ข่าวจากรุงเทพธุรกิจครับ เป็นบทความเกี่ยวกับ สวทช. ผมเห็นแล้วคิดว่าเป็นมุมมองที่น่าสนใจดี ยาวหน่อย ถ้าขี้เกียจอ่านใจความหลัก ๆ อยู่ที่ 2 ย่อหน้าสุดท้ายที่ทำเป็นตัวหนาไว้นะครับ ไม่รู้ว่าเปลี่ยนรัฐมนตรีแล้วปัญหาของ สวทช. จะเป็นไปในแนวทางไหน แต่ผมเห็นด้วยกับ อ.ปรีดา ในรายการคมชัดลึก ตอน ไสยศาสตร์กระทรวงวิทย์ ว่าไหน ๆ ก็เป็นประเด็นแล้ว ก็น่าจะอาศัยโอกาสนี้ปรับปรุงซะ ไม่ใช่ว่าพรุ่งนี้กระทรวงวิทย์ถูกยุบ ชาวบ้านก็ไม่รู้สึกรู้สาอะไร (ตลกร้ายเกินไปละ) เอาตามแนวทางที่ อ. อภิรัฐ เสนอนี่ก็ได้
"ถ้าทุกอย่างที่ลูกเรียนมา วิทยานิพนธ์ รายงานค้นคว้าทั้งหลายแหล่ไม่สามารถช่วยเหลือคนบนท้องถนนได้แล้ว ทุกอย่างก็เสียเปล่า"
ผมเห็นโพสนี้ใน facebook ของเพื่อนที่ทำปริญญาเอกอยู่ ตอนแรกก็งงอะไรของมันวะ ข้อความนี้มาจากหนังสือ จัณฑาล (untouchables) นเรนทรา จาดฮาฟ เขียน วีระยุทธ เลิศพูนผล แปล เขาคงตั้งใจให้งานของเขาเอาไปใช้ได้จริง ซึ่งผมก็เห็นดีด้วย
...........
เนื้อข่าวครับ
เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีข่าวที่ไม่ค่อยโด่งดังมากนักข่าวหนึ่ง แต่สะเทือนวงการวิทยาศาสตร์และวงการวิจัยของประเทศไทยมากพอควร คือ ข่าวการที่พนักงานของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หรือ National Science and Technology Development Agency (NSTDA) ได้แต่งชุดดำ เพื่อเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ ต่อการทำงานและการกำกับดูแลของรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจากข่าวของฝ่ายผู้แสดงออก (กระผมขอย้ำนะครับ..ว่า ไม่ใช่ฝ่ายประท้วง... เพราะหากเป็นการประท้วงแล้ว ระดับของการแสดงออกต้องมากกว่านี้ครับ) ว่า รัฐมนตรีวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ได้ล้วงลูกการทำงานของ สวทช. ได้แก่ การแต่งตั้งคนใกล้ชิด เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) และมีการนำงบประมาณบางส่วนไปลงพื้นที่จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่เลือกตั้งของท่านรัฐมนตรี ดังปรากฏทั้งในแหล่งข่าวอย่างโซเชียลมีเดียทั้งหลาย หรือการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ฯที่จังหวัดแพร่ ที่มีหลักฐานตามข่าวทั่วๆ ไป
ขณะเดียวกัน ทางจากฝั่ง รมต. ก็ได้ชี้แจงว่า เป็นเรื่องของความเข้าใจผิดในเชิงงบประมาณ ที่ รมต. นั้นมาจากภาคธุรกิจ เมื่อเห็นงบประมาณที่เทมาอยู่ในหมวดค่าจ้างเงินเดือน จนเหลืองบประมาณในส่วนการดำเนินงานไม่มากนัก จึงเกิดความกังวล รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินโบนัส ซึ่งก็เป็นที่รับฟังได้ทั้งสองฝ่าย
