วันนี้จะพาไปเที่ยวเมืองปาตัน-ภักตะปูร์ อัญมณีในหุบเขากาฐมาณฑุ
ชมตอนแรก เที่ยวเมืองกาฐมาณฑุได้ที่
https://ppantip.com/topic/36398934
หุบเขากาฐมาณฑุ พื้นที่ราบกว้างใหญ่แต่ถูกปิดล้อมด้วยมหาขุนเขา ทิศเหนือเป็นเทือกเขาหิมาลัย ทิศใต้เป็นเทือกเขามหาภารตะแห่งอินเดีย มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขาแบบดิบชื้น แลป่าสูงแห่งหิมาลัย พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำการเกษตร อีกทั้งยังมีลักษณะเป็นชุมทาง เชื่อมต่อระหว่าง จีน-ทิเบต กับ ชมพูทวีป เป็นชุมทางการค้าในสมัยโบราณที่สำคัญ
จึงทำให้มีผู้คนเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณนี้มากมาย หลากหลายเผ่าพันธุ์ เกิดการผสมผสานระหว่างชนชาติ พัฒนาจากชุมชนเล็ก ๆ กลายเป็นมหานครยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของเอเชีย มีกษัตริย์ปกครองมายาวนานนับพันปี มีความรุ่งเรื่องแห่งศิลปะกรรมและศาสนสถาน สิ่งเหล่านี้ทำให้หุบเขากาฐมาณฑุแห่งเนปาลเป็นนครที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว น่าค้นหาน่ามาเยือน
หุบเขากาฎมาณฑุ ที่ราบกว้างใหญ่แต่ปิดล้อมด้วยภูมิประเทศเทือกเขารอบด้าน
เครดิตภาพจาก
http://www.tripdeedee.com/traveldata/nepal/nepal600/nepal-111.jpg
เนปาล ถูกปิดล้อมด้วย จีน ทิเบตในด้านบน อินเดียในด้านล่าง
หุบเขากาฐมาณฑุประกอบด้วย 3 นครใหญ่ คือ กาฐมาณฑุ ปาตัน และภักตะปูร์
หุบเขากาฐมาณฑุเป็นพื้นที่มรดกโลกที่มีชีวิต หาใช่ “อุทยานประวัติศาสตร์” ที่แยกขาดจากชุมชน เฉกเช่นมรดกโลกอย่าง อยุธยา สุโขทัย และหากมองย้อนกลับไปในกาลเวลากว่าสามศตวรรษ จะพบว่าหุบเขาแห่งศรัทธานี้ เคยมั่งคั่งทางศิลปะสถาปัตยกรรมอย่างที่สุดในสมัยราชวงศ์มัลละ ราชวงศ์นี้สถาปนาขึ้นโดยชาวเนวาร์ (Newar) ชนเผ่าหลักแห่งหุบเขากาฐมาณฑุ เข้ายึดครองอำนาจได้เบ็ดเสร็จตั้งแต่ พ.ศ.1743 ร่วมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราช ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรนครธม กัมพูชา เมื่อ 800 ปีก่อน แล้วสร้างความรุ่งเรืองให้หุบเขากาฐมาณฑุต่อเนื่องยาวนานถึง 569 ปี ก่อนเสียอำนาจให้ราชวงศ์ชาห์ที่รุกคืบมาจากตอนเหนือของอินเดียใน พ.ศ.2312 นั่นหมายความว่าราชวงศ์มัลละเรืองอำนาจก่อนสุโขทัยทว่า หมดอำนาจหลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย!
