Credit :
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=55967
ขอบคุณ คุณ Thai VI Article และ ดร.นิเวศน์ครับ
_____________________________________________
โลกในมุมมองของ Value Investor 22 มิถุนายน 2556
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สื่อสายฟ้าแลบกับการลงทุน
ตั้งแต่มีระบบอินเตอร์เน็ตที่ทรงประสิทธิภาพผ่านระบบโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาได้แล้ว ผมก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้นในโลก ในทางสังคมนั้น เหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นแล้วคน “ประทับใจ” ก็จะเกิดการส่งต่อด้วยวิธีการต่าง ๆ ผ่านระบบสื่อที่เป็นธุรกิจและ “สื่อสังคม” ทันทีราวกับ “สายฟ้าแลบ” ผลก็คือ มันก็กลายเป็น “Talk of the town” หรือเรื่องที่คนพูดถึงและวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางและส่งผลกระทบต่อไปเป็นทอด ๆ บางเรื่องก็ทำให้คน “ดังในชั่วข้ามคืน” อย่างกรณีของนักร้องเกาหลีที่เต้นแบบ “กังนัมสไตล์” จนคนทั่วโลกคลั่งไคล้ ในทางตรงกันข้าม มันก็อาจจะทำให้ธุรกิจหรือคนเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้เช่นกัน
ในทางการเมืองนั้น เหตุการณ์ “อาหรับสปริง” และการชุมนุมอีกหลายอย่างเช่น “Occupy Wall Street” ที่คนประท้วง “ความโลภและความเลวร้าย” ของระบบตลาดทุนในสหรัฐนั้น ก็เป็นผลจากระบบของ “สื่อสังคมแบบสายฟ้าแลบ” ที่ทำให้คนออกมารวมตัวกันเพื่อต่อต้านสิ่งที่พวกเขาคิดเหมือนกันและมีความคิด “รุนแรง” กับเรื่องดังกล่าว โดยที่คนเหล่านี้อาจจะมีจิตวิทยาหรือความเชื่อของตนที่มีมานาน หรืออาจจะเป็นคนที่ได้รับข้อมูลที่ถูกส่งมาจากคนที่มีความคิดและความเชื่ออย่างนั้นมาอย่างต่อเนื่องทำให้เขาคล้อยตามและเข้าร่วมชุมนุมด้วย ผลก็คือ ม็อบนั้นเกิดเร็วและแรงกว่าที่เคยเป็นมาในอดีตที่คนไม่สามารถส่งต่อหรือติดต่อความคิดและการนัดหมายกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในทางเศรษฐกิจและการเงินเองนั้น ผลกระทบจาก “ข้อมูลสายฟ้าแลบ” นั้น ส่งผลให้ระบบการเงินที่เป็นตัวแทนของเศรษฐกิจจริงเกิดการปั่นป่วนรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ มติการประชุมของธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจชั้นนำเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกานั้นถูกส่งต่อทันทีไปทั่วโลก คนที่มีอำนาจในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจและการลงทุนแทบทุกประเทศต่างก็ “React” หรือตอบสนองโดยการปรับกลยุทธ์ทางด้านของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน และนโยบายในการจัดงบประมาณของประเทศ ผลก็คือ ในบางครั้งตลาดก็เกิดความปั่นป่วนเนื่องจากการ “เคลื่อนย้าย” ของเม็ดเงินอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ช่วงเร็ว ๆ นี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดความผันผวนรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยนั้น