คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ภาษาอื่นไม่รู้
แต่สำหรับภาษาไทยภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความต่างกันพอสมควร เอาง่ายๆว่า ถ้าฝรั่งเรียนภาษาไทยตามตำราภาษาไทย ออกไปคุยกับคนไทยไม่น่าจะรู้เรื่อง
แต่คำในภาษาไทย หลังจากเปลี่ยนวิธีเขียนมาครั้งใหญ่แล้วคิดว่าคงเปลี่ยนวิธีเขียนได้ยาก เพราะยึดการเขียนตามที่มาของคำ แล้วใช้หลักการกัด-กร่อนคำที่มีหลักชัดเจนแปลงมาจนเป็ีนคำศัพท์ในปัจจุบัน ถ้าจะเปลี่ยนคงต้องเปลี่ยนตั้งแต่ศัพท์ที่เรายืมมาทั้งหลาย ซึ่งก็คงเป็นไปไม่ได้
ยกเว้นแต่ศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่ ยังเป็นที่ถกเถียง จะยังไม่ถูกบัญญัติโดยราชบัญฑิตยสถานอย่างเป็นทางการ อันนั้นมีโอกาสดิ้นได้
แต่สำหรับภาษาไทยภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความต่างกันพอสมควร เอาง่ายๆว่า ถ้าฝรั่งเรียนภาษาไทยตามตำราภาษาไทย ออกไปคุยกับคนไทยไม่น่าจะรู้เรื่อง
แต่คำในภาษาไทย หลังจากเปลี่ยนวิธีเขียนมาครั้งใหญ่แล้วคิดว่าคงเปลี่ยนวิธีเขียนได้ยาก เพราะยึดการเขียนตามที่มาของคำ แล้วใช้หลักการกัด-กร่อนคำที่มีหลักชัดเจนแปลงมาจนเป็ีนคำศัพท์ในปัจจุบัน ถ้าจะเปลี่ยนคงต้องเปลี่ยนตั้งแต่ศัพท์ที่เรายืมมาทั้งหลาย ซึ่งก็คงเป็นไปไม่ได้
ยกเว้นแต่ศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่ ยังเป็นที่ถกเถียง จะยังไม่ถูกบัญญัติโดยราชบัญฑิตยสถานอย่างเป็นทางการ อันนั้นมีโอกาสดิ้นได้
แสดงความคิดเห็น
ภาษาไทยสำเนียงไทย
เช่นคำว่า"มหาวิทยาลัย"กลายเป็น"มหาทะลัย"แทนที่จะออกเสียงว่า"มะหาวิทะยาลัย"แปลว่า"สถานที่เรียนรู้ขนาดใหญ่"
หรือคำว่า"ประชาชน"เห็นพิธีกรนำเสนอข่าวตามสื่อชอบออกเสียงว่า"ปราชาชน"
และอีกคำที่ได้ยินบ่อยๆคำว่า"ประเทศไทย"มักได้ยินอ่านออกเสียงว่า"ปราเทศไทย".....
ก.บ.ว.ที่ดูแลเรื่องนี้หายไปไหน.หรือหน่วยงานนี้เขายกเลิกไปแล้ว..
ราชบัญฑิตสถาน..ถ้าเห็นด้วยกับการอ่านออกเสียงแบบนี้ก็น่าจะประกาศให้ใช้เป็นทางการจะได้ไม่สับสน.
และมีอีกหลายคำที่อ่านแล้วปวดหัว..คืองงกับการใช่ภาษาและอักขระ เช่นคำว่า"เธอ"ใช้เป็น"เทอ"เป็นต้น
ที่พล่ามมาทั้งหมด...งง..กับ...โง่...ตามไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลง..ไม่ได้คิดที่จะอวดรู้เพียงแต่สงสัยเท่านั้นครับ.