วันที่ 12 ตุลาคม 1972 เครื่องบินของสายการบินอุรุกวัย แฟร์ไชด์ FH-227D ได้ออกเดินทางจากท่าอากาศยานคาร์ราสโก้ในอุรุกวัย มุ่งไปยังซานติเอโก้ ประเทศชิลี คนจำนวน 45 คนบนเครื่องบินนี้ส่วนมากเป็นนักกีฬารักบี้ทีม"โอลด์คริสเตียนส์"ของมหาวิทยาลัยสเตลล่ามาริสซึ่งกำลังจะเดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันที่ประเทศชิลี อีกหลายคนเป็นผู้โดยสารทั่วไปที่กำลังเดินทางไปเยี่ยมญาติที่ชิลี ลูกเรือ 3 คนและนักบินอีกสองนาย
สภาพอากาศในวันออกเดินทางไม่ดีนัก แฟร์ไชด์จึงต้องหยุดพักคืนหนึ่งที่เมนโดซ่า ก่อนจะออกบินต่อในวันที่ 13 ตุลาคม
และในเวลาบ่ายสามโมงครึ่งของวันเดียวกัน ขณะที่แฟร์ไชด์กำลังบินอยู่เหนือเทือกเขาแอนเดส พวกเขาประสบกับสภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนักจนเครื่องบินไม่สามารถพยุงตัวอยู่กลางอากาศได้ทำให้ต้องลงจอดฉุกเฉินที่ยอดเขาไร้ชื่อ*ซึ่งอยู่นอกเส้นทางการบินเดิม ลำตัวเครื่องกระแทกกับผิวดินอย่างแรงจนปีกทั้งสองข้างและท้ายเครื่องบินหัก ผู้โดยสารสองคนกระเด็นออกไปทางท้ายเครื่องและอีกหลายคนเสียชีวิตจากการกระแทกนี้แล้วผู้รอดชีวิตที่เหลือก็ถูกขังไว้ที่ความสูง 10,300 ฟุตในเทือกเขาแอนเดส
* ภายหลังถูกตั้งชื่อว่า Cerro Seler หรืออีกชื่อคือ Glaciar de las Lágrimas (Glacier of Tears)
คนจำนวน 12 คนซึ่งรวมทั้งนักบินหนึ่งนายเสียชีวิตจากการกระแทกดังกล่าว มาร์เซลโล่ เปเรส (25) ซึ่งเป็นกัปตันทีมรักบี้ เป็นผู้รวบรวมคนมาตั้งทีมช่วยเหลือนำผู้บาดเจ็บออกมาจากซากเครื่องบิน โรเบอร์โต้ คาเนสซ่า (19) กับกุสตาโว เซอร์บิโน่ (19) ซึ่งเป็นนักศึกษาแพทย์เป็นผู้ทำการรักษาคนเจ็บ
ดันเต้ ลากูราร่า (41) ซึ่งเป็นผู้ช่วยนักบินยังมีชีวิตอยู่ หากเขาถูกหนีบอยู่ในซากห้องเครื่องจนไม่สามารถขยับตัวได้ในสภาพปางตาย ลากูราร่าทนพิษบาดแผลไม่ไหวและขอร้องกลุ่มชายหนุ่มนำปืนมาให้เขายิงตัวตาย หากทีมรักบี้ซึ่งประกอบไปด้วยคริสเตียนซึ่งถือว่าการฆ่าตัวตายเป็นบาปร้ายแรงก็ไม่อาจกระทำการคำขอของเขาได้ แล้วในเช้าวันถัดมา ลากูราร่าก็เสียชีวิตไป และยิ่งเวลาผ่านไปนานขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิตก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย
หิมะในบริเวณที่เครื่องตกนั้นมีความหนาถึง 15 เมตร ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร และไม่มีเครื่องมือรักษาพยาบาลหรือยาที่เพียงพอ ผู้ใหญ่ส่วนมากต่างเสียชีวิตไปแต่เนิ่นๆ คนที่เหลืออยู่ได้แต่นั่งเบียดกันในเครื่องบินที่เหลือแต่ลำตัว ประทังชีวิตด้วยช็อคโกแลตที่มีจำนวนจำกัดและน้ำที่ได้จากการละลายหิมะ เมื่อมีคนตาย พวกเขาก็ได้แต่ขนศพออกไปข้างนอกและฝังไว้ใต้กองหิมะ