บางวันดัชนีตกลงไปกว่า 40 จุดหรือประมาณ 3% ในช่วงเช้า แต่พอถึงตอนบ่ายดัชนีกลับปรับตัวขึ้นเป็นประมาณเท่าเดิมได้ เช่นเดียวกัน ในบางวันนั้นดัชนีเริ่มจากการบวกมากมายแต่แล้วก็กลับเป็นลบมากมายได้ในเวลาอันสั้น ความผันผวนนั้นกว่า 5% ภายในวันเดียว สำหรับคนที่ซื้อขายระยะสั้น ๆ นั้น การขาดทุนหรือกำไรต่อวันนั้นสูงลิ่วแทบจะไม่เคยปรากฏมาก่อน เหตุผลนั้นไม่ใช่เรื่องที่มาจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว “สื่อสายฟ้าแลบ” ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นในเมืองไทยเพียง 2-3 ปีนี้มีผลต่อนักลงทุนมหาศาล นักลงทุน ว่าที่จริงก็เกือบทุกคนในสังคมของคนที่มีเงินรุ่นใหม่ในปัจจุบันนั้น ต่างก็พกโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตติดตัวตลอดเวลา สายตาของพวกเขานั้น ถ้าไม่ได้ทำงานหรือดูอย่างอื่นอยู่ก็จะอ่านข้อมูลข่าวสารที่มีคนส่งเข้ามาเป็นระยะ เช่นเดียวกับที่บางครั้งเขาก็เป็นคนส่งข้อมูลที่เขาคิดหรือได้รับมาอีกต่อหนึ่งออกไปสู่คนอื่นอีกมากมายได้ด้วยการกดแป้นพิมพ์เพียงครั้งเดียว ผลก็คือ ทุกคนซื้อขายหุ้นกันตามข่าวสารนั้นและทำให้หุ้นผันผวนอย่างรวดเร็ว “ตามข่าว”
คนที่เป็น “VI” นั้นควรที่จะต้องเข้าใจว่าปรากฏการณ์ของ “สื่อสายฟ้าแลบ” และข่าวหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกส่งออกไปว่ามันอาจจะมีทั้งเรื่องจริงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง หรือมันเป็นเรื่องที่ไม่จริงไม่ถูกต้องที่คนเข้าใจผิด หรือมันเป็นเรื่องที่ไม่จริงไม่ถูกต้องและคนที่ส่งออกไปก็รู้แต่ต้องการให้มันมีผลต่อราคาหุ้นที่ตนถืออยู่หรือต้องการซื้อหรือขาย ความสามารถในการที่จะแยกแยะหรือรับรู้ข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของการลงทุน ในภาวะปัจจุบันนั้น ผมคิดว่าการหาข้อมูลนั้นง่ายมาก เราแทบไม่มีต้นทุนอะไรเลยโดยเฉพาะหลังจากกำเนิดของกูเกิ้ล แต่การที่จะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก บางทีอาจจะยากกว่าในสมัยก่อนที่การผลิตข้อมูลและส่งออกไปมีราคาแพงมากเนื่องจากสื่อที่เป็นมหาชนนั้นมีจำกัด ดังนั้น ข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ถูกต้องจึงไม่สามารถผลิตและส่งออกมาได้ง่าย แต่ในปัจจุบันนั้น ทุกคนสามารถส่งข้อมูลให้คนเป็นร้อยเป็นพันได้และไม่มีใครมากรองหรือกีดกันข้อมูลนั้นเลย ดังนั้น ข้อมูลที่ท่วมท้นในตลาดหุ้นและการลงทุนในปัจจุบันจึงอาจจะมีที่ถูกต้องและมีคุณค่าในการใช้เวลาอ่านเพียง 1 ใน 10 หรือน้อยกว่านั้น และถ้าเราอ่านไปเรื่อยโดยไม่แยกแยะเราก็ไม่ได้อะไร ที่ยิ่งแย่ก็คือ เราอาจจะรับในสิ่งที่ผิดหรือถูก “ล้างสมอง” ให้เชื่อในสิ่งที่ผิดซึ่งจะทำให้แนวทางการลงทุนของเราไม่ประสบความสำเร็จ
ถ้าจะลองมาดูว่าแต่ละวันเรารับอะไรมาบ้างและเรามีปฏิกริยาอย่างไรกับมันก็จะช่วยให้เราสามารถปรับปรุงตัวเองให้เป็น VI ที่ดีขึ้นได้
