สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
การทำอิ๊กซี่ ก็คือ การนำ เชื้ออสุจิ หนึ่งตัว ยิง(inject)เข้าไปในไข่ 1 ใบ เพื่อช่วยให้เกิดการปฏิสนธิ ย้ำนะครับ ช่วยให้เกิดการปฏิสนธิ จากนั้นเลี้ยงตัวอ่อนไปจนถึง เด3 หรือ เด5 แล้วย้ายกลับไปฝังยังผนังมดลูก (ในกรณีที่ไม่มีการตรวจโครโมโซม)
ที่นี้กลับมา ที่ผมย้ำว่าช่วยในเรื่องของการช่วยการปฏิสนธิ เพราะในธรรมชาติสเปิร์มจะเจาะผ่านไข่แล้วมีกระบวนการต่างทั้งทางเคมีและกายภาพแล้วจึงปฏิสนธิ แต่ในกรณีที่คู่สมรสบางคู่ที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก อาจจะเป็นสามเหุจากความไม่แข็งแรงของตัวสเปิร์มหรือความผิดปกติของกระบวนการปฏิสนธิจากไข่หรือสเปิร์อย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจจะทั้งสองอย่างทำให้ถึงแม้ไข่จะเจอกับตัวสเปิร์มแต่ก่ไม่สามารถเกิดการปฏิสนธิได้ ดังนั้นเพื่อช่วยให้เกิดการปฏิสนธินักวิทยาศาสตร์จึงช่วยโดยการจับตัวสเปิร์มแล้วฉีดเข้าไปในไข่เลยเพื่อช่วยให้เกิดการปฏิสนธิ
เมื่อตัวอ่อนปฏิสนธิแล้ว ก็จะเลี้ยงไปเรื่อย และย้ายกลับใส่ยังมดลูกเพื่อให้เจริญต่อไป
ที่นี้มาตอบคำถาม
1.ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ติดและไม่ติด
เมื่อได้ตัวอ่อนแล้วและพร้อมจะใส่ ปัจจัยที่ทำให้ติดแบ่งเป็นสองส่วนคือ ตัวอ่อน และ ผนังมดลูก(ตัวคุณแม่) มาดูทีละอันกันครับ
1.1 ตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ดีย่อมมีโอกาสที่จะเจริญต่อได้สูงเชกเช่นต้นกล้าที่ดีและแข็งแรง และ การได้มาของตัวอ่อนที่ดีนั้นจะประกอบด้วยสามส่วนหลักๆคือ ตัวสเปิร์ม หรือการเลือกสเปิร์มที่จะยิ่งเข้าไป (หน้าที่ ละความรับผิดชอบของนักวิทยาศาสตร์) ,ไข่ การกระตุ้นไข่หรือการเตรียมไข่จะเป็นหน้าที่ของแพทย์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ชนิดและปริมาณฮอรโมนที่ให้ รูปแบบการให้และรวมถึวอายุของคนไข่ครับ. ถ้าแพทย์เตรียมไข่ได้ดี ก็จะส่งผลดีถึงการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของตัวอ่อน และส่วนที่สาม การเลี้ยงตัวอ่อน(culture)ส่วนนี้ถือส่าสำคัญมากและจะกระทำโดยนักวิทยาศาสตร์การเลี้ยงตัวอ่อน ถ้าเลี้ยงได้จนถึงระยะบลาสโตสิสก็ประมาณวันที่ห้าหลังจากเก็บไข่ ก็จะเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์กว่าการใส่ตัวอ่อนในระยะเด 3 เพราะ การใส่ตัวอ่อนเราจะนำตัวอ่อนไปฝังยังผนังมดลูก (ในวีถีธรรมชาติการฏิสนธิจะเกิดบริเวณท่อนำไข่และตัวอ่อนจะเจิญเติบโตมาเรื่อยๆและเดินทางมาฝังยังผนังมดลูก โดยระยะที่มาถึงผนังมดลูกก็จะประมาณระยะบลาสปลายๆ สรุปก็คือ การใส่ตัวอ่อนระยะบลาสจะใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด)
1.2ผนังมดลูก ก็เปรียบได้กับ แปลงนา ยิ่งเตรียมได้สมบูรณ์แบบมากเท่าไรต้นกล้าทีเอามาปลูกก็ย่อมมีโอกาสเจริญได้ดีมากเท่านั้น ส่วนนี้เป็นหน้าที่ของหมอครับ
เมื่อได้ทั้งสองสิ่งมาดีแล้ว โอกาสติดก่จะมีสูง ปมให้เปอเซ็นทั้งสองอย่างละ 45% ละกันครับ อีก 10% ที่เหลือ น่าจะเป็นเรื่องของ ดวง(คนไทยต้องเชื่อไว้บ้างครีบ . )
ตอบคำถามต่อมา
ถ้าตัวอ่อนติดแล้วจะหลุดหรือไม่ อันนี้ขึ้นอยุ่กับการดูแลตัวเองของคุณแม่และความปกติของตัวอ่อน ณ ตอนนี้ ผมหมายถึงความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนนะครับ ในทางวิทยาศาสตร์พบว่าตัวอ่อนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมมีโอกาสที่เจริญต่อไปได้น้อยกว่าตัวอ่อนที่ปกติ(จริงๆแล้วผมก็ว่ามันตรงไปตรงมานะครับไม่เห็นจะต้องอ้างวิทยาศาสตร์ ..ซึ่ง มันก็คือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ natural selection ตัวอ่อนที่ดีก็โตต่อ ที่ไม่ดีก็หลุดไปตามธรรมชาติ)
คำถามต่อมาถ้าหลุดก็ต้องทำใหม่เลย ..???