ท่านผู้อ่านครับ...ปรากฏการณ์เช่นนี้ หากมองในเชิงของพนักงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์แล้ว ย่อมไม่เคยเจอการกำกับดูแลเช่นนี้ เพราะนอกจากการที่ สวทช. จะเป็นแหล่งรวมนักวิจัยที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยดังๆ ทั่วโลกแล้ว นักวิจัยเหล่านี้ล้วนมีความมุ่งมั่นในการทำวิจัยและพัฒนา โดยไม่เคยสนใจประเด็นการเมือง เพราะนักวิจัยหรือนักวิชาการทางวิทยาศาสตร์โดยส่วนมากแล้ว มักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก อีกประเด็นหนึ่งก็คือ สวทช. เป็นองค์กรที่มีคณะกรรมการบริหารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) เป็นคณะกรรมการชุดที่สำคัญที่สุด โดยมี รมต. เป็นประธาน ปลัดกระทรวงวิทย์ฯ เป็นรองประธาน และผู้ทรงคุณวุฒิที่ ครม. แต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 22 คน ตามมาตรา 4 แห่ง พรบ.พัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ พ.ศ. 2534 ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีปัญหา เพราะ รมต. และผู้บริหารต่างมีการทำงานร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และ จากการสอบถามพนักงาน สวทช. เป็นการส่วนตัว หลายคน (ย้ำนะครับว่า ไม่ใช่ทุกคน) บอกว่า ประทับใจการทำงานสมัย ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี เป็น รมต. มากที่สุดในระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งในปีนี้ เป็นปีที่ครบรอบการเปลี่ยนแปลง กวทช. โดย ตามอาศัยอำนาจทางกฎหมายแล้ว รมต. วรวัจน์ มีอำนาจอย่างถูกต้องในการรายชื่อ กวทช. ใหม่ ต่อ ครม. โดยองค์ประกอบในส่วนของหัวหน้าหน่วยงานราชการนั้น กระผมว่า ก็เหมาะสมดีแล้วครับ แต่ในส่วนของกรรมการที่ไม่ใช่ข้าราชการนั้น ท่านอาจจะเสนอคนใกล้ชิดกับท่านมากเกินไป ซึ่งเป็นการผิดวัฒนธรรมขององค์กรนี้ เป็นอย่างยิ่ง...กระผมจึงเชื่อว่า ประเด็นหลังสำหรับกรรมการที่ไม่ใช่ข้าราชการนี่แหละครับ ที่เป็นประเด็นหลักมากๆ
กระผมเองเคยได้นำเสนอประเด็นนี้ในเวทีต่างๆ เช่น ในการอภิปราย ที่สถาบันพระปกเกล้า ในหลักสูตร ปปร. 16 เมื่อต้นปีนี้ว่า จะต้องมีข่าวเกี่ยวกับกระทรวงวิทย์ฯ ในเร็ววัน เพราะไม่ว่าพรรคใดจะเป็นรัฐบาล ก็จะไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวงการวิทยาศาสตร์และวิจัยได้มากไปกว่านี้ แม้ว่านโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับจะเขียนไว้สวยหรู อย่างไรก็ตาม เพราะวงการวิทยาศาสตร์และวิจัยของประเทศไทยนั้น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ใหญ่ไม่เกิน 7-10 ท่านเท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่า ท่านเหล่านี้จะอยู่ในบอร์ดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ฯ หรือ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาอาวุโส มาอย่างยาวนาน...ถามว่า ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ดีหรือ...คำตอบคือ ทุกท่านล้วนเป็นผู้ที่กอปรด้วย คุณวุฒิ วัยวุฒิ และความปรารถนาดีต่อชาติบ้านเมืองครับ เพียงแต่ว่าด้วยวัฒนธรรมของประเทศไทยที่จะให้ความเคารพต่อผู้มีบุญคุณ จึงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือกระบวนการคิดในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่ง รมต. วรวัจน์ อาจจะเห็นประเด็นนี้ จึงต้องการการเปลี่ยนแปลง ...กระผมเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ แต่..การนำผู้ใกล้ชิดมากเกินไป มาเป็น กวทช. นั้น กระผมอยากให้ท่านลองพิจารณาดูอีกสักครั้งนะครับ