สิ่งแรกก็คือ ข่าวต่าง ๆ ที่มักเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นโดยไม่มีความเห็นประกอบ นี่ส่วนมากก็มักจะเป็นเรื่องของตัวเลข เช่น ดัชนีหุ้น ตัวเลขกลุ่มผู้ซื้อขายหุ้นแต่ละกลุ่ม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มักไม่เป็นปัญหา แต่เหตุผลต่าง ๆ ที่มักจะมีการอธิบายประกอบนั้น เราก็ต้องระวังว่ามันอาจจะไม่จริงแต่เป็นความเห็นของนักวิเคราะห์เราก็อาจจะฟังแบบผ่าน ๆ เนื่องจากมันอาจจะไม่มีประโยชน์อะไรนักเพราะความเห็นหรือแม้แต่ความจริงที่ผ่านไปแล้วมักจะไม่มีผลอะไรกับราคาหุ้นในอนาคต
ข้อมูลต่อมาที่มีมากมายไม่แพ้กันทุกวันก็คือ การ “เชียร์หุ้น” ทั้งซื้อหรือขายของนักวิเคราะห์และนักลงทุนที่อาจจะเป็นเพื่อนกับเราหรือที่เราได้รับผ่านเพื่อน ว่าที่จริง เดี๋ยวนี้จะเป็นใครก็ไม่มีความหมายอะไรเพราะมันผ่านมาถึงเราได้ตลอด ประเด็นก็คือ การ “แนะนำหุ้น” แทบจะทุกรายการนั้น ผู้แนะนำนั้นต่างก็มี “ผลประโยชน์ส่วนตัว” ทั้งสิ้น บางทีก็อาจจะขัดแย้งกับคนที่เขาอยากให้ได้รับข่าวสาร เช่น แนะนำให้ซื้อในราคาสูงเพื่อเขาจะได้ขาย หรือถึงบางคนไม่ต้องการขายแต่เขาก็อยากให้หุ้นที่เขาแนะนำขึ้นอยู่ดีถ้าเขาซื้อครบแล้ว บางคน เช่นนักวิเคราะห์เองนั้น พวกเขาอาจจะไม่ได้มีหุ้นหรือต้องการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นโดยตรง แต่พวกเขาก็ต้องการให้คนซื้อขายหุ้นบ่อยขึ้นเพื่อที่บริษัทเขาจะได้ค่าคอมมิสชั่นหรือได้ธุรกิจอื่นเพิ่ม ผลประโยชน์ของเขาก็คือ เงินเดือนและโบนัสและชื่อเสียงในการที่แนะนำถูกต้อง--ในระยะสั้น
ข้อมูลที่มีมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ “ข่าวลือ” นี่ก็เป็นข่าวหรือเป็นข้อมูลที่ “ขายได้” ในแง่ที่ทำให้คนเข้ามาอ่านหรือมารับเนื่องจากคนชอบฟังเรื่องที่ “ปิดลับ” หรือยังไม่ปรากฏต่อสื่อที่เป็น “ทางการ” แต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีผลกระทบต่อราคาหุ้น ตัวอย่างมีมากมายรวมถึงเรื่องเช่น การเทคโอเวอร์ การแจกหุ้นเพิ่มทุนหรือวอแรนต์ และเรื่องอื่น ๆ อีกสารพัดเช่น หุ้นตัวนั้นหรือตัวนี้มี “เซียน” กำลังเก็บหรือขาย นี่ก็เป็นเรื่องของข้อมูลที่ฟังได้แต่จริง ๆ แล้วผมคิดว่ามีประโยชน์น้อยมาก ข้อแรกก็คือ มันอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่จริงโดยเฉพาะถ้ามันไม่มีสัญญาณอย่างอื่นประกอบ ข้อสองถ้ามันจริงแต่ตอนที่มันมาถึงเราคนอีกจำนวนมากที่อยู่ในระบบ “สื่อสายฟ้าแลบ” ก็รู้กันหมดแล้วซึ่งทำให้มันไม่มีประโยชน์ในแง่ของการลงทุน
ทั้งหมดนั้นก็คือ “เสี้ยวเดียว” ของปรากฏการณ์ “ใหม่” ของโลกและประเทศไทยที่เราจะต้องเรียนรู้และรับกับมัน เราหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่เราไม่จำเป็นที่จะต้องทำตามคนส่วนใหญ่ ผมเองนั้นพยายามที่จะไม่เปิดรับข้อมูลมากเกินไป เราต้องกรองเอาเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เราต้องเป็นคนเลือกและ แสวงหาข้อมูลที่จะรับ มิฉะนั้น เราอาจจะกลายเป็น “เหยื่อ” ของคนที่มีเป้าหมายที่จะทำให้เราเชื่อในข้อมูลของเขา
