คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ทั้งสองวิธีต่างกันที่จิตเพ่งหรือไม่เพ่ง แต่ตามปกติพอตั้งใจปฎิบัติธรรมมันก็จะเพ่งของมันตามธรรมชาติอยู่แล้ว พอมันมีกำลังมากมันก็จะพลิกมาเป็นการวิปัสสนาเป็นช่วงๆ ไอ้ตอนที่พลิกไปมานี่ดูลำบาก แต่ให้ลองสังเกตุว่าเมื่อไรที่คิดจะปฎิบัติตอนนั้นเป็นสมถะแน่นอน เมื่อไรที่หลงคิดนึกปรุงต่างๆตอนนั้นกิเลสครอบงำแล้ว จะรู้จิตไหนเป็นวิปัสสนา ต้องมีจิตนั้นเกิดขึ้นเองบ่อยๆก่อน ถึงจะรู้ว่านี่แหล่ะ เป็นวิปัสสนาแล้ว
ทำไปควบคู่กัน ในระหว่างวันก็คือ จิตที่ตั้งใจจะปฎิบัตินี่ถ้าได้จังหวะมันจะพลิกไปวิปัสสนาได้ สลับกับหลง การปฎิบัติระหว่างวันจะต้องหาอะไรก็ได้ที่เป็นเครื่องหมายที่ทำซ้ำๆภายใน เช่นพุทโธ เคาะนิ้ว ดูลมหายใจ ตั้งใจรู้ไปเรื่อยๆ พอจิตมันไหลออกไปทางอื่น เครื่องอยู่มันหายไป จิตจะระลึกได้เอง จากนั้นก็เริ่มใหม่ ยิ่งทำซ้ำๆกันมาก จะรู้ว่าจิตไหลออกบ่อยมากขนาดนั้น ทำซ้ำไปเรื่อยก็จะเริ่มมีกำลังแล้วจิตจะแยกขันธ์ออกเองได้
ทำไปควบคู่กัน ในระหว่างวันก็คือ จิตที่ตั้งใจจะปฎิบัตินี่ถ้าได้จังหวะมันจะพลิกไปวิปัสสนาได้ สลับกับหลง การปฎิบัติระหว่างวันจะต้องหาอะไรก็ได้ที่เป็นเครื่องหมายที่ทำซ้ำๆภายใน เช่นพุทโธ เคาะนิ้ว ดูลมหายใจ ตั้งใจรู้ไปเรื่อยๆ พอจิตมันไหลออกไปทางอื่น เครื่องอยู่มันหายไป จิตจะระลึกได้เอง จากนั้นก็เริ่มใหม่ ยิ่งทำซ้ำๆกันมาก จะรู้ว่าจิตไหลออกบ่อยมากขนาดนั้น ทำซ้ำไปเรื่อยก็จะเริ่มมีกำลังแล้วจิตจะแยกขันธ์ออกเองได้
ความคิดเห็นที่ 2
ค้นมาให้อ่านดูนะครับ
ความสัมพันธ์ระหว่างสมถะและวิปัสสนา
การฝึกสมถะควบวิปัสสนานั้นเป็นการฝึกที่ได้ผลรวดเร็วและยิ่งใหญ่มากกว่าใช้สมถะอย่างเดียว
หรือวิปัสสนาอย่างเดียว ถ้าใครศึกษาพระไตรปิฎกจะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงสอนให้ฝึกทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อมกัน
เพราะมันเนื่องกันอยู่ มันเป็นเหตุและผลของกันและกันเพียงแต่มีอาการต่างกัน
จึงเรียกสองอย่างแต่อยู่ร่วมกันแน่นอน คนวิปัสสนาได้ผลย่อมได้สมถะแน่นอน
คนฝึกสมถะได้ผลก็ย่อมได้วิปัสสนาแน่นอน ส่วนคนที่เข้าใจกลไกดี
ฝึกทั้งสองอย่างควบกันไปอย่างเข้าใจก็ได้ผลเร็วและยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น
สมถะคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร
สมถะคือทำจิตให้นิ่ง วิปัสสนาคือทำจิตให้โล่ง
ตลอดสายสมถะและวิปัสสนามีกระบวนการรู้อย่างต่อเนื่อง
ยกเว้นนิโรธของพระอนาคามีและพระอรหันต์ ท่านดับตัวรู้ไปชั่งขณะเพื่อพักอย่างสมบูรณืแบบ
นอกนิโรธนี่จิตไม่ค่อยได้พักเลย ยกเว้นในภาวะหลับแบบตาย และในภาวะสลบ
แต่นั่นเป้นการพักอย่างไม่จงใจและควบคุมไม่ได้ แต่นิโรธเป็นการพักอย่างจงใจและควบคุมได้
แต่ในทุกระดับต้องอาศัยทั้งการนิ่งและการละจนโล่งทั้งสิ้น
และแม้ความนิ่งและการละก็ต้องอาศัยกันและกัน ถ้าไม่ละจะนิ่งได้อย่างไร และถ้าไม่นิ่งจะละอะไรได้แค่ไหนกัน
ดังนั้นสมถะและวิปัสสนาเป็นเกลอไปด้วยกัน อย่าเถียงกันอีก อย่าดูหมิ่นกัน
มันแตกแยกจะไม่ได้ผลยิ่งใหญ่ เหมือนพ่อกับแม่ต้องอยู่ร่วมกัน ลูกอันคือสมาธิ
ปัญญาและวิมุตติจึงจเกิด สมถะคือแม่ วิปัสสนาคือพ่อ
เราจะฝึกสมถะกับวิปัสสนาควบกันอย่างไร ต้องจับกาย จิตและใจ ให้ผสานเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งสามส่วน
หรือสองส่วนในบางกรณี และแยกส่วนกันเด็ดขาดเลยถ้าต้องการเข้านิโรธ
แต่ในระดับพวกเรา เอาผสานพลังกาย จิต และใจในภาวะที่เหมาะสมก่อน ถ้าทำได้แค่นี้ก็พอเอาตัวรอดได้หรอก
การผสานกายจิตใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมีพลังนั้นมีสามขั้นตอน
1. ปลดปล่อยให้อิสรภาพแก่กัน 2. เพิ่มอำนาจในแต่ละส่วน 3. ผสานพลังอำนาจกัน
ปลดปล่อยให้อิสรภาพแก่กัน นี่เป็นวิปัสสนา ให้จิตดูกายอยู่ปล่อยให้มันเป็นไปตามกลไกของมัน
อย่าเข้าไปแทรกแซง มันจะเป็นอย่างไรก็รู้อยู่ รู้แล้วละวางทันที รู้เพื่อละนะไม่ใช่รู้เพื่อรู้
รู้ที่ละไม่ได้ยังไม่เกิดประโยชน์ รู้แล้วละให้อิสรภาพแก่มันอย่างที่มันเป็นไปตามกลไก เดี๋ยวมันก็เกิดดับเองตามธรรมชาติ
จากนั้นให้น้อมจิตรู้ใจ รู้ให้ชัด ใจทำงานอย่างไร เกิดอาการใดในใจก็รู้ชัด
รู้อาการทางใจแล้วก็ละเช่นเดียวกับอาการทางกาย ปล่อยวางมัน
รู้ใจที่ละไม่ได้ยังไม่บังเกิดอิสรภาพ ต้องละได้จึงอิสระ
พอละวางได้จริง จิตรู้กายอยู่ เป็นอิสระอยู่ในรู้ จิตรู้ใจอยู่เป็นอิสระในรู้
เมือต่างเป็นอิสระจากกันพอประมาณนี่แหละ ปกติมันจะพล่านซ่านไปด้วยกันจนแยกไม่ออก
หยุดไม่ได้ จึงนิ่งไม่เป้น ทำให้นิ่งคือทำให้มันรู้จักพอและอยู่กับตัวมันเอง
พอทำให้นิ่งสงบอยู่ในฐานของตนแล้วนี่คือสมถะ สมถะแปลว่ามันไม่อยากเอาอะไรที่วุ่นแล้ว
