บางท่านอาจจะเข้าใจว่า บัณฑิตคือคนที่เรียนจบปริญญา หรือเป็นผู้มีความรู้สูงๆ แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
คำว่า บัณฑิต มาจากภาษาบาลีว่า ปัณฑิตา ซึ่งแปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา
ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า พาล ( พาลา พาโล) ที่แปลว่าคนโง่ หรือคนที่จะดำเนินชีวิตด้วยตัณหา ดำเดินชีวิตด้วยความหลง
สังคมไทย เต็มไปด้วยคนจบปริญญา ได้เป็นบัณฑิตเพียงแต่ในนาม ตามที่สังคมอุปโลกน์ขึ้นเท่านั้น
- คนจบปริญญา แต่ถ้าท่านยังเหยียดหยามคนไม่มีความรู้ ก็คือคนพาล หรือคนโง่
- คนจบปริญญา ถ้าดูถูกคนบ้านนอก คอกนา ก็คือคนพาล หรือคนโง่
- คนจบปริญญา ถ้ายังเป็นผีพนัน ยังลุ่มหลงในโลกีย์อบาย ก็คือคนพาล หรือคนโง่
- คนเป็นส.ส.สอบตก ถ้ายังดูถูกคนอื่นอยู่ ก็คือคนพาล หรือคนโง่ (อันนี้ผมสมมุติ)
- คนที่เติบโตมากับการกินข้าวไทย แต่กลับดูถูกชาวนา ดูถูกข้าวตัวเอง หันไปชื่นชมข้าวอินเดีย ข้าวเวียตนามแทน ทั้งที่ตัวเองไม่เคยได้ลิ้มรส ก็คือคนพาล หรือคนโง่ (สมมุติอีกเช่นกัน)
แล้วคนที่ดำเนินชีวิต้วยปัญญาเป็นอย่างไร
- รู้สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
- รู้จักปล่อยวาง
- รู้กฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
- รู้จักการให้คุณค่า และศักดิ์ศรีของแต่ละคน เพราะไม่มีใครเลือกเกิดได้
- รู้จักหาความสุขจากการแบ่งปัน
- รู้จักมองโลกแง่ดี
- รู้จักเหตุแห่งทุกข์ และวิธีดับทุกข์
- รู้จักบุญคุณ
- เข้าใจกฎธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือเปลี่ยนแปลงไป
ฯลฯ
คุณย่าของผมอายุเกือบ 90 ปี หูยังดี ตายังดี สติยังสมบูรณ์ เพราะท่านมีแต่ความสุข
- สุขที่ได้จากสวดมนต์
- สุขที่ได้จากการภาวนา
- สุขที่ได้จากการมองโลกแง่ดี
- สุขที่จากการเข้าวัด ใส่บาตร ฟังธรรม
- สุขที่ได้จากการให้อภัย
- สุขที่ได้จากการแบ่งปัน
- สุขที่ได้จากการให้เกียรติคนอื่น
แม้คุณย่าท่านไม่ได้เรียนหนังสือ แต่ท่านเป็นบัณฑิต คือดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ท่านจึงเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขเสมอ
ดังที่กล่าวมานี้ สรุปได้ว่า
บัณฑิต คือ คนที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา คือรู้จักแยกแยะ สิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร
พาล หรือพาโล หรือ คนโง่ คือคนที่ดำเนินชีวิตด้วยความตัณหา หลงตน อวดตน ทะนงตน
จึงอยากใ้ห้สาธุชนพิจารณา
เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้
ความหมายของคำว่า "บัณฑิต"
คำว่า บัณฑิต มาจากภาษาบาลีว่า ปัณฑิตา ซึ่งแปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา
ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า พาล ( พาลา พาโล) ที่แปลว่าคนโง่ หรือคนที่จะดำเนินชีวิตด้วยตัณหา ดำเดินชีวิตด้วยความหลง
สังคมไทย เต็มไปด้วยคนจบปริญญา ได้เป็นบัณฑิตเพียงแต่ในนาม ตามที่สังคมอุปโลกน์ขึ้นเท่านั้น
- คนจบปริญญา แต่ถ้าท่านยังเหยียดหยามคนไม่มีความรู้ ก็คือคนพาล หรือคนโง่
- คนจบปริญญา ถ้าดูถูกคนบ้านนอก คอกนา ก็คือคนพาล หรือคนโง่
- คนจบปริญญา ถ้ายังเป็นผีพนัน ยังลุ่มหลงในโลกีย์อบาย ก็คือคนพาล หรือคนโง่
- คนเป็นส.ส.สอบตก ถ้ายังดูถูกคนอื่นอยู่ ก็คือคนพาล หรือคนโง่ (อันนี้ผมสมมุติ)
- คนที่เติบโตมากับการกินข้าวไทย แต่กลับดูถูกชาวนา ดูถูกข้าวตัวเอง หันไปชื่นชมข้าวอินเดีย ข้าวเวียตนามแทน ทั้งที่ตัวเองไม่เคยได้ลิ้มรส ก็คือคนพาล หรือคนโง่ (สมมุติอีกเช่นกัน)
แล้วคนที่ดำเนินชีวิต้วยปัญญาเป็นอย่างไร
- รู้สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
- รู้จักปล่อยวาง
- รู้กฎแห่งไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
- รู้จักการให้คุณค่า และศักดิ์ศรีของแต่ละคน เพราะไม่มีใครเลือกเกิดได้
- รู้จักหาความสุขจากการแบ่งปัน
- รู้จักมองโลกแง่ดี
- รู้จักเหตุแห่งทุกข์ และวิธีดับทุกข์
- รู้จักบุญคุณ
- เข้าใจกฎธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือเปลี่ยนแปลงไป
ฯลฯ
คุณย่าของผมอายุเกือบ 90 ปี หูยังดี ตายังดี สติยังสมบูรณ์ เพราะท่านมีแต่ความสุข
- สุขที่ได้จากสวดมนต์
- สุขที่ได้จากการภาวนา
- สุขที่ได้จากการมองโลกแง่ดี
- สุขที่จากการเข้าวัด ใส่บาตร ฟังธรรม
- สุขที่ได้จากการให้อภัย
- สุขที่ได้จากการแบ่งปัน
- สุขที่ได้จากการให้เกียรติคนอื่น
แม้คุณย่าท่านไม่ได้เรียนหนังสือ แต่ท่านเป็นบัณฑิต คือดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ท่านจึงเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขเสมอ
ดังที่กล่าวมานี้ สรุปได้ว่า
บัณฑิต คือ คนที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา คือรู้จักแยกแยะ สิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร
พาล หรือพาโล หรือ คนโง่ คือคนที่ดำเนินชีวิตด้วยความตัณหา หลงตน อวดตน ทะนงตน
จึงอยากใ้ห้สาธุชนพิจารณา
เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้