จากมติชนออนไลน์
นายกิติพันธุ์ เหล่าประภัสสร ผู้จัดการฝ่ายการขาย บริษัท สยามเกรนส์ จำกัด ผู้ผลิตข้าวถุงโค-โค่ เปิดเผยว่า วันที่ 17 กรกฎาคม คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เข้าตรวจสอบกระบวนการผลิตของโรงงานที่ตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-ตราด กม.18 และหารือถึงการมีสารรมควันเมทิลโบรไมด์สูงเกิน 50 ppm บริษัทยอมรับว่ามีความผิดพลาดในขั้นตอนการรมยา โดยข้าวถุงล็อตดังกล่าวมีการรมควันสารเมทิลโบรไมด์หลังจากบรรจุถุงแล้ว และไม่ได้ปล่อยให้สารในถุงระเหยจนค่า ppm ต่ำ ก่อนจัดส่งไปจุดจำหน่าย ขณะนี้ได้ชะลอการผลิตและจัดเก็บข้าวถุงทั้งหมดที่ผลิตออกจากโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นชนิดข้าวที่เป็นข่าว หรือชนิดอื่นที่วางจำหน่าย โดยไม่มีการนำออกจำหน่าย
"ไม่ได้มีเจตนา เป็นการผิดพลาดในกระบวนการผลิต ที่ไม่ได้ทำตามขั้นตอนทั้งหมดก่อนจัดส่ง ซึ่งอยากชี้แจงว่า สารที่ใช้รมข้าวเป็นสารที่ใช้ทั่วไป จะมีการระเหยในระยะเวลาหนึ่งหรือในขั้นตอนล้างน้ำ ไม่ได้เป็นอันตรายถึงเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะใช้โอกาสนี้ในการตรวจสอบการผลิต และจัดทำแผนฟื้นฟูความเชื่อมั่นถึงผู้บริโภคต่อไป คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ จะสรุปได้ว่าบริษัทจะดำเนินการอย่างไร ยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ได้สร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์และรายได้ข้าวถุงของบริษัท" นายกิติพันธุ์กล่าว
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้เห็นชอบเปิดระบายข้าวเปลือกเพื่อการทำนึ่ง และการส่งออกทั้งหมดเป็นการทั่วไป จำนวน 2 แสนตัน กำหนดยื่นซองประกวดราคาในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้พร้อมวางค้ำประกันค่าข้าวที่เสนอซื้อ 2% ของราคาที่เสนอซื้อ โดยผู้ยื่นประมูลต้องทำธุรกิจค้าข้าวเกิน 3 เดือน และมีคำสั่งซื้อข้าวนึ่งจากต่างประเทศมายืนยัน
"ข้าวถุงโค-โค่" รับผิดพลาดรมยา ทำเมทิลโบรไมด์เกินมาตรฐาน สั่ง"ชะลอผลิต-เก็บคืน"
นายกิติพันธุ์ เหล่าประภัสสร ผู้จัดการฝ่ายการขาย บริษัท สยามเกรนส์ จำกัด ผู้ผลิตข้าวถุงโค-โค่ เปิดเผยว่า วันที่ 17 กรกฎาคม คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เข้าตรวจสอบกระบวนการผลิตของโรงงานที่ตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-ตราด กม.18 และหารือถึงการมีสารรมควันเมทิลโบรไมด์สูงเกิน 50 ppm บริษัทยอมรับว่ามีความผิดพลาดในขั้นตอนการรมยา โดยข้าวถุงล็อตดังกล่าวมีการรมควันสารเมทิลโบรไมด์หลังจากบรรจุถุงแล้ว และไม่ได้ปล่อยให้สารในถุงระเหยจนค่า ppm ต่ำ ก่อนจัดส่งไปจุดจำหน่าย ขณะนี้ได้ชะลอการผลิตและจัดเก็บข้าวถุงทั้งหมดที่ผลิตออกจากโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นชนิดข้าวที่เป็นข่าว หรือชนิดอื่นที่วางจำหน่าย โดยไม่มีการนำออกจำหน่าย
"ไม่ได้มีเจตนา เป็นการผิดพลาดในกระบวนการผลิต ที่ไม่ได้ทำตามขั้นตอนทั้งหมดก่อนจัดส่ง ซึ่งอยากชี้แจงว่า สารที่ใช้รมข้าวเป็นสารที่ใช้ทั่วไป จะมีการระเหยในระยะเวลาหนึ่งหรือในขั้นตอนล้างน้ำ ไม่ได้เป็นอันตรายถึงเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ก็จะใช้โอกาสนี้ในการตรวจสอบการผลิต และจัดทำแผนฟื้นฟูความเชื่อมั่นถึงผู้บริโภคต่อไป คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ จะสรุปได้ว่าบริษัทจะดำเนินการอย่างไร ยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ได้สร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์และรายได้ข้าวถุงของบริษัท" นายกิติพันธุ์กล่าว
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้เห็นชอบเปิดระบายข้าวเปลือกเพื่อการทำนึ่ง และการส่งออกทั้งหมดเป็นการทั่วไป จำนวน 2 แสนตัน กำหนดยื่นซองประกวดราคาในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้พร้อมวางค้ำประกันค่าข้าวที่เสนอซื้อ 2% ของราคาที่เสนอซื้อ โดยผู้ยื่นประมูลต้องทำธุรกิจค้าข้าวเกิน 3 เดือน และมีคำสั่งซื้อข้าวนึ่งจากต่างประเทศมายืนยัน