๓. ทิฎฐิสังยุต
โสตาปัตติวรรคที่ ๑
๑. นวาตสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดมิจฉาทิฏฐิ
[๔๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิ จึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
- ลมย่อมไม่พัด
- แม่น้ำย่อมไหล
- สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด
- พระจันทร์และ พระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก
เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด ดังนี้?
ภิกษุเหล่า นั้น กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้
ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่น นั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
- เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์
และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ
- เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ
- เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ
- เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะ ยึดมั่นวิญญาณ
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์
และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด.
[๔๑๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอดพระจันทร์
และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารเที่ยงหรือไม่ เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด
พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์ และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก
เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดแล พระอริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ <--------ให้ไปดูสรุปขัอ 2 ครับ ว่าคืออะไร
ชื่อว่าเป็นอันละสงสัย......
แม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา <---ไม่สงสัยในอริยสัจ4
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑.
https://etipitaka.com/read/thai/17/211
สรุป...
1. จับใจความของพระสูตรนี้....ได้ดังนี้..
คำว่า....
- ลมย่อมไม่พัด
- แม่น้ำย่อมไหล
- สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด
- พระจันทร์และ พระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด
พระศาสดาท่านยกตัวอย่างของธรรมชาติที่เห็นกันง่ายๆ...ว่ามันต้องเปลียนแปลง...ไม่เที่ยง
ไอ้การไปคาดหวังให้มันคงที่..มันคงดังเสาระเนียดนั้น...มันเป็นทุกข์ มันเป็นไปไม่ได้
คราวนี้พระองค์ไล่ขันธ์๕....ซึ่งก็เท่ากับทุกสรรพสิ่งแล้ว...
โดยไล่ถาม...จนสรุปว่า...
ขันธ์๕นี้....ไม่เที่ยง --->เป็นทุกข์
แล้วก็บอกว่า...ถ้าเห็นว่ามันไม่เที่ยง--เป็นทุกข์...อย่างนี้
จะไปมีความเห็นว่า...ลม-แม่น้ำ-สตรีมีครรภ์-พระจันทร์และ พระอาทิตย์ย่อม...จะเที่ยงไม่เปลี่ยนแปลงได้หรือ???
2. คำว่า " ละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ "....อันนี้ก็คือ
1. ในรูป
2. ในเวทนา
3. ในสัญญา
4. ในสังขาร
5. ในวิญญาณ
6. ในการ...เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ
3. การที่ไปเห็น..ฐานะ 6 ประการที่เป็น " สังขตะ "...ว่ามันเป็นสิ่งที่เที่ยง.. "
นี้เป็นคนพาล "...
แต่การที่ไปเห็นว่า " อสังขตะ "...ว่าไม่เที่ยง - เป็นอนัตตา 👈--
อันนี้..คนไร้ความรู้..
สัตว์:..ผู้อริยสาวก-ผู้โสดาบัน..ตอนที่ 9 :...มิจฉาทิฏฐิที่โสดาบันต้องละได้...คือ..ไปเห็นว่า " สังขตะ..มันเที่ยง "
๓. ทิฎฐิสังยุต
โสตาปัตติวรรคที่ ๑
๑. นวาตสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดมิจฉาทิฏฐิ
[๔๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิ จึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
- ลมย่อมไม่พัด
- แม่น้ำย่อมไหล
- สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด
- พระจันทร์และ พระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก
เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด ดังนี้?
ภิกษุเหล่า นั้น กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้
ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่น นั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
- เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์
และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ
- เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ
- เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ
- เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะ ยึดมั่นวิญญาณ
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์
และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด.
[๔๑๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอดพระจันทร์
และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารเที่ยงหรือไม่ เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด
พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
ลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด พระจันทร์ และพระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก
เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดแล พระอริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ <--------ให้ไปดูสรุปขัอ 2 ครับ ว่าคืออะไร
ชื่อว่าเป็นอันละสงสัย......
แม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา <---ไม่สงสัยในอริยสัจ4
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑.
https://etipitaka.com/read/thai/17/211
สรุป...
1. จับใจความของพระสูตรนี้....ได้ดังนี้..
คำว่า....
- ลมย่อมไม่พัด
- แม่น้ำย่อมไหล
- สตรีมีครรภ์ย่อมไม่คลอด
- พระจันทร์และ พระอาทิตย์ย่อมไม่ขึ้นหรือย่อมไม่ตก เป็นของตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด
พระศาสดาท่านยกตัวอย่างของธรรมชาติที่เห็นกันง่ายๆ...ว่ามันต้องเปลียนแปลง...ไม่เที่ยง
ไอ้การไปคาดหวังให้มันคงที่..มันคงดังเสาระเนียดนั้น...มันเป็นทุกข์ มันเป็นไปไม่ได้
คราวนี้พระองค์ไล่ขันธ์๕....ซึ่งก็เท่ากับทุกสรรพสิ่งแล้ว...
โดยไล่ถาม...จนสรุปว่า...
ขันธ์๕นี้....ไม่เที่ยง --->เป็นทุกข์
แล้วก็บอกว่า...ถ้าเห็นว่ามันไม่เที่ยง--เป็นทุกข์...อย่างนี้
จะไปมีความเห็นว่า...ลม-แม่น้ำ-สตรีมีครรภ์-พระจันทร์และ พระอาทิตย์ย่อม...จะเที่ยงไม่เปลี่ยนแปลงได้หรือ???
2. คำว่า " ละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ "....อันนี้ก็คือ
1. ในรูป
2. ในเวทนา
3. ในสัญญา
4. ในสังขาร
5. ในวิญญาณ
6. ในการ...เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ
3. การที่ไปเห็น..ฐานะ 6 ประการที่เป็น " สังขตะ "...ว่ามันเป็นสิ่งที่เที่ยง.. " นี้เป็นคนพาล "...
แต่การที่ไปเห็นว่า " อสังขตะ "...ว่าไม่เที่ยง - เป็นอนัตตา 👈--อันนี้..คนไร้ความรู้..