แม้แต่จะมีสัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะ เชื่อว่าโลกนี้มี โลกหน้ามี บุญมี กรรมมี แต่ยังเป็นผู้ติดอยู่ด้วยทิฏฐิได้ดังนี้

แม้แต่จะมีสัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะ เชื่อว่าโลกนี้มี โลกหน้ามี บุญมี กรรมมี แต่ยังเป็นผู้ติดอยู่ด้วยทิฏฐิได้ดังนี้.

        จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 31

            [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุม
แล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างไร ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของ
เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป
ในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง
ย่อมติดอยู่อย่างนี้แล ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างไร ก็
เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความ
ปราศจากภพ
ว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่าเมื่อใด ตนแต่กายแตกไปแล้วย่อมขาดสูญ
ย่อมพินาศ เมื่อนั้น ตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้น
ความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง
ย่อมแล่นไปอย่างนี้แล ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง ครั้นแล้วย่อม
ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับความเป็นสัตว์ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ อย่างนี้แล ฯ
                          ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง และก้าวล่วง
                          ความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมตามที่เป็นจริง
                          เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุนั้น กำหนดรู้ ความ
                          เป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม
                          ไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้ ฯ
...
                       จบทิฐิกถา


>> ความยินดีในภพ เมื่อหลงย่อมก่อเกิดความยึดมั่นในขันธ์ 5 ก็ย่อมเป็นเหตุแห่ง สัสสตทิฏฐิได้ ดั้งในพระไตรปิฏกเล่มที่ 17 ดังนี้
---
                                 ๓. เอโสอัตตาสูตร
                             ว่าด้วยเหตุแห่งสัสสตทิฏฐิ
         [๓๕๐] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็
อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค
เป็นรากฐาน ฯลฯ
          พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความ
ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา.
เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณ
มีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อัน
นั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา
.

           [๓๕๑] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง?
          ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
          ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่
เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
          ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
          พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
          ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
          ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
          พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่
เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?

           ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.
           พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี.
                                   จบ สูตรที่ ๓.
---

>>  ต่อไปขอยกความหมายของ คำว่า ทิฏฐิวิบัติ กับ ทิฏฐิสมบัติ  เพื่อความชัดเจนดังนี้

     [๓๕๘] ทิฏฐิวิบัติ ๓ ทิฏฐิสมบัติ ๓
           ทิฏฐิวิบัติ ๓ เป็นไฉน   ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิวิบัติ ๓ เหล่านี้
           ทิฏฐิสมบัติ ๓ เป็นไฉน   ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฏฐิสมบัติ ๓ เหล่านี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่