สื่อสายฟ้าแลบกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ขอบคุณ คุณ Thai VI Article และ ดร.นิเวศน์ครับ
_____________________________________________
โลกในมุมมองของ Value Investor 22 มิถุนายน 2556
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สื่อสายฟ้าแลบกับการลงทุน
ตั้งแต่มีระบบอินเตอร์เน็ตที่ทรงประสิทธิภาพผ่านระบบโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาได้แล้ว ผมก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้นในโลก ในทางสังคมนั้น เหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นแล้วคน “ประทับใจ” ก็จะเกิดการส่งต่อด้วยวิธีการต่าง ๆ ผ่านระบบสื่อที่เป็นธุรกิจและ “สื่อสังคม” ทันทีราวกับ “สายฟ้าแลบ” ผลก็คือ มันก็กลายเป็น “Talk of the town” หรือเรื่องที่คนพูดถึงและวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางและส่งผลกระทบต่อไปเป็นทอด ๆ บางเรื่องก็ทำให้คน “ดังในชั่วข้ามคืน” อย่างกรณีของนักร้องเกาหลีที่เต้นแบบ “กังนัมสไตล์” จนคนทั่วโลกคลั่งไคล้ ในทางตรงกันข้าม มันก็อาจจะทำให้ธุรกิจหรือคนเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้เช่นกัน
ในทางการเมืองนั้น เหตุการณ์ “อาหรับสปริง” และการชุมนุมอีกหลายอย่างเช่น “Occupy Wall Street” ที่คนประท้วง “ความโลภและความเลวร้าย” ของระบบตลาดทุนในสหรัฐนั้น ก็เป็นผลจากระบบของ “สื่อสังคมแบบสายฟ้าแลบ” ที่ทำให้คนออกมารวมตัวกันเพื่อต่อต้านสิ่งที่พวกเขาคิดเหมือนกันและมีความคิด “รุนแรง” กับเรื่องดังกล่าว โดยที่คนเหล่านี้อาจจะมีจิตวิทยาหรือความเชื่อของตนที่มีมานาน หรืออาจจะเป็นคนที่ได้รับข้อมูลที่ถูกส่งมาจากคนที่มีความคิดและความเชื่ออย่างนั้นมาอย่างต่อเนื่องทำให้เขาคล้อยตามและเข้าร่วมชุมนุมด้วย ผลก็คือ ม็อบนั้นเกิดเร็วและแรงกว่าที่เคยเป็นมาในอดีตที่คนไม่สามารถส่งต่อหรือติดต่อความคิดและการนัดหมายกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในทางเศรษฐกิจและการเงินเองนั้น ผลกระทบจาก “ข้อมูลสายฟ้าแลบ” นั้น ส่งผลให้ระบบการเงินที่เป็นตัวแทนของเศรษฐกิจจริงเกิดการปั่นป่วนรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ มติการประชุมของธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจชั้นนำเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกานั้นถูกส่งต่อทันทีไปทั่วโลก คนที่มีอำนาจในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจและการลงทุนแทบทุกประเทศต่างก็ “React” หรือตอบสนองโดยการปรับกลยุทธ์ทางด้านของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน และนโยบายในการจัดงบประมาณของประเทศ ผลก็คือ ในบางครั้งตลาดก็เกิดความปั่นป่วนเนื่องจากการ “เคลื่อนย้าย” ของเม็ดเงินอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ช่วงเร็ว ๆ นี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดความผันผวนรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยนั้น