไรดีน้อออออ