ตอบว่าใช่ถ้าคุณไม่มีตัวอ่อนเหลือแช่แข็ง แต่ถ้าคุณมีตัวอ่อนเหลือแช่แข็งไว้ก็ไม่ต้องเริ่ทใหม่ตั้งแต่เริ่มฉีดยากระตุ้น ไม่ต้อวเก็บไข่ใหม่ แต่ข้ามมาจั้นตอนการเตรียมผนังมดลูกเลย เมื่อได้ตามกำหนด นักวิทย์ก็จะละลายตัวอ่อนมาแล้วใส่กลับไปครับ
คำถามสุดท้าย ใส่แล้วต้องทำตัวอย่างไรทานอะไร
ตอบว่า ทำตามคำแนะนำของหมอและพยาบาลเรื่อวยาที่ต้องกิน ต้องใช้ อย่างกังวลอย่าคิดมากครับ ใช้ชีวิตปกติครับแต่ลดเหตุการที่ทำให้เกิดการสะเทือนจนกว่าหมอจะแน่ใจว่าลูกคุณอยู่ดีครับ
ขอให้โชคดีประสบความสำเร็จได้ลูกที่แข็งแรงครับ
จบ
ปล ผมอาจจะพิมพ์ตกหล่นนะครับ แต่หวังว่าน่าจะมีประโยชน์กับ จขกท บ้าง
และผมพิมพ์ตอนขับรถกลับบ้าน คิดดูว่ารถติดนาดไหน ....ประเทศไทย..!!!
via Pantip Talk
ที่นี้กลับมา ที่ผมย้ำว่าช่วยในเรื่องของการช่วยการปฏิสนธิ เพราะในธรรมชาติสเปิร์มจะเจาะผ่านไข่แล้วมีกระบวนการต่างทั้งทางเคมีและกายภาพแล้วจึงปฏิสนธิ แต่ในกรณีที่คู่สมรสบางคู่ที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก อาจจะเป็นสามเหุจากความไม่แข็งแรงของตัวสเปิร์มหรือความผิดปกติของกระบวนการปฏิสนธิจากไข่หรือสเปิร์อย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจจะทั้งสองอย่างทำให้ถึงแม้ไข่จะเจอกับตัวสเปิร์มแต่ก่ไม่สามารถเกิดการปฏิสนธิได้ ดังนั้นเพื่อช่วยให้เกิดการปฏิสนธินักวิทยาศาสตร์จึงช่วยโดยการจับตัวสเปิร์มแล้วฉีดเข้าไปในไข่เลยเพื่อช่วยให้เกิดการปฏิสนธิ
เมื่อตัวอ่อนปฏิสนธิแล้ว ก็จะเลี้ยงไปเรื่อย และย้ายกลับใส่ยังมดลูกเพื่อให้เจริญต่อไป
ที่นี้มาตอบคำถาม
1.ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ติดและไม่ติด
เมื่อได้ตัวอ่อนแล้วและพร้อมจะใส่ ปัจจัยที่ทำให้ติดแบ่งเป็นสองส่วนคือ ตัวอ่อน และ ผนังมดลูก(ตัวคุณแม่) มาดูทีละอันกันครับ
1.1 ตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ดีย่อมมีโอกาสที่จะเจริญต่อได้สูงเชกเช่นต้นกล้าที่ดีและแข็งแรง และ การได้มาของตัวอ่อนที่ดีนั้นจะประกอบด้วยสามส่วนหลักๆคือ ตัวสเปิร์ม หรือการเลือกสเปิร์มที่จะยิ่งเข้าไป (หน้าที่ ละความรับผิดชอบของนักวิทยาศาสตร์) ,ไข่ การกระตุ้นไข่หรือการเตรียมไข่จะเป็นหน้าที่ของแพทย์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ชนิดและปริมาณฮอรโมนที่ให้ รูปแบบการให้และรวมถึวอายุของคนไข่ครับ. ถ้าแพทย์เตรียมไข่ได้ดี ก็จะส่งผลดีถึงการปฏิสนธิและการเจริญเติบโตของตัวอ่อน และส่วนที่สาม การเลี้ยงตัวอ่อน(culture)ส่วนนี้ถือส่าสำคัญมากและจะกระทำโดยนักวิทยาศาสตร์การเลี้ยงตัวอ่อน