วันต่อต้านยาเสพติด 26 มิ.ย. วันต่อต้านยาเสพติดโลก
ด้วยสภาพปัญหายาเสพติดที่ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งทางตรง และทางอ้อมเป็นจำนวนมาก ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด จนกระทั่งที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) ได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" นั่นเอง เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหายาเสพติด
และในประเทศไทยนั้น ก็มิได้ละเลยถึงปัญหายาเสพติด เพราะรู้ว่าเรื่องนี้สร้างความเดือดร้อนแก่ตัวประชาชนเอง และครอบครัว รวมถึงประเทศชาติอีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีใจความว่า
"....ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่าง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการ ตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยคน เอกชนต่าง ๆ เดือดร้อนหมด และสิ้นเปลือง คนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปราม ยาเสพติด มัวแต่ต้องเสียเงินค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อนอย่างนี้ก็เสียทั้งเงินและเสียทั้งชื่อเสียง....." พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2545
เมื่อได้รู้ถึงปัญหายาเสพติดที่กำลังเป็นปัญหาไปทั่วโลกแล้ว วันนี้ กระปุกดอทคอม ขอพาไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของ "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" กันดีกว่า
ประวัติความเป็นมาวันยาเสพติด
ในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก"
โดยที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530 ซึ่งประเทศไทยหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ทั่วโลก ด้วยการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดเป็นประจำเสมอมา ดังนั้น เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ประชาชนไทยเกิดความตระหนักว่ายาเสพติดเป็นปัญหาของคนไทยทั้งชาติ ที่ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไข สำนักงาน ป.ป.ส. จึงขอเชิญชวนชาวไทยทุกคนร่วมกัน "สวมเสื้อสีขาว" โดยพร้อมเพรียงกันในวันต่อต้านยาเสพติดโลก
ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหายาเสพติด มาเป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง "คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ" ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
ต่อมา ในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันสำนักกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ประเทศไทย สำนักงาน ป.ป.ส.ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา
วันต่อต้านยาเสพติดในประเทศไทย
วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556
ในปีนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ก็ยังได้มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556 เพื่อให้ประชาชนรับรู้ รับทราบ และเห็นถึงความสำคัญของโทษ และพิษภัยยาเสพติด
สำหรับศิลปินนักร้องนักแสดงที่สำนักงาน ป.ป.ส. คัดเลือกให้มาเป็นตัวแทนศิลปินต้านยาเสพติดปี 2556 ได้แก่
โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
กรีน อัษฎาพร สิริวัฒน์ธนกุล
พิกเล็ท ชาราฎา อิมราพร
โฟกัส โฟกัส จีระกุล
โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556 แนวคิด :
"คนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต้านยาเสพติด" คำขวัญภาษาอังกฤษ :
" Drug elimination, Together we can " ภายใต้คำขวัญ
"ยาเสพติดจะพินาศ คนไทยทั้งชาติต้องร่วมมือกัน"
ข้อมูลจาก : กระปุกดอทคอม
http://hilight.kapook.com/view/25763
โป๊ป - กรีน - พิกเล็ท - โฟกัส - โตโน่ ได้รับเลือกเป็นตัวแทนศิลปินต้านยาเสพติดปี 2556
วันต่อต้านยาเสพติด 26 มิ.ย. วันต่อต้านยาเสพติดโลก
ด้วยสภาพปัญหายาเสพติดที่ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งทางตรง และทางอ้อมเป็นจำนวนมาก ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด จนกระทั่งที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) ได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" นั่นเอง เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหายาเสพติด
และในประเทศไทยนั้น ก็มิได้ละเลยถึงปัญหายาเสพติด เพราะรู้ว่าเรื่องนี้สร้างความเดือดร้อนแก่ตัวประชาชนเอง และครอบครัว รวมถึงประเทศชาติอีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีใจความว่า
"....ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่าง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการ ตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยคน เอกชนต่าง ๆ เดือดร้อนหมด และสิ้นเปลือง คนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปราม ยาเสพติด มัวแต่ต้องเสียเงินค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อนอย่างนี้ก็เสียทั้งเงินและเสียทั้งชื่อเสียง....." พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2545
เมื่อได้รู้ถึงปัญหายาเสพติดที่กำลังเป็นปัญหาไปทั่วโลกแล้ว วันนี้ กระปุกดอทคอม ขอพาไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของ "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" กันดีกว่า
ประวัติความเป็นมาวันยาเสพติด
ในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก"
โดยที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530 ซึ่งประเทศไทยหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ทั่วโลก ด้วยการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดเป็นประจำเสมอมา ดังนั้น เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ประชาชนไทยเกิดความตระหนักว่ายาเสพติดเป็นปัญหาของคนไทยทั้งชาติ ที่ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไข สำนักงาน ป.ป.ส. จึงขอเชิญชวนชาวไทยทุกคนร่วมกัน "สวมเสื้อสีขาว" โดยพร้อมเพรียงกันในวันต่อต้านยาเสพติดโลก
ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหายาเสพติด มาเป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง "คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ" ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
ต่อมา ในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันสำนักกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ประเทศไทย สำนักงาน ป.ป.ส.ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา
วันต่อต้านยาเสพติดในประเทศไทย
วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556
ในปีนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ก็ยังได้มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556 เพื่อให้ประชาชนรับรู้ รับทราบ และเห็นถึงความสำคัญของโทษ และพิษภัยยาเสพติด
สำหรับศิลปินนักร้องนักแสดงที่สำนักงาน ป.ป.ส. คัดเลือกให้มาเป็นตัวแทนศิลปินต้านยาเสพติดปี 2556 ได้แก่
โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
กรีน อัษฎาพร สิริวัฒน์ธนกุล
พิกเล็ท ชาราฎา อิมราพร
โฟกัส โฟกัส จีระกุล
โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2556 แนวคิด : "คนไทยหัวใจสีขาว ร่วมต้านยาเสพติด" คำขวัญภาษาอังกฤษ :
" Drug elimination, Together we can " ภายใต้คำขวัญ "ยาเสพติดจะพินาศ คนไทยทั้งชาติต้องร่วมมือกัน"
ข้อมูลจาก : กระปุกดอทคอม
http://hilight.kapook.com/view/25763