บางวันดัชนีตกลงไปกว่า 40 จุดหรือประมาณ 3% ในช่วงเช้า แต่พอถึงตอนบ่ายดัชนีกลับปรับตัวขึ้นเป็นประมาณเท่าเดิมได้ เช่นเดียวกัน ในบางวันนั้นดัชนีเริ่มจากการบวกมากมายแต่แล้วก็กลับเป็นลบมากมายได้ในเวลาอันสั้น ความผันผวนนั้นกว่า 5% ภายในวันเดียว สำหรับคนที่ซื้อขายระยะสั้น ๆ นั้น การขาดทุนหรือกำไรต่อวันนั้นสูงลิ่วแทบจะไม่เคยปรากฏมาก่อน เหตุผลนั้นไม่ใช่เรื่องที่มาจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว “สื่อสายฟ้าแลบ” ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นในเมืองไทยเพียง 2-3 ปีนี้มีผลต่อนักลงทุนมหาศาล นักลงทุน ว่าที่จริงก็เกือบทุกคนในสังคมของคนที่มีเงินรุ่นใหม่ในปัจจุบันนั้น ต่างก็พกโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตติดตัวตลอดเวลา สายตาของพวกเขานั้น ถ้าไม่ได้ทำงานหรือดูอย่างอื่นอยู่ก็จะอ่านข้อมูลข่าวสารที่มีคนส่งเข้ามาเป็นระยะ เช่นเดียวกับที่บางครั้งเขาก็เป็นคนส่งข้อมูลที่เขาคิดหรือได้รับมาอีกต่อหนึ่งออกไปสู่คนอื่นอีกมากมายได้ด้วยการกดแป้นพิมพ์เพียงครั้งเดียว ผลก็คือ ทุกคนซื้อขายหุ้นกันตามข่าวสารนั้นและทำให้หุ้นผันผวนอย่างรวดเร็ว “ตามข่าว”
คนที่เป็น “VI” นั้นควรที่จะต้องเข้าใจว่าปรากฏการณ์ของ “สื่อสายฟ้าแลบ” และข่าวหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกส่งออกไปว่ามันอาจจะมีทั้งเรื่องจริงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง หรือมันเป็นเรื่องที่ไม่จริงไม่ถูกต้องที่คนเข้าใจผิด หรือมันเป็นเรื่องที่ไม่จริงไม่ถูกต้องและคนที่ส่งออกไปก็รู้แต่ต้องการให้มันมีผลต่อราคาหุ้นที่ตนถืออยู่หรือต้องการซื้อหรือขาย ความสามารถในการที่จะแยกแยะหรือรับรู้ข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของการลงทุน ในภาวะปัจจุบันนั้น ผมคิดว่าการหาข้อมูลนั้นง่ายมาก เราแทบไม่มีต้นทุนอะไรเลยโดยเฉพาะหลังจากกำเนิดของกูเกิ้ล แต่การที่จะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก บางทีอาจจะยากกว่าในสมัยก่อนที่การผลิตข้อมูลและส่งออกไปมีราคาแพงมากเนื่องจากสื่อที่เป็นมหาชนนั้นมีจำกัด ดังนั้น ข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ถูกต้องจึงไม่สามารถผลิตและส่งออกมาได้ง่าย แต่ในปัจจุบันนั้น ทุกคนสามารถส่งข้อมูลให้คนเป็นร้อยเป็นพันได้และไม่มีใครมากรองหรือกีดกันข้อมูลนั้นเลย ดังนั้น ข้อมูลที่ท่วมท้นในตลาดหุ้นและการลงทุนในปัจจุบันจึงอาจจะมีที่ถูกต้องและมีคุณค่าในการใช้เวลาอ่านเพียง 1 ใน 10 หรือน้อยกว่านั้น และถ้าเราอ่านไปเรื่อยโดยไม่แยกแยะเราก็ไม่ได้อะไร ที่ยิ่งแย่ก็คือ เราอาจจะรับในสิ่งที่ผิดหรือถูก “ล้างสมอง” ให้เชื่อในสิ่งที่ผิดซึ่งจะทำให้แนวทางการลงทุนของเราไม่ประสบความสำเร็จ
ถ้าจะลองมาดูว่าแต่ละวันเรารับอะไรมาบ้างและเรามีปฏิกริยาอย่างไรกับมันก็จะช่วยให้เราสามารถปรับปรุงตัวเองให้เป็น VI ที่ดีขึ้นได้