มันยินดีสงบนิ่งของมันอยู่อย่างนั้นหรือนิ่งยิ่งกว่า
จากนั้นจึงผสานพลังทั้งสามเข้าด้วยกันแล้วพัฒนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เพราะนิ่งและสงบก็มีอีกหลายระดับ ก็ทำให้มันนิ่งในนิ่ง สงบในสงบเข้าไปอีก ทำอย่างไร
ก้กำหนดด้วยใจและด้วยภาวะของสิ่งนั้นเองนั่นแหละ ตอนนี้ต้องใช้ทั้งสมถะและวิปัสสนาควบกัน
เพราะวิปัสสนานั่นแหละจึงได้สมถะเข้าได้ลึกขึ้น และเพราะสมถะนั่นแหละจึงได้วิปัสสนาญาณยอมละจริงเพื่อสงบจริงยิ่งขึ้น
ยิ่งนิ่งสงบภายในได้มากเท่าใด ระบบทั้งสามมันก็จะ restore ตัวมันเองและเริ่มมีพลังมากขึ้นเท่านั้น
ที่สุดของความนิ่งคือความว่าง ที่สุดของความสงบคือความบริสุทธิ์ ไปให้ถึงหรือใกล้ที่สุดเท่าที่ทำกันได้
On the way เราจะเห็นอะไรมากมายที่ทำให้ชีวิตเราไม่นิ่ง ไม่สงบ ทำให้ร่างกายเราไม่นิ่ง ไม่สงบ
ทำให้จิต ทำให้ใจของเราไม่นิ่งไม่สงบ ซึ่งต้องละไปโดยลำดับ ซึ่งก็จะมีทั่งความไม่พอดีในปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
ความไม่รู้จักและไม่เข้าใจในกรรม หรือมารบางประเภท กิเลส ตัณหาในตัวเอง
การยึดถือความทะยานอยาก การรบกวนจากสิ่งเร้าแวดล้อม และสารพัดมันจะโผล่มาให้เห็นซึ่งเราต้องจัดการกับมัน
ตลอดกระบวนการจัดการกับมัน เราก็จะเห็นภาวะต่าง ๆ ของชีวิตจิตใจและร่างกาย
บางภาวะมีพลัง บางภาวะอ่อนพลัง ทำอย่างไรจึงจะหลีกภาวะที่อ่อนพลังและเสริมสร้างพลังเพื่อจะได้มีกำลังเดินไปถึงเป้าหมาย
หรือมีกำลังตัดในสิ่งที่ควรจะตัด ต่อในสิ่งที่ควรต่อ ซึ่งเราจะได้เห็นกันทุกคน ยิ่งอดนอนด้วยยิ่งเห็นชัด
การรู้จักภาวะความเป็นจริงต่าง ๆ ในชีวิตจิตใจทุกระดับความล้ำลึกนี่เเหละคือธัมมานุปัสสนา
เมื่อเกิดธัมมานุปัสสนาญาณแล้ว ต้องบริหารให้เกิดประโยชน์ทันที คือปรับโครงสร้างในจิต
ในใจ ในร่างกาย ในพฤติวัตร ในพฤติกรรม ในวิถีชีวิตของเราใหม่ เพื่อเสริมสร้างพลังในทุกระบบให้เดินตรงไปสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว
การปรับนั้นต้องปรับตั้งแต่โครงสร้างในใจ ความคิด การพูดจา อิริยาบถ กายกิจ บุคลิกภาพ พฤติกรรม วิถีชีวิต
และโครงสร้างความสัมพันธ์กับธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งค่อย ๆทำกันไป ถ้าทำได้สมบูรณ์ก็จะเป็นชีวิตแห่งธรรม
ผู้ดำรงชีวิตแห่งธรรมคือผู้ทรงธรรม ผู้เดินตรงทางสู่ความบริสุทธิ์