โดยเฉพาะในรัชสมัยพระเจ้าจัยสถิตี มัลละ (ร่วมสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา) หุบเขากาฐมาณฑุมั่งคั่งถึงขีดสุด ในฐานะชุมทางการค้า ระหว่างจีน ทิเบต และอินเดีย โดยในพ.ศ.2025 ทรงจัดสรรอำนาจให้พระโอรสและธิดา ปกครองเมืองสำคัญ 4 เมือง คือ
1. “กานติปูร์” - เมืองแห่งความรุ่งเรืองอันเป็นที่รัก (ปัจจุบันคือกาฐมาณฑุ)
2. “ภักตะปูร์” - เมืองแห่งความจงรักภักดีต่อเทพเจ้า
3. "ลลิตปูร์" เมืองที่สวยงามอย่างน่ารักน่าเอ็นดู และเป็นเมืองที่สร้างช่างฝีมือชั้นเลิศจนได้ชื่อว่า “ตักสิลา” ของเนปาล ปัจจุบันเรียก “ปาตัน”
4. “กีรติปูร์” - เมืองแห่งเกียรติยศ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของราชวงศ์มัลละ ก่อนเสียอำนาจให้ราชวงศ์ชาห์
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 - 23 หรือราว 300 - 400 ปีก่อน ถือเป็นห้วงยามแห่งการแข่งขันกันของสี่นคราที่เป็นบ้านพี่เมืองน้อง แข่งกันทั้งการทหาร การค้า การศาสนา และการรังสรรค์งานศิลป์หลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ งานโลหะ งานปูนปั้น งานสำริด กระทั่งงานกระดาษ ก่อเกิดสกุลช่างศิลปะที่โลกจดจำในนาม “ศิลปะมัลละ” หรือ “ศิลปะเนวาร์” หนุนส่งให้หุบเขากาฐมาณฑุ ก้าวสู่การเป็นราชธานีที่เปล่งปลั่งมลังเมลืองด้วยวิจิตรศิลป์อันอลังการ
ไม่ว่าจะเป็นกรอบประตูหน้าต่าง ที่ต่อคิ้ว เติมปีก กรุช่อง จำหลักลายอย่างวิลิสมาหรา แม้แต่ “ฮัมมิกะ” หรือดวงเนตรกรุณา ดวงตาเห็นธรรม ที่ประดับตรงบัลลังก์เจดีย์สวยัมภูนาถ และโพธนาถ อันกลายเป็นภาพลักษณ์โดดเด่นของเนปาลในสายตาชาวโลก ก็เป็นพุทธศิลป์อันทรงพลังที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์มัลละ ทั้งๆ ที่ราชวงศ์นี้ประกาศให้ศาสนาฮินดูเป็นศาสนานำ แต่ก็มิได้รังเกียจเดียดฉันท์ศาสนาพุทธ กระทั่งนำเอาคติความเชื่อบางอย่างของพุทธมาผสมกลมกลืนอย่างสมานฉันท์ จนเป็นเรื่องปกติ ที่ชาวฮินดูเนปาลคนหนึ่ง จะนับถือพระอวโลกิเตศวรของฝ่ายพุทธ (เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน) ขณะที่ชาวพุทธเนปาลจะกราบไหว้รูปเคารพศิวลึงค์บนฐานโยนี ศิลปินสกุลช่าง “มัลละ” จึงรังสรรค์ทั้งงานพุทธศิลป์และฮินดูศิลป์ อย่างมิอาจแยกออกจากกันได้
ภาพ "คันทวย" หรือ "ค้ำยัน" ในเมืองโบราณปาตัน แกะสลักลวดลายวิจิตรงดงาม
เมืองโบราณภักตะปูร์ ที่ยังมีชีวิต และเต็มเปี่ยมไปด้วยมนต์ขลัง
ลานในเดอบาร์สแควร์แห่งเมืองภักตะปูร์ จะเห็นว่าผู้คนยังมาใช้ชีวิตอยู่ตามปรกติ ภาพชาวเนปาลนั่งเล่นหน้าโบราณสถาน เป็นภาพที่เจนตามาก
ความงดงามแห่งวิหารทรงเทคะในภักตะปูร์