นอกจากนี้ ด้วยภารกิจที่กำหนดไว้ตาม พรบ. ของ สวทช. ที่ต้องดำเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม นั้น อาจจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม เมื่อสมัย พ.ศ. 2534 ซึ่งในขณะนั้น อาจารย์ตามมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ นั้น เกิดความขาดแคลนอย่างรุนแรง เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเร่งผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ ขณะที่แทบไม่มีผู้สมัครเป็นอาจารย์เพราะเงินเดือนข้าราชการและเอกชนนั้น แตกต่างกันมาก เช่น ใน ปี พ.ศ. 2534 ผมจบปริญญาตรีใหม่ๆ ไปทำงานที่บริษัทเอกชน ได้เงินเดือนประมาณเกือบ 20,000 บาท แต่เมื่อบรรจุเป็นอาจารย์ใน พ.ศ. 2536 ได้รับเงินเดือนประมาณ 6,000 บาทเท่านั้นเอง ดังนั้น งานวิจัยและพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในยุคนั้น จึงคาดหวังจากมหาวิทยาลัยได้ยากมาก ซึ่ง สวทช. จึงมีความเหมาะสมที่จะต้องดำเนินการอย่างครบถ้วนกระบวนความ ตั้งแต่การทำวิจัยเอง พัฒนางานวิจัย จนเกิดการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์
แต่ว่าในปัจจุบันนี้ สถานการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก เพราะ งานวิจัยเกือบทั้งหมดของประเทศมาจากอาจารย์มหาวิทยาลัย ขณะที่งานวิจัยของ สวทช. เอง ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและการเมือง จนไม่เห็นทิศทางในระยะยาว นอกจากนี้ การที่ สวทช. สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้เองนั้น ก็เป็นดาบสองคม เพราะภาคเอกชนที่จะเข้ามาร่วมให้ทุนวิจัยกับ สวทช. ก็หวั่นใจว่า ข้อมูลในการทำวิจัยนั้น นอกจาก บริษัท-อาจารย์หรือนักวิจัย จะทราบแล้ว สวทช. ก็ทราบเช่นกัน รวมทั้ง สวทช. ก็ร่วมเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญานั้นด้วย
กระผมขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก แห่งหนึ่ง ได้ลงทุนวิจัยและพัฒนาในการสร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้น มากกว่า 1,000 ล้านบาท เมื่อมาทำการผลิตในประเทศไทยและมีปัญหาในการผลิต จำเป็นต้องจ้างนักวิจัยให้แก้ปัญหา โดย สวทช. จะร่วมทุนวิจัย ด้วยงบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นของ บริษัท และ สวทช. ..ถามว่า หาก สวทช. จะไปทำการผลิตเอง หรือไปร่วมทุนกับบริษัทคู่แข่งทางการค้า ทำได้ไหม..คำตอบคือ ทำได้ครับ เพราะ สวทช. มีทั้ง นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และนักเศรษฐศาสตร์...ขณะที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นั้น ชัดเจนครับว่า เน้นสนับสนุนการทำวิจัยอย่างเดียว เพราะ สกว. มีแต่เจ้าหน้าที่ธุรการ เป็นหลัก ขณะที่อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีแต่หัวคิดด้านงานสอน และทำวิจัยเท่านั้น (โดยเฉพาะกระผมเอง ก็ไม่มีหัวการค้าเลย..ฮาๆๆ)
