ส่วนตัว ถึงแม้ว่า รมต. ทรัพย์ และคณะ ถึงขั้นยอมลงทุนกินปูม้าโชว์ ที่หาดบ้านเพ ก่อนไปเกาะเสม็ด
จาก
http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000096204
ผมก็ยังคงไม่มีความมั่นใจเลยที่จะทาน ยกเว้นว่าจะได้เห็นผลการตรวจสอบสารปนเปื้อนในสัตว์ทะเล สาหร่ายทะเล ในน้ำทะเล ฯลฯ อย่างเข้มข้นจากทาง หน่วยงานมืออาชีพ ที่น่าเชื่อถือ
ภาพถ่ายวันที่ 4 สค 56
http://ppantip.com/topic/30802061/comment31
ภาพสาหร่ายทะเลที่ปนเปื้อนคราบน้ำมัน สัตว์ทะเลตัวไหนกินเข้าไป ก็จะเข้าไปสะสมในสัตว์ตัวนั้นที ปลาใหญ่กินปลาเล็ก สะสมสารพิษกันไปเป็นทอด ๆ แม้แต่การหายใจเอาน้ำทะเลที่ปนเปื้อนสารพิษจากน้ำมันดิบผ่านเหงือกของปลา ก็เป็นการรับและสะสมสารพิษเต็ม ๆ ไหนจะเป็น กุ้ง หอย ปู แมงดา และอีกมากมาย สารพิษที่ถูกสะสมในสัตว์ทะเลเหล่านั้น ในที่สุดก็หนีไม่พ้นตกมาถึงคนที่กินสัตว์เหล่านั้น
ภาพถ่ายวันที่ 4 สค 56 จากกระทู้
http://ppantip.com/topic/30802061/comment35
อย่างปลาหมึกอ้วนกลมเนื้อแน่นตัวนี้ ที่นอนเกยตื้นตายที่ชายหาด ไม่รู้เพราะสารพิษจากน้ำมันดิบที่รั่ว หรือเพราะอะไร
ปล. คุณชูวิทย์ ทานอาหารทะเลโชว์หรือยังครับเนี่ย
เสริมความรู้นะครับ
โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
การรั่วไหลของน้ำมันดิบลงสู่ทะเลที่ จ.ระยองก่อให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนขึ้นมากมาย เนื่องจากในน้ำมันดิบประกอบด้วยสารต่างๆ หลายร้อยชนิด บางชนิดมีพิษและอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ รวมทั้งมีการใช้สารเคมีในปริมาณมากเพื่อกำจัดคราบน้ำมัน ซึ่งอาจตกค้างในสิ่งแวดล้อมหรือในสัตว์ทะเลได้เช่นกัน
ดังนั้น ความปลอดภัยในการบริโภคอาหารทะเลจึงเป็นข้อสงสัยประการหนึ่งที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วเพิ่งจะผ่านมาได้เพียงไม่เกิน 1 อาทิตย์ จึงยังไม่มีข้อมูลผลการตรวจสอบระดับสารเคมีที่อาจเป็นพิษในสิ่งแวดล้อมหรือสัตว์ทะเลจากหน่วยงานภาครัฐออกมาให้ประชาชนทราบ
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ มีข้อมูลการตรวจหาระดับสารพิษในสิ่งแวดล้อมและในสัตว์ทะเลภายหลังจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบ ซึ่งเกิดขึ้นในต่างประเทศในอดีต โดยข้อมูลนี้อาจเป็นประโยชน์แก่ประชาชน สามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อดูแลรักษาสุขภาพและอาจช่วยลดความสับสนหรือความกังวลได้ในระดับหนึ่ง
เหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นในอ่าวเม็กซิโก เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 และสิ้นสุดวันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน มีน้ำมันดิบรั่วไหลสู่ทะเลประมาณ 800 ล้านลิตร มีการประกาศห้ามจับสัตว์น้ำเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายในบริเวณที่พบคราบน้ำมันและบริเวณใกล้เคียงหลังจากเกิดเหตุไม่กี่วัน จากนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเริ่มสุ่มเก็บตัวอย่าง ปลา กุ้ง ปู และหอยนางรม ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ บริเวณใกล้เคียงและบริเวณเฝ้าระวัง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่หลายร้อยตารางกิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2553 ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2554 จำนวนมากกว่า 8,000 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์หาสารจากน้ำมันดิบและสารเคมีที่ใช้สลายคราบน้ำมันที่อาจตกค้างหรือสะสมอยู่ในสัตว์ทะเล