ถ้าเลี้ยงได้จนถึงระยะบลาสโตสิสก็ประมาณวันที่ห้าหลังจากเก็บไข่ ก็จะเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์กว่าการใส่ตัวอ่อนในระยะเด 3 เพราะ การใส่ตัวอ่อนเราจะนำตัวอ่อนไปฝังยังผนังมดลูก (ในวีถีธรรมชาติการฏิสนธิจะเกิดบริเวณท่อนำไข่และตัวอ่อนจะเจิญเติบโตมาเรื่อยๆและเดินทางมาฝังยังผนังมดลูก โดยระยะที่มาถึงผนังมดลูกก็จะประมาณระยะบลาสปลายๆ สรุปก็คือ การใส่ตัวอ่อนระยะบลาสจะใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด)
1.2ผนังมดลูก ก็เปรียบได้กับ แปลงนา ยิ่งเตรียมได้สมบูรณ์แบบมากเท่าไรต้นกล้าทีเอามาปลูกก็ย่อมมีโอกาสเจริญได้ดีมากเท่านั้น ส่วนนี้เป็นหน้าที่ของหมอครับ
เมื่อได้ทั้งสองสิ่งมาดีแล้ว โอกาสติดก่จะมีสูง ปมให้เปอเซ็นทั้งสองอย่างละ 45% ละกันครับ อีก 10% ที่เหลือ น่าจะเป็นเรื่องของ ดวง(คนไทยต้องเชื่อไว้บ้างครีบ . )
ตอบคำถามต่อมา
ถ้าตัวอ่อนติดแล้วจะหลุดหรือไม่ อันนี้ขึ้นอยุ่กับการดูแลตัวเองของคุณแม่และความปกติของตัวอ่อน ณ ตอนนี้ ผมหมายถึงความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนนะครับ ในทางวิทยาศาสตร์พบว่าตัวอ่อนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมมีโอกาสที่เจริญต่อไปได้น้อยกว่าตัวอ่อนที่ปกติ(จริงๆแล้วผมก็ว่ามันตรงไปตรงมานะครับไม่เห็นจะต้องอ้างวิทยาศาสตร์ ..ซึ่ง มันก็คือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ natural selection ตัวอ่อนที่ดีก็โตต่อ ที่ไม่ดีก็หลุดไปตามธรรมชาติ)
คำถามต่อมาถ้าหลุดก็ต้องทำใหม่เลย ..???
ตอบว่าใช่ถ้าคุณไม่มีตัวอ่อนเหลือแช่แข็ง แต่ถ้าคุณมีตัวอ่อนเหลือแช่แข็งไว้ก็ไม่ต้องเริ่ทใหม่ตั้งแต่เริ่มฉีดยากระตุ้น ไม่ต้อวเก็บไข่ใหม่ แต่ข้ามมาจั้นตอนการเตรียมผนังมดลูกเลย เมื่อได้ตามกำหนด นักวิทย์ก็จะละลายตัวอ่อนมาแล้วใส่กลับไปครับ
คำถามสุดท้าย ใส่แล้วต้องทำตัวอย่างไรทานอะไร
ตอบว่า ทำตามคำแนะนำของหมอและพยาบาลเรื่อวยาที่ต้องกิน ต้องใช้ อย่างกังวลอย่าคิดมากครับ ใช้ชีวิตปกติครับแต่ลดเหตุการที่ทำให้เกิดการสะเทือนจนกว่าหมอจะแน่ใจว่าลูกคุณอยู่ดีครับ
ขอให้โชคดีประสบความสำเร็จได้ลูกที่แข็งแรงครับ
จบ
ปล ผมอาจจะพิมพ์ตกหล่นนะครับ แต่หวังว่าน่าจะมีประโยชน์กับ จขกท บ้าง
และผมพิมพ์ตอนขับรถกลับบ้าน คิดดูว่ารถติดนาดไหน ....ประเทศไทย..!!!
via Pantip Talk
แสดงความคิดเห็น
ทำ icsi ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ติดและไม่ติด
ใครมีประสบการหลังจากใส่ตัวอ่อนแล้วต้องทำยังไง หรือ ทานอะไรแนะนำด้วยนะคะ