ซึ่งจะเห็นว่า ในปัจจุบัน นักวิจัยดีเด่น หรือนักวิจัยที่เก่งๆ เกือบทุกคนในประเทศไทย ล้วน เป็นผู้รับทุนจาก สกว. รวมทั้งภาคเอกชนจำนวนมากก็ร่วมสนับสนุนการทำวิจัยกับ สกว. ขณะที่นักวิจัย ใน สวทช. นั้น ต้องทำงานหนักมากๆ เพื่อสร้างผลงานวิจัย ทั้งการตีพิมพ์บทความ หรือผลิตทรัพย์สินทางปัญญา เหมือนอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่นโยบายการบริหารก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของการเมือง ซึ่งผมว่าด้วยเงินโบนัสตามจำนวนที่ รมต. กล่าวไว้นั้น อาจจะน้อยไปเสียด้วยซ้ำนะครับ
ดังนั้น สวทช. และกระทรวงวิทย์ฯ คงต้องมาวิเคราะห์ใหม่แล้วครับ ว่า สวทช. จะเป็นผู้ให้ทุนวิจัย (Research) หรือ จะเป็น ผู้พัฒนางานวิจัยของประเทศ (Development) รวมทั้งอาจจะต้องพิจารณาภารกิจใน ด้านวิศวกรรม (Engineering) ที่สามารถผลิตผลงานออกเชิงพาณิชย์ได้เองเพื่อแข่งขันกับภาคเอกชนนั้น ด้วยครับ ว่า สวทช. ประสบความสำเร็จในภารกิจนี้หรือไม่ อีกทั้ง มีประเทศใดในโลกนี้ ที่ประสบความสำเร็จในการอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐทำการผลิตสินค้าเพื่อแข่งขันกับภาคเอกชนบ้างครับ
กระผมใคร่ขออนุญาตเสนอว่า สวทช. น่าจะเน้นการดำเนินงานในด้านการพัฒนางานวิจัย เพราะประเทศไทยยังขาดหน่วยงานหลักที่จะนำงานวิจัยจาก "หิ้งขึ้นห้าง" อย่างจริงจัง ซึ่ง สวทช. เองก็มีผลงานโดดเด่นและความพร้อมในด้านนี้ โดย สวทช.จะต้องแสดงให้ภาคเอกชนเห็นถึงศักยภาพของงานวิจัยในประเทศไทยเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป ซึ่ง สวทช. สามารถนำผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานวิจัยทั้งหลาย รวมทั้งของ สวทช. เอง ไปพัฒนา ต่อยอด หรือประสานกับภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การผลิตเชิงวิศวกรรม ในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและต่อการทำงานที่ชัดเจนของนักวิจัยใน สวทช. เอง อย่าลืมนะครับว่า ผลงานวิจัยของทุกหน่วยงานล้วนเป็นของประเทศไทย เพราะเงินวิจัยทั้งหมด ต่างก็มาจากงบประมาณแผ่นดินหรือเงินภาษีของประชาชนนั่นเองครับ
วิทยาศาสตร์ไทย...ถึงเวลาต้อง..ปฏิรูป ได้หรือยัง : ศ.ดร. อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร
"ถ้าทุกอย่างที่ลูกเรียนมา วิทยานิพนธ์ รายงานค้นคว้าทั้งหลายแหล่ไม่สามารถช่วยเหลือคนบนท้องถนนได้แล้ว ทุกอย่างก็เสียเปล่า"
ผมเห็นโพสนี้ใน facebook ของเพื่อนที่ทำปริญญาเอกอยู่ ตอนแรกก็งงอะไรของมันวะ ข้อความนี้มาจากหนังสือ จัณฑาล (untouchables) นเรนทรา จาดฮาฟ เขียน วีระยุทธ เลิศพูนผล แปล เขาคงตั้งใจให้งานของเขาเอาไปใช้ได้จริง ซึ่งผมก็เห็นดีด้วย
...........