นอกจากนี้ ยังมีนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งออกเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสารตกค้างเช่นเดียวกัน ในน้ำมันดิบมีสารเคมีต่างๆ หลายร้อยชนิด สารที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจคือสารในกลุ่ม โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ “พี เอ เอช” (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon; PAH) เนื่องจากมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่าสารกลุ่ม พี เอ เอช นี้มีพิษก่อให้เกิดมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งผิวหนังและมะเร็งปอด รวมทั้งสามารถตกค้างและสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อม สัตว์ทะเลและในร่างกายมนุษย์ได้เป็นระยะเวลานาน จึงสามารถใช้ระดับสาร พี เอ เอช เป็นตัวบ่งชี้ว่าสัตว์ทะเลที่จับได้ในบริเวณนั้นมีความปลอดภัย สามารถนำไปบริโภคได้หรือไม่
โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ทะเลที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีสารกลุ่ม พี เอ เอช สะสม ได้แก่ กุ้ง ปู และหอยนางรม เนื่องจากสัตว์จำพวกนี้มีความสามารถในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายด้อยกว่าสัตว์ที่เป็นอาหารทะเลชนิดอื่น นอกจากนี้ ยังมีการวัดหาปริมาณธาตุโลหะหลายชนิดที่มาจากน้ำมันดิบและวัดหาปริมาณสารตกค้างจากน้ำยาเคมีที่ใช้ขจัดคราบน้ำมัน เพื่อใช้ชี้วัดความปลอดภัยของอาหารทะเลด้วย
ผลการสำรวจหาสารตกค้าง พบว่า ภายหลังจากน้ำมันดิบรั่วไหล จะตรวจพบสารในกลุ่ม พี เอ เอช สูงขึ้นในสัตว์ทะเลแทบทุกชนิด โดยพบในระดับที่แตกต่างกันไป เช่น ในปลาแซลมอน พบระดับสารกลุ่ม พี เอ เอช สูงขึ้นกว่าระดับปกติ 2 เท่า ส่วนในหอยเชลล์ พบระดับสารในกลุ่ม พี เอ เอช สูงขึ้นกว่าระดับปกติถึง 100 เท่า แต่โดยเฉลี่ยสำหรับตัวอย่างสัตว์ทะเลที่นำมาตรวจทั้งหมด พบระดับสารกลุ่ม พี เอ เอช สูงขึ้นกว่าระดับปกติ 2-17 เท่า โดยเฉพาะสัตว์ที่จับมาจากบริเวณที่มีคราบน้ำมัน ในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ส่วนระยะเวลาที่ระดับสารกลุ่ม พี เอ เอช ลดลงสู่ระดับปกติในสัตว์ทะเลแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน เช่น ปลา กุ้งและปู ใช้เวลา 2-4 เดือน ส่วนสัตว์จำพวกหอย ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน ระดับสารพิษนี้จึงจะลดลงสู่ระดับปกติ
ส่วนธาตุโลหะนั้น นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบ แมงกานีส สารหนู โคบอลต์ โครเมียม ซีลีเนียม ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม และธาตุอื่นๆ สะสมในสัตว์ทะเลในปริมาณสูงกว่าปกติ โดยพบว่าหอยนางรมมีธาตุโลหะตกค้างอยู่มากที่สุด ยิ่งหอยมีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งพบธาตุโลหะตกค้างสูงและพบว่ามีธาตุโลหะตกค้างนานกว่า 10 เดือน นอกจากนี้ยังตรวจพบสาร ไดออกทิล โซเดียม ซัลโฟซัคซิเนต หรือ “ดี โอ เอส เอส” (Dioctyl Sodium Sulfosuccinate; DOSS) ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของน้ำยาขจัดคราบน้ำมันตกค้างในสิ่งแวดล้อมนานกว่า 2 เดือน แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าตรวจพบการสะสมของสารนี้ในสัตว์ทะเลหรือไม่
จากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ให้บทเรียนว่า หากมีการประกาศห้ามจับสัตว์ทะเลเพื่อบริโภคหรือจำหน่าย ในบริเวณที่ตรวจพบคราบน้ำมันและบริเวณใกล้เคียงทันทีที่เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล จนกว่าสารตกค้างชนิดต่างๆ มีระดับลดลงสู่ระดับปกติ รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์สื่อสารกับประชาชนเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง จะช่วยลดความกังวลและช่วยให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในความปลอดภัยในการบริโภคอาหารทะเลมากขึ้น
ในขณะที่ยังไม่มีรายงานการตรวจวัดสารตกค้างในสัตว์ทะเลอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานภาครัฐ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพแนะนำให้ประชาชนใส่ใจกับการเลือกซื้อ เลือกรับประทานสัตว์ทะเล โดยหากซื้อสัตว์ทะเลสด ควรสังเกตดูเปลือกและผิวหนัง รวมทั้งดมกลิ่นว่ามีคราบลักษณะคล้ายน้ำมันเกาะอยู่หรือมีกลิ่นผิดปกติหรือไม่ หากตรวจดูแล้วแต่ยังไม่แน่ใจ อาจเทียบสีและกลิ่นของสัตว์ทะเลกับร้านขายที่อยู่ข้างเคียงก่อนตัดสินใจซื้อ เมื่อรับประทาน ควรสังเกตกลิ่น รส และเนื้อสัมผัส หากพบว่าผิดปกติก็ไม่ควรรับประทาน หากเกิดอาการผิดปกติภายหลังจากการรับประทานอาหารทะเลที่ต้องสงสัย ควรรีบพบแพทย์ทันทีและแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อตรวจหาสารพิษในกระแสเลือดได้อย่างถูกต้อง ส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวซึ่งกินเวลาหลายปีนั้น คงต้องใช้การใส่ใจดูแลตัวเองอย่างใกล้ชิดและพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
อาหารทะเล บริเวณแถว ๆ แหล่งน้ำมันดิบรั่ว อีกนานไหมครับ กว่าจะทานได้
จาก http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000096204
ผมก็ยังคงไม่มีความมั่นใจเลยที่จะทาน ยกเว้นว่าจะได้เห็นผลการตรวจสอบสารปนเปื้อนในสัตว์ทะเล สาหร่ายทะเล ในน้ำทะเล ฯลฯ อย่างเข้มข้นจากทาง หน่วยงานมืออาชีพ ที่น่าเชื่อถือ
ภาพถ่ายวันที่ 4 สค 56 http://ppantip.com/topic/30802061/comment31
ภาพสาหร่ายทะเลที่ปนเปื้อนคราบน้ำมัน สัตว์ทะเลตัวไหนกินเข้าไป ก็จะเข้าไปสะสมในสัตว์ตัวนั้นที ปลาใหญ่กินปลาเล็ก สะสมสารพิษกันไปเป็นทอด ๆ แม้แต่การหายใจเอาน้ำทะเลที่ปนเปื้อนสารพิษจากน้ำมันดิบผ่านเหงือกของปลา ก็เป็นการรับและสะสมสารพิษเต็ม ๆ ไหนจะเป็น กุ้ง หอย ปู แมงดา และอีกมากมาย สารพิษที่ถูกสะสมในสัตว์ทะเลเหล่านั้น ในที่สุดก็หนีไม่พ้นตกมาถึงคนที่กินสัตว์เหล่านั้น
ภาพถ่ายวันที่ 4 สค 56 จากกระทู้ http://ppantip.com/topic/30802061/comment35
อย่างปลาหมึกอ้วนกลมเนื้อแน่นตัวนี้ ที่นอนเกยตื้นตายที่ชายหาด ไม่รู้เพราะสารพิษจากน้ำมันดิบที่รั่ว หรือเพราะอะไร
ปล. คุณชูวิทย์ ทานอาหารทะเลโชว์หรือยังครับเนี่ย
เสริมความรู้นะครับ
โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ
การรั่วไหลของน้ำมันดิบลงสู่ทะเลที่ จ.ระยองก่อให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนขึ้นมากมาย เนื่องจากในน้ำมันดิบประกอบด้วยสารต่างๆ หลายร้อยชนิด บางชนิดมีพิษและอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ รวมทั้งมีการใช้สารเคมีในปริมาณมากเพื่อกำจัดคราบน้ำมัน ซึ่งอาจตกค้างในสิ่งแวดล้อมหรือในสัตว์ทะเลได้เช่นกัน