วันที่ 4 นับจากเครื่องตก ชาย 4 คนเดินไปยังส่วนท้ายเครื่องที่ตกอยู่ห่างออกไปประมาณ 2 ไมล์ หากก็ไม่พบอะไรนอกจากศพสองศพและอาหารจำนวนเล็กน้อย
วันที่ 9 นับจากเครื่องตก ความหิวโหยทำให้พวกเขาอ่อนแอลงจนอยู่ในขั้นอันตราย คาเนสซ่าจึงตัดสินใจเสนอความคิดใหม่ขึ้นมา ซึ่งนั่นก็คือการนำศพของคนที่เสียชีวิตไปแล้วมาแทนเสบียงนั่นเอง คาเนสซ่ายืนกรานว่าพวกเขาต้องการอาหารที่มีโปรตีนในการจะมีชีวิตรอดไปได้ และโปรตีนเพียงอย่างเดียวที่หาได้ในที่นั้นก็คือศพของพวกพ้องที่ถูกฝังไว้ข้างนอกนี่เอง คาเนสซ่ายังย้ำอีกด้วยว่าพวกเขาควรจะรีบตัดสินใจ เพราะหากปล่อยให้เวลาผ่านไป ทุกคนก็มีแต่จะอ่อนแรงลงจนไม่สามารถไปหั่นเนื้อออกมาจากศพได้
ในครั้งแรก ข้อเสนอนี้ถูกคัดค้านอย่างเด็ดขาด หากคาเนสซ่าก็พยายามเกลี้ยกล่อมทุกคนโดยกล่าวว่า"ผู้รอดชีวิตมีหน้าที่ซึ่งจะต้องมีชีวิตรอดไปให้ได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ" พวกเขาต่างพากันถกเถียงเกี่ยวกับข้อเสนอนี้กันอย่างจริงจัง
อีกทางด้านหนึ่ง รัฐบาลของชิลี อุรุกวัยและอาร์เจนติน่า ได้จัดทีมช่วยเหลือออกตามหาพวกเขาด้วยเครื่องบิน หากเมื่อผ่านไป 2 อาทิตย์โดยที่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ การค้นหานี้ก็ถูกระงับลงในที่สุด ผู้รอดชีวิตที่เครื่องแฟร์ไชด์ทราบความเป็นไปนี้จากวิทยุ พร้อมกับที่ทีมช่วยเหลือถูกเรียกกลับ พวกเขาก็รู้ได้ว่าไม่มีใครจะมาช่วยตนอีกแล้ว สิ่งเดียวที่พึ่งพาได้ก็คือตัวเองเท่านั้น
* แม้รัฐบาลจะล้มเลิกการค้นหาไปแล้ว หากครอบครัวของพวกเขาบางคนก็ยังคงดำเนินการค้นหาต่อด้วยตัวเอง ในจำนวนนี้มีกระทั่งผู้ที่ไปว่าจ้างไซโคเมทเลอร์ชาวฮอลันดา เจอร์ราด คลอเซ็ต (กล่าวกันว่าเป็นไซโคเมทเลอร์อันดับหนึ่งในประวัติศาสตร์) มาช่วยในการค้นหา หากก็ไม่มีเบาะแสเพิ่มเติมแต่อย่างใด
แล้วพวกเขาก็ตัดสินใจ
2 อาทิตย์หลังจากเครื่องบินตก คนหนุ่มๆช่วยกันขุดศพขึ้นมา พวกเขาอธิษฐานเพื่อผู้ตายโดยมีคาเนสซ่าเป็นผู้นำและกลืนเนื้อที่เฉือนออกมาลงคอไป แต่ใช่ว่าทุกคนที่จะทำเช่นนั้น มีหลายคนที่ยังคงปฏิเสธที่จะกินเนื้อคนจนวินาทีสุดท้ายคนที่ไม่กินเนื้อพากันอ่อนแรงลงไปอย่างรวดเร็ว หากก็ไม่ยอมทานเนื้อลงไปไม่ว่าคนรอบข้างจะพากันเกลี้ยกล่อมอย่างไร พวกเขาพากันเสียชีวิตในไม่ช้า
