รอยเตอร์/ASTVผู้จัดการออนไลน์ – สำนักข่าวรอยเตอร์เผยแพร่สารคดีที่ชี้ให้เห็นว่า เวลานี้ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมกำลังเริ่มชะลอตัวลง แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลับมีอัตราการเติบโตขยายตัวอย่างสูงลิ่ว จนเป็นที่สนใจจับตาของพวกนักลงทุนและบริษัทธุรกิจทั้งหลาย ทั้งนี้เหตุผลสำคัญประการหนึ่งมาจากปัจจัยทางการเมือง นั่นคือการที่ภาคนี้เป็นฐานของ “คนเสื้อแดง” ที่สนับสนุน “ทักษิณ” อย่างเหนียวแน่น จึงได้รับประโยชน์มากมายจากนโยบายต่างๆ ในยุค “ยิ่งลักษณ์” นอกจากนั้นแล้ว การเดินหน้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ก็ยังทำให้ภาคอีสานยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้นไปอีก
ในสารคดี (feature) ของรอยเตอร์ที่เขียน พอล คาร์สเทน (Paul Carsten) และ ไพรัตน์ เต็มไพโรจน์ (Pairat Temphairojana) ได้บรรยายให้เห็นภาพว่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเวลานี้ อาคารศูนย์การค้า, โรงงาน, และสถานที่ก่อสร้าง กำลังปรากฏเผยโฉมให้เห็นเคียงข้างไร่นาฟาร์มเกษตร เป็นเสมือนเชื้อเพลิงทางเศรษฐกิจอันทรงพลังในตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ชั้นนำที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย และถึงแม้อัตราการเติบโตโดยรวมของประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเริ่มที่จะชะลอตัว ทว่าเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลับกำลังอยู่ในท่ามกลางความเฟื่องฟู
รอยเตอร์บอกว่า การกลับมาฟื้นตัวในทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของไทย บังเกิดขึ้นเคียงคู่ไปกับประดานโยบายที่มุ่งกระตุ้นการขยายตัว ตั้งแต่การเพิ่มค่าแรงไปจนถึงมาตรการอุดหนุนสินค้าการเกษตร ซึ่งก็กำลังสร้างความมั่งคั่งให้แก่อาณาบริเวณที่อยู่ตรงหัวใจของขบวนการ “เสื้อแดง” ที่หนุนหลังนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2011
ในขณะที่ชนชั้นกลางใหม่ๆ กำลังปรากฏโฉมให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ พวกนักลงทุนและบริษัทธุรกิจทั้งหลายจึงกำลังจับจ้องให้ความสนใจ คริส วู้ด (Chris Wood) กูรูด้านตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ของ ซีแอลเอสเอ (CLSA) หยิบยกภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี่แหละ มาเป็นเหตุผลอธิบายว่าทำไมจึงควรวางเดิมพันระยะยาวเอาไว้กับประเทศไทย
“ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำลังเกิดการแสดงฤทธิ์พุ่งพรวดขึ้นไปในทางเศรษฐกิจมหภาค” เขาบอก
ศักยภาพของภาคอีสานอาจไม่ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาก็ได้ ถ้าหากพวกโครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวม 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งกำลังก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างแรงอยู่ในเวลานี้ กลายเป็นตัวรับเคราะห์จากความแตกร้าวลึกล้ำระหว่างพรรคเพื่อไทยของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับบรรดาฝ่ายค้านทั้งหลาย