ดังนั้น ความปลอดภัยในการบริโภคอาหารทะเลจึงเป็นข้อสงสัยประการหนึ่งที่ประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วเพิ่งจะผ่านมาได้เพียงไม่เกิน 1 อาทิตย์ จึงยังไม่มีข้อมูลผลการตรวจสอบระดับสารเคมีที่อาจเป็นพิษในสิ่งแวดล้อมหรือสัตว์ทะเลจากหน่วยงานภาครัฐออกมาให้ประชาชนทราบ
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ มีข้อมูลการตรวจหาระดับสารพิษในสิ่งแวดล้อมและในสัตว์ทะเลภายหลังจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบ ซึ่งเกิดขึ้นในต่างประเทศในอดีต โดยข้อมูลนี้อาจเป็นประโยชน์แก่ประชาชน สามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อดูแลรักษาสุขภาพและอาจช่วยลดความสับสนหรือความกังวลได้ในระดับหนึ่ง
เหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นในอ่าวเม็กซิโก เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 และสิ้นสุดวันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน มีน้ำมันดิบรั่วไหลสู่ทะเลประมาณ 800 ล้านลิตร มีการประกาศห้ามจับสัตว์น้ำเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายในบริเวณที่พบคราบน้ำมันและบริเวณใกล้เคียงหลังจากเกิดเหตุไม่กี่วัน จากนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเริ่มสุ่มเก็บตัวอย่าง ปลา กุ้ง ปู และหอยนางรม ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ บริเวณใกล้เคียงและบริเวณเฝ้าระวัง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่หลายร้อยตารางกิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2553 ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2554 จำนวนมากกว่า 8,000 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์หาสารจากน้ำมันดิบและสารเคมีที่ใช้สลายคราบน้ำมันที่อาจตกค้างหรือสะสมอยู่ในสัตว์ทะเล
นอกจากนี้ ยังมีนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งออกเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสารตกค้างเช่นเดียวกัน ในน้ำมันดิบมีสารเคมีต่างๆ หลายร้อยชนิด สารที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจคือสารในกลุ่ม โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ “พี เอ เอช” (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon; PAH) เนื่องจากมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่าสารกลุ่ม พี เอ เอช นี้มีพิษก่อให้เกิดมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งผิวหนังและมะเร็งปอด รวมทั้งสามารถตกค้างและสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อม สัตว์ทะเลและในร่างกายมนุษย์ได้เป็นระยะเวลานาน จึงสามารถใช้ระดับสาร พี เอ เอช เป็นตัวบ่งชี้ว่าสัตว์ทะเลที่จับได้ในบริเวณนั้นมีความปลอดภัย สามารถนำไปบริโภคได้หรือไม่
โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ทะเลที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีสารกลุ่ม พี เอ เอช สะสม ได้แก่ กุ้ง ปู และหอยนางรม เนื่องจากสัตว์จำพวกนี้มีความสามารถในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายด้อยกว่าสัตว์ที่เป็นอาหารทะเลชนิดอื่น นอกจากนี้ ยังมีการวัดหาปริมาณธาตุโลหะหลายชนิดที่มาจากน้ำมันดิบและวัดหาปริมาณสารตกค้างจากน้ำยาเคมีที่ใช้ขจัดคราบน้ำมัน เพื่อใช้ชี้วัดความปลอดภัยของอาหารทะเลด้วย