ซึ่งในกระบวนการปรับนั้นต้องใช้ทั้งอำนาจสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปเสมอ
สมถะกับวิปัสสนามันแยกกันไม่ได้ ถ้าวิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีสมถะ มันก็บ้าความรู้แต่เข้าไม่ลึก
ถ้ามีสมถะแต่ไม่มีวิปัสสนามันก็บ้าความสงบแต่ไม่รู้รอบ ทั้งสองกรณีมันไม่สมบูรณ์
ก็เมื่อองค์บรมครูของเราให้เรามาทั้งสองอย่างก็ควรใช้ประโยชน์จากทั้งสองอย่างให้เต็มที่จึงจะได้ชื่อว่าเป็นธรรมทายาทที่ดี
ถาม สมถะกับวิปัสสนาเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ถ้าฝึกอย่างเดียวได้ไหม
ตอบ เหมือนกันตรงที่เป็นกลไกการพัฒนาจิตใจเหมือนกัน ต่างกันที่อาการ
คืออย่างนี้ สมถะเป็นอาการที่จิตดิ่งลึกลงไป วิปัสสนาเป็นตัวล้าง
เวลาฝึกต้องฝึกร่วมกัน ฝึกอย่างเดียวอาจพอถู ๆไถ ๆ ไปได้แต่ไม่สำเร็จสูงสุด
เปรียบง่ายอย่างนี้ เหมือนเราขุดน้ำบาดาลตัวหัวเจาะคือสมถะ ตัวขูดและปั่นดินออกมาคือวิปัสสนา
ซึ่งต้องทำงานร่วมกัน หากเจาะดันไปอย่างเดียวไม่ชะเอาดินออกจะไปได้ไม่ไกล ค้างอยู่ที่ภาวะใดภาวะหนึ่ง
ไม่ถึงตาน้ำใสอันเป็นเป้าหมายสักที ซึ่งโดยความเป็นจริงมักจะค้างอยู่ที่ความเข้าใจ
คือพิจารณามากเข้าใจธรรมะหมดแต่ไม่ถึงสภาวะธรรมสักที
ดังนั้นสมะกับวิปัสสนาโดยศัพท์แยกกันตามอาการและหน้าที่
แต่โดยการทำงานต้องร่วมกันแยกกันไม่ได้ ขืนแยกจะไปไม่ถึงไหน
จะบรรลุธรรมได้ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาเสมอ ไม่แยกกันแต่จะเอาอะไรเป็นตัวนำก็ได้
ใครแยกกันแสดงว่ายังครึ่ง ๆ กลาง ๆ อยู่ จะยังไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นที่สุด
ที่มา: การปฏิบัติธรรมสำหรับผู้นำและผู้บริหาร
ความสัมพันธ์ระหว่างสมถะและวิปัสสนา
การฝึกสมถะควบวิปัสสนานั้นเป็นการฝึกที่ได้ผลรวดเร็วและยิ่งใหญ่มากกว่าใช้สมถะอย่างเดียว
หรือวิปัสสนาอย่างเดียว ถ้าใครศึกษาพระไตรปิฎกจะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงสอนให้ฝึกทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อมกัน
เพราะมันเนื่องกันอยู่ มันเป็นเหตุและผลของกันและกันเพียงแต่มีอาการต่างกัน
จึงเรียกสองอย่างแต่อยู่ร่วมกันแน่นอน คนวิปัสสนาได้ผลย่อมได้สมถะแน่นอน
คนฝึกสมถะได้ผลก็ย่อมได้วิปัสสนาแน่นอน ส่วนคนที่เข้าใจกลไกดี
