สารไนโตรฟูแรนส์และคลอแรมฟินิคอลในกุ้ง สารทั้งสองเป็นสารก่อมะเร็ง

กลัวมะเร็งกันป่ะ

ปี54สารฟอสเฟสในกุ้งเกินก็เห็นกินกันได้

ไนโตรฟูแรน (วารสารการประมงฉบับที่ 55)



สารในกลุ่มไนโตรฟูแรนเป็นยาปฏิชีวนะที่สังเคราะห์ขึ้น มีลักษณะเป็นผงสีเหลือง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ละลายน้ำได้เล็กน้อย สูตรโครงสร้างประกอบไปด้วยวงแหวนฟูแรนเกาะด้วยไนโตรเจนกรุ๊ป เรียกว่า 5 - Nitofuraldahyde

การนำมาใช้ประโยชน์

ใช้รักษาโรคติดเชื้อในท่อทางเดินปัสสาวะและโรคติดเชื้อในช่องคลอด ตลอดจนโรคติดต่อทางผิวหนัง ในสัตว์ใช้รักษาโรคติดเชื้อในลำไส้ และทางเดินปัสสาวะ เช่น สุกร โค เป็ด ไก่ และกุ้ง สารในกลุ่มนี้มีอยู่ด้วยกันหลายอนุพันธ์ที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ ฟูราโซลิโคน , ไนโตรฟูราโซน , ไนโตรฟูแรนโตลิน , ไนเฟอร์ฟิรินอล และไนเฟอร์สสไตริเนท

ความเป็นพิษ

สารปฏิชีวนะในกลุ่มไนโตรฟูแรน เป็นสารก่อมะเร็งทั้งในคนและสัตว์ หากสะสมในร่างกายป็นจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ นอกจากนี้บางอนุพันธยังเข้าไปทำลายระบบประสาทส่วนปลายของปอด และอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการแพ้ที่บริเวณผิวหนังของคนอีกด้วย จึงนับว่าสารไนโตรฟูแรนเป็นสารที่อันตรายต้องห้ามในการเลี้ยงสัตว์ที่จะนำมาเป็นอาหารให้มนุษย์รับประทาน

ค่ามาตรฐาน

ตั้งแต่ปี 2545 ได้เพิกถอนทะเบียนตำรับยากลุ่มไนโตรฟูแรน ยาสำหรับสัตว์ที่มีส่วนประกอบด้วยตัวยาของไนโตรฟูราโซน และฟูราโซลิโดน ออกจากตำรับยาสัตว์ รวมทั้งห้ามนำเข้าตลอดจนห้ามผลิตอาหารสัตว์ที่มีส่วนผสม หรือมีการเติมไนโตรฟูราโดนในอาหารสัตว์ทุกชนิด
ในการรับรองมาตรฐานฟาร์มระดับ GAP ไนโตรฟูแรนที่ตกค้างในเนื้อสัตว์น้ำต้องไม่เกิน 1.0 ng/g

คลอแรมเฟนิคอล (วารสารการประมงฉบับที่ 55)

คลอแรมเฟนิคอล (วารสารการประมงฉบับที่ 55)

เป็นสารปฏิชีวนะที่ผลิตโดยเชื้อราที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Streptomyces vebezdae เป็นสารไม่มีสี ใส ละลายน้ำได้ต่ำ และสามารถสังเคราะห์ได้ง่ายด้วยวิธีทางเคมี มี ชื่อทางเคมีคือ 2,2-dichlor-N-[(aR,bR)-b-hydroxy-a-hydroxymethyl-4-nitrophenethyl]acetamide สามารถยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบ ซึ่งผลสุดท้ายที่ได้ก็คือ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้

การนำมาใช้ประโยชน์
คลอแรมเฟนิคอลนำมาใช้เป็นยารักษาโรคทั้งในคนและสัตว์ เนื่องจากให้ผลดีและราคาถูก สำหรับในคน ใช้เป็นยารักษาไข้ไทฟรอยด์ รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และใช้เป็นสารต่อต้านการติดเชื้อในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข แมว ม้า โค รวมทั้งสัตว์ที่นำมาใช้เพื่อการบริโภค เช่น ไก่ สุกร และสัตว์น้ำ

