ทางเลือก ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบไทยๆ

ประเทศไทยแบ่งอำนาจการปกครองเป็นสามส่วน
1. อำนาจนิติบัญญัติ มีอำนาจในการออกกฏหมาย โดยใช้ผ่านรัฐสภา โดยสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติ
2. อำนาจบริหาร ใช้อำนาจผ่านคณะรัฐมนตรี คอยควบคุมบริหารประเทศผ่านหน่วยงานราชการต่างๆ
3. อำนาจตุลาการ ใช้อำนาจในการตัดสินพิจารณาคดีความต่างๆที่เกิดขึ้นผ่านศาล โดยอ้างอิงกฏหมายที่บัญญัติขึ้นโดยรัฐสภา

ไม่ได้มาสอนใครนะครับ เพียงแต่อยากตั้งแง่คิดเกี่ยวกับอำนาจทั้งสาม เพราะอำนาจสองในสามดันมีการฮั้วกัน(1 กับ 2) มันไม่ได้มีการคานอำนาจกันอย่างแท้จริง มันเป็นการซูเอี๊ยกันเพื่อผลประโยชน์
สาเหตุที่ต้องเป็นอย่างนี้เพราะ เราไม่สามารถเลือกนายกฯโดยตรงได้ เพราะดันเขียนรัฐธรรมนูญเลียนแบบอังกฤษ
แล้วจะทำอย่างไร.... บอกตรงๆยากครับ ถ้าจะทำให้เหมือนกับเอมริกาที่ประธานาธิบดีมีอำนาจเด็จขาดเพราะเลือกมาโดยประชาชน การปลดประธานาธิบดีออกทำได้ยากมากๆ เต็มที่ได้แค่ตำหนิ(เช่น บิล คลินตัน)
แต่บ้านเรา เป็นการบริหารที่ต้องคอยยึดโยงผลประโยชน์ของพรรค ผลประโยชน์ของคนรอบข้าง เพื่อครองเสียงข้างมากในสภา ต้องถือว่าเป็นตัวถ่วงประเทศชาติ

ถ้าจะให้คนออกกฏหมาย แก้ไขรัฐธรรมนูญมาลดอำนาจตัวเอง ผมคงฝันไป

ผมไม่ทราบว่าสมัยก่อน(เมื่อครั้งคณะราษฏร์ล้มเจ้า)คิดอะไร
ผมเคยถามเพื่อนๆว่าเพราะอะไร ทำไมประทศไทยไม่เลือกนายกฯโดยตรงไปเลย โดยกำหนดให้มีวาระได้ครั้งละสี่ปี ไม่เกินสองครั้งเหมือนประเทศอื่นๆ เผื่อว่าจะได้มีคนดีๆเข้ามาบริหารประเทศมากขึ้น อย่างน้อยๆ มันก็คงจะไม่เลวร้ายไปกว่าทุกวันนี้เป็นแน่

คำตอบที่ได้ มันดันไม่ตรงกับคำถามซะนั่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่