หลังจากการกินเนื้อคนครั้งแรกไปไม่กี่วัน การเฉือนเนื้อจากศพกลายมาเป็นเรื่องธรรมดาอย่างรวดเร็ว มีกระทั่งคนที่พยายามจะขโมยกล่องสำหรับเก็บเนื้อไป หลายคนนำเนื้อมาย่างบนแผ่นฟอยล์ หากคาเนสซ่าก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้โดยให้เหตุผลว่าเนื้อที่ผ่านไฟแล้วจะมีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่าเนื้อดิบ
ในตอนนี้ ผู้รอดชีวิตมีจำนวนเหลือ27 คน
วันที่ 17 หลังจากเครื่องบินตก พวกเขาพบกับพายุหิมะขนาดใหญ่ ทำให้คน 8 คนเสียชีวิตไป อีก 19 คนที่เหลืออยู่เริ่มมีอาการไม่ดี และหากพายุลูกถัดไปมาถึง ทั้งหมดก็อาจจะเสียชีวิตลงเมื่อใดก็ได้ พวกเขาช่วยกันคิดหาทางจนได้ข้อสรุปว่าควรจะส่งคนที่เหลือเรี่ยวแรงมากที่สุดลงจากเขาไปขอความช่วยเหลือ หากยังไม่ทันจะได้ลงมือตามแผน ก็มีอีกคนเสียชีวิตไปในตอนนี้ ผู้รอดชีวิตมีจำนวนเหลือ18 คน
1 เดือนหลังจากเครื่องบินตก ในวันที่ 17 พฤศจิกายน คาเนสซ่า, แอนโตนิโอ วิซินติน (19) และเฟอร์นันโด้ ปาร์ราโด้ (22) ออกเดินจากซากเครื่องไปเพื่อขอความช่วยเหลือ ทั้งสามสวมรองเท้ารักบี้ ใส่เสื้อผ้าให้หนาที่สุดเท่าที่จะใส่ได้แล้วเอาเนื้อยัดใส่กระเป๋าไปเป็นเสบียง หาก 2 วันหลังจากนั้น พวกเขาก็พบว่าตัวเองได้แต่เดินวนเวียนอยู่ในภูเขานั่นเอง จึงกลับไปยังซากเครื่องบินด้วยความสิ้นหวัง ซึ่งในถึงยามนั้นก็มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งราย
1 เดือนกับอีก 3 อาทิตย์หลังจากเครื่องบินตก คาเนสซ่ากลายมาเป็นหัวหน้าของคนที่รอดชีวิตอยู่ เขาอธิบายกับทุกคนว่าสมองเป็นส่วนที่มีแร่ธาตุอยู่มากที่สุด และควรจะขุดศพขึ้นมาเพื่อเอาสมองมาเป็นอาหาร ปาร์ราโด้ให้การสนับสนุนความคิดนี้ เขาถึงกับกล่าวว่าเพื่อที่จะรอดชีวิตไปให้ได้ ต่อให้ต้องกินสมองของแม่และน้องที่ตายไปตอนที่เครื่องบินตก เขาก็จะทำในเวลานี้ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งราย
2 เดือนหลังจากเครื่องบินตก วันที่ 12 ธันวาคมคาเนสซ่า วิซินตินและปาร์ราโด้ ออกเดินไปเพื่อขอความช่วยเหลืออีกครั้ง ทั้งสามพากันเดินข้ามเขาไปหลายลูก หากก็ยังไม่เห็นวี่แววคน อีกทั้งเสบียงอาหารก็เริ่มร่อยเหรอ วิซินตินจึงมอบเสบียงส่วนของตัวเองให้กับอีกสองคนแล้วกลับไปยังซากเครื่องบิน
16 ธันวาคม คาเนสซ่ากับปาร์ราโด้ข้ามเขาอีกลูก ขณะที่กำลังลงเขานั่นเอง พวกเขาก็เห็นพื้นที่ปศุสัตว์และวัวตัวหนึ่ง ทำให้พวกเขาทราบได้ว่าน่าจะมีบ้านคนอยู่ใกล้ๆ
ขอบคุณเนื้อหาจาก
http://base-on-truestory.blogspot.com/2013/06/alive-1993.html
