"ผู้ใดฆ่าผู้อื่น"
ไม่ต้องจำว่ามาตราอะไร เพียงแต่กฎหมายบัญัติไว้เช่นนั้น
สาระขององค์ประกอบความผิด ก็ไม่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนแต่ประการใด
"ผู้ใด" ก็คือ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง (ซึ่งไม่ใช่ สภานิติบัญญัติตามการตีความของศาลรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน)
"ฆ่า" คือ การทำให้ตาย (ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าตายจริง เช่น มีศพของผู้ตาย)
"ผู้อืน" ก็คือ บุคคลอืนที่ไม่ใช่ตนเอง ดังนั้น การฆ่าตัวตายจึงไม่เข้าองค์ประกอบตามมาตรานี้
แต่กฎหมายอาญานอกจากเนื้อหาที่ปรากฎตามสาระที่บัญญัติไว้ และสามารถ แยกเป็นองค์ประกอบความผิดแล้ว (เรียกว่า องค์ประกอบภายนอก) ยังมีอีกอย่างที่มองไม่เห็นด้วยตา ซึ่งก็คือ "เจตนา" อันเป็นองค์ประกอบภายใน
ดังนั้น "เจตนา" จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกประการที่คู่กรณีจะใช้ยกเป็นข้อต่อสู้ในทางคดีอาญาอยู่เสมอ
เจตนา คือ อะไร เจตนา แยกความหมาย ได้ 2 ความหมาย คือ
ความหมายที่ 1 หมายถึง การที่ผู้กระทำประสงค์ต่อผลที่กระทำ ซึ่งเข้าใจได้ไม่ยาก อยากจะให้ใครเจ็บก็เข้าไปทำร้าย ชกต่อย ทุบตี เรียกความหมายนี้ว่า "เจตนาประสงค์ต่อผล"
ความหมายที่ 2 หมายถึง ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ แต่สามารถที่จะรู้ได้ว่า สิ่งที่ได้กระทำไปนั้นจะทำให้เกิดผลขึ้นอย่างไร เรียกความหมายตามลักษณะนี้ว่า "เจตนาย่อมเล็งเห็นผล" ตัวอย่างประกอบความเข้าใจ เช่น ยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคน เมื่อกระสุนปืนที่ยิงไปถูก นายแดง เสียชีวิต แม้ผู้ยิงจะไม่ต้องการให้นายแดงตาย แต่การยิงปืนเข้าไปดังกล่าวก็ถือว่า ผู้ยิงย่อมรู้ว่าการยิงปืนเข้าไปจะทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดเสียชีวิต
ทั้งหมดนี้ เพื่อจะบอกท่านผู้เข้ามาอ่านว่า คดีที่ผู้ชุมนุมเสื้อแดงถูกฆ่าตายนั้น ครบองค์ประกอบ ของ การฆ่าคนตายแล้วหรือไม่
"ผู้ใด" ตามเหตุที่เกิดขึ้น ศาลได้ไต่สวนการตายแล้วชี้ว่า การตายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่ง หมายถึงทหาร
"ฆ่า" มีการกระทำที่ทำให้ต้องเสียชีวิต นั่นคือ การตายจากการถูกกระสุนปืน
"ผู้อื่น" ในที่นี้ก็คือ ผู้เข้าร่วมการชุมนุนตามที่ปรากฎการไต่สวนการตาย
ประเด็นสำคัญที่น่าจะเป็นข้อต่อสู้ นั่นคือ "เจตนา"
กรณีคำฟ้อง ใช้ข้อหาต่อ นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพว่า "ฆ่าคนตายโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล"
การสั่งสลายการชุมนุน อาจจะยังใช้เป็นข้ออ้างได้ว่า ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิต
แต่การอนุมัติให้ทหารใช้กระสุนจริงในการขอคืนพื้นที่ ย่อมน่าจะเป็นสิ่งที่วิญญูชนทั่วไปรู้กันว่าจะทำให้ผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันอยู่จำนวนมาก
ถูกกระสุนที่ยิงเสียชีวิตได้
แม้นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ จะไม่ใช่ทหารที่ยิงประชาชนตามที่ศาลชี้สาเหตุการตายก็ตาม แต่นายอภิสิทธิ์ และ นาย สุเทพ ย่อมจะต้อง
มีส่วนรับผิดชอบในฐานะ ตัวการ ที่มีอำนาจสั่งการ และมอบหมายอำนาจในการออกคำสั่งครั้งนั้นแล้วนำไปสู่การตาย
มีคนตายจริง
มีคนทำให้ตาย
เป็นไปได้หรือ ที่ไม่สามารถหาใครมารับผิดชอบต่อการตายของเขาเหล่านั้น
หรือจะยกให้เป็นคราวเคราะห์ของผู้ตายเอง แล้วเรื่องก็จบ
ถ้าจะยกให้เป็นคราวเคราะห์ของผู้ตาย เพราะหาคนมารับผิดชอบไม่ได้...ประเทศไทยแลนด์นี้ก็น่าจะอยู่กันลำบากซะแล้วละท่าน
.