เดอบาร์สแควร์แห่งเมืองปาตัน ยังคงเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณ แม้ผ่านเหตุการณ์อันเลวร้ายแผ่นดินไหวเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ลานโล่ง ณ พระราชวังแห่งปาตัน
[CR] เนปาล ดินแดนแห่งทวยเทพและเทือกทิวเขา : ตอนที่ 2 ปาตัน-ภักตะปูร์ อัญมณีในหุบเขากาฐมาณฑุ
ชมตอนแรก เที่ยวเมืองกาฐมาณฑุได้ที่ https://ppantip.com/topic/36398934
หุบเขากาฐมาณฑุ พื้นที่ราบกว้างใหญ่แต่ถูกปิดล้อมด้วยมหาขุนเขา ทิศเหนือเป็นเทือกเขาหิมาลัย ทิศใต้เป็นเทือกเขามหาภารตะแห่งอินเดีย มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขาแบบดิบชื้น แลป่าสูงแห่งหิมาลัย พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำการเกษตร อีกทั้งยังมีลักษณะเป็นชุมทาง เชื่อมต่อระหว่าง จีน-ทิเบต กับ ชมพูทวีป เป็นชุมทางการค้าในสมัยโบราณที่สำคัญ
จึงทำให้มีผู้คนเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณนี้มากมาย หลากหลายเผ่าพันธุ์ เกิดการผสมผสานระหว่างชนชาติ พัฒนาจากชุมชนเล็ก ๆ กลายเป็นมหานครยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของเอเชีย มีกษัตริย์ปกครองมายาวนานนับพันปี มีความรุ่งเรื่องแห่งศิลปะกรรมและศาสนสถาน สิ่งเหล่านี้ทำให้หุบเขากาฐมาณฑุแห่งเนปาลเป็นนครที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว น่าค้นหาน่ามาเยือน
หุบเขากาฎมาณฑุ ที่ราบกว้างใหญ่แต่ปิดล้อมด้วยภูมิประเทศเทือกเขารอบด้าน
เครดิตภาพจาก http://www.tripdeedee.com/traveldata/nepal/nepal600/nepal-111.jpg
เนปาล ถูกปิดล้อมด้วย จีน ทิเบตในด้านบน อินเดียในด้านล่าง
หุบเขากาฐมาณฑุประกอบด้วย 3 นครใหญ่ คือ กาฐมาณฑุ ปาตัน และภักตะปูร์
หุบเขากาฐมาณฑุเป็นพื้นที่มรดกโลกที่มีชีวิต หาใช่ “อุทยานประวัติศาสตร์” ที่แยกขาดจากชุมชน เฉกเช่นมรดกโลกอย่าง อยุธยา สุโขทัย และหากมองย้อนกลับไปในกาลเวลากว่าสามศตวรรษ จะพบว่าหุบเขาแห่งศรัทธานี้ เคยมั่งคั่งทางศิลปะสถาปัตยกรรมอย่างที่สุดในสมัยราชวงศ์มัลละ ราชวงศ์นี้สถาปนาขึ้นโดยชาวเนวาร์ (Newar) ชนเผ่าหลักแห่งหุบเขากาฐมาณฑุ เข้ายึดครองอำนาจได้เบ็ดเสร็จตั้งแต่ พ.ศ.1743 ร่วมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราช ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรนครธม กัมพูชา เมื่อ 800 ปีก่อน แล้วสร้างความรุ่งเรืองให้หุบเขากาฐมาณฑุต่อเนื่องยาวนานถึง 569 ปี ก่อนเสียอำนาจให้ราชวงศ์ชาห์ที่รุกคืบมาจากตอนเหนือของอินเดียใน พ.ศ.2312 นั่นหมายความว่าราชวงศ์มัลละเรืองอำนาจก่อนสุโขทัยทว่า หมดอำนาจหลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย!