แต่ถ้าแผนการนี้เดินหน้าต่อไปได้ตามที่คาดหมายกันอยู่ทั่วไปแล้ว มันก็จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งหมดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีเดียว ราหุล บาจอเรีย (Rahul Bajoria) นักเศรษฐศาสตร์แห่ง บาร์เคลย์ส แคปิตอล (Barclays Capital) ให้ความเห็น
“ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือจุดต่อไปที่พวกนักลงทุนและพวกผู้บริโภคจะพากันเข้ามา ถ้าหากสามารถเชื่อมโยงต่อไปถึงจีนได้แล้ว มันจะกลายเป็นจุดเข้าประเทศของประเทศไทยไปเลยทีเดียว ไม่ใช่กรุงเทพฯอีกแล้ว” เขาบอก
“แต่มันเป็นเรื่องยากสำหรับระบบราชการที่จะดำเนินโครงการต่างๆ ในขณะที่พวกเขายังไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้ที่อยู่ในอำนาจในเวลาปีหนึ่งหรือสองปีข้างหน้า”
รอยเตอร์ชี้ว่า อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นกระโจนขึ้นไปถึง 40% นับตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2011 นับเป็นการพุ่งพรวดมากที่สุดไม่ว่าจะเทียบกับภูมิภาคไหนของประเทศไทย และจากการสัมภาษณ์สอบถามพวกนักธุรกิจตลอดจนจากข้อมูลการลงทุนก็บ่งบอกว่าแนวโน้มเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป
จำนวนโครงการการลงทุนของภาคเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้น 49% ในปี 2012 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมียอดการลงทุนสูงขึ้นมากว่าเท่าตัว จนอยู่ในระดับ 2,300 ล้านดอลลาร์ (ราว 71,300 ล้านบาท) ทั้งนี้ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนเหล่านี้จำนวนมากกระจุกอยู่ในด้านอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่อาคารคอนโดมีเนียม ไปจนถึงทาวน์เฮาส์ และช็อปปิ้งพลาซ่า
“ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชากรขนาดใหญ่ มีประชากรที่หนาแน่น ดังนั้นรายได้จึงมีเยอะ” นายนริศ เชยกลิ่น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนาจำกัด (มหาชน) กล่าว โดยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่พำนักอาศัยของประชากรราวหนึ่งในสามของไทยซึ่งมีประชากรทั้งสิ้น 68 ล้านคน
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนา ได้เปิดศูนย์การค้ามูลค่า 2,750 ล้านบาทขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นแห่งที่ 3 ของบริษัทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว
**ความเฟื่องฟูเนื่องจากแรงขับดันทางการเมือง**
รอยเตอร์ชี้ว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในภาคอีสานเวลานี้ สามารถนำเอาเรื่องปัจจัยทางการเมืองมาอธิบายได้อย่างน้อยก็บางส่วน
รัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้น ได้ประกาศใช้ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วทั้งประเทศเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สำหรับบางจังหวัดทางภาคอีสานแล้วนี่คือการปรับเพิ่มขึ้นถึง 35% จึงจัดอยู่ในพวกจังหวัดที่ได้ค่าจ้างสูงขึ้นมากที่สุด และเป็นการได้เพิ่มขึ้นอีกหลังจากที่มีการขึ้นค่าจ้างกันทั่วประเทศ 40% ไปรอบหนึ่งแล้วในเดือนเมษายน 2012
คนงานจำนวนมาก อย่างเช่นพวกที่กำลังก่อสร้างศูนย์การค้า 168 แพลตินัม มอลล์ ในจังหวัดอุดรธานี เวลานี้ต่างรู้สึกพอใจที่จะเดินทางกลับภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อทำงานซึ่งได้รับค่าจ้างพอๆ กับที่ได้เมื่อทำงานในกรุงเทพฯแล้ว