ผลการสำรวจหาสารตกค้าง พบว่า ภายหลังจากน้ำมันดิบรั่วไหล จะตรวจพบสารในกลุ่ม พี เอ เอช สูงขึ้นในสัตว์ทะเลแทบทุกชนิด โดยพบในระดับที่แตกต่างกันไป เช่น ในปลาแซลมอน พบระดับสารกลุ่ม พี เอ เอช สูงขึ้นกว่าระดับปกติ 2 เท่า ส่วนในหอยเชลล์ พบระดับสารในกลุ่ม พี เอ เอช สูงขึ้นกว่าระดับปกติถึง 100 เท่า แต่โดยเฉลี่ยสำหรับตัวอย่างสัตว์ทะเลที่นำมาตรวจทั้งหมด พบระดับสารกลุ่ม พี เอ เอช สูงขึ้นกว่าระดับปกติ 2-17 เท่า โดยเฉพาะสัตว์ที่จับมาจากบริเวณที่มีคราบน้ำมัน ในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ส่วนระยะเวลาที่ระดับสารกลุ่ม พี เอ เอช ลดลงสู่ระดับปกติในสัตว์ทะเลแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน เช่น ปลา กุ้งและปู ใช้เวลา 2-4 เดือน ส่วนสัตว์จำพวกหอย ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน ระดับสารพิษนี้จึงจะลดลงสู่ระดับปกติ
ส่วนธาตุโลหะนั้น นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบ แมงกานีส สารหนู โคบอลต์ โครเมียม ซีลีเนียม ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม และธาตุอื่นๆ สะสมในสัตว์ทะเลในปริมาณสูงกว่าปกติ โดยพบว่าหอยนางรมมีธาตุโลหะตกค้างอยู่มากที่สุด ยิ่งหอยมีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งพบธาตุโลหะตกค้างสูงและพบว่ามีธาตุโลหะตกค้างนานกว่า 10 เดือน นอกจากนี้ยังตรวจพบสาร ไดออกทิล โซเดียม ซัลโฟซัคซิเนต หรือ “ดี โอ เอส เอส” (Dioctyl Sodium Sulfosuccinate; DOSS) ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของน้ำยาขจัดคราบน้ำมันตกค้างในสิ่งแวดล้อมนานกว่า 2 เดือน แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าตรวจพบการสะสมของสารนี้ในสัตว์ทะเลหรือไม่
จากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ให้บทเรียนว่า หากมีการประกาศห้ามจับสัตว์ทะเลเพื่อบริโภคหรือจำหน่าย ในบริเวณที่ตรวจพบคราบน้ำมันและบริเวณใกล้เคียงทันทีที่เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล จนกว่าสารตกค้างชนิดต่างๆ มีระดับลดลงสู่ระดับปกติ รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์สื่อสารกับประชาชนเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง จะช่วยลดความกังวลและช่วยให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในความปลอดภัยในการบริโภคอาหารทะเลมากขึ้น
ในขณะที่ยังไม่มีรายงานการตรวจวัดสารตกค้างในสัตว์ทะเลอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานภาครัฐ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพแนะนำให้ประชาชนใส่ใจกับการเลือกซื้อ เลือกรับประทานสัตว์ทะเล โดยหากซื้อสัตว์ทะเลสด ควรสังเกตดูเปลือกและผิวหนัง รวมทั้งดมกลิ่นว่ามีคราบลักษณะคล้ายน้ำมันเกาะอยู่หรือมีกลิ่นผิดปกติหรือไม่ หากตรวจดูแล้วแต่ยังไม่แน่ใจ อาจเทียบสีและกลิ่นของสัตว์ทะเลกับร้านขายที่อยู่ข้างเคียงก่อนตัดสินใจซื้อ เมื่อรับประทาน ควรสังเกตกลิ่น รส และเนื้อสัมผัส หากพบว่าผิดปกติก็ไม่ควรรับประทาน หากเกิดอาการผิดปกติภายหลังจากการรับประทานอาหารทะเลที่ต้องสงสัย ควรรีบพบแพทย์ทันทีและแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อตรวจหาสารพิษในกระแสเลือดได้อย่างถูกต้อง ส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวซึ่งกินเวลาหลายปีนั้น คงต้องใช้การใส่ใจดูแลตัวเองอย่างใกล้ชิดและพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