โดยเฉพาะในรัชสมัยพระเจ้าจัยสถิตี มัลละ (ร่วมสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา) หุบเขากาฐมาณฑุมั่งคั่งถึงขีดสุด ในฐานะชุมทางการค้า ระหว่างจีน ทิเบต และอินเดีย โดยในพ.ศ.2025 ทรงจัดสรรอำนาจให้พระโอรสและธิดา ปกครองเมืองสำคัญ 4 เมือง คือ
1. “กานติปูร์” - เมืองแห่งความรุ่งเรืองอันเป็นที่รัก (ปัจจุบันคือกาฐมาณฑุ)
2. “ภักตะปูร์” - เมืองแห่งความจงรักภักดีต่อเทพเจ้า
3. "ลลิตปูร์" เมืองที่สวยงามอย่างน่ารักน่าเอ็นดู และเป็นเมืองที่สร้างช่างฝีมือชั้นเลิศจนได้ชื่อว่า “ตักสิลา” ของเนปาล ปัจจุบันเรียก “ปาตัน”
4. “กีรติปูร์” - เมืองแห่งเกียรติยศ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของราชวงศ์มัลละ ก่อนเสียอำนาจให้ราชวงศ์ชาห์
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 - 23 หรือราว 300 - 400 ปีก่อน ถือเป็นห้วงยามแห่งการแข่งขันกันของสี่นคราที่เป็นบ้านพี่เมืองน้อง แข่งกันทั้งการทหาร การค้า การศาสนา และการรังสรรค์งานศิลป์หลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ งานโลหะ งานปูนปั้น งานสำริด กระทั่งงานกระดาษ ก่อเกิดสกุลช่างศิลปะที่โลกจดจำในนาม “ศิลปะมัลละ” หรือ “ศิลปะเนวาร์” หนุนส่งให้หุบเขากาฐมาณฑุ ก้าวสู่การเป็นราชธานีที่เปล่งปลั่งมลังเมลืองด้วยวิจิตรศิลป์อันอลังการ
ไม่ว่าจะเป็นกรอบประตูหน้าต่าง ที่ต่อคิ้ว เติมปีก กรุช่อง จำหลักลายอย่างวิลิสมาหรา แม้แต่ “ฮัมมิกะ” หรือดวงเนตรกรุณา ดวงตาเห็นธรรม ที่ประดับตรงบัลลังก์เจดีย์สวยัมภูนาถ และโพธนาถ อันกลายเป็นภาพลักษณ์โดดเด่นของเนปาลในสายตาชาวโลก ก็เป็นพุทธศิลป์อันทรงพลังที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์มัลละ ทั้งๆ ที่ราชวงศ์นี้ประกาศให้ศาสนาฮินดูเป็นศาสนานำ แต่ก็มิได้รังเกียจเดียดฉันท์ศาสนาพุทธ กระทั่งนำเอาคติความเชื่อบางอย่างของพุทธมาผสมกลมกลืนอย่างสมานฉันท์ จนเป็นเรื่องปกติ ที่ชาวฮินดูเนปาลคนหนึ่ง จะนับถือพระอวโลกิเตศวรของฝ่ายพุทธ (เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน) ขณะที่ชาวพุทธเนปาลจะกราบไหว้รูปเคารพศิวลึงค์บนฐานโยนี ศิลปินสกุลช่าง “มัลละ” จึงรังสรรค์ทั้งงานพุทธศิลป์และฮินดูศิลป์ อย่างมิอาจแยกออกจากกันได้
ภาพ "คันทวย" หรือ "ค้ำยัน" ในเมืองโบราณปาตัน แกะสลักลวดลายวิจิตรงดงาม
เมืองโบราณภักตะปูร์ ที่ยังมีชีวิต และเต็มเปี่ยมไปด้วยมนต์ขลัง
ลานในเดอบาร์สแควร์แห่งเมืองภักตะปูร์ จะเห็นว่าผู้คนยังมาใช้ชีวิตอยู่ตามปรกติ ภาพชาวเนปาลนั่งเล่นหน้าโบราณสถาน เป็นภาพที่เจนตามาก
ความงดงามแห่งวิหารทรงเทคะในภักตะปูร์
เดอบาร์สแควร์แห่งเมืองปาตัน ยังคงเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณ แม้ผ่านเหตุการณ์อันเลวร้ายแผ่นดินไหวเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ลานโล่ง ณ พระราชวังแห่งปาตัน