ฝึกทั้งสองอย่างควบกันไปอย่างเข้าใจก็ได้ผลเร็วและยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น
สมถะคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร
สมถะคือทำจิตให้นิ่ง วิปัสสนาคือทำจิตให้โล่ง
ตลอดสายสมถะและวิปัสสนามีกระบวนการรู้อย่างต่อเนื่อง
ยกเว้นนิโรธของพระอนาคามีและพระอรหันต์ ท่านดับตัวรู้ไปชั่งขณะเพื่อพักอย่างสมบูรณืแบบ
นอกนิโรธนี่จิตไม่ค่อยได้พักเลย ยกเว้นในภาวะหลับแบบตาย และในภาวะสลบ
แต่นั่นเป้นการพักอย่างไม่จงใจและควบคุมไม่ได้ แต่นิโรธเป็นการพักอย่างจงใจและควบคุมได้
แต่ในทุกระดับต้องอาศัยทั้งการนิ่งและการละจนโล่งทั้งสิ้น
และแม้ความนิ่งและการละก็ต้องอาศัยกันและกัน ถ้าไม่ละจะนิ่งได้อย่างไร และถ้าไม่นิ่งจะละอะไรได้แค่ไหนกัน
ดังนั้นสมถะและวิปัสสนาเป็นเกลอไปด้วยกัน อย่าเถียงกันอีก อย่าดูหมิ่นกัน
มันแตกแยกจะไม่ได้ผลยิ่งใหญ่ เหมือนพ่อกับแม่ต้องอยู่ร่วมกัน ลูกอันคือสมาธิ
ปัญญาและวิมุตติจึงจเกิด สมถะคือแม่ วิปัสสนาคือพ่อ
เราจะฝึกสมถะกับวิปัสสนาควบกันอย่างไร ต้องจับกาย จิตและใจ ให้ผสานเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งสามส่วน
หรือสองส่วนในบางกรณี และแยกส่วนกันเด็ดขาดเลยถ้าต้องการเข้านิโรธ
แต่ในระดับพวกเรา เอาผสานพลังกาย จิต และใจในภาวะที่เหมาะสมก่อน ถ้าทำได้แค่นี้ก็พอเอาตัวรอดได้หรอก
การผสานกายจิตใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมีพลังนั้นมีสามขั้นตอน
1. ปลดปล่อยให้อิสรภาพแก่กัน 2. เพิ่มอำนาจในแต่ละส่วน 3. ผสานพลังอำนาจกัน
ปลดปล่อยให้อิสรภาพแก่กัน นี่เป็นวิปัสสนา ให้จิตดูกายอยู่ปล่อยให้มันเป็นไปตามกลไกของมัน
อย่าเข้าไปแทรกแซง มันจะเป็นอย่างไรก็รู้อยู่ รู้แล้วละวางทันที รู้เพื่อละนะไม่ใช่รู้เพื่อรู้
รู้ที่ละไม่ได้ยังไม่เกิดประโยชน์ รู้แล้วละให้อิสรภาพแก่มันอย่างที่มันเป็นไปตามกลไก เดี๋ยวมันก็เกิดดับเองตามธรรมชาติ
จากนั้นให้น้อมจิตรู้ใจ รู้ให้ชัด ใจทำงานอย่างไร เกิดอาการใดในใจก็รู้ชัด
รู้อาการทางใจแล้วก็ละเช่นเดียวกับอาการทางกาย ปล่อยวางมัน
รู้ใจที่ละไม่ได้ยังไม่บังเกิดอิสรภาพ ต้องละได้จึงอิสระ
พอละวางได้จริง จิตรู้กายอยู่ เป็นอิสระอยู่ในรู้ จิตรู้ใจอยู่เป็นอิสระในรู้
เมือต่างเป็นอิสระจากกันพอประมาณนี่แหละ ปกติมันจะพล่านซ่านไปด้วยกันจนแยกไม่ออก