“คนเสื้อแดง” ในภาคอีสาน อยู่ในกลุ่มที่ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันเหนียวแน่นที่สุดต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งแม้ลี้ภัยตนเองไปตั้งฐานอยู่ในดูไบ แต่ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
เมื่อตอนที่เขาครองอำนาจตั้งแต่ปี 2001 นโยบายแบบประชานิยมของเขา ตั้งแต่โครงการรักษาโรคให้ฟรีๆ ในความเป็นจริง ไปจนถึงการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับคนจนในชนบท ได้ทำให้เขากลายเป็นฮีโรในภาคอีสาน
คนเสื้อแดงได้กลายเป็นแกนกลางของขบวนการที่ทำให้กรุงเทพฯตกอยู่ในภาวะอัมพาตในช่วงเดือนเมษยน-พฤษภาคม 2010 ด้วยการจัดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะนั้น ตลอดจนกลุ่มพลังต่างๆ ที่โค่นล้มขับไล่ทักษิณลงจากอำนาจ
การประท้วงตอนนั้นถูกปราบปรามด้วยกำลัง แต่คนเสื้อแดงก็สามารถแก้แค้นในการเลือกตั้งปี 2011 และเวลานี้ก็ได้เห็นรางวัลค่าตอบแทน
“ความรุ่งเรืองเฟื่องฟูจำนวนมากเกิดขึ้นในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นเพราะแรงขับดันทางการเมือง ส่วนหนึ่ง ก็เพราะที่นั่นคือที่อยู่ของพวกผู้สนับสนุนทักษิณนั่นเอง” วู้ด แห่ง ซีแอลเอสเอ แจกแจง
ตามข้อมูลของธนาคารโลก สัดส่วนคนจนในประเทศไทยได้ลดลงมาเหลือเพียงเท่ากับ 13% ของประชากรเมื่อปี 2011 จากที่เคยอยู่ในระดับ 58% ในปี 1990 ทว่าจีดีพีเฉลี่ยต่อหัวในภาคอีสานในปี 2011 ยังคงอยู่ในระดับไม่ถึง 1 ใน 8 ของตัวเลขนี้ในกรุงเทพฯ ซึ่งเท่ากับ 1,600 ดอลลาร์ (ราว 49,600 บาท) ต่อปี ทั้งนี้ตามตัวเลขของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ภาวะเช่นนี้กำลังเกิดความเปลี่ยนแปลง ด้วยนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลที่มุ่งเพิ่มพูนอำนาจซื้อโดยวิธีให้การอุดหนุนแก่ผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ เป็นต้นว่า ข้าว, มันสำปะหลัง, และยางพารา ภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เกษตรกรได้รับเงินค่าข้าวเปลือกตันละ 15,000 บาท ซึ่งพวกผู้ส่งออกบอกว่าสูงกว่าตลาดโลกถึงราว 50%
“ทั้งในยุคทักษิณและในยุคยิ่งลักษณ์ มีการให้อะไรเยอะแยะมากมายแก่ภาคอีสาน และกำลังมีเงินเยอะแยะมากมายไหลบ่าเข้าไปในภาคนี้ ซึ่งมากกว่าที่รัฐบาลก่อนๆ เคยใช้จ่ายในภาคอีสานเยอะทีเดียว” นายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี บอก
ชีวิตในภาคอีสานกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง น.ส.ปัญจพร พัฒนพิฑูรย์ กรรมการผู้จัดการของบริษัทซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการ 168 แพลตินัม บอกว่า ปัจจุบันประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการศึกษาที่ดีขึ้นกว่าในอดีต ทัศนคติในเรื่องต่างๆ กำลังวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว และเกิดการขยายเขตเมืองในอัตราที่รวดเร็วยิ่งกว่าในกรุงเทพฯเสียอีก
**ใครๆ ก็ไปลงทุนในภาคอีสาน**
การรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อปี 2006 ซึ่งโค่นล้ม พ.ต.ท.ทักษิณตกลงจากอำนาจ ก่อให้เกิดช่วงเวลาแห่งความไม่สงบอยู่หลายปี แต่ความราบรื่นทางการเมืองได้หวนกลับคืนมานับแต่ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ชนะการเลือกตั้ง
