ความเดิม
http://ppantip.com/topic/30711551
การมาเยี่ยมชมนครวัต นครธมครั้งที่สองนี้ได้ตั้งโจทย์ไว้ว่า อยากดูวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยโบราณว่าเป็นอย่างไร สมัยเป็นนักศึกษาประวัติศาสตร์สิ่งที่เราได้เรียนได้อ่าน ล้วนเป็นเรื่องราวของชนชั้นปกครอง การทำสงคราม การสร้างบ้านแปงเมืองของชนชั้นสูงผู้ เรารู้เรื่องราวของสามัญชนน้อยมาก ซึ่งผู้คนเหล่านี้แหละที่สละแรงงานเป็นผู้สร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง แต่ดูเหมือนบทบาทของกลุ่มชนล่างนี้ถูกละเลยเหมือนไม่มีตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์ รีวิวนี้จะชวนมาดูชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสมัยโบราณที่อาศัยอยู่ในทุ่งราบอันอุดมในช่วงหนึ่งประวัติศาสตร์เขมรยุคพระนครกัน เราจะได้เห็นภาพของของความอุดมสมบูรณ์ของสุวรรณภูมิในอดีต และจุดเชื่อมต่อของอารยธรรมอินเดียสู่อารยธรรมขอมซึ่งมีอิทธิพลกว้างใหญ่ในคาบสมุทรนี้
ประวัติศาสตร์เขมรยุคพระนครในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 9 – 15 เป็นยุครุ่งเรืองที่สุด ก่อนที่ถูกอาณาจักรอยุธยาบุกทำลายและปล่อยทิ้งร้างมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงถูกค้นพบโดยบาทหลวงและนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงถูกเปิดเผยออกมา
วิหารที่เล่าเรื่องราวของสามัญชนมากที่สุดคือ นครธม เป็นวิหารพุทธที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สั่งให้สร้างขึ้น ตามคติธรรมของชาวพุทธนั้น คติชนชั้นถูกลดบทบาทลง ใครจะดีจะชั่วอยู่ที่บาปบุญที่ได้ทำไว้ คติพุทธจึงถูกประยุกต์ใช้ปกครองชาวบ้าน บาปบุญคุณโทษถูกนำมาแทนที่หน้าที่พลเมืองของระบบชนชั้น การพูดถึงชาวบ้านจึงมีความสำคัญ และเป็นจุดศูนย์กลางการปกครองให้สังคมอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นเราจะเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านสมัยโบราณได้จากนครธมแห่งนี้ แม้กระนั้นก็ตามแนวคิดกษัตริย์เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลก็ยังไม่หมดไป โดยจะเห็นได้ว่า เรื่องราวชีวิตชาวบ้านจะอยู่รอบนอกของตัวประสาท ในขณะทีส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปชั้นในและสูงขึ้นไปก็ยังเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชนชั้นปกครองเป็นสำคัญ เพียงแต่สลับหน้าใหม่ พระเศียรของพระเจ้าชัยวรมันที่เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูมาถือพุทธมีพระพักตร์ยิ้มแย้มสี่ทิศมีดอกบัวบนเศียร อันหมายถึงผู้ตรัสรู้แจ้งอย่างอิ่มเอมเบิกบาน จะว่าไปเป็นเพียงการนำคติพุทธมาสวมแทนคติฮินดูเท่านั้น
พระเศียรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ทรงแย้มพระสรวลอันลือลั่น ทรงเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูมาถือพุทธมีพระพักตร์ยิ้มแย้มสี่ทิศมีดอกบัวบนเศียร อันหมายถึงผู้ตรัสรู้แจ้งอย่างอิ่มเอมเบิกบาน จะว่าไปเป็นเพียงการนำคติพุทธมาสวมแทนคติฮินดูเท่านั้น อย่างไรก็ดี ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีการสร้างโอสถศาลาให้บริการแก่ชาวบ้านมากที่สุดจนเป็นที่เรื่องลือถึงความเอาใจใส่ตอพสกนิกรของพระองค์