ความเป็นพิษ

คลอแรมเฟนิคอล เป็นสารที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(USFDA) และหน่วยงานประเมินการใช้ยาของยุโรป (EMEA) ห้ามนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหารของคนอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป็นยาที่ต้องสงวนไว้สำหรับมนุษย์ ซึ่งไม่มียาอื่นรักษาได้ หากรับประทานอาหารที่มีสารคลอแรมเฟนิคอลตกค้างเข้าไปทำให้เชื้อโรคในคนดื้อยา จะทำให้รักษาโรคอีกไม่ได้ อันตรายของยาคลอแรมเฟนิคอลค่อนข้างร้ายแรง เพราะจะทำให้ผู้บริโภคเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดและทำให้ขาดภูมิคุ้มกันโรค นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดที่กระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้อีก และยังเป็นสาเหตุของการที่เลือดไหลไม่หยุดเพราะเกล็ดเลือดเปราะบางทำให้ประสาทตาพิการ และเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาแล้วได้รับยาคลอแรมเฟนิคอลผ่านแม่เข้าไป จะทำให้เด็กทารกนั้นเป็นโรคตัวสีเทา และเมื่อเด็กคลอดออกมา จะอาเจียน หายใจผิดปกติ ระบบหมุนเวียนโลหิตล้มเหลวและอาจเสียชีวิตได้ และถ้าหากเด็กทารกไม่ตายก็อาจจะทำให้เด็กมีอาการปัญญาอ่อนขั้นต่ำ
หากนำไปใช้ในการเลี้ยงกุ้ง จะมียาตกค้างในน้ำ และในดิน ทำให้เชื้อโรคในสิ่งแวดล้อมดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ไม่สามารถควบคุมโรคกุ้งได้อีกต่อไป เนื่องจากแบคทีเรียสามารถถ่ายทอดยีนดื้อยาคลอแรมเฟนิคอลในระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

ค่าต่ำสุดของสารคลอแรมเฟนิคอล

ได้มีการเพิกถอนตำรับยาคลอแรมเฟนิคอลที่นำมาใช้สำหรับสัตว์ที่นำมาใช้บริโภค เนื่องจากมีการตรวจสอบพบว่า มีการตกค้างในอาหาร ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค โดยกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 250 พ.ศ.2545 เรื่องมาตราฐานกุ้งและกุ้งแปรรูป โดยที่กุ้งและกุ้งแปรรูปต้องไม่มีการตรวจพบในการตกค้างของสารชนิดนี้ และมีมาตรการที่จะตรวจโรงงานผลิตอาหาร ซึ่งจะต้องไม่มีสารต้องห้ามดังกล่าวตกค้างอยู่
ในการรับรองมาตรฐานฟาร์มระดับ GAP คลอแรมเฟนิคอลที่ตกค้างในเนื้อสัตว์น้ำต้องไม่เกิน 0.1 ppb







แม่น้ำบางปะกงวิกฤตหนัก หลังชาวบ้านแอบใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเทลงแม่น้ำเพื่อจับกุ้งก้ามกราม บางรายซื้อไปบริโภคเกิดอาการแพ้ยา-อาเจียน วอนผู้เกี่ยวข้องแก้ปัญหา
                       7 มิ.ย.55 ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในเขตอำเภอบางคล้าว่า มีกลุ่มชาวบ้านจำนวนมาก ที่จับสัตว์น้ำในแม่น้ำบางปะกงโดยเฉพาะกุ้งก้ามกราม ด้วยวิธีลักลอบใช้สารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืช เทลงแม่น้ำลักษณะเหมือนเบื่อยา เมื่อกุ้งก้ามกรามได้กลิ่นหรือสัมผัสกับตัวยาจะเกิดอาการเมายา แล้วลอยตัวหนีเข้าตลิ่ง ก่อนใช้มือจับได้อย่างง่ายดาย บางตัวสัมผัสกับยามากเกินไปก็นอนตายอยู่ใต้น้ำ สร้างผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำตัวเล็กที่ลอยตาย
http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=647513
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่