“เมื่อเราเปลี่ยนตัวนักการเมือง พวกเขาก็เปลี่ยนนโยบาย ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเหล่านี้กันยิ่งกว่านี้แล้ว ก็จะทำให้เศรษฐกิจเสียหาย” นายอุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าว
บริษัทแสนสิรินั้นกำลังพัฒนาโครงการอาคารคอนโดมีเนียมมูลค่า 127 ล้านดอลลาร์ (ราว 3,937 ล้านบาท) 2 โครงการในจังหวัดขอนแก่นในปี 2013 นี้ และวางแผนสร้างโครงการที่ 3 ซึ่งจะมีมูลค่า 35 ล้านดอลลาร์ (ราว 1,085 ล้านบาท) ในปี 2014
“อย่างน้อยที่สุด 5 ปี แล้วจากนั้นเราก็จะทำอะไรสำเร็จขึ้นมาบ้างอย่างแน่นอน” นายอุทัยบอก ซึ่งมุ่งที่จะเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
เวลานี้โครงการดังกล่าวนี้กำลังมีความเป็นไปได้อย่างมาก โดยได้รับแรงกระตุ้นจากน้ำท่วมเมื่อปี 2011 ซึ่งสร้างความหายนะให้แก่เขตอุตสาหกรรมในภาคกลาง ใกล้ๆ กรุงเทพฯ
“พวกให้บริการทางโลจิสติกส์ และพวกผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค ต่างกำลังโยกย้ายไปอยู่จังหวัดที่ไกลออกไป สืบเนื่องจากเรื่องน้ำท่วม” นายปธาน สมบูรณสิน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทคอน โลจิสติกส์ พาร์ค จำกัด (TPARK) บริษัทด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นกิจการในเครือของ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว บริษัทของเขากำลังลงทุนเป็นจำนวนที่อาจจะสูงถึง 2,000 ล้านบาทในโครงการศูนย์โลจิสติกส์บนพื้นที่ 79 เอเคอร์ (ราว 197.5 ไร่) ในจังหวัดขอนแก่น
ภาคอีสานยังควรที่ได้ประโยชน์จากการที่โรงงานและศูนย์กระจายสินค้ามีการเคลื่อนย้าย เพื่อเป็นการรับมือกับ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (AEC) ซึ่งมีกำหนดที่จะทำให้สำเร็จภายในปลายปี 2015 หรือปี 2016
ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ของเออีซี ซึ่งจะเป็นเส้นทางหลวงและเส้นทางของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการค้า จะเริ่มต้นจากเมืองท่าดานัง ในเวียดนาม ผ่านลาว, ไทย, และพม่า ไปจนถึงทะเลอันดามัน โดยที่จะตัดผ่านจังหวัดขอนแก่น เมืองศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและศูนย์กลางการพาณิชย์ของภาคนี้
โครงการนี้จะสนับสนุนความมุ่งมาดปรารถนาของไทยที่จะวางฐานะตนเองเป็นปากทางเข้าสู่ประเทศจีน โดยอาศัยเครือข่ายถนนและทางรถไฟที่ตัดผ่านลาว
โครงการต่างๆ ทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนกระบวนการขยายตัวเมืองซึ่งจะเกิดขึ้นจากโครงการเหล่านี้ ถ้าหากสามารถเดินหน้าไปตามแผนแล้ว ก็จะกลายเป็นตัวสนับสนุนอัตราเติบโตของไทยในอนาคต เครดิต สวิส ระบุเอาไว้เช่นนี้ในรายงานฉบับหนึ่ง อีกทั้ง เครดิต สวิส ยังปรับเพิ่มประมาณการแนวโน้มอัตราเติบโตของจีดีพีไทยในช่วงปี 2014 ถึง 2018 ให้เป็น ระหว่าง 4.5 ถึง 5.0% จากเดิมที่ให้ไว้เพียง 4.2%
ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจอะไรที่พวกบริษัทผู้ผลิตของไทย เป็นต้นว่า บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัทไทยเบฟเวอเรจจำกัด (มหาชน), และเครือปูนซีเมนต์ไทย ตลอดจนพวกบริษัทต่างชาติที่มีโรงงานในเมืองไทย ดังเช่น บริษัทพานาโซนิค คอร์ป, บริษัทคราฟต์ ฟู้ดส์ กรุ๊ป อิงก์, และบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ล้วนแต่กำลังถูกดึงดูดเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
“ถ้าคุณมองไปท
รอยเตอร์’ระบุ เศรษฐกิจไทยกำลังบูมที่‘ภาคอีสาน’ ไม่ใช่‘กรุงเทพฯ’อีกต่อไป
ในสารคดี (feature) ของรอยเตอร์ที่เขียน พอล คาร์สเทน (Paul Carsten) และ ไพรัตน์ เต็มไพโรจน์ (Pairat Temphairojana) ได้บรรยายให้เห็นภาพว่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเวลานี้ อาคารศูนย์การค้า, โรงงาน, และสถานที่ก่อสร้าง กำลังปรากฏเผยโฉมให้เห็นเคียงข้างไร่นาฟาร์มเกษตร เป็นเสมือนเชื้อเพลิงทางเศรษฐกิจอันทรงพลังในตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ชั้นนำที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย และถึงแม้อัตราการเติบโตโดยรวมของประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเริ่มที่จะชะลอตัว ทว่าเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลับกำลังอยู่ในท่ามกลางความเฟื่องฟู
รอยเตอร์บอกว่า การกลับมาฟื้นตัวในทางเศรษฐกิจของภาคอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของไทย บังเกิดขึ้นเคียงคู่ไปกับประดานโยบายที่มุ่งกระตุ้นการขยายตัว ตั้งแต่การเพิ่มค่าแรงไปจนถึงมาตรการอุดหนุนสินค้าการเกษตร ซึ่งก็กำลังสร้างความมั่งคั่งให้แก่อาณาบริเวณที่อยู่ตรงหัวใจของขบวนการ “เสื้อแดง” ที่หนุนหลังนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2011
ในขณะที่ชนชั้นกลางใหม่ๆ กำลังปรากฏโฉมให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ พวกนักลงทุนและบริษัทธุรกิจทั้งหลายจึงกำลังจับจ้องให้ความสนใจ คริส วู้ด (Chris Wood) กูรูด้านตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ของ ซีแอลเอสเอ (CLSA) หยิบยกภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี่แหละ มาเป็นเหตุผลอธิบายว่าทำไมจึงควรวางเดิมพันระยะยาวเอาไว้กับประเทศไทย
“ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำลังเกิดการแสดงฤทธิ์พุ่งพรวดขึ้นไปในทางเศรษฐกิจมหภาค” เขาบอก
ศักยภาพของภาคอีสานอาจไม่ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาก็ได้ ถ้าหากพวกโครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวม 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งกำลังก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างแรงอยู่ในเวลานี้ กลายเป็นตัวรับเคราะห์จากความแตกร้าวลึกล้ำระหว่างพรรคเพื่อไทยของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กับบรรดาฝ่ายค้านทั้งหลาย
แต่ถ้าแผนการนี้เดินหน้าต่อไปได้ตามที่คาดหมายกันอยู่ทั่วไปแล้ว มันก็จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งหมดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีเดียว ราหุล บาจอเรีย (Rahul Bajoria) นักเศรษฐศาสตร์แห่ง บาร์เคลย์ส แคปิตอล (Barclays Capital) ให้ความเห็น
“ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือจุดต่อไปที่พวกนักลงทุนและพวกผู้บริโภคจะพากันเข้ามา ถ้าหากสามารถเชื่อมโยงต่อไปถึงจีนได้แล้ว มันจะกลายเป็นจุดเข้าประเทศของประเทศไทยไปเลยทีเดียว ไม่ใช่กรุงเทพฯอีกแล้ว” เขาบอก
“แต่มันเป็นเรื่องยากสำหรับระบบราชการที่จะดำเนินโครงการต่างๆ ในขณะที่พวกเขายังไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้ที่อยู่ในอำนาจในเวลาปีหนึ่งหรือสองปีข้างหน้า”
รอยเตอร์ชี้ว่า อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นกระโจนขึ้นไปถึง 40% นับตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2011 นับเป็นการพุ่งพรวดมากที่สุดไม่ว่าจะเทียบกับภูมิภาคไหนของประเทศไทย และจากการสัมภาษณ์สอบถามพวกนักธุรกิจตลอดจนจากข้อมูลการลงทุนก็บ่งบอกว่าแนวโน้มเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป
จำนวนโครงการการลงทุนของภาคเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้น 49% ในปี 2012 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมียอดการลงทุนสูงขึ้นมากว่าเท่าตัว จนอยู่ในระดับ 2,300 ล้านดอลลาร์ (ราว 71,300 ล้านบาท) ทั้งนี้ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนเหล่านี้จำนวนมากกระจุกอยู่ในด้านอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่อาคารคอนโดมีเนียม ไปจนถึงทาวน์เฮาส์ และช็อปปิ้งพลาซ่า
“ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชากรขนาดใหญ่ มีประชากรที่หนาแน่น ดังนั้นรายได้จึงมีเยอะ” นายนริศ เชยกลิ่น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนาจำกัด (มหาชน) กล่าว โดยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่พำนักอาศัยของประชากรราวหนึ่งในสามของไทยซึ่งมีประชากรทั้งสิ้น 68 ล้านคน
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนา ได้เปิดศูนย์การค้ามูลค่า 2,750 ล้านบาทขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นแห่งที่ 3 ของบริษัทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว
**ความเฟื่องฟูเนื่องจากแรงขับดันทางการเมือง**
รอยเตอร์ชี้ว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในภาคอีสานเวลานี้ สามารถนำเอาเรื่องปัจจัยทางการเมืองมาอธิบายได้อย่างน้อยก็บางส่วน
รัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้น ได้ประกาศใช้ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วทั้งประเทศเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สำหรับบางจังหวัดทางภาคอีสานแล้วนี่คือการปรับเพิ่มขึ้นถึง 35% จึงจัดอยู่ในพวกจังหวัดที่ได้ค่าจ้างสูงขึ้นมากที่สุด และเป็นการได้เพิ่มขึ้นอีกหลังจากที่มีการขึ้นค่าจ้างกันทั่วประเทศ 40% ไปรอบหนึ่งแล้วในเดือนเมษายน 2012
คนงานจำนวนมาก อย่างเช่นพวกที่กำลังก่อสร้างศูนย์การค้า 168 แพลตินัม มอลล์ ในจังหวัดอุดรธานี เวลานี้ต่างรู้สึกพอใจที่จะเดินทางกลับภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อทำงานซึ่งได้รับค่าจ้างพอๆ กับที่ได้เมื่อทำงานในกรุงเทพฯแล้ว
“คนเสื้อแดง” ในภาคอีสาน อยู่ในกลุ่มที่ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันเหนียวแน่นที่สุดต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งแม้ลี้ภัยตนเองไปตั้งฐานอยู่ในดูไบ แต่ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