ชวนไปนั่งรถเล่นที่เสียมเรียบกัน(ภาคโบราณ)
http://ppantip.com/topic/30711551
การมาเยี่ยมชมนครวัต นครธมครั้งที่สองนี้ได้ตั้งโจทย์ไว้ว่า อยากดูวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยโบราณว่าเป็นอย่างไร สมัยเป็นนักศึกษาประวัติศาสตร์สิ่งที่เราได้เรียนได้อ่าน ล้วนเป็นเรื่องราวของชนชั้นปกครอง การทำสงคราม การสร้างบ้านแปงเมืองของชนชั้นสูงผู้ เรารู้เรื่องราวของสามัญชนน้อยมาก ซึ่งผู้คนเหล่านี้แหละที่สละแรงงานเป็นผู้สร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง แต่ดูเหมือนบทบาทของกลุ่มชนล่างนี้ถูกละเลยเหมือนไม่มีตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์ รีวิวนี้จะชวนมาดูชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสมัยโบราณที่อาศัยอยู่ในทุ่งราบอันอุดมในช่วงหนึ่งประวัติศาสตร์เขมรยุคพระนครกัน เราจะได้เห็นภาพของของความอุดมสมบูรณ์ของสุวรรณภูมิในอดีต และจุดเชื่อมต่อของอารยธรรมอินเดียสู่อารยธรรมขอมซึ่งมีอิทธิพลกว้างใหญ่ในคาบสมุทรนี้
ประวัติศาสตร์เขมรยุคพระนครในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 9 – 15 เป็นยุครุ่งเรืองที่สุด ก่อนที่ถูกอาณาจักรอยุธยาบุกทำลายและปล่อยทิ้งร้างมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงถูกค้นพบโดยบาทหลวงและนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงถูกเปิดเผยออกมา
วิหารที่เล่าเรื่องราวของสามัญชนมากที่สุดคือ นครธม เป็นวิหารพุทธที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สั่งให้สร้างขึ้น ตามคติธรรมของชาวพุทธนั้น คติชนชั้นถูกลดบทบาทลง ใครจะดีจะชั่วอยู่ที่บาปบุญที่ได้ทำไว้ คติพุทธจึงถูกประยุกต์ใช้ปกครองชาวบ้าน บาปบุญคุณโทษถูกนำมาแทนที่หน้าที่พลเมืองของระบบชนชั้น การพูดถึงชาวบ้านจึงมีความสำคัญ และเป็นจุดศูนย์กลางการปกครองให้สังคมอยู่อย่างปกติสุข ดังนั้นเราจะเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านสมัยโบราณได้จากนครธมแห่งนี้ แม้กระนั้นก็ตามแนวคิดกษัตริย์เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลก็ยังไม่หมดไป โดยจะเห็นได้ว่า เรื่องราวชีวิตชาวบ้านจะอยู่รอบนอกของตัวประสาท ในขณะทีส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปชั้นในและสูงขึ้นไปก็ยังเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชนชั้นปกครองเป็นสำคัญ เพียงแต่สลับหน้าใหม่ พระเศียรของพระเจ้าชัยวรมันที่เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูมาถือพุทธมีพระพักตร์ยิ้มแย้มสี่ทิศมีดอกบัวบนเศียร อันหมายถึงผู้ตรัสรู้แจ้งอย่างอิ่มเอมเบิกบาน จะว่าไปเป็นเพียงการนำคติพุทธมาสวมแทนคติฮินดูเท่านั้น
พระเศียรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ทรงแย้มพระสรวลอันลือลั่น ทรงเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูมาถือพุทธมีพระพักตร์ยิ้มแย้มสี่ทิศมีดอกบัวบนเศียร อันหมายถึงผู้ตรัสรู้แจ้งอย่างอิ่มเอมเบิกบาน จะว่าไปเป็นเพียงการนำคติพุทธมาสวมแทนคติฮินดูเท่านั้น อย่างไรก็ดี ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีการสร้างโอสถศาลาให้บริการแก่ชาวบ้านมากที่สุดจนเป็นที่เรื่องลือถึงความเอาใจใส่ตอพสกนิกรของพระองค์