หยุดไม่ได้ จึงนิ่งไม่เป้น ทำให้นิ่งคือทำให้มันรู้จักพอและอยู่กับตัวมันเอง
พอทำให้นิ่งสงบอยู่ในฐานของตนแล้วนี่คือสมถะ สมถะแปลว่ามันไม่อยากเอาอะไรที่วุ่นแล้ว
มันยินดีสงบนิ่งของมันอยู่อย่างนั้นหรือนิ่งยิ่งกว่า
จากนั้นจึงผสานพลังทั้งสามเข้าด้วยกันแล้วพัฒนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เพราะนิ่งและสงบก็มีอีกหลายระดับ ก็ทำให้มันนิ่งในนิ่ง สงบในสงบเข้าไปอีก ทำอย่างไร
ก้กำหนดด้วยใจและด้วยภาวะของสิ่งนั้นเองนั่นแหละ ตอนนี้ต้องใช้ทั้งสมถะและวิปัสสนาควบกัน
เพราะวิปัสสนานั่นแหละจึงได้สมถะเข้าได้ลึกขึ้น และเพราะสมถะนั่นแหละจึงได้วิปัสสนาญาณยอมละจริงเพื่อสงบจริงยิ่งขึ้น
ยิ่งนิ่งสงบภายในได้มากเท่าใด ระบบทั้งสามมันก็จะ restore ตัวมันเองและเริ่มมีพลังมากขึ้นเท่านั้น
ที่สุดของความนิ่งคือความว่าง ที่สุดของความสงบคือความบริสุทธิ์ ไปให้ถึงหรือใกล้ที่สุดเท่าที่ทำกันได้
On the way เราจะเห็นอะไรมากมายที่ทำให้ชีวิตเราไม่นิ่ง ไม่สงบ ทำให้ร่างกายเราไม่นิ่ง ไม่สงบ
ทำให้จิต ทำให้ใจของเราไม่นิ่งไม่สงบ ซึ่งต้องละไปโดยลำดับ ซึ่งก็จะมีทั่งความไม่พอดีในปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
ความไม่รู้จักและไม่เข้าใจในกรรม หรือมารบางประเภท กิเลส ตัณหาในตัวเอง
การยึดถือความทะยานอยาก การรบกวนจากสิ่งเร้าแวดล้อม และสารพัดมันจะโผล่มาให้เห็นซึ่งเราต้องจัดการกับมัน
ตลอดกระบวนการจัดการกับมัน เราก็จะเห็นภาวะต่าง ๆ ของชีวิตจิตใจและร่างกาย
บางภาวะมีพลัง บางภาวะอ่อนพลัง ทำอย่างไรจึงจะหลีกภาวะที่อ่อนพลังและเสริมสร้างพลังเพื่อจะได้มีกำลังเดินไปถึงเป้าหมาย
หรือมีกำลังตัดในสิ่งที่ควรจะตัด ต่อในสิ่งที่ควรต่อ ซึ่งเราจะได้เห็นกันทุกคน ยิ่งอดนอนด้วยยิ่งเห็นชัด
การรู้จักภาวะความเป็นจริงต่าง ๆ ในชีวิตจิตใจทุกระดับความล้ำลึกนี่เเหละคือธัมมานุปัสสนา
เมื่อเกิดธัมมานุปัสสนาญาณแล้ว ต้องบริหารให้เกิดประโยชน์ทันที คือปรับโครงสร้างในจิต
ในใจ ในร่างกาย ในพฤติวัตร ในพฤติกรรม ในวิถีชีวิตของเราใหม่ เพื่อเสริมสร้างพลังในทุกระบบให้เดินตรงไปสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว
การปรับนั้นต้องปรับตั้งแต่โครงสร้างในใจ ความคิด การพูดจา อิริยาบถ กายกิจ บุคลิกภาพ พฤติกรรม วิถีชีวิต