เมื่อตอนที่เขาครองอำนาจตั้งแต่ปี 2001 นโยบายแบบประชานิยมของเขา ตั้งแต่โครงการรักษาโรคให้ฟรีๆ ในความเป็นจริง ไปจนถึงการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับคนจนในชนบท ได้ทำให้เขากลายเป็นฮีโรในภาคอีสาน
คนเสื้อแดงได้กลายเป็นแกนกลางของขบวนการที่ทำให้กรุงเทพฯตกอยู่ในภาวะอัมพาตในช่วงเดือนเมษยน-พฤษภาคม 2010 ด้วยการจัดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะนั้น ตลอดจนกลุ่มพลังต่างๆ ที่โค่นล้มขับไล่ทักษิณลงจากอำนาจ
การประท้วงตอนนั้นถูกปราบปรามด้วยกำลัง แต่คนเสื้อแดงก็สามารถแก้แค้นในการเลือกตั้งปี 2011 และเวลานี้ก็ได้เห็นรางวัลค่าตอบแทน
“ความรุ่งเรืองเฟื่องฟูจำนวนมากเกิดขึ้นในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นเพราะแรงขับดันทางการเมือง ส่วนหนึ่ง ก็เพราะที่นั่นคือที่อยู่ของพวกผู้สนับสนุนทักษิณนั่นเอง” วู้ด แห่ง ซีแอลเอสเอ แจกแจง
ตามข้อมูลของธนาคารโลก สัดส่วนคนจนในประเทศไทยได้ลดลงมาเหลือเพียงเท่ากับ 13% ของประชากรเมื่อปี 2011 จากที่เคยอยู่ในระดับ 58% ในปี 1990 ทว่าจีดีพีเฉลี่ยต่อหัวในภาคอีสานในปี 2011 ยังคงอยู่ในระดับไม่ถึง 1 ใน 8 ของตัวเลขนี้ในกรุงเทพฯ ซึ่งเท่ากับ 1,600 ดอลลาร์ (ราว 49,600 บาท) ต่อปี ทั้งนี้ตามตัวเลขของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ภาวะเช่นนี้กำลังเกิดความเปลี่ยนแปลง ด้วยนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลที่มุ่งเพิ่มพูนอำนาจซื้อโดยวิธีให้การอุดหนุนแก่ผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ เป็นต้นว่า ข้าว, มันสำปะหลัง, และยางพารา ภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เกษตรกรได้รับเงินค่าข้าวเปลือกตันละ 15,000 บาท ซึ่งพวกผู้ส่งออกบอกว่าสูงกว่าตลาดโลกถึงราว 50%
“ทั้งในยุคทักษิณและในยุคยิ่งลักษณ์ มีการให้อะไรเยอะแยะมากมายแก่ภาคอีสาน และกำลังมีเงินเยอะแยะมากมายไหลบ่าเข้าไปในภาคนี้ ซึ่งมากกว่าที่รัฐบาลก่อนๆ เคยใช้จ่ายในภาคอีสานเยอะทีเดียว” นายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี บอก
ชีวิตในภาคอีสานกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง น.ส.ปัญจพร พัฒนพิฑูรย์ กรรมการผู้จัดการของบริษัทซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการ 168 แพลตินัม บอกว่า ปัจจุบันประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการศึกษาที่ดีขึ้นกว่าในอดีต ทัศนคติในเรื่องต่างๆ กำลังวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว และเกิดการขยายเขตเมืองในอัตราที่รวดเร็วยิ่งกว่าในกรุงเทพฯเสียอีก
**ใครๆ ก็ไปลงทุนในภาคอีสาน**
การรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อปี 2006 ซึ่งโค่นล้ม พ.ต.ท.ทักษิณตกลงจากอำนาจ ก่อให้เกิดช่วงเวลาแห่งความไม่สงบอยู่หลายปี แต่ความราบรื่นทางการเมืองได้หวนกลับคืนมานับแต่ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ชนะการเลือกตั้ง
“เมื่อเราเปลี่ยนตัวนักการเมือง พวกเขาก็เปลี่ยนนโยบาย ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเหล่านี้กันยิ่งกว่านี้แล้ว ก็จะทำให้เศรษฐกิจเสียหาย” นายอุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าว