เนื้อข่าวครับ
เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีข่าวที่ไม่ค่อยโด่งดังมากนักข่าวหนึ่ง แต่สะเทือนวงการวิทยาศาสตร์และวงการวิจัยของประเทศไทยมากพอควร คือ ข่าวการที่พนักงานของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หรือ National Science and Technology Development Agency (NSTDA) ได้แต่งชุดดำ เพื่อเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ ต่อการทำงานและการกำกับดูแลของรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจากข่าวของฝ่ายผู้แสดงออก (กระผมขอย้ำนะครับ..ว่า ไม่ใช่ฝ่ายประท้วง... เพราะหากเป็นการประท้วงแล้ว ระดับของการแสดงออกต้องมากกว่านี้ครับ) ว่า รัฐมนตรีวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ได้ล้วงลูกการทำงานของ สวทช. ได้แก่ การแต่งตั้งคนใกล้ชิด เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) และมีการนำงบประมาณบางส่วนไปลงพื้นที่จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่เลือกตั้งของท่านรัฐมนตรี ดังปรากฏทั้งในแหล่งข่าวอย่างโซเชียลมีเดียทั้งหลาย หรือการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ฯที่จังหวัดแพร่ ที่มีหลักฐานตามข่าวทั่วๆ ไป
ขณะเดียวกัน ทางจากฝั่ง รมต. ก็ได้ชี้แจงว่า เป็นเรื่องของความเข้าใจผิดในเชิงงบประมาณ ที่ รมต. นั้นมาจากภาคธุรกิจ เมื่อเห็นงบประมาณที่เทมาอยู่ในหมวดค่าจ้างเงินเดือน จนเหลืองบประมาณในส่วนการดำเนินงานไม่มากนัก จึงเกิดความกังวล รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินโบนัส ซึ่งก็เป็นที่รับฟังได้ทั้งสองฝ่าย
ท่านผู้อ่านครับ...ปรากฏการณ์เช่นนี้ หากมองในเชิงของพนักงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์แล้ว ย่อมไม่เคยเจอการกำกับดูแลเช่นนี้ เพราะนอกจากการที่ สวทช. จะเป็นแหล่งรวมนักวิจัยที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยดังๆ ทั่วโลกแล้ว นักวิจัยเหล่านี้ล้วนมีความมุ่งมั่นในการทำวิจัยและพัฒนา โดยไม่เคยสนใจประเด็นการเมือง เพราะนักวิจัยหรือนักวิชาการทางวิทยาศาสตร์โดยส่วนมากแล้ว มักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก อีกประเด็นหนึ่งก็คือ สวทช. เป็นองค์กรที่มีคณะกรรมการบริหารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) เป็นคณะกรรมการชุดที่สำคัญที่สุด โดยมี รมต. เป็นประธาน ปลัดกระทรวงวิทย์ฯ เป็นรองประธาน และผู้ทรงคุณวุฒิที่ ครม. แต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 22 คน ตามมาตรา 4 แห่ง พรบ.พัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ พ.ศ. 2534 ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีปัญหา เพราะ รมต. และผู้บริหารต่างมีการทำงานร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และ จากการสอบถามพนักงาน สวทช. เป็นการส่วนตัว หลายคน (ย้ำนะครับว่า ไม่ใช่ทุกคน) บอกว่า ประทับใจการทำงานสมัย ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี เป็น รมต. มากที่สุดในระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งในปีนี้ เป็นปีที่ครบรอบการเปลี่ยนแปลง กวทช. โดย ตามอาศัยอำนาจทางกฎหมายแล้ว รมต. วรวัจน์ มีอำนาจอย่างถูกต้องในการรายชื่อ กวทช. ใหม่ ต่อ ครม. โดยองค์ประกอบในส่วนของหัวหน้าหน่วยงานราชการนั้น กระผมว่า ก็เหมาะสมดีแล้วครับ แต่ในส่วนของกรรมการที่ไม่ใช่ข้าราชการนั้น ท่านอาจจะเสนอคนใกล้ชิดกับท่านมากเกินไป ซึ่งเป็นการผิดวัฒนธรรมขององค์กรนี้ เป็นอย่างยิ่ง...กระผมจึงเชื่อว่า ประเด็นหลังสำหรับกรรมการที่ไม่ใช่ข้าราชการนี่แหละครับ ที่เป็นประเด็นหลักมากๆ