และโครงสร้างความสัมพันธ์กับธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งค่อย ๆทำกันไป ถ้าทำได้สมบูรณ์ก็จะเป็นชีวิตแห่งธรรม
ผู้ดำรงชีวิตแห่งธรรมคือผู้ทรงธรรม ผู้เดินตรงทางสู่ความบริสุทธิ์
ซึ่งในกระบวนการปรับนั้นต้องใช้ทั้งอำนาจสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปเสมอ
สมถะกับวิปัสสนามันแยกกันไม่ได้ ถ้าวิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีสมถะ มันก็บ้าความรู้แต่เข้าไม่ลึก
ถ้ามีสมถะแต่ไม่มีวิปัสสนามันก็บ้าความสงบแต่ไม่รู้รอบ ทั้งสองกรณีมันไม่สมบูรณ์
ก็เมื่อองค์บรมครูของเราให้เรามาทั้งสองอย่างก็ควรใช้ประโยชน์จากทั้งสองอย่างให้เต็มที่จึงจะได้ชื่อว่าเป็นธรรมทายาทที่ดี
ถาม สมถะกับวิปัสสนาเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ถ้าฝึกอย่างเดียวได้ไหม
ตอบ เหมือนกันตรงที่เป็นกลไกการพัฒนาจิตใจเหมือนกัน ต่างกันที่อาการ
คืออย่างนี้ สมถะเป็นอาการที่จิตดิ่งลึกลงไป วิปัสสนาเป็นตัวล้าง
เวลาฝึกต้องฝึกร่วมกัน ฝึกอย่างเดียวอาจพอถู ๆไถ ๆ ไปได้แต่ไม่สำเร็จสูงสุด
เปรียบง่ายอย่างนี้ เหมือนเราขุดน้ำบาดาลตัวหัวเจาะคือสมถะ ตัวขูดและปั่นดินออกมาคือวิปัสสนา
ซึ่งต้องทำงานร่วมกัน หากเจาะดันไปอย่างเดียวไม่ชะเอาดินออกจะไปได้ไม่ไกล ค้างอยู่ที่ภาวะใดภาวะหนึ่ง
ไม่ถึงตาน้ำใสอันเป็นเป้าหมายสักที ซึ่งโดยความเป็นจริงมักจะค้างอยู่ที่ความเข้าใจ
คือพิจารณามากเข้าใจธรรมะหมดแต่ไม่ถึงสภาวะธรรมสักที
ดังนั้นสมะกับวิปัสสนาโดยศัพท์แยกกันตามอาการและหน้าที่
แต่โดยการทำงานต้องร่วมกันแยกกันไม่ได้ ขืนแยกจะไปไม่ถึงไหน
จะบรรลุธรรมได้ต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาเสมอ ไม่แยกกันแต่จะเอาอะไรเป็นตัวนำก็ได้
ใครแยกกันแสดงว่ายังครึ่ง ๆ กลาง ๆ อยู่ จะยังไม่ได้บรรลุธรรมอันเป็นที่สุด
ที่มา: การปฏิบัติธรรมสำหรับผู้นำและผู้บริหาร
แสดงความคิดเห็น
วิปัสสนากรรมฐานและสมถกรรมฐานต่างกันอย่างไรครับ
-ทั้ง2วิธี มีวิธีการปฏิบัติอย่างไรครับ และให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันอย่างไรบ้างครับ
-ทั้ง2วิธี สามารถปฏิบัติไปพร้อมๆกันได้ไหมครับ
-เราสามารถนำทั้ง2วิธึ มาปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างไรครับ (เพราะผมไม่ค่อยมีเวลาปฏิบัติในรูปแบบครับ)
กราบขอบพระคุณสำหรับทุกๆท่านที่เข้ามาตอบนะครับ