ALIVE หนังที่สร้างจากเรื่องจริง เครื่องบินตกบนยอดเขาหิมะ สุดยอดจริงๆเรื่องนี้ เคยดูกันไหมครับ ? (สปอย)
วันที่ 12 ตุลาคม 1972 เครื่องบินของสายการบินอุรุกวัย แฟร์ไชด์ FH-227D ได้ออกเดินทางจากท่าอากาศยานคาร์ราสโก้ในอุรุกวัย มุ่งไปยังซานติเอโก้ ประเทศชิลี คนจำนวน 45 คนบนเครื่องบินนี้ส่วนมากเป็นนักกีฬารักบี้ทีม"โอลด์คริสเตียนส์"ของมหาวิทยาลัยสเตลล่ามาริสซึ่งกำลังจะเดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขันที่ประเทศชิลี อีกหลายคนเป็นผู้โดยสารทั่วไปที่กำลังเดินทางไปเยี่ยมญาติที่ชิลี ลูกเรือ 3 คนและนักบินอีกสองนาย
สภาพอากาศในวันออกเดินทางไม่ดีนัก แฟร์ไชด์จึงต้องหยุดพักคืนหนึ่งที่เมนโดซ่า ก่อนจะออกบินต่อในวันที่ 13 ตุลาคม
และในเวลาบ่ายสามโมงครึ่งของวันเดียวกัน ขณะที่แฟร์ไชด์กำลังบินอยู่เหนือเทือกเขาแอนเดส พวกเขาประสบกับสภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนักจนเครื่องบินไม่สามารถพยุงตัวอยู่กลางอากาศได้ทำให้ต้องลงจอดฉุกเฉินที่ยอดเขาไร้ชื่อ*ซึ่งอยู่นอกเส้นทางการบินเดิม ลำตัวเครื่องกระแทกกับผิวดินอย่างแรงจนปีกทั้งสองข้างและท้ายเครื่องบินหัก ผู้โดยสารสองคนกระเด็นออกไปทางท้ายเครื่องและอีกหลายคนเสียชีวิตจากการกระแทกนี้แล้วผู้รอดชีวิตที่เหลือก็ถูกขังไว้ที่ความสูง 10,300 ฟุตในเทือกเขาแอนเดส
* ภายหลังถูกตั้งชื่อว่า Cerro Seler หรืออีกชื่อคือ Glaciar de las Lágrimas (Glacier of Tears)
คนจำนวน 12 คนซึ่งรวมทั้งนักบินหนึ่งนายเสียชีวิตจากการกระแทกดังกล่าว มาร์เซลโล่ เปเรส (25) ซึ่งเป็นกัปตันทีมรักบี้ เป็นผู้รวบรวมคนมาตั้งทีมช่วยเหลือนำผู้บาดเจ็บออกมาจากซากเครื่องบิน โรเบอร์โต้ คาเนสซ่า (19) กับกุสตาโว เซอร์บิโน่ (19) ซึ่งเป็นนักศึกษาแพทย์เป็นผู้ทำการรักษาคนเจ็บ
ดันเต้ ลากูราร่า (41) ซึ่งเป็นผู้ช่วยนักบินยังมีชีวิตอยู่ หากเขาถูกหนีบอยู่ในซากห้องเครื่องจนไม่สามารถขยับตัวได้ในสภาพปางตาย ลากูราร่าทนพิษบาดแผลไม่ไหวและขอร้องกลุ่มชายหนุ่มนำปืนมาให้เขายิงตัวตาย หากทีมรักบี้ซึ่งประกอบไปด้วยคริสเตียนซึ่งถือว่าการฆ่าตัวตายเป็นบาปร้ายแรงก็ไม่อาจกระทำการคำขอของเขาได้ แล้วในเช้าวันถัดมา ลากูราร่าก็เสียชีวิตไป และยิ่งเวลาผ่านไปนานขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิตก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย
หิมะในบริเวณที่เครื่องตกนั้นมีความหนาถึง 15 เมตร ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร และไม่มีเครื่องมือรักษาพยาบาลหรือยาที่เพียงพอ ผู้ใหญ่ส่วนมากต่างเสียชีวิตไปแต่เนิ่นๆ คนที่เหลืออยู่ได้แต่นั่งเบียดกันในเครื่องบินที่เหลือแต่ลำตัว ประทังชีวิตด้วยช็อคโกแลตที่มีจำนวนจำกัดและน้ำที่ได้จากการละลายหิมะ เมื่อมีคนตาย พวกเขาก็ได้แต่ขนศพออกไปข้างนอกและฝังไว้ใต้กองหิมะ
วันที่ 4 นับจากเครื่องตก ชาย 4 คนเดินไปยังส่วนท้ายเครื่องที่ตกอยู่ห่างออกไปประมาณ 2 ไมล์ หากก็ไม่พบอะไรนอกจากศพสองศพและอาหารจำนวนเล็กน้อย
วันที่ 9 นับจากเครื่องตก ความหิวโหยทำให้พวกเขาอ่อนแอลงจนอยู่ในขั้นอันตราย คาเนสซ่าจึงตัดสินใจเสนอความคิดใหม่ขึ้นมา ซึ่งนั่นก็คือการนำศพของคนที่เสียชีวิตไปแล้วมาแทนเสบียงนั่นเอง คาเนสซ่ายืนกรานว่าพวกเขาต้องการอาหารที่มีโปรตีนในการจะมีชีวิตรอดไปได้ และโปรตีนเพียงอย่างเดียวที่หาได้ในที่นั้นก็คือศพของพวกพ้องที่ถูกฝังไว้ข้างนอกนี่เอง คาเนสซ่ายังย้ำอีกด้วยว่าพวกเขาควรจะรีบตัดสินใจ เพราะหากปล่อยให้เวลาผ่านไป ทุกคนก็มีแต่จะอ่อนแรงลงจนไม่สามารถไปหั่นเนื้อออกมาจากศพได้
ในครั้งแรก ข้อเสนอนี้ถูกคัดค้านอย่างเด็ดขาด หากคาเนสซ่าก็พยายามเกลี้ยกล่อมทุกคนโดยกล่าวว่า"ผู้รอดชีวิตมีหน้าที่ซึ่งจะต้องมีชีวิตรอดไปให้ได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ" พวกเขาต่างพากันถกเถียงเกี่ยวกับข้อเสนอนี้กันอย่างจริงจัง
อีกทางด้านหนึ่ง รัฐบาลของชิลี อุรุกวัยและอาร์เจนติน่า ได้จัดทีมช่วยเหลือออกตามหาพวกเขาด้วยเครื่องบิน หากเมื่อผ่านไป 2 อาทิตย์โดยที่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ การค้นหานี้ก็ถูกระงับลงในที่สุด ผู้รอดชีวิตที่เครื่องแฟร์ไชด์ทราบความเป็นไปนี้จากวิทยุ พร้อมกับที่ทีมช่วยเหลือถูกเรียกกลับ พวกเขาก็รู้ได้ว่าไม่มีใครจะมาช่วยตนอีกแล้ว สิ่งเดียวที่พึ่งพาได้ก็คือตัวเองเท่านั้น
* แม้รัฐบาลจะล้มเลิกการค้นหาไปแล้ว หากครอบครัวของพวกเขาบางคนก็ยังคงดำเนินการค้นหาต่อด้วยตัวเอง ในจำนวนนี้มีกระทั่งผู้ที่ไปว่าจ้างไซโคเมทเลอร์ชาวฮอลันดา เจอร์ราด คลอเซ็ต (กล่าวกันว่าเป็นไซโคเมทเลอร์อันดับหนึ่งในประวัติศาสตร์) มาช่วยในการค้นหา หากก็ไม่มีเบาะแสเพิ่มเติมแต่อย่างใด
แล้วพวกเขาก็ตัดสินใจ
2 อาทิตย์หลังจากเครื่องบินตก คนหนุ่มๆช่วยกันขุดศพขึ้นมา พวกเขาอธิษฐานเพื่อผู้ตายโดยมีคาเนสซ่าเป็นผู้นำและกลืนเนื้อที่เฉือนออกมาลงคอไป แต่ใช่ว่าทุกคนที่จะทำเช่นนั้น มีหลายคนที่ยังคงปฏิเสธที่จะกินเนื้อคนจนวินาทีสุดท้ายคนที่ไม่กินเนื้อพากันอ่อนแรงลงไปอย่างรวดเร็ว หากก็ไม่ยอมทานเนื้อลงไปไม่ว่าคนรอบข้างจะพากันเกลี้ยกล่อมอย่างไร พวกเขาพากันเสียชีวิตในไม่ช้า
