พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อนุปาทาปรินิพพานสูตร
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้
ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์
อะไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้
ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ? เธอ
ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.
[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็น
ไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ
นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึง
ชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.
จบ สูตรที่ ๘
จบ อัญญติตถิยวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิราคสูตร ๒. สังโยชนสูตร ๓. อนุสยสูตร ๔. อัทธานสูตร ๕. อาสวสูตร
๖. วิชชาวิมุตติสูตร ๗. ญาณทัสสนสูตร ๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๕๘ - ๖๗๘. หน้าที่ ๒๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=658&Z=678&pagebreak=0
ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/listen/?b=19&item=126
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=126
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_19
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
คิลานสูตรที่ ๒
[๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในวิหารโน้น เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อและโคตร
เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน-
*โอกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จไปหาภิกษุนั้นเถิด
พระเจ้าข้า ฯ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่าภิกษุใหม่ เป็นไข้ทรงทราบชัด
ว่า เป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าปูอาสนะที่เตียงเลย อาสนะ
ที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบน
อาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ เธอพอทนได้หรือ
เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ
ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่
ได้ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีลไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะ
มีความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรง
แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา
แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทา-
*ปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ
[๙๑] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยง
หรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีวิญญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดี
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิต
ของภิกษุนั้นหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑๐๘๒ - ๑๑๓๐. หน้าที่ ๔๘ - ๕๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1082&Z=1130&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=90
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_18
.......อนุปาทาปรินิพพาน........
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อนุปาทาปรินิพพานสูตร
ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้
ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์
อะไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้
ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ? เธอ
ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.
[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน? ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานเป็น
ไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ
นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึง
ชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.
จบ สูตรที่ ๘
จบ อัญญติตถิยวรรคที่ ๕
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิราคสูตร ๒. สังโยชนสูตร ๓. อนุสยสูตร ๔. อัทธานสูตร ๕. อาสวสูตร
๖. วิชชาวิมุตติสูตร ๗. ญาณทัสสนสูตร ๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๕๘ - ๖๗๘. หน้าที่ ๒๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=658&Z=678&pagebreak=0
ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/listen/?b=19&item=126
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=126
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_19
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
คิลานสูตรที่ ๒
[๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในวิหารโน้น เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อและโคตร
เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน-
*โอกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จไปหาภิกษุนั้นเถิด
พระเจ้าข้า ฯ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่าภิกษุใหม่ เป็นไข้ทรงทราบชัด
ว่า เป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลย ภิกษุ เธออย่าปูอาสนะที่เตียงเลย อาสนะ
ที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบน
อาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ เธอพอทนได้หรือ
เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ
ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่
ได้ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีลไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะ
มีความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรง
แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา
แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทา-
*ปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ
[๙๑] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยง
หรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีวิญญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดี
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิต
ของภิกษุนั้นหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑๐๘๒ - ๑๑๓๐. หน้าที่ ๔๘ - ๕๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1082&Z=1130&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=90
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_18