กระผมเองเคยได้นำเสนอประเด็นนี้ในเวทีต่างๆ เช่น ในการอภิปราย ที่สถาบันพระปกเกล้า ในหลักสูตร ปปร. 16 เมื่อต้นปีนี้ว่า จะต้องมีข่าวเกี่ยวกับกระทรวงวิทย์ฯ ในเร็ววัน เพราะไม่ว่าพรรคใดจะเป็นรัฐบาล ก็จะไม่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวงการวิทยาศาสตร์และวิจัยได้มากไปกว่านี้ แม้ว่านโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับจะเขียนไว้สวยหรู อย่างไรก็ตาม เพราะวงการวิทยาศาสตร์และวิจัยของประเทศไทยนั้น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ใหญ่ไม่เกิน 7-10 ท่านเท่านั้น ซึ่งจะเห็นว่า ท่านเหล่านี้จะอยู่ในบอร์ดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ฯ หรือ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาอาวุโส มาอย่างยาวนาน...ถามว่า ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ดีหรือ...คำตอบคือ ทุกท่านล้วนเป็นผู้ที่กอปรด้วย คุณวุฒิ วัยวุฒิ และความปรารถนาดีต่อชาติบ้านเมืองครับ เพียงแต่ว่าด้วยวัฒนธรรมของประเทศไทยที่จะให้ความเคารพต่อผู้มีบุญคุณ จึงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือกระบวนการคิดในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่ง รมต. วรวัจน์ อาจจะเห็นประเด็นนี้ จึงต้องการการเปลี่ยนแปลง ...กระผมเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ แต่..การนำผู้ใกล้ชิดมากเกินไป มาเป็น กวทช. นั้น กระผมอยากให้ท่านลองพิจารณาดูอีกสักครั้งนะครับ
นอกจากนี้ ด้วยภารกิจที่กำหนดไว้ตาม พรบ. ของ สวทช. ที่ต้องดำเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม นั้น อาจจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม เมื่อสมัย พ.ศ. 2534 ซึ่งในขณะนั้น อาจารย์ตามมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ นั้น เกิดความขาดแคลนอย่างรุนแรง เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเร่งผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ ขณะที่แทบไม่มีผู้สมัครเป็นอาจารย์เพราะเงินเดือนข้าราชการและเอกชนนั้น แตกต่างกันมาก เช่น ใน ปี พ.ศ. 2534 ผมจบปริญญาตรีใหม่ๆ ไปทำงานที่บริษัทเอกชน ได้เงินเดือนประมาณเกือบ 20,000 บาท แต่เมื่อบรรจุเป็นอาจารย์ใน พ.ศ. 2536 ได้รับเงินเดือนประมาณ 6,000 บาทเท่านั้นเอง ดังนั้น งานวิจัยและพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในยุคนั้น จึงคาดหวังจากมหาวิทยาลัยได้ยากมาก ซึ่ง สวทช. จึงมีความเหมาะสมที่จะต้องดำเนินการอย่างครบถ้วนกระบวนความ ตั้งแต่การทำวิจัยเอง พัฒนางานวิจัย จนเกิดการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์
แต่ว่าในปัจจุบันนี้ สถานการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก เพราะ งานวิจัยเกือบทั้งหมดของประเทศมาจากอาจารย์มหาวิทยาลัย ขณะที่งานวิจัยของ สวทช. เอง ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและการเมือง จนไม่เห็นทิศทางในระยะยาว นอกจากนี้ การที่ สวทช. สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้เองนั้น ก็เป็นดาบสองคม เพราะภาคเอกชนที่จะเข้ามาร่วมให้ทุนวิจัยกับ สวทช. ก็หวั่นใจว่า ข้อมูลในการทำวิจัยนั้น นอกจาก บริษัท-อาจารย์หรือนักวิจัย จะทราบแล้ว สวทช. ก็ทราบเช่นกัน รวมทั้ง สวทช. ก็ร่วมเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญานั้นด้วย
กระผมขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก แห่งหนึ่ง ได้ลงทุนวิจัยและพัฒนาในการสร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้น มากกว่า 1,000 ล้านบาท เมื่อมาทำการผลิตในประเทศไทยและมีปัญหาในการผลิต จำเป็นต้องจ้างนักวิจัยให้แก้ปัญหา โดย สวทช. จะร่วมทุนวิจัย ด้วยงบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นของ บริษัท และ สวทช. ..ถามว่า หาก สวทช. จะไปทำการผลิตเอง หรือไปร่วมทุนกับบริษัทคู่แข่งทางการค้า ทำได้ไหม..คำตอบคือ ทำได้ครับ เพราะ สวทช. มีทั้ง นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และนักเศรษฐศาสตร์...ขณะที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นั้น ชัดเจนครับว่า เน้นสนับสนุนการทำวิจัยอย่างเดียว เพราะ สกว. มีแต่เจ้าหน้าที่ธุรการ เป็นหลัก ขณะที่อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีแต่หัวคิดด้านงานสอน และทำวิจัยเท่านั้น (โดยเฉพาะกระผมเอง ก็ไม่มีหัวการค้าเลย..ฮาๆๆ)
ซึ่งจะเห็นว่า ในปัจจุบัน นักวิจัยดีเด่น หรือนักวิจัยที่เก่งๆ เกือบทุกคนในประเทศไทย ล้วน เป็นผู้รับทุนจาก สกว. รวมทั้งภาคเอกชนจำนวนมากก็ร่วมสนับสนุนการทำวิจัยกับ สกว. ขณะที่นักวิจัย ใน สวทช. นั้น ต้องทำงานหนักมากๆ เพื่อสร้างผลงานวิจัย ทั้งการตีพิมพ์บทความ หรือผลิตทรัพย์สินทางปัญญา เหมือนอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่นโยบายการบริหารก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของการเมือง ซึ่งผมว่าด้วยเงินโบนัสตามจำนวนที่ รมต. กล่าวไว้นั้น อาจจะน้อยไปเสียด้วยซ้ำนะครับ
ดังนั้น สวทช. และกระทรวงวิทย์ฯ คงต้องมาวิเคราะห์ใหม่แล้วครับ ว่า สวทช. จะเป็นผู้ให้ทุนวิจัย (Research) หรือ จะเป็น ผู้พัฒนางานวิจัยของประเทศ (Development) รวมทั้งอาจจะต้องพิจารณาภารกิจใน ด้านวิศวกรรม (Engineering) ที่สามารถผลิตผลงานออกเชิงพาณิชย์ได้เองเพื่อแข่งขันกับภาคเอกชนนั้น ด้วยครับ ว่า สวทช. ประสบความสำเร็จในภารกิจนี้หรือไม่ อีกทั้ง มีประเทศใดในโลกนี้ ที่ประสบความสำเร็จในการอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐทำการผลิตสินค้าเพื่อแข่งขันกับภาคเอกชนบ้างครับ
กระผมใคร่ขออนุญาตเสนอว่า สวทช. น่าจะเน้นการดำเนินงานในด้านการพัฒนางานวิจัย เพราะประเทศไทยยังขาดหน่วยงานหลักที่จะนำงานวิจัยจาก "หิ้งขึ้นห้าง" อย่างจริงจัง ซึ่ง สวทช. เองก็มีผลงานโดดเด่นและความพร้อมในด้านนี้ โดย สวทช.จะต้องแสดงให้ภาคเอกชนเห็นถึงศักยภาพของงานวิจัยในประเทศไทยเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป ซึ่ง สวทช. สามารถนำผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานวิจัยทั้งหลาย รวมทั้งของ สวทช. เอง ไปพัฒนา ต่อยอด หรือประสานกับภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การผลิตเชิงวิศวกรรม ในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและต่อการทำงานที่ชัดเจนของนักวิจัยใน สวทช. เอง อย่าลืมนะครับว่า ผลงานวิจัยของทุกหน่วยงานล้วนเป็นของประเทศไทย เพราะเงินวิจัยทั้งหมด ต่างก็มาจากงบประมาณแผ่นดินหรือเงินภาษีของประชาชนนั่นเองครับ