หลังจากการกินเนื้อคนครั้งแรกไปไม่กี่วัน การเฉือนเนื้อจากศพกลายมาเป็นเรื่องธรรมดาอย่างรวดเร็ว มีกระทั่งคนที่พยายามจะขโมยกล่องสำหรับเก็บเนื้อไป หลายคนนำเนื้อมาย่างบนแผ่นฟอยล์ หากคาเนสซ่าก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้โดยให้เหตุผลว่าเนื้อที่ผ่านไฟแล้วจะมีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่าเนื้อดิบ
ในตอนนี้ ผู้รอดชีวิตมีจำนวนเหลือ27 คน
วันที่ 17 หลังจากเครื่องบินตก พวกเขาพบกับพายุหิมะขนาดใหญ่ ทำให้คน 8 คนเสียชีวิตไป อีก 19 คนที่เหลืออยู่เริ่มมีอาการไม่ดี และหากพายุลูกถัดไปมาถึง ทั้งหมดก็อาจจะเสียชีวิตลงเมื่อใดก็ได้ พวกเขาช่วยกันคิดหาทางจนได้ข้อสรุปว่าควรจะส่งคนที่เหลือเรี่ยวแรงมากที่สุดลงจากเขาไปขอความช่วยเหลือ หากยังไม่ทันจะได้ลงมือตามแผน ก็มีอีกคนเสียชีวิตไปในตอนนี้ ผู้รอดชีวิตมีจำนวนเหลือ18 คน
1 เดือนหลังจากเครื่องบินตก ในวันที่ 17 พฤศจิกายน คาเนสซ่า, แอนโตนิโอ วิซินติน (19) และเฟอร์นันโด้ ปาร์ราโด้ (22) ออกเดินจากซากเครื่องไปเพื่อขอความช่วยเหลือ ทั้งสามสวมรองเท้ารักบี้ ใส่เสื้อผ้าให้หนาที่สุดเท่าที่จะใส่ได้แล้วเอาเนื้อยัดใส่กระเป๋าไปเป็นเสบียง หาก 2 วันหลังจากนั้น พวกเขาก็พบว่าตัวเองได้แต่เดินวนเวียนอยู่ในภูเขานั่นเอง จึงกลับไปยังซากเครื่องบินด้วยความสิ้นหวัง ซึ่งในถึงยามนั้นก็มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งราย
1 เดือนกับอีก 3 อาทิตย์หลังจากเครื่องบินตก คาเนสซ่ากลายมาเป็นหัวหน้าของคนที่รอดชีวิตอยู่ เขาอธิบายกับทุกคนว่าสมองเป็นส่วนที่มีแร่ธาตุอยู่มากที่สุด และควรจะขุดศพขึ้นมาเพื่อเอาสมองมาเป็นอาหาร ปาร์ราโด้ให้การสนับสนุนความคิดนี้ เขาถึงกับกล่าวว่าเพื่อที่จะรอดชีวิตไปให้ได้ ต่อให้ต้องกินสมองของแม่และน้องที่ตายไปตอนที่เครื่องบินตก เขาก็จะทำในเวลานี้ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งราย
2 เดือนหลังจากเครื่องบินตก วันที่ 12 ธันวาคมคาเนสซ่า วิซินตินและปาร์ราโด้ ออกเดินไปเพื่อขอความช่วยเหลืออีกครั้ง ทั้งสามพากันเดินข้ามเขาไปหลายลูก หากก็ยังไม่เห็นวี่แววคน อีกทั้งเสบียงอาหารก็เริ่มร่อยเหรอ วิซินตินจึงมอบเสบียงส่วนของตัวเองให้กับอีกสองคนแล้วกลับไปยังซากเครื่องบิน
16 ธันวาคม คาเนสซ่ากับปาร์ราโด้ข้ามเขาอีกลูก ขณะที่กำลังลงเขานั่นเอง พวกเขาก็เห็นพื้นที่ปศุสัตว์และวัวตัวหนึ่ง ทำให้พวกเขาทราบได้ว่าน่าจะมีบ้านคนอยู่ใกล้ๆ
ขอบคุณเนื้อหาจาก http://base-on-truestory.blogspot.com/2013/06/alive-1993.html