สิ่งแรกก็คือ ข่าวต่าง ๆ ที่มักเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นโดยไม่มีความเห็นประกอบ นี่ส่วนมากก็มักจะเป็นเรื่องของตัวเลข เช่น ดัชนีหุ้น ตัวเลขกลุ่มผู้ซื้อขายหุ้นแต่ละกลุ่ม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มักไม่เป็นปัญหา แต่เหตุผลต่าง ๆ ที่มักจะมีการอธิบายประกอบนั้น เราก็ต้องระวังว่ามันอาจจะไม่จริงแต่เป็นความเห็นของนักวิเคราะห์เราก็อาจจะฟังแบบผ่าน ๆ เนื่องจากมันอาจจะไม่มีประโยชน์อะไรนักเพราะความเห็นหรือแม้แต่ความจริงที่ผ่านไปแล้วมักจะไม่มีผลอะไรกับราคาหุ้นในอนาคต
ข้อมูลต่อมาที่มีมากมายไม่แพ้กันทุกวันก็คือ การ “เชียร์หุ้น” ทั้งซื้อหรือขายของนักวิเคราะห์และนักลงทุนที่อาจจะเป็นเพื่อนกับเราหรือที่เราได้รับผ่านเพื่อน ว่าที่จริง เดี๋ยวนี้จะเป็นใครก็ไม่มีความหมายอะไรเพราะมันผ่านมาถึงเราได้ตลอด ประเด็นก็คือ การ “แนะนำหุ้น” แทบจะทุกรายการนั้น ผู้แนะนำนั้นต่างก็มี “ผลประโยชน์ส่วนตัว” ทั้งสิ้น บางทีก็อาจจะขัดแย้งกับคนที่เขาอยากให้ได้รับข่าวสาร เช่น แนะนำให้ซื้อในราคาสูงเพื่อเขาจะได้ขาย หรือถึงบางคนไม่ต้องการขายแต่เขาก็อยากให้หุ้นที่เขาแนะนำขึ้นอยู่ดีถ้าเขาซื้อครบแล้ว บางคน เช่นนักวิเคราะห์เองนั้น พวกเขาอาจจะไม่ได้มีหุ้นหรือต้องการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นโดยตรง แต่พวกเขาก็ต้องการให้คนซื้อขายหุ้นบ่อยขึ้นเพื่อที่บริษัทเขาจะได้ค่าคอมมิสชั่นหรือได้ธุรกิจอื่นเพิ่ม ผลประโยชน์ของเขาก็คือ เงินเดือนและโบนัสและชื่อเสียงในการที่แนะนำถูกต้อง--ในระยะสั้น
ข้อมูลที่มีมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ “ข่าวลือ” นี่ก็เป็นข่าวหรือเป็นข้อมูลที่ “ขายได้” ในแง่ที่ทำให้คนเข้ามาอ่านหรือมารับเนื่องจากคนชอบฟังเรื่องที่ “ปิดลับ” หรือยังไม่ปรากฏต่อสื่อที่เป็น “ทางการ” แต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีผลกระทบต่อราคาหุ้น ตัวอย่างมีมากมายรวมถึงเรื่องเช่น การเทคโอเวอร์ การแจกหุ้นเพิ่มทุนหรือวอแรนต์ และเรื่องอื่น ๆ อีกสารพัดเช่น หุ้นตัวนั้นหรือตัวนี้มี “เซียน” กำลังเก็บหรือขาย นี่ก็เป็นเรื่องของข้อมูลที่ฟังได้แต่จริง ๆ แล้วผมคิดว่ามีประโยชน์น้อยมาก ข้อแรกก็คือ มันอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่จริงโดยเฉพาะถ้ามันไม่มีสัญญาณอย่างอื่นประกอบ ข้อสองถ้ามันจริงแต่ตอนที่มันมาถึงเราคนอีกจำนวนมากที่อยู่ในระบบ “สื่อสายฟ้าแลบ” ก็รู้กันหมดแล้วซึ่งทำให้มันไม่มีประโยชน์ในแง่ของการลงทุน
ทั้งหมดนั้นก็คือ “เสี้ยวเดียว” ของปรากฏการณ์ “ใหม่” ของโลกและประเทศไทยที่เราจะต้องเรียนรู้และรับกับมัน เราหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่เราไม่จำเป็นที่จะต้องทำตามคนส่วนใหญ่ ผมเองนั้นพยายามที่จะไม่เปิดรับข้อมูลมากเกินไป เราต้องกรองเอาเฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เราต้องเป็นคนเลือกและ แสวงหาข้อมูลที่จะรับ มิฉะนั้น เราอาจจะกลายเป็น “เหยื่อ” ของคนที่มีเป้าหมายที่จะทำให้เราเชื่อในข้อมูลของเขา