บริษัทแสนสิรินั้นกำลังพัฒนาโครงการอาคารคอนโดมีเนียมมูลค่า 127 ล้านดอลลาร์ (ราว 3,937 ล้านบาท) 2 โครงการในจังหวัดขอนแก่นในปี 2013 นี้ และวางแผนสร้างโครงการที่ 3 ซึ่งจะมีมูลค่า 35 ล้านดอลลาร์ (ราว 1,085 ล้านบาท) ในปี 2014
“อย่างน้อยที่สุด 5 ปี แล้วจากนั้นเราก็จะทำอะไรสำเร็จขึ้นมาบ้างอย่างแน่นอน” นายอุทัยบอก ซึ่งมุ่งที่จะเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
เวลานี้โครงการดังกล่าวนี้กำลังมีความเป็นไปได้อย่างมาก โดยได้รับแรงกระตุ้นจากน้ำท่วมเมื่อปี 2011 ซึ่งสร้างความหายนะให้แก่เขตอุตสาหกรรมในภาคกลาง ใกล้ๆ กรุงเทพฯ
“พวกให้บริการทางโลจิสติกส์ และพวกผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค ต่างกำลังโยกย้ายไปอยู่จังหวัดที่ไกลออกไป สืบเนื่องจากเรื่องน้ำท่วม” นายปธาน สมบูรณสิน ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทคอน โลจิสติกส์ พาร์ค จำกัด (TPARK) บริษัทด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นกิจการในเครือของ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว บริษัทของเขากำลังลงทุนเป็นจำนวนที่อาจจะสูงถึง 2,000 ล้านบาทในโครงการศูนย์โลจิสติกส์บนพื้นที่ 79 เอเคอร์ (ราว 197.5 ไร่) ในจังหวัดขอนแก่น
ภาคอีสานยังควรที่ได้ประโยชน์จากการที่โรงงานและศูนย์กระจายสินค้ามีการเคลื่อนย้าย เพื่อเป็นการรับมือกับ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (AEC) ซึ่งมีกำหนดที่จะทำให้สำเร็จภายในปลายปี 2015 หรือปี 2016
ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ของเออีซี ซึ่งจะเป็นเส้นทางหลวงและเส้นทางของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการค้า จะเริ่มต้นจากเมืองท่าดานัง ในเวียดนาม ผ่านลาว, ไทย, และพม่า ไปจนถึงทะเลอันดามัน โดยที่จะตัดผ่านจังหวัดขอนแก่น เมืองศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและศูนย์กลางการพาณิชย์ของภาคนี้
โครงการนี้จะสนับสนุนความมุ่งมาดปรารถนาของไทยที่จะวางฐานะตนเองเป็นปากทางเข้าสู่ประเทศจีน โดยอาศัยเครือข่ายถนนและทางรถไฟที่ตัดผ่านลาว
โครงการต่างๆ ทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนกระบวนการขยายตัวเมืองซึ่งจะเกิดขึ้นจากโครงการเหล่านี้ ถ้าหากสามารถเดินหน้าไปตามแผนแล้ว ก็จะกลายเป็นตัวสนับสนุนอัตราเติบโตของไทยในอนาคต เครดิต สวิส ระบุเอาไว้เช่นนี้ในรายงานฉบับหนึ่ง อีกทั้ง เครดิต สวิส ยังปรับเพิ่มประมาณการแนวโน้มอัตราเติบโตของจีดีพีไทยในช่วงปี 2014 ถึง 2018 ให้เป็น ระหว่าง 4.5 ถึง 5.0% จากเดิมที่ให้ไว้เพียง 4.2%
ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจอะไรที่พวกบริษัทผู้ผลิตของไทย เป็นต้นว่า บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัทไทยเบฟเวอเรจจำกัด (มหาชน), และเครือปูนซีเมนต์ไทย ตลอดจนพวกบริษัทต่างชาติที่มีโรงงานในเมืองไทย ดังเช่น บริษัทพานาโซนิค คอร์ป, บริษัทคราฟต์ ฟู้ดส์ กรุ๊ป อิงก์, และบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ล้วนแต่กำลังถูกดึงดูดเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
“ถ้าคุณมองไปท