เปิดตำรากฎหมายอาญากันสักหนึ่งมาตรา "การฆ่าคนตาย"
ไม่ต้องจำว่ามาตราอะไร เพียงแต่กฎหมายบัญัติไว้เช่นนั้น
สาระขององค์ประกอบความผิด ก็ไม่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนแต่ประการใด
"ผู้ใด" ก็คือ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง (ซึ่งไม่ใช่ สภานิติบัญญัติตามการตีความของศาลรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน)
"ฆ่า" คือ การทำให้ตาย (ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าตายจริง เช่น มีศพของผู้ตาย)
"ผู้อืน" ก็คือ บุคคลอืนที่ไม่ใช่ตนเอง ดังนั้น การฆ่าตัวตายจึงไม่เข้าองค์ประกอบตามมาตรานี้
แต่กฎหมายอาญานอกจากเนื้อหาที่ปรากฎตามสาระที่บัญญัติไว้ และสามารถ แยกเป็นองค์ประกอบความผิดแล้ว (เรียกว่า องค์ประกอบภายนอก) ยังมีอีกอย่างที่มองไม่เห็นด้วยตา ซึ่งก็คือ "เจตนา" อันเป็นองค์ประกอบภายใน
ดังนั้น "เจตนา" จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกประการที่คู่กรณีจะใช้ยกเป็นข้อต่อสู้ในทางคดีอาญาอยู่เสมอ
เจตนา คือ อะไร เจตนา แยกความหมาย ได้ 2 ความหมาย คือ
ความหมายที่ 1 หมายถึง การที่ผู้กระทำประสงค์ต่อผลที่กระทำ ซึ่งเข้าใจได้ไม่ยาก อยากจะให้ใครเจ็บก็เข้าไปทำร้าย ชกต่อย ทุบตี เรียกความหมายนี้ว่า "เจตนาประสงค์ต่อผล"
ความหมายที่ 2 หมายถึง ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ แต่สามารถที่จะรู้ได้ว่า สิ่งที่ได้กระทำไปนั้นจะทำให้เกิดผลขึ้นอย่างไร เรียกความหมายตามลักษณะนี้ว่า "เจตนาย่อมเล็งเห็นผล" ตัวอย่างประกอบความเข้าใจ เช่น ยิงปืนเข้าไปในกลุ่มคน เมื่อกระสุนปืนที่ยิงไปถูก นายแดง เสียชีวิต แม้ผู้ยิงจะไม่ต้องการให้นายแดงตาย แต่การยิงปืนเข้าไปดังกล่าวก็ถือว่า ผู้ยิงย่อมรู้ว่าการยิงปืนเข้าไปจะทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดเสียชีวิต
ทั้งหมดนี้ เพื่อจะบอกท่านผู้เข้ามาอ่านว่า คดีที่ผู้ชุมนุมเสื้อแดงถูกฆ่าตายนั้น ครบองค์ประกอบ ของ การฆ่าคนตายแล้วหรือไม่
"ผู้ใด" ตามเหตุที่เกิดขึ้น ศาลได้ไต่สวนการตายแล้วชี้ว่า การตายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่ง หมายถึงทหาร
"ฆ่า" มีการกระทำที่ทำให้ต้องเสียชีวิต นั่นคือ การตายจากการถูกกระสุนปืน
"ผู้อื่น" ในที่นี้ก็คือ ผู้เข้าร่วมการชุมนุนตามที่ปรากฎการไต่สวนการตาย
ประเด็นสำคัญที่น่าจะเป็นข้อต่อสู้ นั่นคือ "เจตนา"
กรณีคำฟ้อง ใช้ข้อหาต่อ นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพว่า "ฆ่าคนตายโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล"
การสั่งสลายการชุมนุน อาจจะยังใช้เป็นข้ออ้างได้ว่า ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิต
แต่การอนุมัติให้ทหารใช้กระสุนจริงในการขอคืนพื้นที่ ย่อมน่าจะเป็นสิ่งที่วิญญูชนทั่วไปรู้กันว่าจะทำให้ผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันอยู่จำนวนมาก
ถูกกระสุนที่ยิงเสียชีวิตได้
แม้นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ จะไม่ใช่ทหารที่ยิงประชาชนตามที่ศาลชี้สาเหตุการตายก็ตาม แต่นายอภิสิทธิ์ และ นาย สุเทพ ย่อมจะต้อง
มีส่วนรับผิดชอบในฐานะ ตัวการ ที่มีอำนาจสั่งการ และมอบหมายอำนาจในการออกคำสั่งครั้งนั้นแล้วนำไปสู่การตาย
มีคนตายจริง
มีคนทำให้ตาย
เป็นไปได้หรือ ที่ไม่สามารถหาใครมารับผิดชอบต่อการตายของเขาเหล่านั้น
หรือจะยกให้เป็นคราวเคราะห์ของผู้ตายเอง แล้วเรื่องก็จบ
ถ้าจะยกให้เป็นคราวเคราะห์ของผู้ตาย เพราะหาคนมารับผิดชอบไม่ได้...ประเทศไทยแลนด์นี้ก็น่าจะอยู่กันลำบากซะแล้วละท่าน
.