อยากทราบความแตกต่างของมาตรา 60 กับเจตนาโดยย่อมเล็งเห็นผล

ตอนนี้กำลังเรียนวิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไปอยู่ค่ะ แต่อยากทราบความแตกต่างระหว่าง 2 อันนี้ค่ะ โดย

การกระทำโดยพลาดกับเจตนาโดยย่อมเล็งเห็นผล

เจตนาโดยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำคือการที่ผู้กระทำไม่อาจประสงค์ให้เกิดผลโดยตรงกับใครโดยเฉพาะ แต่ถ้าหากโดยลักษณะของการกระทำนั้น ผู้กระทำย่อมเล็งเห็นได้ว่าจะก่อให้เกิดผลขึ้น หรือการที่ผู้กระทำเห็นแล้วว่าผลจะเกิด แต่ก็ไม่ใยดีในผลนั้น

และมาตรา 61 คือเจตนาต่อบุคคลหนึ่งแต่ผลไปเกิดแก่บุคคลหนึ่งโดยพลาดไป...  

ถ้าเป็นการกระหน่ำยิง ก แต่ไปถูก ข ที่เดินผ่านโดยบังเอิญนี่เป็นเจตนาโดยเล็งเห็นผลหรือเป็นการกระทำโดยพลาดคะ T^T

และเคยไปอ่านเจอว่าบางกรณีที่เป็นการฆ่าโดยพลาดตามมาตรา 61 และไม่เป็นเจตนาฆ่าโดยย่อมเล็งเห็นผลเพราะผู้กระทำมีเจตนาประสงค์ฆ่าคนอยู่แล้วนี่หมายถึงถ้าเป็นประสงค์แล้วก็ไม่ต้องพิจารณาการย่อมเล็งเห็นผลไปดูเรื่องพลาดได้เลยหรอคะ

แล้วถ้าเป็นอีกกรณีหนึ่งถ้าประสงค์จะฆ่า ก เพียงผู้เดียวแต่กลับมีผู้ที่ได้รับผลร้ายหลายคนที่ได้อยู่บริเวณรอบนั้นแทน อย่างนี้จะเข้าตามมาตราไหนคะ ต้องพิจารณาอะไรประกอบบ้างคะ

ปล. ขอนอกเรื่องนะคะ ถ้าเป็นการกระทำโดยสำคัญผิดตามมาตรา 60 บุคคลที่ผู้กระทำตามเจตนาจำเป็นที่จะไม่ต้องอยู่บริเวณนั้นด้วยมั้ยคะ หรือยึดแต่เจตนาที่สำคัญผิดของผู้กระทำผิดเพียงเท่านั้น

ปล2. แล้วอีกกรณีนะคะ ถ้าโยนปืนเล่นกันกับ ก ในที่ๆ มีคนพลุกพล่านแล้วกระสุนโดน ก และไปถูกคนบริเวณนั้นอย่างนี้รับผิดทางอาญาอย่างไรคะ
แล้วจะไปเข้าประมาทมั้ยคะ ถ้าประมาทการประมาทคือ กระทำความผิดที่ไม่ใช่ใช่โดยเจตนา แต่เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่ไม่ได้ใช้เพียงพอ รบกวนช่วยแยกแยะความแตกต่างของการเล็งเห็นผลและประมาทอีกครั้งด้วยค่ะ

ขอบคุณมากๆ เลยนะคะ T^T ตอนนี้หนูงงมากๆ เลยค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่